JJNY : #Conforall พุ่งทะลุ 1 แสนแล้ว!│โพลศรีปทุม ‘ก้าวไกล-เพื่อไทย’│ก.อุตฯชง‘เศรษฐา’│ปูตินออกคำสั่ง“กองกำลังกึ่งทหาร”

พลังประชาชน ยอด #Conforall ล่าชื่อ ‘เขียน รธน.ใหม่’ พุ่งทะลุ 1 แสนแล้ว!
https://www.matichon.co.th/politics/news_4147816
 
 
พลังประชาชน ยอด #Conforall ล่าชื่อ ‘เขียน รธน.ใหม่’ พุ่งทะลุ 1 แสนแล้ว!
 
สืบเนื่องแคมเปญ “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” #conforall ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รณรงค์โดย กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยหลายองค์กร อาทิ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (iLaw) เพื่อร่วมผลักดันการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตั้งเป้าหมายเชิญชวนประชาชนเข้าชื่อให้ครบ 50,000 ชื่อ เพื่อเสนอคำถามสำหรับการทำประชามติ ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทว่า กกต.ระบุว่า ไม่สามารถนำรายชื่อที่รวบรวมผ่านช่องทางออนไลน์ไปเสนอคำถามประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้

จึงต้องขอแรงประชาชนร่วมกันลงรายชื่อใหม่อีกครั้งบนกระดาษ ตามจุดต่างๆ ที่มีการตั้งบูธ ต้องได้ 50,000 รายชื่อตามเป้า ภายใน 25 สิงหาคมนี้ ซึ่งล่าสุดได้ทะลุเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อย
 
และทางไอลอว์ นำโดย นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการไอลอว์ ยังคงนำทีมงานนับรายชื่อผู้ร่วมแคมเปญต่อไป ทั้งจากที่ส่งมาทางไปรษณีย์ และตามจุดลงทะเบียนต่างๆ
 
ล่าสุด เมื่อเวลา 22.24 น. วันที่ 25 สิงหาคม เพจ iLaw ได้อัพเดตว่า #ConforALL แสนแตกแล้วจ้า
 
ภาพบรรยากาศการเข้าชื่อแคมเปญ #conforall วันสุดท้าย ตัวเลขอัพเดตล่าสุดเวลา 22.06 น.อยู่ที่จำนวน 112,507 รายชื่อ
ทั้งนี้ ยังมีรายชื่อที่ยังไม่ได้ถูกนับจากไปรษณีย์และยังคงมีประชาชนนำรายชื่อมาส่งอย่างต่อเนื่อง นี่จึงยังไม่ใช่ตัวเลขสุดท้ายของแคมเปญนี้
ขอขอบคุณประชาชนทุกคนสำหรับวันนี้ที่ฝ่าฝนตก รถติดในวันศุกร์เพื่อมาลงชื่อที่ออฟฟิศ iLaw ไรเดอร์ที่ขับมาส่งรายชื่อมากกว่าห้าร้อยคัน รวมถึงอีกหลายๆ คนที่พยายามไปตามหาจุดลงชื่อตามสถานที่ต่างๆ
 
ทั้งหมดนี้ ประชาชนกว่าแสนรายชื่อพยายามอย่างหนักเพื่อเสนอคำถามประชามติให้ได้ว่า “รัฐธรรมนูญต้องเขียนใหม่ทั้งฉบับ และ ส.ส.ร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100%


 
โพลศรีปทุม เปิดคะแนนนิยม ‘ก้าวไกล-เพื่อไทย’ หลังตั้งรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4147732

ม.ศรีปทุม-ดีโหวต เปิดบล็อกเชนโพล คะแนนนิยมหลังตั้งรัฐบาล-นายกฯ เพื่อไทยไหลไปก้าวไกล 51% แต่ยังหวังนโยบายสำเร็จอาจกลับมาเลือก
 
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) เปิดเผยผลการวัดคะแนนนิยมหลังจากการเลือกตั้งเพื่อประเมินความพึงพอใจและการตอบสนองความคาดหวังของประชาชนจากแต่ละพรรคการเมืองภายหลังได้รับเสียงเลือกจากประชาชนไปแล้ว ในประเด็นที่ว่า “หากมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในวันนี้ คุณจะเลือกพรรคใด”
 
โดยสำรวจระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2566 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,253 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 พบว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งสูงสุด 6 อันดับแรก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของคะแนนนิยมเฉลี่ย (เฉลี่ยจากผลการเลือกตั้ง 2566 ของแต่ละพรรค ทั้งบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขตเมื่อนำมาคำนวณเป็นร้อยละ) จากเพิ่มขึ้นไปน้อยลงตามลำดับดังนี้
 
