ว่าด้วย มหาภูตรูป....

 (ความว่า ภิกษุรุปนั้นได้เข้าสมาธิ อันอาจนำไปสู่เทวโลก.......)

      เกวัฏฏะ !   “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไหน ?” ดังนี้. 
เกวัฏฏะ !  เมื่อเธอถามขึ้นอย่างนี้ เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า “แน่ะภิกาษุ ! เรื่องเก่าแก่มีอยู่ว่า (น้ำได้ท่วมโลก มีเรือรอดมาได้ลำหนึ่ง) เขาได้พานกสำหรับค้นหาฝั่งไปกับเรือด้วย. เมื่อเรือหลงทิศ...และแลไม่เห็นฝั่ง พวกเขาปล่อยนกสำหรับค้นหาฝั่งนั้นไป. นกนั้นบินไปทางทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง ทิศตะวันตกบ้าง ทิศเหนือบ้าง ทิศเบื้องบนบ้าง ทิศน้อย ๆ บ้าง. เมื่อมันเห็นฝั่งทางทิศใดแล้วมันก็จะบินตรงไปยังทิศนั้น, แต่ถ้าไม่เห็นทาง ก็จักบินกลับมาสู่เรือตามเดิม. 

      ภิกษุ ! เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยวหาคำตอบของปัญหานี้มาจนจบทั่วกระทั่งถึงพรหมโลกแล้วในที่สุดก็ยังต้องย้อนมาหาเราอีก. 
     
ภิกษุ !  ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า ‘มหาภูตสี่คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือเศษในที่ไหน ?’ ดังนี้เลย, อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า :- (รูปธรรม(ชาติ)ทั้งกลาย)+(นามธรรม)= ธรรมทั้งปวง(ล้วนเป็นปัจจัย)
 ‘ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ? (เช่น โลกธาตุ เป็นต้น) ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ?  นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน ?’ ดังนี้ ต่างหาก. 
ภิกษุ !  ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :  
 “สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึง.ได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่(เฉพาะตน). ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษสวะเหลือ. นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิท ของวิญญาณ, ดังนี้”. (นั้นแหละ นิพพาน
อุปมา บิดา+มารดาผู้ให้เกิดมาทางไหนก็กลับไปทางนั้น แล้วแต่ผลกรรมนำส่ง ดับที่ตัวผู้ซึ่งให้เกิดเป็นอยู่เดี๋ยวนี้. ไม่รู้จบจักสิ้นนั้นแหละ.(อวิชชา) ↔️🔄
<<<<<<<<<<<<  พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นไม่ได้เมื่อไม่มีผู้ออกจากเเรือน 
ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้บรรลุธรรมถึงนิพพาน เช่น พระอริยะ ฉนั้นพระนิพพานก็ไม่มีความหมาย เช่นเดียวกันถึงฆ่าพระเจ้าให้ตายก็ยังเป็น
อยู่เช่นนั้นเอง.(เป็นผู้ซึ่งไม่มีวันตาย แม้ไม่มีเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ตรม ไม่มีทุกข์นั้นแหละ) คืนไป

ปฏิจจสมุปบาท (คือกล่าวถึงฝ่ายนามธรรม)
อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ (อัตตา)(เหตุนันทิ คือ ตัวอุปาทานขีนธ์ นั่นเอง.)
นามรูป จะดับไปได้เพราะ วิญญาณ (วิญญาณขันธ์) ดับ (ผัสสะ (อายตนะใน 6+นอก 6 )
วิญญาณ จะดับไปได้เพราะ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่งวิญญาณ-เจตสิก -(จนสิ้นสุดความคิด.) ดับ(สังขารทั้งหลาย 3 (กรรม)
กายสังขาร เจตนาทางกาย -การกระทำเป็นไปทางกาย
วจีสังขาร เจตนาทางวาจา-การกระทำเป็นไปทางวาจา
มโนสังขาร เจตนาทางใจ-การกระทำซึ่งไว้ในใจ
สังขาร จะดับไปได้เพราะ อวิชชา (ความไม่รู้อย่างแจ่มแจ้ง อริยสัจจ์ 4) ดับ
วิชชาเกิดขึ้น..แสงสว่างเกิดขึ้น..นิพพาน.นั้นแหละ
>>>>>>>>•
พระเจ้าตรัสว่า "จงให้มีความสว่าง" แล้วความสว่างก็เกิดขึ้น 3
พระเจ้าทรงเห็นว่าความสว่างนั้นดี(วิชชา) และพระเจ้าทรงแยกความสว่างนั้นออกจากความมืด(อวิชชา) 4;
และเพื่อแยกแสงสว่างออกจากความมืด พระเจ้าทรงเห็นว่าดี 18.(ทางนั้น)
 - Bible ปฐมกาล 1
;เทียบ.......................
ภิกษุ ท. ! แต่ว่า ในกาลใดแล ตถาคต-ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ บังเกิดขึ้นในโลก ; 
ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมี. 
ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่ง กระทำความบอด.  
ลำดับนั้น ย่อมมีการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย  
การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ทั้งสี่.  
ซึ่งอริยสัจทั้งสี่อย่างไรเล่า ? คือซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ  
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. 
 ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า  
“นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้เถิด. 
 
 - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๓/๑๗๒๑. ย

 myMail
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่