นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กชื่อ Jessada Denduangboripant เป็นจดหมายเปิดผนึกถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ระบุว่า ผมว่าคุณอนุทินและรัฐมนตรีในสังกัด โดนหลอกให้เป็นเครื่องมือในการแบนสารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิด โดยที่คุณอนุทินได้รับข้อมูลความรู้ที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง
ตัวแรกคือ “คลอร์ไพริฟอส” ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลง ที่มีระดับความเป็นพิษปานกลาง ถ้าใช้ไม่เหมาะสม ก็อาจจะมาถึงผู้บริโภคภายหลังได้ อันนี้อยากแบนก็แบนได้เลยไม่มีใครบ่น
ยาฆ่าหญ้าที่มีประสิทธิภาพดีและราคาถูกอย่าง “พาราควอต” ซึ่งมีประเทศที่ใช้อยู่ทั่วโลกกว่า 80 ประเทศนั้น ปัญหาไม่ใช่เรื่องการตกค้างมาสู่ผู้บริโภค แต่เป็นเรื่องของการที่มีผู้นำไปใช้กินฆ่าตัวตาย หรือเกษตรกรใช้ผิดวิธี ดังนั้น การแบนพาราควอตจึงเป็นการทำร้ายเกษตรกรที่ใช้สารอย่างถูกต้องอยู่แล้ว
ยาฆ่าหญ้าอีกตัว “ไกลโฟเซต” ไม่มีเหตุผลสมควรอะไรเลยที่จะต้องไปแบน เพราะเป็นสารที่มีระดับความเป็นพิษต่ำมาก องค์การอนามัยโลก WHO และองค์การอาหารโลก FAO จัดว่ามันเป็นสารที่ใช้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ องค์กรทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลกแทบทุกองค์กร ก็ยืนยันว่ามันไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง แทบไม่มีประเทศ ใดเลยที่แบนสารตัวนี้ และมักจะนิยมใช้เป็นทางออกเป็นสารทดแทนเสียด้วยซ้ำ ในกรณีที่จะแบนพาราควอต
https://www.thairath.co.th/news/local/1680653
ใครมีความรู้เรื่อง 3 สารพิษ คลอร์ไพริฟอส พาราควอต ไกลโฟเซต บ้างครับ
ตัวแรกคือ “คลอร์ไพริฟอส” ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลง ที่มีระดับความเป็นพิษปานกลาง ถ้าใช้ไม่เหมาะสม ก็อาจจะมาถึงผู้บริโภคภายหลังได้ อันนี้อยากแบนก็แบนได้เลยไม่มีใครบ่น
ยาฆ่าหญ้าที่มีประสิทธิภาพดีและราคาถูกอย่าง “พาราควอต” ซึ่งมีประเทศที่ใช้อยู่ทั่วโลกกว่า 80 ประเทศนั้น ปัญหาไม่ใช่เรื่องการตกค้างมาสู่ผู้บริโภค แต่เป็นเรื่องของการที่มีผู้นำไปใช้กินฆ่าตัวตาย หรือเกษตรกรใช้ผิดวิธี ดังนั้น การแบนพาราควอตจึงเป็นการทำร้ายเกษตรกรที่ใช้สารอย่างถูกต้องอยู่แล้ว
ยาฆ่าหญ้าอีกตัว “ไกลโฟเซต” ไม่มีเหตุผลสมควรอะไรเลยที่จะต้องไปแบน เพราะเป็นสารที่มีระดับความเป็นพิษต่ำมาก องค์การอนามัยโลก WHO และองค์การอาหารโลก FAO จัดว่ามันเป็นสารที่ใช้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ องค์กรทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลกแทบทุกองค์กร ก็ยืนยันว่ามันไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง แทบไม่มีประเทศ ใดเลยที่แบนสารตัวนี้ และมักจะนิยมใช้เป็นทางออกเป็นสารทดแทนเสียด้วยซ้ำ ในกรณีที่จะแบนพาราควอต
https://www.thairath.co.th/news/local/1680653