คำเตือน *** Heavy Spoiler Content *** และรีวิวยาวมาก
เมื่อดูภาพยนตร์เรื่อง Joker นี้จบ คุณ ”รู้สึก” ว่า โจ๊กเกอร์ เป็นตัวละครประเภทไหนครับ?
โจ๊กเกอร์ เป็นคนดี หรือคนเลว?
เป็นคนดีที่ไม่มีทางเลือก
หรือ เป็นคนเทาๆ ที่ถูกปัจจัยต่างๆรุมเร้า จนเลือกทางเดินแบบ Loser โดยมีข้ออ้างว่าถูกสังคมทำร้าย
หรือ เป็นคนเลว ที่คอยเก็บซ่อนความเหี้ยมโหด รอการปลดปล่อย
สำหรับผม Joker คือเรื่องราว ที่เกิดขึ้นได้จริง ในสภาพแวดล้อมที่ปล่อยให้มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากเกินไป
หลังดูจบ ผมไม่ได้คิดว่าตัวหนังมัน Dark หรือชวนให้อารมณ์หม่นหมอง ไม่ได้ชวนให้รู้สึกอารมณ์รุนแรง ดุเดือดเลือดพล่าน ไม่ใด้ชวนให้มีอาการจิตตก โลกมืด เศร้าซึม หรือกระตุ้นอาการความซึมเศร้าแต่อย่างใด
นั่นก็เพราะ นี่เป็นหนังที่เล่าเรื่องราวของคนจนๆคนหนึ่ง ที่มีโอกาสในที่ชีวิตอันจำกัด ด้วยเพราะมีโรคประจำตัวทางระบบประสาทคอยคุกคาม ทำให้เขาเป็นชายต่ำต้อย ไม่มีใครเข้าใจ มีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น ท่ามกลางสังคมที่เหลื่อมหล้ำและระบบความยุติธรรมล้มเหลว
ดังที่มีให้เราพบเห็นได้ทั่วไป ในโลกใบนี้
----------------------------------------------------------------------------
1. The Inequality and Violence : ความรุนแรงในสังคมอันเหลื่อมล้ำ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้อัตราอาชญากรรมเพิ่มขึ้น คือความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ได้หมายรวมถึงเพียงแค่รายได้ต่อหัว แต่ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โอกาสทางการแพทย์ โอกาสการมีอาชีพ การได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
หนังเรื่องนี้มี Setting เบื้องหลังคือ Gotham City ซึ่งผู้กำกับพยายามคุมโทน แสดงให้เราเห็นความเหลื่อมล้ำในเมืองได้อย่างชัดเจน ดังเห็นได้จากสภาพบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงสวยงาม คฤหาส โรงแรมหรู หนุ่มสาวฐานะดี แต่งตัวหรูหรา แต่ที่มีมากไม่แพ้กันคือกลุ่มคนไร้บ้าน คนยากคนจน และมุมที่เต็มไปด้วยขยะสกปรก ไม่น่าพิศมัย
Gotham City จึงเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด ความโกลาหล ความไม่ลงรอยกันระหว่างชนชั้นล่างและเหล่า Elites เป็นเมืองที่แม้จะยังดูสงบในตอนต้น แต่ความรุนแรง ความเคียดแค้นในใจผู้ถูกกดขี่ ก็พร้อมจะปะทุขึ้นทุกเมื่อ รอแค่เมื่อไหร่จะมีคนมา “ลั่นไก”
.
----------------------------------------------------------------------------
2. The worst part about having a mental illness is people expect you to behave as if you don’t : สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของการมีความเจ็บป่วยทางจิตใจ คือผู้คนรอบข้างมาคาดหวังว่าคุณต้องใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ
หนังเปิดเรื่องมาด้วยการแนะนำให้เรารู้จักกับ Arthur Fleck ชายวัยกลางคน ที่กำลังนั่งฉีกยิ้ม พร้อมคราบน้ำตา ก่อนจะออกไปรับงานแสดงเป็นตัวตลก เราเห็นแววตาอันเศร้าสร้อยของเขา และเห็นรอยยิ้มปลอมๆที่เขาต้องทำตลอดเวลา ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
แม่ของเขา – Penny Fleck – สอนให้เขาทำหน้ายิ้มไว้เสมอ (Wear a happy face) และเขาก็ทำมันอย่างเคร่งครัด
Arthur ป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถคุมเสียงหัวเราะของตัวเองได้ เขามักจะโพล่งหัวเราะออกมาในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
อาการหัวเราะแบบไม่ถูกกาละเทศะนี้เป็นบ่อยจนเขาต้องพกการ์ดติดตัวไว้ ให้คน ”ปกติ” ได้รับรู้ว่าเขาไม่ได้แกล้ง หรือเป็น “บ้า” มันเป็นโรคทางระบบประสาทจริงๆ
แต่ถึงอย่างนั้น ผู้คนก็ไม่เข้าใจ และมักมองเขาด้วยสายตาแปลกประหลาด เชิงรังเกียจ เกิดเป็นการตีตราบาปทางสังคม (Social Stigma) ว่าเขาเป็นคนบ้า และไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าใกล้ จึงไม่แปลกใจที่ชีวิตของ Arthur นั้น ดูโดดเดี่ยวเหลือเกิน
.
