10 อันดับ สัตว์ที่เคลื่อนที่ด้วยวิธีแปลกประหลาดและน่าทึ่งที่สุด

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

โลกของเราเต็มไปด้วยความสุดขั้วมากมาย สถานที่ที่สุดขั้ว สัตว์ที่สุดขั้ว แต่สัตว์บางชนิดก็สุดขั้วเหนือไปกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ
และ กระทู้นี้ผมจะพาคุณนับอันดับไปกับ 10 สัตว์ที่เคลื่อนที่โดยการออกแรงกล้ามเนื้อน้อยที่สุด

10. แมงมุมตกปลา (Fishing spider) - Genus Dolomedes


สัตว์อันดับ 10 ของเรา ย่องก้าวเข้ามาด้วย 8 ขา เป็นจำนวนขาที่เยอะที่สุดเลยในผู้แข่งขันทั้งหมด
การที่แมงมุมเคลื่อนที่ไปมาได้นั้น ต้องขอบคุณระบบไฮดรอลิก เพราะแมงมุม มีกล้ามเนื้อแค่ที่ขาปล้องที่ติดลำตัว
เพื่อที่จะยืดขาออก แมงมุมสูบฉีดของเหลวเข้าไปในปล้องที่กลวง (Hollow appendage), เป็นหลักการทำงานเดียวกันกับสายยางที่สวน ที่มันสามารถยืดตรงแข็งได้เมื่อมีน้ำอยู่ในสาย
แมงมุมบางชนิดก็วิธีอื่นในการเคลื่อนที่, เริ่มจากการที่แมงมุมขึ้นไปสูงที่สุดที่มันจะไปได้ ยกก้นขึ้นไปในอากาศ และ สร้างร่มชูชีพ (Parachute)

เส้นใยเพียงเส้นเดียวนั้น เบามากพอที่จะถูกพัดพาไปโดยลม และ แข็งแรงมากพอที่จะพาแมงมุมไปด้วย และ การเคลื่อนที่แบบนี้เราก็เรียกมันว่าเป็น การสร้างบอลลูน (Ballooning) และด้วย กระแสลมกรด (Jet stream) บางทีเราก็สามารถพบเจอ บอลลูนแมงมุมที่ความสูงมากกว่า 4,000 เมตรเหนือพื้นดิน หรือ ระยะไกลมากกว่า 1,600 เมตร จากชายฝั่งเสียอีก ซึ่งนั่นก็ทำให้มันข้ามน้ำข้ามทะเลไปเที่ยวได้
แต่มันก็มีแมงมุมประเภทนึง ที่ไม่ต้องการร่มชูชีพสำหรับการข้ามทะเล เพราะว่า มันสามารถเดินบนน้ำได้
และนี่คือ แมงมุมตกปลา (Fishing spider)

มันสามารถลอยน้ำได้ ด้วยแรงตึงผิว (Surface tension), ขามันมีสารเคลือบพิเศษที่ไล่น้ำออกไปได้
แทนที่จะเดิน มันกลับพาย (Row) ตัวมันไป ด้วยใช้ขาเป็นไม้พาย (Oar)
และเพื่อจะเคลื่อนที่ให้เร็วขึ้น มันสามารถดีดตัวขึ้นสูง ทำเหมือนเป็น การควบม้า (Gallop) ได้ด้วย

9. ตุ๊กแก (Gecko) - Infraorder Gekkota


ผู้แข่งขันอันดับ 9 ของเราคือ ตุ๊กแก เพราะมันสามารถยึดติดลำตัวได้กับแทบทุกพื้นผิว แม้แต่ สิ่งที่เรียบมากอย่าง กระจก หรือ การเดินกลับด้านบน เพดาน
ตุ๊กแกส่วนใหญ่ อาศัยในป่าฝน (Tropical forest) และ มันเป็นสัตว์กลางคืน (Nocturnal) โดยธรรมชาติ
ไม่เหมือนนักไต่ชนิดอื่นๆ ตุ๊กแกไม่จำเป็นต้องใช้ ถ้วยดูดสุญญากาศ (Suction cup), ตะขอเกี่ยว (Velcro hook), ของเหลวเหนียว (Sticky secretion) แทนที่สิ่งเหล่านั้น ใต้เท้าแต่ละข้างของมันนั้นมีขนอยู่ประมาณ ครึ่งล้าน และที่ปลายขนแต่ละเส้นก็มีการแยกออกมากกว่าพันรอบ

