เครดิต
https://globthailand.com/china15102019/
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
อําเภอเหอผู่ (Hepu County) เมืองเป๋ยไห่ เป็นพื้นที่นําร่องการปลูกข้าวน้ำเค็มเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นโครงการพลิกฟื้นดินเค็มแบบผสมผสานในการเพาะปลูกข้าวน้ำเค็มกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยข้าวต้นฤดูในปีนี้ได้ผลผลิตมากกว่าหมู่ละ 400 กิโลกรัม หรือราวไร่ละ 960 กิโลกรัม ซึ่งผลผลิตที่ได้มีปริมาณสูงกว่าพื้นที่ทดลองปลูกแห่งอื่นในจีนอย่างในมณฑลซานตงอีกด้วย
โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ติดชายทะเลในอําเภอเหอผู่ เมืองเป๋ยไห่ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญของศาสตราจารย์หยวน หลงผิง (บิดาแห่งข้าวไฮบริดของจีน) ศูนย์เทคโนโลยีวิศวกรรมข้าวไฮบริดแห่งชาติจีน ศูนย์วิจัยข้าวไฮบริดมณฑลหูหนาน และบริษัท Guangxi Weitian Agroecology Co.,Ltd. พื้นที่นําร่องการปลูกข้าวน้ำเค็มเชิงนิเวศนับเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานที่เกษตรกรสามารถปลูกข้าวบนพื้นที่ดินเค็ม พร้อมกับการเลี้ยงปลา กุ้ง ปู และเป็ดในนาข้าว จึงเป็นหนทางในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ และลดต้นทุนการผลิตบางอย่างลงได้ โดยใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมทางการเกษตรหนึ่งไปเป็นปัจจัยการผลิตในอีกกิจกรรมหนึ่ง
ตามรายงาน พื้นที่นําร่องดังกล่าวเคยเป็น พื้นที่ปลูกข้าวไฮบรดิน้ำจืดและมันเทศ แต่การกัดเซาะตามแนวคันดินกั้นน้ำทะเล ทําให้น้ำทะเลไหลย้อนเข้าท่วมพื้นที่ที่เคยเป็นที่นาน้ำจืด ส่งผลให้ดินเค็มจนไม่สามารถทําการเกษตรได้ เกษตรกรจึงต้องทิ้งที่นาร้างเป็นเวลานานกว่าสิบปี
การพัฒนาโครงการพื้นที่นําร่องการปลูกข้าวน้ำเค็มเชิงนิเวศในครั้งนี้จึงเป็นการพลิกฟื้นผืนดินให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง โดยวางแผนพัฒนาพื้นที่นําร่องกว่า 1,000 หมู่จีน (ราว 416 ไร่) ช่วงแรกทดลอง 400 หมู่จีน ซึ่งประสบความสําเร็จตามเป้าหมาย และมีการเลี้ยงสัตวน้ำในนาร่วมด้วย 200 หมู่จีน
ศาสตราจารย์หู หย่วนอี้ (Hu Yuanyi) ศูนย์วิจัยข้าวไฮบริดมณฑลหูหนาน ให้ข้อมูลว่า พื้นที่โครงการตั้งอยู่บริเวณปากน้ำ ซึ่งเป็นน้ำกร่อยจึงเหมาะกับการปลูกข้าวน้ำเค็มเป็นอย่างมาก การทดลองปลูกในช่วงครึ่งปีแรกได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจและกําลังศึกษาวิจัยเพื่อปลูกข้าวปลายฤดูอีก
นายจวง หมิงชวน (Zhuang Mingchuan) ประธานกรรมการบริษัท Guangxi Weitian Agroecology Co.,Ltd. กล่าวว่า หลังจากประสบความสําเร็จในการปลูกข้าวน้ำเค็มแล้วจะเริ่มผลักดันให้เกิดความแพร่หลายในบริเวณพื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลของกว่างซีเสียก่อน จากนั้นค่อยขยายไปยังพื้นที่เลียบฝั่งชายทะเลในประเทศสมาชิกอาเซียน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสําหรับประเทศไทยเช่นกัน
สําหรับข้อสงสัยที่ว่า “ข้าวน้ำเค็มหุงแล้วจะเค็มหรือไม่” คําตอบ คือไม่เค็ม ในทางกลับกันในน้ำทะเลมีแร่ธาตุค่อนข้างสูง ทําให้ข้าวน้ำเค็มอุดมไปด้วยแร่ธาตุมากกว่าข้าวทั่วไป นอกจากนี้ แมลงศัตรูพืชยังมีน้อยกว่าข้าวที่ปลูกในน้ำจืดและสามารถต้านทานโรคได้สูงอีกด้วย