----------------------------------------------------------------------------
3. She says I was put here to spread joy and laughter : แม่บอกฉันอยู่เสมอว่า ฉันเกิดมาเพื่อสร้างความสุขและเสียงหัวเราะ
ในตอนต้น หนังแสดงให้เราเห็น Arthur ในแง่มุมการเป็นคนธรรมดา หาเช้ากินค่ำ ที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพไปวันๆ ด้วยอาชีพตัวตลก เห็นความไม่มีกิน อดอยาก ด้วยสภาพตัวเอกเราที่ผอมแห้งเห็นกระดูก เห็นแง่มุมที่เขาเป็นคนมีจิตใจ “ดี” โดยแสดงออกผ่านฉากที่เขาเล่นกับเด็กๆ ผ่านการแสดงให้ผู้ชมเห็นว่าเขาเป็นลูกที่ดี ที่เลี้ยงดูแม่ ทั้งอาบน้ำ หาอาหารให้ทาน ซึ่งเขาสามารถดูแลแม่ที่เจ็บป่วยอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
Arthur มี Idol ที่เขานับถือยกย่อง คือ Murray Franklin – พีธีกรประจำรายการ “Live With Murray Franklin” Murray สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้คนมากมาย รวมถึงตัว Arthur เอง
เราเห็นความหมายและความฝันของตัวเอกเรื่องนี้ ผ่านฉากที่เกิดในจินตนาการของ Arthur ที่ตัวเขาได้ไปโผล่อยู่ในรายการของ Murray
เราเห็นการพูดคุยระหว่าง Arthur และ Murray ที่เป็นไปอย่างชื่นมื่น เห็น Arthur ที่ยิ้มอย่างมีความสุข ผ่านคำพูดที่ออกมาจากใจจริงเขา เขาเชื่อว่าตัวเองเป็น “คนดี” ทำหน้าที่ดูแลครอบครัวอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเชื่อโดยสุจริตว่าตนเกิดมาเพื่อมอบความสุขและเสียงหัวเราะให้โลกใบนี้ ตามคำแม่สอนและปลูกฝัง
.
----------------------------------------------------------------------------
4. Is it just me, or is it getting crazier out there? : มีแค่ฉันคนเดียวที่รู้สึกเป็นบ้า หรือข้างนอก (ผู้คนในสังคม) มันบ้ากันไปหมดแล้ว
.
อย่างไรก็ตามชีวิตเขาก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ด้วยความเป็นคนที่มีความผิดปกติ เป็นคนจน และดันใช้ชีวิตในเมืองที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ แต่เขาพยายามจะอยู่ในสังคมนี้ให้ได้ ด้วยหวังว่าจะไปถึงฝันที่ต้องการ คือ เผยแพร่เสียงหัวเราะให้โลกใบนี้
เขาไปหานักสังคมสงเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ กินยาสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็มีคนที่ให้เขาได้พูดระบายความในใจอะไรได้บ้าง แต่จนแล้วจนรอด โครงการก็โดนยุบไป เพราะ “ไม่มีเงินสนับสนุน”
จนเมื่อถูกแก๊งเด็กเลวขโมยป้าย ก็ต้องวิ่งตามไปเองโดยไม่มีแม้ตำรวจ หรือพลเมืองดี ยื่นมือช่วยเหลือ เขาถูกรุมกระทืบ นอนร้องไห้ด้วยความทรมาน แถมยังมาโดนเจ้านายหักค่าป้ายที่พังเพราะเด็กเลวพวกนั้นไปอีก
ความน่าเวทนานั้นทำให้เพื่อนร่วมงานของเขา “หวังดี” ซื้อปืนมาให้ เป็นภาระให้ตัวเขาต้องหาทางป้องกันตนเอง ในเมืองที่ตำรวจไม่อยู่เป็นที่พึ่งของประชาชน
.