• พรรคก้าวไกล คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.39
• พรรคภูมิใจไทย คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.50
• พรรครวมไทยสร้างชาติ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.84
• พรรคพลังประชารัฐ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 6.02
• พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 9.96
• พรรคเพื่อไทย คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 62.24
 
ซึ่งการที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของคะแนนนิยมเฉลี่ยมากที่สุดนั้น เกิดจากการที่ได้มีโอกาสสลับกันเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นที่สนใจของประชาชนจำนวนมาก โดยคะแนนนิยมที่ลดลงของพรรคเพื่อไทยร้อยละ 51.32 ได้ไหลไปหาพรรคก้าวไกล ในขณะที่ร้อยละ 10.92 ได้ไหลไปหาพรรคอื่นๆ
 
ทั้งนี้ โพลคะแนนนิยมเฉลี่ยหากมีการเลือกตั้งใหม่วันนี้ จะเลือกพรรคใด โดย พบว่า ก้าวไกล 49.05% เพื่อไทย 10.65% น้อยกว่าภูมิใจไทยที่ 14.69% พลังประชารัฐ 7.52% รวมไทยสร้างชาติ 7.14% และประชาธิปัตย์ 4.50%
 
ทั้งนี้ ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นศรีปทุม-ดีโหวต ยังได้ทำการสำรวจเบื้องต้นในประเด็นต่างๆ ระหว่างวันที่ 17-24 ส.ค.2566 โดยในประเด็น “คุณคิดว่าการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วที่นำโดยพรรคเพื่อไทยเกิดจากความตั้งใจตั้งแต่แรกหรือไม่?” (514 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 93.0)
 
ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 58.79 ระบุว่า “เกิดจากความตั้งใจตั้งแต่แรก เป็นการวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วระหว่างเพื่อไทยและขั้วรัฐบาลเดิม” ร้อยละ 25.20 ระบุว่า “ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจตั้งแต่แรก เมื่อการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคถึงทางตัน จึงต้องปรับแผนด้วยการข้ามขั้ว” และร้อยละ 16.02 ระบุว่า “ไม่รู้/ไม่แน่ใจ”
 
โดยสำหรับผู้ตอบว่าเกิดจากความตั้งใจแต่แรกถึงเหตุผลที่คิดว่าเหตุใดพรรคเพื่อไทยจึงตั้งใจวางแผนจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วนั้น ร้อยละ 36.52% ระบุว่า “เพราะคิดว่าการให้ก้าวไกลร่วมรัฐบาลและได้มีโอกาสทำผลงาน จะส่งผลเสียต่อความนิยมของเพื่อไทยในอนาคต” ร้อยละ 28.52 ระบุว่า “เพราะคิดว่าการมีก้าวไกล ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลไม่มีทางสำเร็จ” ร้อยละ 22.07% ระบุว่า “เพราะคิดว่าการมีก้าวไกล ถึงจะตั้งรัฐบาลสำเร็จ แต่ไม่นานก็ถูกกลุ่มอำนาจเก่าล้มอยู่ดี” และร้อยละ 12.89 ระบุว่า “ไม่รู้/ไม่แน่ใจ”
 
สำหรับประเด็น “นโยบายรัฐบาลเพื่อไทยข้อใดที่คุณอยากให้ทำสำเร็จมากที่สุด 3 อันดับแรก” (446 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 93.0) ร้อยละ 40.41 ระบุว่า “ค่าแรง 600 บาทต่อวัน เงินเดือน ป. ตรี 25,000 บาท” ร้อยละ 39.95 ระบุว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท” ร้อยละ 37.47 ระบุว่า “ปรับลดราคาพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า” ร้อยละ 32.51 ระบุว่า “จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหาร” และร้อยละ 23.70 ระบุว่า “ปฏิรูประบบราชการและทหาร”
 
โดยกลุ่มตัวอย่างระบุเพิ่มเติมว่าหากพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลสามารถทำนโยบายดังกล่าวได้สำเร็จ ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามีโอกาสจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาล โดยร้อยละ 27.31 ระบุว่า “เลือกแน่นอน” และร้อยละ 24.15 ระบุว่า “อาจจะเลือก”
 