มันเล็กจนสามารถสัมผัสถึงโครงสร้างโมโลกุลของพื้นผิวที่มันแตะต้องได้
แต่มันก็มีปัญหาในเรื่องของความเร็ว

8. ชะนี (Gibbon) - Family Hylobatidae


เมื่อพูดถึงการเคลื่อนที่ในป่าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไม่มีสัตว์ชนิดไหนที่มีความนุ่มนวมและความเร็ว เทียบท่ากับ นักกายกรรมแห่งป่า เหล่านี้
ชะนี มีขนาดที่ต่างกับ กอริลล่า ลูกพี่ลูกน้องของมัน อย่างมาก ตัวเต็มวัยบางชนิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 4 กิโลกรัม ด้วยซ้ำ และนั่นที่ให้มันสามารถห้อยโหนแม้กระทั่งกับกิ่งไม้ที่เล็กที่สุด ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
ด้วยแขนที่ยาวกว่าลำตัวได้มากถึง 2.5 เท่า และ มือที่โค้งงอเหมือนตะขอ มันสมบูรณ์แบบสำหรับการเคลื่อนที่ระหว่างกิ่งไม้ (Brachiation) 

7. เสือชีตาห์ (Cheetah) - Acinonyx jubatus


เราสามารถเจออันดับ 7 บน ที่ราบแอฟริกา แต่เราจะต้องว่องไว เพราะนี่คือสัตว์ 4 ขาที่เร็วที่สุด
ในเวลาสั้นๆที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (Short burst) เสือชีตาห์สามารถมีความเร็วได้ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
ด้วยความเร็วขนาดนี้ มันต้องใช้การออกแบบทางวิศวะกรรมที่ดี, เสือชีตาห์สามารถเร่งความเร็วจาก 0 เป็น 60 กม./ชม. ในเพียงแค่ 3 ก้าว (Stride)
ขณะวิ่ง มันมีการหายใจที่สูงถึง 150 รอบต่อนาที โดยใช้ รูจมูก (Nostril) ที่ใหญ่สุดในสัตว์ตระกูลแมว 
กระดูกที่เบามากของมัน ให้ความสำคัญ (Feature) กระดูกสันหลัง (Spine) ที่เป็นเหมือน สปริง ส่งพลังมหาศาลไปยังขาหลัง เพื่อยืดลำตัวยาวไปถึง 7 เมตร

ที่ความเร็วสูงสุด เสือชีตาห์ก้าว 3 ครั้งต่อนาที และมันก็สามารถเปลี่ยนทิศทางกะทันหันขณะวิ่ง
แต่เมื่อวิ่งไปประมาณ 500 เมตร เสือชีตาห์ก็เหนื่อยล้าและร้อน ด้วยอุณหภูมิร่างกาย 40 องศาเซลเซียส ที่ทำให้ตายได้

6. นกเพนกวินจักรพรรดิ (Emperor penguin) - Actenodytes forsteri


สัตว์อันดับ 6 ของเรานั้น เดินเป๋ไปเป๋มา (Waddle) บนผืนน้ำแข็งแอนตาร์กติกา
มันมี 4 ปีกหรือขา (Limb) แต่ใช้เพียง 2 สำหรับการเคลื่อนที่บนบก
การเดินเป๋ของมันอาจจะดูไม่อ่อนช้อยมากนัก แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า มันมีการประหยัดพลังงานอย่างสุดยอด, การเดินแกว่งของมันเป็นเหมือน ลูกตุ้ม (Pendulum) ที่กักเก็บพลังงานไว้ที่จุดปลายสุดของการแกว่ง สำหรับใช้ในก้าวต่อๆไป
รูปแบบการเดินที่มีเอกลักษณ์นี้ ทำให้มันเดินจากสถานที่ผสมพันธุ์ (Breeding ground) ไปยังทะเล ซึ่งห่างออกไปถึง 80 กิโลเมตร ได้ในระยะเวลาอันสั้น
แม้จะดูอุ้ยอ้าย แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำ มันสามารถร่อนถลาได้อย่างชำนาญ ด้วยความเร็ว 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่า นักว่ายน้ำโอลิมปิก ประมาณ 3 เท่า