กว่างซีพลิกฟื้นดินเค็ม “ปลูกข้าวน้ำเค็ม” ได้ผลผลิตดี พร้อมวางเป้าขยายความร่วมมือกับอาเซียน
เครดิต https://globthailand.com/china15102019/
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
อําเภอเหอผู่ (Hepu County) เมืองเป๋ยไห่ เป็นพื้นที่นําร่องการปลูกข้าวน้ำเค็มเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นโครงการพลิกฟื้นดินเค็มแบบผสมผสานในการเพาะปลูกข้าวน้ำเค็มกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยข้าวต้นฤดูในปีนี้ได้ผลผลิตมากกว่าหมู่ละ 400 กิโลกรัม หรือราวไร่ละ 960 กิโลกรัม ซึ่งผลผลิตที่ได้มีปริมาณสูงกว่าพื้นที่ทดลองปลูกแห่งอื่นในจีนอย่างในมณฑลซานตงอีกด้วย
โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ติดชายทะเลในอําเภอเหอผู่ เมืองเป๋ยไห่ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญของศาสตราจารย์หยวน หลงผิง (บิดาแห่งข้าวไฮบริดของจีน) ศูนย์เทคโนโลยีวิศวกรรมข้าวไฮบริดแห่งชาติจีน ศูนย์วิจัยข้าวไฮบริดมณฑลหูหนาน และบริษัท Guangxi Weitian Agroecology Co.,Ltd. พื้นที่นําร่องการปลูกข้าวน้ำเค็มเชิงนิเวศนับเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานที่เกษตรกรสามารถปลูกข้าวบนพื้นที่ดินเค็ม พร้อมกับการเลี้ยงปลา กุ้ง ปู และเป็ดในนาข้าว จึงเป็นหนทางในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ และลดต้นทุนการผลิตบางอย่างลงได้ โดยใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมทางการเกษตรหนึ่งไปเป็นปัจจัยการผลิตในอีกกิจกรรมหนึ่ง
ตามรายงาน พื้นที่นําร่องดังกล่าวเคยเป็น พื้นที่ปลูกข้าวไฮบรดิน้ำจืดและมันเทศ แต่การกัดเซาะตามแนวคันดินกั้นน้ำทะเล ทําให้น้ำทะเลไหลย้อนเข้าท่วมพื้นที่ที่เคยเป็นที่นาน้ำจืด ส่งผลให้ดินเค็มจนไม่สามารถทําการเกษตรได้ เกษตรกรจึงต้องทิ้งที่นาร้างเป็นเวลานานกว่าสิบปี
การพัฒนาโครงการพื้นที่นําร่องการปลูกข้าวน้ำเค็มเชิงนิเวศในครั้งนี้จึงเป็นการพลิกฟื้นผืนดินให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง โดยวางแผนพัฒนาพื้นที่นําร่องกว่า 1,000 หมู่จีน (ราว 416 ไร่) ช่วงแรกทดลอง 400 หมู่จีน ซึ่งประสบความสําเร็จตามเป้าหมาย และมีการเลี้ยงสัตวน้ำในนาร่วมด้วย 200 หมู่จีน
ศาสตราจารย์หู หย่วนอี้ (Hu Yuanyi) ศูนย์วิจัยข้าวไฮบริดมณฑลหูหนาน ให้ข้อมูลว่า พื้นที่โครงการตั้งอยู่บริเวณปากน้ำ ซึ่งเป็นน้ำกร่อยจึงเหมาะกับการปลูกข้าวน้ำเค็มเป็นอย่างมาก การทดลองปลูกในช่วงครึ่งปีแรกได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจและกําลังศึกษาวิจัยเพื่อปลูกข้าวปลายฤดูอีก
นายจวง หมิงชวน (Zhuang Mingchuan) ประธานกรรมการบริษัท Guangxi Weitian Agroecology Co.,Ltd. กล่าวว่า หลังจากประสบความสําเร็จในการปลูกข้าวน้ำเค็มแล้วจะเริ่มผลักดันให้เกิดความแพร่หลายในบริเวณพื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลของกว่างซีเสียก่อน จากนั้นค่อยขยายไปยังพื้นที่เลียบฝั่งชายทะเลในประเทศสมาชิกอาเซียน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสําหรับประเทศไทยเช่นกัน
สําหรับข้อสงสัยที่ว่า “ข้าวน้ำเค็มหุงแล้วจะเค็มหรือไม่” คําตอบ คือไม่เค็ม ในทางกลับกันในน้ำทะเลมีแร่ธาตุค่อนข้างสูง ทําให้ข้าวน้ำเค็มอุดมไปด้วยแร่ธาตุมากกว่าข้าวทั่วไป นอกจากนี้ แมลงศัตรูพืชยังมีน้อยกว่าข้าวที่ปลูกในน้ำจืดและสามารถต้านทานโรคได้สูงอีกด้วย