ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำ กรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย. เขาไม่กระ
กระสนด้วย (เจตนาทาง) กาย ไม่กระ
กระสนด้วย (เจตนาทาง) วาจา ไม่กระ
กระสนด้วย (เจตนาทาง) ใจ; กาย
กรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง : คติของเขาตรงอุปบัติของเขาตรง.
ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา คือสวรรค์อันมีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่า ตระกูลอันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลอันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.
ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์, เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น, ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุบัติแล้ว.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจี สุจริตสี่ ผู้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตและเจริญกุศลธรรม
บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่.อย่างนี้
ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)
ภิกษุ ท. ! นี้แล คือธรรมปริยาย อันแสดงความกระ
กระสน ไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์).
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
ภิกษุ ท. ! ส่วนที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ; เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.
ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้(อันปรากฏอยู่.) โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดครองเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย...........
ภิกษุ ท. ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี นั้นดวงหนึ่ง เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับ กิ่งไม้ : ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป, (ไม่มีรู้เหนื่อยเลย) ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน. (...ความสุขแก่ข้าพระเจ้าตลอดชั่วสิ้น.กาลนานเทอญ…ตามนี้.)
- นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔- ๑๑๕/๒๓๐ - ๒๓๒.
ว่าด้วย ทายาทแห่งกรรม
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย. เขาไม่กระกระสนด้วย (เจตนาทาง) กาย ไม่กระ กระสนด้วย (เจตนาทาง) วาจา ไม่กระกระสนด้วย (เจตนาทาง) ใจ; กาย
กรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง : คติของเขาตรงอุปบัติของเขาตรง.
ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา คือสวรรค์อันมีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่า ตระกูลอันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลอันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.
ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์, เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น, ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุบัติแล้ว.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจี สุจริตสี่ ผู้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตและเจริญกุศลธรรม
บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่.อย่างนี้
ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)
ภิกษุ ท. ! นี้แล คือธรรมปริยาย อันแสดงความกระกระสน ไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์).
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
ภิกษุ ท. ! ส่วนที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ; เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.
ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้(อันปรากฏอยู่.) โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดครองเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย...........
ภิกษุ ท. ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี นั้นดวงหนึ่ง เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับ กิ่งไม้ : ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป, (ไม่มีรู้เหนื่อยเลย) ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน. (...ความสุขแก่ข้าพระเจ้าตลอดชั่วสิ้น.กาลนานเทอญ…ตามนี้.)
- นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔- ๑๑๕/๒๓๐ - ๒๓๒.