ธนาคารโลกเผย ในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ระบบราชการไทยถอยหลัง อยู่อันดับรั้งท้ายของอาเซียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ธนาคารโลกได้จัดทำรายงานดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศต่างๆ โดยระบุว่านับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา คุณภาพของระบบราชการไทยลดลงจากช่วงปี 1980-1999 กว่าร้อยละ 30 ขณะที่ระบบราชการของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์กลับมีความก้าวหน้ามากขึ้น
ส่งผลให้ไทยตกจากอันดับ 2 ที่ตามหลังเพียงสิงคโปร์ มาอยู่อันดับรั้งท้ายร่วมกับเวียดนามและอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังระบุอีกว่า การที่คุณภาพของระบบราชการไทยแย่ลง จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะสูงถึงร้อยละ 7 ต่อปี ภาคการส่งออกเติบโตถึงร้อยละ 15 การลงทุนของเอกชนสูงกว่าร้อยละ 30 ของจีดีพี และอัตราความยากจนลดลงเป็นอย่างมาก
แต่ในปี 2014 ประชากรไทยถึง 7.1 ล้านคนยังอยู่ในภาวะยากจน และอีก 6.7 ล้านคนเสี่ยงต่อการตกสู่ภาวะยากจน โดยเฉพาะประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ ช่องว่างระหว่างกรุงเทพฯ กับชทบทยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่รายได้ต่อครัวเรือน การบริโภค ระดับการศึกษา ทักษะการประกอบอาชีพ และความสามารถในการผลิต
http://news.voicetv.co.th/world/476922.html
<<< ธนาคารโลก ..." ระบบราชการไทยถอยหลัง อยู่อันดับรั้งท้ายของอาเซียน " >>>
ธนาคารโลกได้จัดทำรายงานดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศต่างๆ โดยระบุว่านับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา คุณภาพของระบบราชการไทยลดลงจากช่วงปี 1980-1999 กว่าร้อยละ 30 ขณะที่ระบบราชการของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์กลับมีความก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ไทยตกจากอันดับ 2 ที่ตามหลังเพียงสิงคโปร์ มาอยู่อันดับรั้งท้ายร่วมกับเวียดนามและอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังระบุอีกว่า การที่คุณภาพของระบบราชการไทยแย่ลง จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะสูงถึงร้อยละ 7 ต่อปี ภาคการส่งออกเติบโตถึงร้อยละ 15 การลงทุนของเอกชนสูงกว่าร้อยละ 30 ของจีดีพี และอัตราความยากจนลดลงเป็นอย่างมาก
แต่ในปี 2014 ประชากรไทยถึง 7.1 ล้านคนยังอยู่ในภาวะยากจน และอีก 6.7 ล้านคนเสี่ยงต่อการตกสู่ภาวะยากจน โดยเฉพาะประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ ช่องว่างระหว่างกรุงเทพฯ กับชทบทยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่รายได้ต่อครัวเรือน การบริโภค ระดับการศึกษา ทักษะการประกอบอาชีพ และความสามารถในการผลิต
http://news.voicetv.co.th/world/476922.html