----------------------------------------------------------------------------
5. People Are Starting To Notice : ผู้คนเริ่มยอมรับการมีตัวตนอยู่ของ “ฉัน”
“ถ้าอยากรู้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร ก็เอา “อำนาจ” ใส่มือเขาดู เมื่อนั้น “ธาตุแท้” ของเขาก็จะปรากฏ”
ปืนกระบอกนี้ ให้อำนาจแก่ Arthur จากแต่เดิมที่เขาเป็นผู้ถูกกระทำน่าสมเพชมาโดยตลอด
หลังจากเหตุการณ์ที่ Arthur เผลอทำปืนตกในโรงพยาบาลเด็ก และถูกไล่ออกจากงาน
หนังก็เริ่มเผยอีกด้านหนึ่งของ Arthur Fleck ด้านที่เป็นผลจากความเกรี้ยวกราด และความโกรธแค้นที่สะสมบ่มเอาไว้
ในฉากรถไฟฟ้าใต้ดิน เราเห็นผู้ชายแต่งตัวภูมิฐานสามคนกำลังรุมทำร้ายผู้หญิงคนหนึ่ง
ผู้หญิงคนนั้นส่งสายตาหา Arthur เพื่อแสดงสัญญาณขอความช่วยเหลือ แต่ Arthur เกิดความอีหลักอีเหลื่อ เขารู้ดีว่าเขาไม่ควรเข้าไปยุ่งอะไร
แต่โชคร้าย อาการหัวเราะของเขากลับมาแสดงออกมาอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นเหตุให้ทั้งสามคนนั้นเข้ามารุมทำร้ายเขา
ในตอนแรกเขาพยายามขอโทษ เขาไม่ได้ตั้งใจ มันเป็นสิ่งที่เขาคุมไม่ได้ แต่ชายทั้งสามคนนั้นก็ไม่ฟัง ยังคงรุมกระทืบเขา
อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้มันเปลี่ยนไป เขาไม่ได้เป็นคนผอมกะหร่องที่ไม่มีเรี่ยวแรง ที่ต้องนอนถูกรุมกระทืบอีกต่อไป
เขามีอำนาจในมือ และมันถึงเวลาที่ความเกรี้ยวกราดของเขา จะออกมาแล้ว
Arthur “ยิง” ผู้ชายสองคนเข้าที่จุดตาย เพื่อปกป้องตัวเอง
ตามมาด้วยการ “ตั้งใจฆ่า” ชายคนที่สาม เพื่อปกปิดหลักฐาน
เรื่องตลกร้ายคือ ถ้าสามคนนั้นเป็นคนชนชั้นล่างธรรมดา หนังสือพิมพ์ก็อาจจะไม่ออกข่าวอะไร ตำรวจ(ในเรื่อง)ก็อาจจะไม่ได้ทำงานหาผู้ร้ายอะไรนัก
แต่ทั้งสามคนนั้นคือนักธุรกิจหนุ่งของ Wayne Enterprise บริษัทที่เป็นตัวแทนจุดสูงสุดของความเหลื่อมล้ำ
ทั้งสามคนนั้นคือ Elites คือ “คนพิเศษ”
สิ่งที่ Arthur ทำลงไป จึงกลายเป็น “สัญลักษณ์”
สัญลักษณ์ความเป็นคนเถื่อน ในมุมมองของเหล่า Elites แห่ง Gotham City
สัญลักษณ์ความเป็นผู้จดประกายการต่อสู้ ต่อความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่ปลุกไฟในเหล่าคนที่ถูกกดขี่ ให้ลุกขึ้นมาสู้
สิ่งที่Arthur ได้ทำลงไป คือ การ “ลั่นไก” จุดชนวนให้เหล่าคนที่ไม่พอใจในความเหลื่อมล้ำ ออกมาแสดงพลัง
“ตัวตลก (The Clown) ” กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง และมันทำให้เขาเริ่มมีตัวตน เขารู้สึกถึงการเป็นที่ยอมรับ
มันทำให้ตัวตนอีกด้านของ Arthur เริ่มแสดงออกมา
.
----------------------------------------------------------------------------
(มีต่อในความเห็นนะครับ)
[CR] บทเรียนจากภาพยนตร์ Joker (2019): คนดีที่ถูกสังคมแย่ๆทำร้าย หรือ ฆาตกรโรคจิตเดนตายที่ใช้ความด้อยเป็นข้ออ้าง?