สำหรับประเด็น “ท่านเห็นชอบหรือไม่? ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” (523 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 93.0) ร้อยละ 75.53 ระบุว่า “เห็นชอบ ควรจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ” ร้อยละ 12.14 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ ควรแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา” ร้อยละ 3.85 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ ไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญเลย” ในขณะที่ประเด็นที่มาของ ส.ส.ร. ร้อยละ 82.34 ระบุว่า “ส.ส.ร.ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมด” ร้อยละ 9.17 ระบุว่า “ส.ส.ร.ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนบางส่วน และมาจากการแต่งตั้งบางส่วน” และร้อยละ 2.52 ระบุว่า “ส.ส.ร.ควรมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด”
 
ทั้งนี้ ระบบได้เปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามพิมพ์ตอบอย่างอิสระถึงประเด็นที่เห็นว่าควรปรับปรุงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยระบบ AI ได้สรุปประเด็นที่ควรปรับปรุงคือ อำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีควรเป็นของ ส.ส. ที่มาจากประชาชนโดยตรง โดยไม่มีอำนาจของ ส.ว., ที่มาของ ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน, ประเด็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น, ประเด็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน, การป้องกันรัฐประหาร, และคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้อย่างแท้จริง เป็นต้น


 
ก.อุตฯ ชง ‘เศรษฐา’ เคาะอีวี3.5 แทน3.0 จบสิ้นปี ต่อส่วนลดบูมตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
https://www.matichon.co.th/economy/news_4147378

ก.อุตฯ ชง ‘เศรษฐา’ เคาะอีวี 3.5 แทน 3.0 จบสิ้นปี ต่อส่วนลดบูมตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ย้ำหนุนชาวไร่เลิกเผาลดฝุ่น แต่ไม่ให้เงินแบบเดิม รีวีว 4 อุตเป้าหมายตามเทรนด์โลกก่อนชงรัฐบาลเดินหน้า

แหล่งข่าวจาก กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เบื้องต้นวันที่ 31 สิงหาคมนี้ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จะประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวง รัฐวิสาหกิจ และสถาบันเครือข่ายกระทรวง เพื่อเตรียมเสนอแผนงานเร่งด่วนเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่ เบื้องต้นคาดว่าจะเสนอมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (มาตรการอีวี) 3.5 เพื่อพิจารณาและนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เพื่อทดแทน มาตรการอีวี 3.0 ในปัจจุบันซึ่งจะหมดอายุสิ้นปีนี้ โดยมาตรการเน้นการให้ส่วนลดอีวีนำเข้าสูงสุด 1.5 แสนบาทต่อคัน และกำหนดให้ตั้งโรงงานผลิตอีวีเท่านั้น ส่วน มาตรการอีวี 3.5 รัฐจะอุดหนุนส่วนลดรถยนต์อีวีนำเข้าประมาณ 1 แสนบาทต่อคัน และกำหนดให้ค่ายรถยนต์ต้องตั้งโรงงานผลิตอีวีในประเทศไทยประมาณ 2-3 เท่าจากจำนวนที่นำเข้า เป้าหมายหลักเพื่อจูงใจค่ายรถยนต์ที่ยังไม่เข้าร่วมมาตรการอีวี 3.0 นอกจากนี้ มาตรการอีวี 3.5 จะครอบคลุมการกระตุ้นการลงทุนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่อีวีผ่านสิทธิประโยชน์ครั้งใหญ่ด้วย

แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะเดียวกันจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณามาตรการกระตุ้นเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เลิกเผา และโรงงานไม่รับอ้อยเผาเข้าหีบ รูปแบบใหม่ ให้ลดการลักลอบเผาและฝุ่นพีเอ็ม2.5 อย่างยั่งยืน จากเดิมเดินหน้าโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่นพิษ PM2.5 ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) สนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสดให้กับชาวไร่อ้อยในอัตราที่เหมาะสมไปแล้ว 2 ฤดูการผลิต (ฤดูการผลิต 2563/64 และฤดูการผลิต 2564/65) แต่ปริมาณการลักลอบกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อยู่ระดับ 26.42% และ 27.28% ตามลำดับ และล่าสุดฤดูการผลิตปีนี้ 2566/67 ยิ่งน่าวิตก เพราะตัวเลขลักลอบพุ่งถึง 32.79% ซึ่งประเด็นนี้ชาวไรเรียกร้องให้สนับสนุนเงินเช่นเดียวกับ 2 ฤดูการผลิต แต่กระทรวงอุตสาหกรรมมองว่าการช่วยดังกล่าวไม่ช่วยลดลักลอบเผาและฝุ่น ตรงกันข้ามกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
 
นอกจากนี้ จะเสนอรัฐบาลสนับสนุน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพของไทย และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โดยจะมีการทบทวนแผนปฏิบัติการทั้งที่เดินหน้าแล้วและอยู่ระหว่างจัดทำแผน เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่