มันกิน ปลา หมึก และ สัตว์เปลือกแข็ง (Crustacean) ที่หาได้จากการดำน้ำที่นานถึง 20 นาทีต่อการหายใจ 1 รอบ
และเมื่ออยู่บนพื้นน้ำแข็งราบเรียบ เราจะใช้ขาทำไมในเมื่อที่เราใช้ท้องได้

และ การเลื่อนหิมะ (Tobogganing) ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

5. จิงโจ้ (Kangaroo) - Family Macropodidae


ชนบทอันแห้งแล้ง (Arid outback) ในออสเตรเลีย คือบ้านของผู้แข่งขันต่อไปของเรา
จิงโจ้ มี 4 ขา แต่เคลื่อนที่อย่างเร็วโดยใช้เพียงแค่ 2

ตอนเดินอย่างช้าๆ มันควบคุมสมดุลระหว่าง ขาหน้า และ หาง ในขณะที่ขาหลังขยับไปมาเหมือนลูกตุ้ม
แต่เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น มันใช้กล้ามเนื้อเอ็นขนาดยักษ์ที่ขาหลังถีบส่ง ซึ่งมันสามารถขึ้นไปได้สูงถึง 6 เมตร และ มีความเร็วเคลื่อนที่สูงสุดได้ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขาจิงโจ้มีการอนุรักษ์พลังงานจากก้าวก่อนหน้ามาใช้ในก้าวถัดไปได้มากถึง 70% ในขณะที่มนุษย์นั้นทำได้เพียง 20% เท่านั้น

4. เหยี่ยวฟอลคอนเพเรกริน (Peregrine Falcon) - Falco peregrinus


นักลอบสังหารแห่งท้องฟ้า (Aerial assassin) นี้คือสัตว์ที่เร็วที่สุดในโลก, มันสามารถดำดิ่งลงมาจากที่สูงด้วยความเร็วมากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เหมือนกันกับ ชะนี และ ชีตาห์, ฟอลคอน มีกระดูกที่เบา ซึ่งหนักเพียง 5% ของน้ำหนักตัว
ลำตัวเพรียวลมและอกของมันเรียวเล็กออกสู่ปีกสั้นที่มีปลายแคบ ทำให้มันมีแรงต้านที่น้อยมากๆ
มันมีตาที่ใหญ่เท่ากับครึ่งหัวกะโหลกและมองเห็นเหยื่อได้ไกลถึง 9 กิโลเมตร
เมื่อมันเห็นนกที่บินกลางอากาศ มันจะล็อกเป้าและเริ่มปฏิบัติการโจมตีด้วยหัวนำ (Headlong attack) ที่เรียกว่า สทูป (Stoop)
การทำ สทูป เกิดขึ้นประมาณ 800 เมตรห่างจากเหยื่อ และ ฟอลคอนก็จะหดปีกลู่เข้าสู่ลำตัวก่อน มิสไซล์ ไปหาเหยื่อด้วยกรงเล็บ (Talon) ที่อ้าออกเต็มที่