คำเตือน *** Heavy Spoiler Content *** และรีวิวยาวมาก
เมื่อดูภาพยนตร์เรื่อง Joker นี้จบ คุณ ”รู้สึก” ว่า โจ๊กเกอร์ เป็นตัวละครประเภทไหนครับ?
โจ๊กเกอร์ เป็นคนดี หรือคนเลว?
เป็นคนดีที่ไม่มีทางเลือก
หรือ เป็นคนเทาๆ ที่ถูกปัจจัยต่างๆรุมเร้า จนเลือกทางเดินแบบ Loser โดยมีข้ออ้างว่าถูกสังคมทำร้าย
หรือ เป็นคนเลว ที่คอยเก็บซ่อนความเหี้ยมโหด รอการปลดปล่อย
สำหรับผม Joker คือเรื่องราว ที่เกิดขึ้นได้จริง ในสภาพแวดล้อมที่ปล่อยให้มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากเกินไป
หลังดูจบ ผมไม่ได้คิดว่าตัวหนังมัน Dark หรือชวนให้อารมณ์หม่นหมอง ไม่ได้ชวนให้รู้สึกอารมณ์รุนแรง ดุเดือดเลือดพล่าน ไม่ใด้ชวนให้มีอาการจิตตก โลกมืด เศร้าซึม หรือกระตุ้นอาการความซึมเศร้าแต่อย่างใด
นั่นก็เพราะ นี่เป็นหนังที่เล่าเรื่องราวของคนจนๆคนหนึ่ง ที่มีโอกาสในที่ชีวิตอันจำกัด ด้วยเพราะมีโรคประจำตัวทางระบบประสาทคอยคุกคาม ทำให้เขาเป็นชายต่ำต้อย ไม่มีใครเข้าใจ มีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น ท่ามกลางสังคมที่เหลื่อมหล้ำและระบบความยุติธรรมล้มเหลว
ดังที่มีให้เราพบเห็นได้ทั่วไป ในโลกใบนี้
----------------------------------------------------------------------------
1. The Inequality and Violence : ความรุนแรงในสังคมอันเหลื่อมล้ำ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้อัตราอาชญากรรมเพิ่มขึ้น คือความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ได้หมายรวมถึงเพียงแค่รายได้ต่อหัว แต่ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โอกาสทางการแพทย์ โอกาสการมีอาชีพ การได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
หนังเรื่องนี้มี Setting เบื้องหลังคือ Gotham City ซึ่งผู้กำกับพยายามคุมโทน แสดงให้เราเห็นความเหลื่อมล้ำในเมืองได้อย่างชัดเจน ดังเห็นได้จากสภาพบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงสวยงาม คฤหาส โรงแรมหรู หนุ่มสาวฐานะดี แต่งตัวหรูหรา แต่ที่มีมากไม่แพ้กันคือกลุ่มคนไร้บ้าน คนยากคนจน และมุมที่เต็มไปด้วยขยะสกปรก ไม่น่าพิศมัย
Gotham City จึงเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด ความโกลาหล ความไม่ลงรอยกันระหว่างชนชั้นล่างและเหล่า Elites เป็นเมืองที่แม้จะยังดูสงบในตอนต้น แต่ความรุนแรง ความเคียดแค้นในใจผู้ถูกกดขี่ ก็พร้อมจะปะทุขึ้นทุกเมื่อ รอแค่เมื่อไหร่จะมีคนมา “ลั่นไก”
.
