เกษตรกร และคนไทยไม่ได้โง่ แบบที่ NGO บางกลุ่มคิด

NGO คงเห็นว่าคนอื่นโง่ เลยชอบพูดโกหก หรือพูดข้อมูลที่ไม่ครบ หลอกประชาชน และสังคมตลอดเวลา จนทำให้เกิดความกลัวสารเคมี


คนพวกนี้โกหกจนเคยตัว ทำให้สังคมเข้าใจผิดใช้ข้อมูลเท็จทำร้ายเกษตรกร จนทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน พอเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ขอให้นักวิชาการท่านนั้น นำหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ออกมายืนยัน ก็ไม่กล้าสู้หน้า หลบหนี และไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน

จนทำให้กลุ่มเกษตรกรต้องรวมตัวกัน ขอให้กระทรวงสาธารณะสุข ออกมาชี้แจงผลกระทบจากการที่นักวิชาการท่านนั้น นำเสนอผลวิจัยที่มีข้อมูลบิดเบือน ไม่ถูกต้องบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดความตื่นตระหนก เกิดความเข้าใจผิดในสังคมเป็นวงกว้าง

อยากขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันตรวจสอบ และเปิดโปงด้วยว่า
• มีขบวนการการของกลุ่มคนพวกนี้ได้รับการสนับสนุนการเงินจากไหน
• จากกลุ่มตระกูล ส ที่กินค่าหัวคิวค่ารักษาคนไข้จนโรงพยาบาลขาดทุนกันระเนระนาดขณะนี้หรือเปล่า?
• การใช้เงิน และมีผลประโยชน์อื่นโดยมิชอบ เพื่อมุ่งทำลายเกษตรกรไทย

ร่วมกันออกมาปกป้องเกษตรกรไทย ที่ได้ชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติกันเถอะ



สมาพันธ์เกษตรฯ ยื่นข้อเสนอ สธ.
ทบทวนยกเลิกการใช้สารพาราควอต



"ขณะเดียวกัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลยืนยันว่า การใช้สารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิด ไม่พบว่ามีหลักฐานผลกระทบทางสุขภาพตามที่กล่าวอ้าง สอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของเกษตรกรที่ใช้สารดังกล่าว มานานกว่า 50 ปี ไร้ผลกระทบต่อสุขภาพ"


สมาพันธ์เกษตรปลอดภัยและเครือข่าย ยื่นหนังสือและรายชื่อเกษตรกร 30,000 ราย ร่วม “ค้าน” ยกเลิกการใช้ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ทางการเกษตร ย้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย เหตุ ส่งผลต้นทุนการผลิตเพิ่ม ผลผลิตลดลง รายได้ประเทศสูญหาย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันไม่ก่อปัญหาด้านสุขภาพ


สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย สมาคมผู้ส่งออกทุเรียนและมังคุด สมาคมส่งเสริมธุรกิจ พืชและอาหารสัตว์ และผู้แทนเกษตรกรกลุ่มพืชอ้อย ปาล์ม ยางพารา มะนาว ข้าวโพด ข้าวโพดหวาน มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นผู้แทนกลุ่มเกษตรกรที่ไม่เห็นด้วย นำเสนอรายชื่อคัดค้านจำนวนกว่า 30,000 ราย มอบให้ พลเอก ประสาท สุขเกษตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมด้วยสรุปข้อคิดเห็นของเกษตรกร สมาคมเกษตรกร และนักวิชาการ รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจหากยกเลิกใช้สารดังกล่าวตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอให้ยกเลิกใช้สารทั้ง 3 ชนิด และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คณะกรรมการวัตถุอันตราย


นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย กล่าวว่า ได้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดส่งหนังสือทบทวนไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และได้เข้าพบ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ซึ่งได้มอบหมายให้ พลเอก ประสาท สุขเกษตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นผู้รับผิดชอบ โดยได้ข้อสรุปดังนี้ ขอรับเรื่องไว้และจะนำส่งไปให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ซึ่งข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขยกเลิกใช้นั้น ยังไม่มีการสรุป การดำเนินงานต่อไปจะให้ครอบคลุมเหมาะสมตามข้อเท็จจริง ในส่วนอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่คณะกรรมการวัตถุฯ ซึ่งจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้


“ทั้งนี้ สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย ได้ยื่นเรื่อง ขอให้ “ยกเลิก” ข้อเสนอที่ให้ยกเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พารา ควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ของเกษตรกร พร้อมชี้แจงผลกระทบต่อการนำเสนอผลวิจัยที่มีข้อมูลบิดเบือน ไม่ถูกต้องบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก เกิดความเข้าใจผิดในสังคมวงกว้าง กระทบต่อราคาสินค้า การส่งออกผักและผลไม้ของเกษตรกรเป็นอย่างมาก “ นายสุกรรณ์ กล่าว


นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร สมาคมเกษตรกร เกษตรกร และนักวิชาการ ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ “ไม่เห็นด้วย” กับการยกเลิกการใช้สาร พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พาราควอต เนื่องจากส่งผลกระทบต่อ
1. ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
2. ผลผลิตการเกษตรลดลง
3. การสูญเสียรายได้ระดับประเทศ อันเนื่องมาจากผลผลิตที่ลดลง
คิดเป็นมูลค่าการสูญเสียสูงถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี สำหรับกลุ่มอ้อยและมันสำปะหลัง

ที่มา : บ้านเมือง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่