ทำไงดี? ในวันที่ลูกถูก “แกล้ง” จนไม่อยากไปโรงเรียน!!
สำหรับเด็กๆ นอกจากบ้านแล้ว อีกสถานที่หนึ่งที่พวกเขาใช้เวลาอยู่กับมันมากที่สุดก็คือโรงเรียนใช่มั้ยล่ะครับ ถ้าเด็กๆมีความสุขในการไปโรงเรียน พ่อแม่ก็คงสบายใจและมีความสุขไปด้วย
แต่...ปัญหาที่พบบ่อยในโรงเรียนทุกวันนี้ก็คือการกลั่นแกล้ง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การกลั่นแกล้งทางร่างกาย เช่น ชกต่อย ทุบ ตี ที่อาจจะพบได้บ่อยกว่าในกลุ่มเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิง ก็จะมีการกลั่นแกล้งทางจิตใจ เช่น ถูกกลุ่มเพื่อน “แบน” คือไม่พูด ไม่สุงสิงด้วย หรือในยุคสมัยนี้ยังมีการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (cyber bully) เพิ่มขึ้นมาอีก
ถ้าลูกๆของเรามีอาการผิดปกติ เริ่มไม่อยากไปโรงเรียน อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดีๆ ว่ามีสาเหตุจากเรื่องเหล่านี้ด้วยหรือเปล่า ซึ่งวันนี้พี่หมอมีทั้งสัญญาณเตือนบอกเหตุมาเล่าให้ฟัง รวมถึงวิธีการในการรับมือและป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งเหล่านี้ด้วยครับ
สัญญาณเตือนว่าลูกอาจถูกกลั่นแกล้ง มีอะไรบ้าง
· มีรอยช้ำ รอยหยิก กัด หรือรอยข่วนต่างๆ ตามตัว
· เครียด หงุดหงิด หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติ
· ซึม ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่ยอมกินอาหาร
· ไม่ค่อยยอมพูดถึงเพื่อนหรือกิจกรรมที่โรงเรียน เวลาที่เราชวนคุย
· ฝันร้าย ปัสสาวะรดที่นอนบ่อยๆ
พ่อแม่จะช่วยปกป้องลูกได้อย่างไร?
· ฟังและคุยกับลูกให้เยอะๆ อันนี้สำคัญที่สุดครับ เพราะการพูดคุยจะช่วยให้เด็กๆได้ระบายอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นกับเรื่องที่เกิดขึ้น และลูกจะรู้สึกว่าเราเป็นที่พึ่งให้เค้าได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
· ปรึกษากับทางโรงเรียน และผู้ปกครองของอีกฝ่าย (ถ้าทราบตัวคู่กรณี) เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง
· พยายามหาสาเหตุที่ทำให้ลูกถูกแกล้ง เช่น ถ้าถูกรีดไถเงินหรือถูกแย่งของ เราก็อาจจะป้องกันด้วยการไม่ให้เงินลูกไปโรงเรียนมากจนเกินไป หรือไม่ให้เอาเกม หนังสือการ์ตูนหรือของมีค่าไปโรงเรียน
· บอกลูกว่าไม่ควรอยู่ในบริเวณที่ไม่มีคน หรือเดินไปไหนมาไหนคนเดียว ให้อยู่รวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อป้องกันความเสี่ยง และบอกเขาว่าถ้ามีอะไรผิดปกติ เช่น มีใครมาพูดจาไม่ดีหรือทำร้าย ให้รีบแจ้งครูหรือพ่อแม่ทันที ไม่ต้องกลัวว่าจะกลายเป็นเด็กขี้ฟ้อง
· สอนให้ลูกรู้จักสิทธิของตัวเอง ให้รู้จักปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น พูดออกไปดังๆ เลยว่า “หยุดนะ” หรือ “อย่าทำ” ให้เค้ารู้จักปกป้องตัวเองโดยไม่ต้องใช้กำลัง เพราะจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลาย
· เสริมสร้างให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง เช่น ให้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้าง เพื่อให้เค้าเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น กอดและบอกรักอยู่เสมอเพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ที่สำคัญ ลูกจะได้มีความเชื่อมั่น และสามารถพึ่งพาตัวเองได้เวลาที่ถูกแกล้ง
เวลาที่ลูกบอกว่าถูกแกล้ง พ่อแม่ไม่ควรละเลยหรือคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระของเด็ก แต่ควรใส่ใจและช่วยแก้ปัญหา เพราะเด็กที่โดนแกล้งบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ต่อต้านสังคม หรือลุกลามถึงขั้นทำร้ายตัวเอง ส่วนในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกกลายเป็นฝ่ายที่แกล้งคนอื่น ก็มีแนวโน้มที่จะชอบใช้กำลัง ใช้ยาเสพติด และก่ออาชญากรรมที่รุนแรงขึ้น ในวันข้างหน้าได้
คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่คิดว่าลูกของเราอาจจะอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงนี้ แล้วลองทำตามวิธีที่พี่หมอแนะนำแล้วยังไม่ได้ผล อาจจะต้องปรึกษากับจิตแพทย์เด็กนะครับ ยิ่งแก้ปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีกับตัวเด็กเองเท่านั้น หรือจะทิ้งคำถามที่กำลังหนักอกหนักใจไว้ที่ใต้กระทู้นี้ก็ได้นะครับ
พี่หมอยินดีเป็นสื่อกลางช่วยหาทางแก้ให้ครับ
ทำไงดี? ลูกถูก "แกล้ง" จนไม่อยากไปโรงเรียน!