----------------------------------------------------------------------------
2. The worst part about having a mental illness is people expect you to behave as if you don’t : สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของการมีความเจ็บป่วยทางจิตใจ คือผู้คนรอบข้างมาคาดหวังว่าคุณต้องใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ
หนังเปิดเรื่องมาด้วยการแนะนำให้เรารู้จักกับ Arthur Fleck ชายวัยกลางคน ที่กำลังนั่งฉีกยิ้ม พร้อมคราบน้ำตา ก่อนจะออกไปรับงานแสดงเป็นตัวตลก เราเห็นแววตาอันเศร้าสร้อยของเขา และเห็นรอยยิ้มปลอมๆที่เขาต้องทำตลอดเวลา ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
แม่ของเขา – Penny Fleck – สอนให้เขาทำหน้ายิ้มไว้เสมอ (Wear a happy face) และเขาก็ทำมันอย่างเคร่งครัด
Arthur ป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถคุมเสียงหัวเราะของตัวเองได้ เขามักจะโพล่งหัวเราะออกมาในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
อาการหัวเราะแบบไม่ถูกกาละเทศะนี้เป็นบ่อยจนเขาต้องพกการ์ดติดตัวไว้ ให้คน ”ปกติ” ได้รับรู้ว่าเขาไม่ได้แกล้ง หรือเป็น “บ้า” มันเป็นโรคทางระบบประสาทจริงๆ
แต่ถึงอย่างนั้น ผู้คนก็ไม่เข้าใจ และมักมองเขาด้วยสายตาแปลกประหลาด เชิงรังเกียจ เกิดเป็นการตีตราบาปทางสังคม (Social Stigma) ว่าเขาเป็นคนบ้า และไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าใกล้ จึงไม่แปลกใจที่ชีวิตของ Arthur นั้น ดูโดดเดี่ยวเหลือเกิน
.
----------------------------------------------------------------------------
3. She says I was put here to spread joy and laughter : แม่บอกฉันอยู่เสมอว่า ฉันเกิดมาเพื่อสร้างความสุขและเสียงหัวเราะ
ในตอนต้น หนังแสดงให้เราเห็น Arthur ในแง่มุมการเป็นคนธรรมดา หาเช้ากินค่ำ ที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพไปวันๆ ด้วยอาชีพตัวตลก เห็นความไม่มีกิน อดอยาก ด้วยสภาพตัวเอกเราที่ผอมแห้งเห็นกระดูก เห็นแง่มุมที่เขาเป็นคนมีจิตใจ “ดี” โดยแสดงออกผ่านฉากที่เขาเล่นกับเด็กๆ ผ่านการแสดงให้ผู้ชมเห็นว่าเขาเป็นลูกที่ดี ที่เลี้ยงดูแม่ ทั้งอาบน้ำ หาอาหารให้ทาน ซึ่งเขาสามารถดูแลแม่ที่เจ็บป่วยอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
Arthur มี Idol ที่เขานับถือยกย่อง คือ Murray Franklin – พีธีกรประจำรายการ “Live With Murray Franklin” Murray สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้คนมากมาย รวมถึงตัว Arthur เอง
เราเห็นความหมายและความฝันของตัวเอกเรื่องนี้ ผ่านฉากที่เกิดในจินตนาการของ Arthur ที่ตัวเขาได้ไปโผล่อยู่ในรายการของ Murray
เราเห็นการพูดคุยระหว่าง Arthur และ Murray ที่เป็นไปอย่างชื่นมื่น เห็น Arthur ที่ยิ้มอย่างมีความสุข ผ่านคำพูดที่ออกมาจากใจจริงเขา เขาเชื่อว่าตัวเองเป็น “คนดี” ทำหน้าที่ดูแลครอบครัวอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเชื่อโดยสุจริตว่าตนเกิดมาเพื่อมอบความสุขและเสียงหัวเราะให้โลกใบนี้ ตามคำแม่สอนและปลูกฝัง
.
----------------------------------------------------------------------------
4. Is it just me, or is it getting crazier out there? : มีแค่ฉันคนเดียวที่รู้สึกเป็นบ้า หรือข้างนอก (ผู้คนในสังคม) มันบ้ากันไปหมดแล้ว
.
อย่างไรก็ตามชีวิตเขาก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ด้วยความเป็นคนที่มีความผิดปกติ เป็นคนจน และดันใช้ชีวิตในเมืองที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ แต่เขาพยายามจะอยู่ในสังคมนี้ให้ได้ ด้วยหวังว่าจะไปถึงฝันที่ต้องการ คือ เผยแพร่เสียงหัวเราะให้โลกใบนี้
เขาไปหานักสังคมสงเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ กินยาสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็มีคนที่ให้เขาได้พูดระบายความในใจอะไรได้บ้าง แต่จนแล้วจนรอด โครงการก็โดนยุบไป เพราะ “ไม่มีเงินสนับสนุน”
จนเมื่อถูกแก๊งเด็กเลวขโมยป้าย ก็ต้องวิ่งตามไปเองโดยไม่มีแม้ตำรวจ หรือพลเมืองดี ยื่นมือช่วยเหลือ เขาถูกรุมกระทืบ นอนร้องไห้ด้วยความทรมาน แถมยังมาโดนเจ้านายหักค่าป้ายที่พังเพราะเด็กเลวพวกนั้นไปอีก
ความน่าเวทนานั้นทำให้เพื่อนร่วมงานของเขา “หวังดี” ซื้อปืนมาให้ เป็นภาระให้ตัวเขาต้องหาทางป้องกันตนเอง ในเมืองที่ตำรวจไม่อยู่เป็นที่พึ่งของประชาชน
.
