โครงการ "ชิม ช๊อป ใช้" ใครใช้? ใครได้ประโยชน์?



แจกเงิน 1,000 บาท เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แจก 10 ล้านคน มูลค่าการกระตุ้นทั้งสิ้น 1หมื่นล้านบาท
นับเป็นแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็น
“สองยาแรงและหนึ่งแยบยล”
ยาแรงแรกคือ ให้ประชาชนมีเงินไปใช้ฟรีๆ จำนวน 1,000 บาท
ยาแรงสองคือ ให้ร้านค้าหรือส่วนธุรกิจบริการมีรายได้เข้าจะการอัดฉีดทางเศรษฐกิจที่มีการกระตุ้นการใช้จ่าย
จากข้อมูลคนไทย ที่ใช้ สมาทโฟน์ ปี 59 ประมาณ 31.7 ล้านคน โตปีละ 8%
ผมคำนวนดูปี 62 น่าจะมีคนใช้ประมาณ 32.73 ล้านคน เท่ากับ 3 คนที่ใช้สมาทโฟนจะมี 1 คนได้ใช้สิทธินี้
ยังมีคนอีกกว่า 34 ล้านคนที่ไม่ได้ใช้สมาทโฟน
ยายเมี๊ยนที่บางปลาม้า อาจต้องฝากหลานให้ลงทะเบียนและสมัครให้
อาอึ้มหน้าปากซอยยัง งง อยู่ว่ามันคืออะไร เพราะไม่ค่อยได้เข้าโซเชี่ยวมีเดีย
หากมองให้ดี ยาแรง นี้ เป็นแผนการให้ประชาชนตื่นตัวกับเงินฟรีแล้วรีบใช้จ่าย เพื่อเป็นกระแสในการดำรงค์อยู่ของ ระบอบแผนการแบบรวบรัดนี้หรือไม่?
แต่มองอีกทางในสภาวะแบบนี้ การกระตุ้นด้วยยาแรงอาจทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
หรืออาจเป็นเพียง ชั่วระยะ “ช้างกระดิกหู” “แมวเขย่าหนวด" เพราะการโยนเงินให้ประชาชนมาใช้เงินที่มาจากภาษีของประชาชน เปรียบได้ดั่ง ยืมเงินประชาชนมาให้ประชาชนใช้เอง
แต่ประเด็นสำคัญคือ คนลำบาก เงินไม่ถึงมือ
การใช้กลยุทธ์แบบนี้ คือ หนึ่ง แยบยล
คนไทยตกงานกันเยอะมากด้วยพิษระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน
พฤษภาคม ปี 2556 มีการปล่อยตัวนักโทษจากเรือนจำตาม พระราชกฤษฎีกา จำนวน 50,000 คน (ผู้คนเหล่านี้จะประกอบอาชีพอะไรกัน)
ปี 60 คนตกงาน ทั้งสิ้น 425,000 คน บางข้อมูล บอกว่า ประมาณ 6 แสนคน แต่ผมว่า มากกว่านี้ (คนไทยมีประมาณ 66 ล้านคน หากคิด 6 แสนเท่ากับ 1% นั้นหมายความว่า เดินมา 100 คนมีคนไม่มีงานทำแค่ 1 คนผมคิดว่าตัวเลขนี้น่าจะไม่ใช่)
ที่สำคัญ ในประเทศไทย ประชากร 1ใน 3 ทำอาชีพเกษตรกร
อีย้อยปลูกขนุน ลูกยายเมี๊ยน น่าจะ สงสัยกับ โครงการ ชิม ช้อป ใช้
มาถึงอีกกลุ่มธุรกิจกันบ้าง จำนวนสาขาธนาคารในประเทศไทย
ปี 2552 มี 7,042 สาขา ,ปี 2553 มี 6,998 สาขา ,ปี 2554 มี 6,766 สาขา
ปี 2555 มี 6,717 สาขา ปี56 นี้น่าจะลดลงอีก จากปี 52-55 สาขาปิดไปเกือบ
สามร้อยสาขา สาขานึงน่าจะมีพนักงาน อย่างต่ำ 10 คน (คาดว่าสาขาที่ถูกปิดน่าจะเป็นสาขาไม่ใหญ่มาก) เท่ากับมีพนักงานอย่างต่ำ 3พันคนที่ต้องถามว่า ประชาชนทำงานเหล่านี้ หายไปอยู่ส่วนไหนของแผนกหรือถูกเลย์ออฟไปจำนวนกี่คน
ตัวเลข 10,563 ล้านบาท คือ กำไรตามไตรมาสสอง ปีล่าสุดของ CPALL หรือ 7 Eleven เท่ากับว่า งบประมาณ 1หมื่นล้านนี้ เท่ากับกำไรทั้งหมดของ 7Eleven ที่มีจำนวน กว่า 10,000 สาขา ที่เปรียบเทียบอย่างนี้ไม่ใช่ว่า อวยไปที่ใครแต่ยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพว่า งบประมาณขนาดนี้ เราสร้างองค์กรใหญ่ๆ เพื่อสร้างธุรกิจที่สามารถพลิกชีวิตคนไทย ได้เลย
การกระตุ้นเศรษฐกิจแบบยาแรงเป็นหนทางแก้ไขในสภาวะนี้ได้ดี เพราะสถานะคนไทยในปัจจุบันต้องใช้ยาแรง เปรียบดังคนป่วยในประเทศไทยมีเยอะและเข้าขั้นโคม่า
แต่สิ่งที่เราต้องมองให้ลึกถึงการส่งยาแรงแบบนี้ อาจทำให้ประชาชนดื้อยา
ครั้งต่อไป ยาแรงอาจทำให้ คนป่วย รักษาอะไรไม่เห็นผลแล้ว
การกระตุ้นเศรษฐกิจที่แท้จริงอาจต้องเป็นการ สร้างธุรกิจที่สามารถเยียวยา คนได้เป็นจำนวนมากแบบการสร้างอาชีพที่มั่นคงให้ประชาชน สร้างความรู้ในการพัฒนาธุรกิจเดิมของประชาชนให้เข็มแข็งมากยิ่งขึ้น เปรียบได้ดั่งการสร้างโรงพยาบาลที่มีหมอที่มากพอในการเยียวยารักษาคนไข้
จากแผนเศรษฐกิจล่าสุดที่ผมได้ฟัง ทางรัฐบาลได้มีแบบแผนอนาคตเรื่องการสร้างอาชีพ ซึ่งผมเห็นด้วย แต่สิ่งที่ผมต้องการเห็นและการพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น คือ การสร้างความรู้และการสร้างอาชีพ อย่างจริงจัง
“เงินสามารถแก้ปัญหาได้หลายอย่าง แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่แก้ได้ด้วยเงิน”
เราไปวิ่งกับพี่ตูนช่วยสร้างโรงพยาบาลกันครับ ^^
https://www.facebook.com/111137486916897/posts/135200734510572?sfns=mo
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่