ทำไงดี? ในวันที่ลูกถูก “แกล้ง” จนไม่อยากไปโรงเรียน!!
สำหรับเด็กๆ นอกจากบ้านแล้ว อีกสถานที่หนึ่งที่พวกเขาใช้เวลาอยู่กับมันมากที่สุดก็คือโรงเรียนใช่มั้ยล่ะครับ ถ้าเด็กๆมีความสุขในการไปโรงเรียน พ่อแม่ก็คงสบายใจและมีความสุขไปด้วย
แต่...ปัญหาที่พบบ่อยในโรงเรียนทุกวันนี้ก็คือการกลั่นแกล้ง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การกลั่นแกล้งทางร่างกาย เช่น ชกต่อย ทุบ ตี ที่อาจจะพบได้บ่อยกว่าในกลุ่มเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิง ก็จะมีการกลั่นแกล้งทางจิตใจ เช่น ถูกกลุ่มเพื่อน “แบน” คือไม่พูด ไม่สุงสิงด้วย หรือในยุคสมัยนี้ยังมีการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (cyber bully) เพิ่มขึ้นมาอีก
ถ้าลูกๆของเรามีอาการผิดปกติ เริ่มไม่อยากไปโรงเรียน อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดีๆ ว่ามีสาเหตุจากเรื่องเหล่านี้ด้วยหรือเปล่า ซึ่งวันนี้พี่หมอมีทั้งสัญญาณเตือนบอกเหตุมาเล่าให้ฟัง รวมถึงวิธีการในการรับมือและป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งเหล่านี้ด้วยครับ
สัญญาณเตือนว่าลูกอาจถูกกลั่นแกล้ง มีอะไรบ้าง
· มีรอยช้ำ รอยหยิก กัด หรือรอยข่วนต่างๆ ตามตัว
· เครียด หงุดหงิด หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติ
· ซึม ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่ยอมกินอาหาร
· ไม่ค่อยยอมพูดถึงเพื่อนหรือกิจกรรมที่โรงเรียน เวลาที่เราชวนคุย
· ฝันร้าย ปัสสาวะรดที่นอนบ่อยๆ
พ่อแม่จะช่วยปกป้องลูกได้อย่างไร?
· ฟังและคุยกับลูกให้เยอะๆ อันนี้สำคัญที่สุดครับ เพราะการพูดคุยจะช่วยให้เด็กๆได้ระบายอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดเห็นกับเรื่องที่เกิดขึ้น และลูกจะรู้สึกว่าเราเป็นที่พึ่งให้เค้าได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
· ปรึกษากับทางโรงเรียน และผู้ปกครองของอีกฝ่าย (ถ้าทราบตัวคู่กรณี) เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง
· พยายามหาสาเหตุที่ทำให้ลูกถูกแกล้ง เช่น ถ้าถูกรีดไถเงินหรือถูกแย่งของ เราก็อาจจะป้องกันด้วยการไม่ให้เงินลูกไปโรงเรียนมากจนเกินไป หรือไม่ให้เอาเกม หนังสือการ์ตูนหรือของมีค่าไปโรงเรียน
· บอกลูกว่าไม่ควรอยู่ในบริเวณที่ไม่มีคน หรือเดินไปไหนมาไหนคนเดียว ให้อยู่รวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อป้องกันความเสี่ยง และบอกเขาว่าถ้ามีอะไรผิดปกติ เช่น มีใครมาพูดจาไม่ดีหรือทำร้าย ให้รีบแจ้งครูหรือพ่อแม่ทันที ไม่ต้องกลัวว่าจะกลายเป็นเด็กขี้ฟ้อง
· สอนให้ลูกรู้จักสิทธิของตัวเอง ให้รู้จักปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น พูดออกไปดังๆ เลยว่า “หยุดนะ” หรือ “อย่าทำ” ให้เค้ารู้จักปกป้องตัวเองโดยไม่ต้องใช้กำลัง เพราะจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลาย
· เสริมสร้างให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง เช่น ให้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้าง เพื่อให้เค้าเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น กอดและบอกรักอยู่เสมอเพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ที่สำคัญ ลูกจะได้มีความเชื่อมั่น และสามารถพึ่งพาตัวเองได้เวลาที่ถูกแกล้ง
เวลาที่ลูกบอกว่าถูกแกล้ง พ่อแม่ไม่ควรละเลยหรือคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระของเด็ก แต่ควรใส่ใจและช่วยแก้ปัญหา เพราะเด็กที่โดนแกล้งบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ต่อต้านสังคม หรือลุกลามถึงขั้นทำร้ายตัวเอง ส่วนในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกกลายเป็นฝ่ายที่แกล้งคนอื่น ก็มีแนวโน้มที่จะชอบใช้กำลัง ใช้ยาเสพติด และก่ออาชญากรรมที่รุนแรงขึ้น ในวันข้างหน้าได้
คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่คิดว่าลูกของเราอาจจะอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงนี้ แล้วลองทำตามวิธีที่พี่หมอแนะนำแล้วยังไม่ได้ผล อาจจะต้องปรึกษากับจิตแพทย์เด็กนะครับ ยิ่งแก้ปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีกับตัวเด็กเองเท่านั้น หรือจะทิ้งคำถามที่กำลังหนักอกหนักใจไว้ที่ใต้กระทู้นี้ก็ได้นะครับ
พี่หมอยินดีเป็นสื่อกลางช่วยหาทางแก้ให้ครับ