แนะนำข่าวสารดีๆสำหรับชาวเกษตรกร และชาวสวนมะนาวไทย ให้ทราบทิศทางคู่แข่ง กลยุทธ์ของจีนเรื่องการส่งออกมะนาวค่ะ ชาวสวนมะนาวไทยอาจจะต้องมีแผนรับมือหากทำการส่งออกนะคะ
อําเภออานเยว่ เมืองจือหยาง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองที่ปลูกมะนาวคุณภาพเยี่ยมได้เป็นจํานวนมาก ได้รับรางวัลเหรียญทองจากงานเทศกาลผลไม้นานาชาติที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยเมืองจือหยางสามารถผลิตมะนาวได้มากถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการปลูกมะนาวในประเทศจีน โดยรัฐบาลเสฉวนจับมือกับองค์กรชั้นนําในท้องถิ่นเมืองจือหยางเตรียมสร้างฐานการผลิตและส่งออกมะนาวที่อําเภออานเยว่ เมืองจือหยาง ตั้งเป้าหมายให้สําเร็จลุล่วงภายในปี ค.ศ. 2020 พร้อมได้เตรียมแผนดําเนินการที่สําคัญ 4 ข้อ คือ
1.เริ่มจากการจัดสรรพื้นที่ในอําเภออานเยว่เป็นพื้นที่สําหรับการปลูกมะนาว และแบ่งพื้นที่อีกส่วนเพื่อสร้างเป็นโรงงานผลิตเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตมะนาวให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลควบคุมคุณภาพของมะนาว โดยแบ่งฐานการผลิตออกเป็น3 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานการปลูกมะนาวมาตรฐานคุณภาพระดับการส่งออกต่างประเทศ 2) ฐานการปลูกมะนาวมาตรฐานระดับการบริโภคภายในประเทศ 3) ฐานการปลูกมะนาวปลอดสารพิษได้ใบรับรองมาตรฐานระดับประเทศ
3.ปรับปรุงพื้นที่แปลงปลูกมะนาวด้วยการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเตรียมดิน ปรับปรุงดิน ใช้วิธีการปลูกพืชแบบยกร่องด้วยการขุดคันดินล้อมรอบแปลงให้สูงขึ้น โดยร่องที่ขุดจะใช้เก็บกักน้ำและให้น้ำแก่ต้นมะนาว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตมะนาวให้มากขึ้น จากไร่ละ2,000 กก. เพิ่มขึ้นเป็นไร่ละ 5,000 กก.
4.สร้างแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ โดยเริ่มต้นจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า งานนิทรรศการต่าง ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล รวมไปถึงการสร้างสารคดีภาพยนตร์เกี่ยวกับมะนาวอานเยว่ เพื่อเป็นการแนะนําและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
มะนาวอานเยว่ได้รับเลือกให้เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของเสฉวน 3 ปีซ้อน อีกทั้งยังได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อสินค้าดีเด่น (ประเภทผักและผลไม้) แห่งชาติ 3 ปีซ้อน ในปี 2560 ที่ผ่านมา เมืองจือหยางสามารถผลิตมะนาวอานเยว่ได้มากถึง 6 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,240 ล้านหยวน ส่งออกไปยังฮ่องกง รัสเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป รวมกว่า 30 ประเทศทั่วโลก และเป็นตัวอย่างที่ดีของ branding สินค้าเกษตรพื้นเมืองให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
เครดิตที่มาข่าว
http://globthailand.com/china_0174/
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู
เปิดแผนการผลิตมะนาวเพื่อป้อนตลาดโลกของเมืองจือหยาง ชาวสวนมะนาวไทยควรอ่าน
แนะนำข่าวสารดีๆสำหรับชาวเกษตรกร และชาวสวนมะนาวไทย ให้ทราบทิศทางคู่แข่ง กลยุทธ์ของจีนเรื่องการส่งออกมะนาวค่ะ ชาวสวนมะนาวไทยอาจจะต้องมีแผนรับมือหากทำการส่งออกนะคะ
อําเภออานเยว่ เมืองจือหยาง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองที่ปลูกมะนาวคุณภาพเยี่ยมได้เป็นจํานวนมาก ได้รับรางวัลเหรียญทองจากงานเทศกาลผลไม้นานาชาติที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยเมืองจือหยางสามารถผลิตมะนาวได้มากถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการปลูกมะนาวในประเทศจีน โดยรัฐบาลเสฉวนจับมือกับองค์กรชั้นนําในท้องถิ่นเมืองจือหยางเตรียมสร้างฐานการผลิตและส่งออกมะนาวที่อําเภออานเยว่ เมืองจือหยาง ตั้งเป้าหมายให้สําเร็จลุล่วงภายในปี ค.ศ. 2020 พร้อมได้เตรียมแผนดําเนินการที่สําคัญ 4 ข้อ คือ
1.เริ่มจากการจัดสรรพื้นที่ในอําเภออานเยว่เป็นพื้นที่สําหรับการปลูกมะนาว และแบ่งพื้นที่อีกส่วนเพื่อสร้างเป็นโรงงานผลิตเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตมะนาวให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลควบคุมคุณภาพของมะนาว โดยแบ่งฐานการผลิตออกเป็น3 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานการปลูกมะนาวมาตรฐานคุณภาพระดับการส่งออกต่างประเทศ 2) ฐานการปลูกมะนาวมาตรฐานระดับการบริโภคภายในประเทศ 3) ฐานการปลูกมะนาวปลอดสารพิษได้ใบรับรองมาตรฐานระดับประเทศ
3.ปรับปรุงพื้นที่แปลงปลูกมะนาวด้วยการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเตรียมดิน ปรับปรุงดิน ใช้วิธีการปลูกพืชแบบยกร่องด้วยการขุดคันดินล้อมรอบแปลงให้สูงขึ้น โดยร่องที่ขุดจะใช้เก็บกักน้ำและให้น้ำแก่ต้นมะนาว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตมะนาวให้มากขึ้น จากไร่ละ2,000 กก. เพิ่มขึ้นเป็นไร่ละ 5,000 กก.
4.สร้างแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ โดยเริ่มต้นจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า งานนิทรรศการต่าง ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล รวมไปถึงการสร้างสารคดีภาพยนตร์เกี่ยวกับมะนาวอานเยว่ เพื่อเป็นการแนะนําและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
มะนาวอานเยว่ได้รับเลือกให้เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของเสฉวน 3 ปีซ้อน อีกทั้งยังได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อสินค้าดีเด่น (ประเภทผักและผลไม้) แห่งชาติ 3 ปีซ้อน ในปี 2560 ที่ผ่านมา เมืองจือหยางสามารถผลิตมะนาวอานเยว่ได้มากถึง 6 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,240 ล้านหยวน ส่งออกไปยังฮ่องกง รัสเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป รวมกว่า 30 ประเทศทั่วโลก และเป็นตัวอย่างที่ดีของ branding สินค้าเกษตรพื้นเมืองให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
เครดิตที่มาข่าว http://globthailand.com/china_0174/
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู