เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมาเป็นวันคล้ายวันสถาปนาหอสมุดแห่งชาติ ปีที่ ๑๑๔ ทางสำนักหอสมุดแห่งชาติ นำโดยนางสาวกนกอร ศักดาเดช ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลเลี้ยงพระเพลจำนวน ๑๐+๑ รูป ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เทเวศน์ กรุงเทพฯ โดยได้เกียรติจากนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส
ภูมิหลังหอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่จัดเก็บ รวบรวม สงวนรักษา และอนุรักษ์มรดกทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาการ ศิลปกรรม และวัฒนธรรมของชาติ ในรูปของหนังสือตัวพิมพ์เอกสารโบราณ ได้แก่ ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิคส์ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ให้บริการความรู้และข่าวสารแก่คนในชาติ
ประวัติความเป็นมา
หอสมุดแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นโดยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระสมุด ๓ แห่งเข้าด้วยกันคือ หอพุทธสาสนะสังคหะ หอพระมณเฑียรธรรม และหอพระสมุดวชิรญาณ แล้วพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตั้งอยู่ ณ หอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง (ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม)
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่ตั้งแห่งใหม่มาอยู่ตึกถาวรวัตถุ ริมถนนหน้าพระธาตุ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙
ในรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่การให้บริการเป็น ๒ แห่งคือ หนังสือตัวพิมพ์ทั้งหมดและหนังสือส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้บริการ ณ ตึกถาวรวัตถุ พระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิราวุธ ส่วนศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย ตู้ลายรดน้ำ ย้ายไปให้บริการที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอพระสมุดวชิรญาณและหอพระสมุดวชิราวุธ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙
ครั้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๖ กำหนดให้หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเป็นกองหอสมุด ขึ้นอยู่ในกรมศิลปากร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดแห่งชาติได้พัฒนามาเป็นลำดับ สถานที่ให้บริการที่ตึกถาวรวัตถุจึงไม่เพียงพอ กรมศิลปากรจึงดำเนินการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ที่ท่าวาสุกรี แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ และเริ่มให้บริการ ณ สถานที่แห่งใหม่มาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๑๘ : ย้ายศิลาจารึก ตู้ลายรดน้ำ จากตึกถาวรวัตถุมายังอาคารหอพระสมุดวชิรญาณ
พ.ศ.๒๕๒๒ : ตั้งศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ในบริเวณตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ
พ.ศ.๒๕๒๔ : ตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์ บริเวณทิศเหนือของหอสมุดแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๒๘ : เปิดให้บริการที่อาคารหลังใหม่ (อาคาร ๓) ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘
พ.ศ.๒๕๓๓ : เปิดอาคาร หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ.๒๕๓๗ : เปิดบริการ ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร
พ.ศ.๒๕๔๐ : เปิดบริการ “หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙”
พ.ศ.๒๕๔๒ : เปิดบริการ “หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ”
พ.ศ.๒๕๕๑ : จัดตั้ง อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ
พ.ศ. ๒๕๕๔ : เปิด อาคารหอสมุดแห่งชาติ อาคาร ๒
พ.ศ. ๒๕๑๔ - ปัจจุบัน หอสมุดแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ๑๑ แห่ง
สำหรับงานบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาหอสมุดแห่งชาติ ปีที่ ๑๑๔ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ตัวผมได้ทีโอกาสเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ผมจึงขออนุญาตนำภาพบรรยากาศของงานในวันนั้นมาให้ได้ชมกันครับ
เริ่มจากพิธีสงฆ์ ถวายสังฆทาน และถวายเพล
บรรดาแขกผู้มีเกียรติที่ไปร่วมงานรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
งานบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาหอสมุดแห่งชาติ ปีที่ ๑๑๔
หอสมุดแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่จัดเก็บ รวบรวม สงวนรักษา และอนุรักษ์มรดกทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาการ ศิลปกรรม และวัฒนธรรมของชาติ ในรูปของหนังสือตัวพิมพ์เอกสารโบราณ ได้แก่ ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิคส์ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ให้บริการความรู้และข่าวสารแก่คนในชาติ
ประวัติความเป็นมา
หอสมุดแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นโดยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระสมุด ๓ แห่งเข้าด้วยกันคือ หอพุทธสาสนะสังคหะ หอพระมณเฑียรธรรม และหอพระสมุดวชิรญาณ แล้วพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตั้งอยู่ ณ หอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง (ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม)
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่ตั้งแห่งใหม่มาอยู่ตึกถาวรวัตถุ ริมถนนหน้าพระธาตุ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙
ในรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายพื้นที่การให้บริการเป็น ๒ แห่งคือ หนังสือตัวพิมพ์ทั้งหมดและหนังสือส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้บริการ ณ ตึกถาวรวัตถุ พระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิราวุธ ส่วนศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย ตู้ลายรดน้ำ ย้ายไปให้บริการที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอพระสมุดวชิรญาณและหอพระสมุดวชิราวุธ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙
ครั้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๖ กำหนดให้หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเป็นกองหอสมุด ขึ้นอยู่ในกรมศิลปากร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดแห่งชาติได้พัฒนามาเป็นลำดับ สถานที่ให้บริการที่ตึกถาวรวัตถุจึงไม่เพียงพอ กรมศิลปากรจึงดำเนินการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ที่ท่าวาสุกรี แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ และเริ่มให้บริการ ณ สถานที่แห่งใหม่มาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๑๘ : ย้ายศิลาจารึก ตู้ลายรดน้ำ จากตึกถาวรวัตถุมายังอาคารหอพระสมุดวชิรญาณ
พ.ศ.๒๕๒๒ : ตั้งศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ในบริเวณตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ
พ.ศ.๒๕๒๔ : ตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์ บริเวณทิศเหนือของหอสมุดแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๒๘ : เปิดให้บริการที่อาคารหลังใหม่ (อาคาร ๓) ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘
พ.ศ.๒๕๓๓ : เปิดอาคาร หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ.๒๕๓๗ : เปิดบริการ ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร
พ.ศ.๒๕๔๐ : เปิดบริการ “หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙”
พ.ศ.๒๕๔๒ : เปิดบริการ “หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ”
พ.ศ.๒๕๕๑ : จัดตั้ง อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ
พ.ศ. ๒๕๕๔ : เปิด อาคารหอสมุดแห่งชาติ อาคาร ๒
พ.ศ. ๒๕๑๔ - ปัจจุบัน หอสมุดแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ๑๑ แห่ง