ด้วยแรงปะทะมหาศาล มันสามารถทำให้นกตายกลางอากาศ ณ จุดชนได้เลย


3. ปลากระโทงร่ม (Sailfish) - Genus Istiophorus


ผู้แข่งขันต่อไปของเราอยู้ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกอันกว้างใหญ่
การเคลื่อนที่ของมันเกิดจากหางที่มีแรงขับเคลื่อนมาจากกล้ามเนื้อลำตัว
หางมันสูงและแคบ ทำให้มีแรงส่งสูงสุดและมีแรงต้านต่ำสุด
ปลากระโทง นั้นยังมีกลยุทธ์ขั้นสุดยอดจาก ครีบหลัง (Dorsal fin) ที่เหมือนใบเรือสำเภา
มันจะขยายครีบอันนี้ใน การเกี้ยวพาราณสี (Courtship) และ การไล่เหยื่ออย่าง ปลาซาร์ดีน (Sardine)
มันโจมตีกลุ่มปลา (School) ด้วยครีบหลังและครีบท้อง (Pelvic fin) ในความเร็วที่สูงได้ถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ นี่คือความเร็วของ ปลาที่เร็วที่สุดในโลก
แต่มันก็เหมือนชีตาห์ที่เหนื่อยง่ายและต้องพักเอาออกซิเจนที่ผิวน้ำ
บางทีเราก็สามารถเห็นมันกระโดดขึ้นมาเหนือน้ำ


2. งูบิน (Flying snake) - Genus Chrysopelea


ผู้แข่งขันอันดับ 2 ของเรา นั้น ไถลเลื่อน (Slither) เข้ามา โดยไม่ใช้ทั้ง แขน ขา ครีบ ปีก เลย 
การเคลื่อนที่ของ งู นั้นเป็นระบบที่ซับซ้อนของ ใยกล้ามเนื้อ (Muscle fiber) และ เอ็น (Tendon) ที่หุ้มรอบซี่โครงประมาณ 300 ชิ้น
งูส่วนใหญ่เคลื่อนที่โดยการหดกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างชุดรูปแบบของคลื่น (Series of waves)

มันมีการผลักพื้นที่ด้านหลังของวงโค้งแต่ละอัน เพื่อไปข้างหน้า ซึ่งก็ดูจะเป็นเรื่องยากลำบาก, และนี่คือเหตุผลที่งูบางชนิดในป่าฝนของเอเชีย ใช้วิธีที่สุดขั้วเพื่อประหยัดพลังงาน
มันจะเลื้อยขึ้นไปที่ปลายสุดของกิ่งไม้

และ ร่อน โดยใช้หางที่เป็นเหมือนสปริงดีดตัว

มันหดตัวแบนราบ ให้เป็นเหมือนร่มชูชีพ และ มันยังสามารถควบคุมทิศทางได้นิดหน่อยโดยการบิดตัวกลางอากาศ 

1. หอยเชลล์ (Scallop) - Family Pectinidae


ตกลงมาสู่อันดับ 1 ที่พื้นมหาสมุทร คือ หอยเชลล์ (Scallop)
มันไม่ได้ดูเหมือนจะเป็นผู้ชนะในสุดยอดนักเคลื่อนที่เลย ในเมื่อที่มันใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกกที่พื้นสมุทร (Seabed) และจับแพลงค์ตอนกิน
หอยเชลล์มีลำตัวที่นุ่มนิ่ม และ ถูกปิดล้อมด้วยเปลือกแข็ง 2 แผ่น
มันไม่มีขา ไม่มีปีก ไม่มีแม้แต่หาง, ดังนั้นคุณอาจคิดว่ามันไม่ขยับไปไหนเลย
แต่เมื่อ ดาวทะเล (Sea star) ที่หิวโหยเข้ามาใกล้ หอยเชลล์ก็ต้องหลบหนี

หอยเชลล์ เป็น อันดับ 1 เพราะมันเคลื่อนที่ด้วย การอัดแรงดันน้ำ (Jet propulsion), งอกล้ามเนื้อที่เชื่อมติด 2 เปลือกหอยเพื่อฉีดน้ำออกจากตัว และนี่ก็เป็นแรงผลักให้มันไปข้างหน้า




จบคร้าบ เป็นไงกันบ้าง ชอบกันมั้ย คอมเม้นกันได้นะคร้าบ
การใช้คำอาจจะแปลกๆนิดนึงนะครับ เพราะ พยายามแปลให้เหมือนวีดีโอต้นฉบับที่สุด
ถ้าอยากให้ทำอีกก็บอกได้นะครับ
ลิงค์วีดีโอต้นฉบับ https://www.youtube.com/watch?v=QrH7LsKIN3U
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่