----------------------------------------------------------------------------
5. People Are Starting To Notice : ผู้คนเริ่มยอมรับการมีตัวตนอยู่ของ “ฉัน”
“ถ้าอยากรู้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร ก็เอา “อำนาจ” ใส่มือเขาดู เมื่อนั้น “ธาตุแท้” ของเขาก็จะปรากฏ”
ปืนกระบอกนี้ ให้อำนาจแก่ Arthur จากแต่เดิมที่เขาเป็นผู้ถูกกระทำน่าสมเพชมาโดยตลอด
หลังจากเหตุการณ์ที่ Arthur เผลอทำปืนตกในโรงพยาบาลเด็ก และถูกไล่ออกจากงาน
หนังก็เริ่มเผยอีกด้านหนึ่งของ Arthur Fleck ด้านที่เป็นผลจากความเกรี้ยวกราด และความโกรธแค้นที่สะสมบ่มเอาไว้
ในฉากรถไฟฟ้าใต้ดิน เราเห็นผู้ชายแต่งตัวภูมิฐานสามคนกำลังรุมทำร้ายผู้หญิงคนหนึ่ง
ผู้หญิงคนนั้นส่งสายตาหา Arthur เพื่อแสดงสัญญาณขอความช่วยเหลือ แต่ Arthur เกิดความอีหลักอีเหลื่อ เขารู้ดีว่าเขาไม่ควรเข้าไปยุ่งอะไร
แต่โชคร้าย อาการหัวเราะของเขากลับมาแสดงออกมาอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นเหตุให้ทั้งสามคนนั้นเข้ามารุมทำร้ายเขา
ในตอนแรกเขาพยายามขอโทษ เขาไม่ได้ตั้งใจ มันเป็นสิ่งที่เขาคุมไม่ได้ แต่ชายทั้งสามคนนั้นก็ไม่ฟัง ยังคงรุมกระทืบเขา
อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้มันเปลี่ยนไป เขาไม่ได้เป็นคนผอมกะหร่องที่ไม่มีเรี่ยวแรง ที่ต้องนอนถูกรุมกระทืบอีกต่อไป
เขามีอำนาจในมือ และมันถึงเวลาที่ความเกรี้ยวกราดของเขา จะออกมาแล้ว
Arthur “ยิง” ผู้ชายสองคนเข้าที่จุดตาย เพื่อปกป้องตัวเอง
ตามมาด้วยการ “ตั้งใจฆ่า” ชายคนที่สาม เพื่อปกปิดหลักฐาน
เรื่องตลกร้ายคือ ถ้าสามคนนั้นเป็นคนชนชั้นล่างธรรมดา หนังสือพิมพ์ก็อาจจะไม่ออกข่าวอะไร ตำรวจ(ในเรื่อง)ก็อาจจะไม่ได้ทำงานหาผู้ร้ายอะไรนัก
แต่ทั้งสามคนนั้นคือนักธุรกิจหนุ่งของ Wayne Enterprise บริษัทที่เป็นตัวแทนจุดสูงสุดของความเหลื่อมล้ำ
ทั้งสามคนนั้นคือ Elites คือ “คนพิเศษ”
สิ่งที่ Arthur ทำลงไป จึงกลายเป็น “สัญลักษณ์”
สัญลักษณ์ความเป็นคนเถื่อน ในมุมมองของเหล่า Elites แห่ง Gotham City
สัญลักษณ์ความเป็นผู้จดประกายการต่อสู้ ต่อความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่ปลุกไฟในเหล่าคนที่ถูกกดขี่ ให้ลุกขึ้นมาสู้
สิ่งที่Arthur ได้ทำลงไป คือ การ “ลั่นไก” จุดชนวนให้เหล่าคนที่ไม่พอใจในความเหลื่อมล้ำ ออกมาแสดงพลัง
“ตัวตลก (The Clown) ” กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง และมันทำให้เขาเริ่มมีตัวตน เขารู้สึกถึงการเป็นที่ยอมรับ
มันทำให้ตัวตนอีกด้านของ Arthur เริ่มแสดงออกมา
.
----------------------------------------------------------------------------
(มีต่อในความเห็นนะครับ)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้