ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักซุปเปอร์โพล (Super Poll) นำเสนอผลการสำรวจภาคสนาม เรื่อง พริตตี้ ลัลลาเบล กับ ปัญหาสังคม กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทุกประเภท จำนวนทั้งสิ้น 1,565 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quatitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระหว่าง 19-22 กันยายนที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 ระบุภาพสะท้อนสังคมไทยจากกรณีพริตตี้ ลัลลาเบล คือ คนไม่มีคุณธรรม รองลงมาคือ ร้อยละ 47,7 ระบุความปลอดภัยต่ำ ร้อยละ 41.5 ระบุ สังคมเน่า เสื่อม ร้อยละ 24.3 ระบุ คนเป็นทาสเงินตรา ค่าครองชีพ และร้อยละ 15.3 ระบุ คนในสังคมไม่ช่วยกันดูแล
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.0 ระบุ อาชีพพริตตี้ไม่ใช่อาชีพที่น่ารังเกียจ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.3 ระบุ เป็นอาชีพที่หาเงินได้มาก
อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงคือ เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.0 ระบุยอมเสี่ยงเสียตัวแลกกับเงินก้อนใหญ่ และเมื่อจำแนกออกตามช่วงอายุ พบว่า ในกลุ่มเยาชนหญิงคืออายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวนมากหรือร้อยละ 40.0 ยอมเสี่ยงแลกกับเงินก้อนใหญ่ และหญิงที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไปเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.7 ยอมเสี่ยงกับการเสียตัวแลกกับเงินก้อนใหญ่
ที่มา
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1680808
‘ซูเปอร์โพล’ ชี้สาว 15-19 ปี เกือบครึ่ง ยอมเสียงเสียตัวเพื่อแลกเงินก้อนใหญ่
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 ระบุภาพสะท้อนสังคมไทยจากกรณีพริตตี้ ลัลลาเบล คือ คนไม่มีคุณธรรม รองลงมาคือ ร้อยละ 47,7 ระบุความปลอดภัยต่ำ ร้อยละ 41.5 ระบุ สังคมเน่า เสื่อม ร้อยละ 24.3 ระบุ คนเป็นทาสเงินตรา ค่าครองชีพ และร้อยละ 15.3 ระบุ คนในสังคมไม่ช่วยกันดูแล
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.0 ระบุ อาชีพพริตตี้ไม่ใช่อาชีพที่น่ารังเกียจ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.3 ระบุ เป็นอาชีพที่หาเงินได้มาก
อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงคือ เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.0 ระบุยอมเสี่ยงเสียตัวแลกกับเงินก้อนใหญ่ และเมื่อจำแนกออกตามช่วงอายุ พบว่า ในกลุ่มเยาชนหญิงคืออายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวนมากหรือร้อยละ 40.0 ยอมเสี่ยงแลกกับเงินก้อนใหญ่ และหญิงที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไปเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.7 ยอมเสี่ยงกับการเสียตัวแลกกับเงินก้อนใหญ่
ที่มา https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1680808