พระปกเกล้า เปิดโพล 1 ปีหลังเลือกตั้ง คนไทยเทใจให้ก้าวไกล เลือก ‘พิธา-บิ๊กตู่-อิ๊ง’ นายกฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4595557
พระปกเกล้า เผยผลสำรวจความนิยม ปชช. 1 ปีหลังเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ยังวางใจเลือก ‘ก้าวไกล’ เป็นอันดับ 1 อยากเห็น ‘พิธา’ เป็นนายกฯมากสุด
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม สถาบันพระปกเกล้า โดย สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 76 จังหวัด เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “
ความนิยมในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี : 1 ปีหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาฯ 2566” จำนวน 1,620 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-18 พฤษภาคม 2567 ใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) ในทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า “
ถ้ามีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต” ผู้ตอบร้อยละ 35.7 ระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล รองลงมาระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 18.1 ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.2 ผู้สมัครจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 9.2 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.8 ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 5 ผู้สมัครจากพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 1.6 ผู้สมัครจากพรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.2 ตามลำดับ ขณะที่มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจเลือกใครในตอนนี้ รวมกันอีกร้อยละ 10.2
เมื่อสอบถามต่อว่า “
แล้วในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ถ้ามีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านจะลงคะแนนให้แก่บัญชีรายชื่อของพรรคใด” ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 44.9 ระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคก้าวไกล รองลงมาระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 20.2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 10.9 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.5 พรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3 พรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.3 และพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ น่าสนใจว่า ยังมีผู้ตอบที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้พรรคการเมืองอื่นๆ หรือไม่ต้องการลงคะแนนให้พรรคใดเลยในตอนนี้ รวมกันถึงร้อยละ 12.6
เมื่อนำผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ปรากฏว่า พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้นมี 2 พรรคคือ พรรคก้าวไกล และ พรรคประชาชาติ โดยพรรคก้าวไกลได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.67 ซึ่งอาจส่งผลให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งและได้ ส.ส.เพิ่มขึ้นถึง 49 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาชาติได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.35 ซึ่งอาจทำให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งและได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง
ขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตลดลง จำนวน 6 พรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 7 และอาจส่งผลให้พรรคมีโอกาสเสียที่นั่งที่มีอยู่เดิมไปราว 28 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 3.41 มีโอกาสเสียที่นั่ง 11 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 2.64 มีโอกาสเสียที่นั่ง 10 ที่นั่ง และ พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 1.13 มีโอกาสเสียที่นั่ง 3 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.47 และ พรรคชาติไทยพัฒนา ที่ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.02 นั้น คะแนนนิยมที่ลดลงดังกล่าวยังไม่มากพอที่จะส่งผลให้พรรคการเมืองทั้งสองมีที่นั่งลดลง
ส่วนของการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า มีพรรคการเมือง 5 พรรคได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นคือ พรรคก้าวไกล ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 8.33 พรรคพลังประชารัฐ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.62 พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.66 พรรคภูมิใจไทย ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 และ พรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.19 อย่างไรก็ตาม คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีโอกาสได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 8 ที่นั่ง และพรรคพลังประชารัฐมีโอกาสได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง เพียงสองพรรคเท่านั้น ส่วนคะแนนที่เพิ่มขึ้นของอีกสามพรรคยังไม่มากพอที่จะทำให้ได้ที่นั่งเพิ่ม
ขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลดลง จำนวน 3 พรรคคือ พรรคเพื่อไทย ได้รับคะแนนนิยมลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.49 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.18 และ พรรคประชาชาติ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.24 คะแนนนิยมที่ลดลงดังกล่าวมีผลให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสได้ที่นั่งจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อน้อยลง 8 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ มีโอกาสได้น้อยลง 2 ที่นั่ง และ พรรคประชาชาติ มีโอกาสได้ที่นั่งน้อยลง 1 ที่นั่งตามลำดับ
เมื่อนำตัวเลขประมาณการที่นั่งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีโอกาสได้รับจากการเลือกตั้งทั้งสองระบบมารวมกันพบว่า หากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเวลานี้ พรรคก้าวไกล เป็นพรรคที่มีโอกาสได้ที่นั่งมากที่สุด รวม 208 ที่นั่ง รองลงมาเป็น พรรคเพื่อไทย 105 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 61 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 34 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 30 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 22 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 ที่นั่ง และ พรรคประชาชาติ 9 ที่นั่ง ตามลำดับ ส่วนที่นั่งที่เหลือจะกระจายไปยังพรรคการเมืองอื่นๆ รวม 21 ที่นั่ง
เมื่อสอบถามว่า “
ถ้าเลือกได้ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้มากที่สุด” ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ระบุว่า อยากให้ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.9 รองลงมาระบุว่า พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 17.7 น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 10.5 นาย
เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 8.7 นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 3.3 นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 1.7 และ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีผู้ตอบที่ระบุชื่อคนอื่นๆ รวมกับที่ยังไม่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมอีก ร้อยละ 10.9
ชัยธวัช ชี้โจทย์ใหญ่ หาฉันทามติอยู่ร่วมกัน การเมืองมวลชนถูกปลุกแล้ว ชวนกำหนดอนาคตประเทศ https://www.matichon.co.th/politics/news_4595623
‘ชัยธวัช’ ร่วมงาน Next Talk ยะลา ระบุโจทย์ใหญ่ของสังคมยังต้องหาฉันทามติอยู่ร่วมกัน ย้ำเวลานี้เป็นโอกาสดีที่ ปชช.จะใช้อำนาจต่อรอง-กำหนดอนาคตประเทศ
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่อุทยานการเรียนรู้ TK Park อ.เมือง จ.ยะลา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ร่วมกล่าวปาฐกถาในเวที “
Next Talk : อนาคต ความหวัง ความฝัน” ซึ่งเป็นเวทีที่รวมบุคคลในแวดวงต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สังคม ธุรกิจ การพัฒนาเมือง และการเมือง มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย
ในตอนหนึ่ง นาย
ชัยธวัชกล่าวถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์การเมืองไทยในแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงอยู่ที่โจทย์ใหญ่ของสังคมไทยคือยังไม่สามารถหาฉันทามติที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยมีโจทย์ที่ติดค้างมาตั้งแต่อดีตและโจทย์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ มาจนถึงยุคพฤษภาคม 2535 และกระแสธงเขียวรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่ในบรรยากาศที่สังคมไทยไม่เคยไว้วางใจอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และมาถึงจุดแตกหักเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สอง ตามมาด้วยการรัฐประหารในปี 2549 และในปี 2557 ในเวลาต่อมา
นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ชนชั้นนำนอกระบบรัฐสภาและการเลือกตั้งพยายามออกแบบระบบการเมืองไทยใหม่ โดยเรียนรู้จากความผิดพลาดเมื่อปี 2540 ว่าจะออกแบบระบบประชาธิปไตยไทยอย่างไรที่ยังดูเป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งอยู่ แต่ก็สามารถควบคุมกำกับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งให้อยู่ในขอบเขตได้ ออกแบบระบบการเมืองซึ่งทำให้อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้เป็นอำนาจสูงสุดจริงๆ แต่ให้อยู่ภายใต้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เช่น การพยายามนำ ส.ว.กลับไปเป็นระบบแต่งตั้ง การใช้องค์กรอิสระมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้ตุลาการภิวัฒน์ควบคู่กับการรัฐประหารด้วยอาวุธ วางกลไกต่างๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าชนชั้นนำเดิมที่อยู่นอกการเลือกตั้งพยามออกแบบระบบการเมืองใหม่ที่ลงตัวกว่านี้
นาย
ชัยธวัชกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันการแบ่งขั้วเหลือง-แดงที่ทางหนึ่งเป็นความขัดแย้งฝังลึก แต่อีกทางหนึ่งก็เป็นการเมืองของภาคประชาชนที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คนจำนวนมากมีความกระตือรือร้นทางการเมือง ผูกพันกับการเมือง และเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวพันกับการต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อที่จะให้แต่ละฝ่ายเข้าไปมีอำนาจรัฐ เพียงแต่ว่าฝ่ายหนึ่งเรียกร้องการเลือกตั้ง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แต่ความพยายามของชนชั้นนำเดิมที่พยายามออกแบบระบบการเมืองใหม่มาแทนที่ฉันทามติปี 2540 ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ไม่มีใครเชื่อว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะอยู่ไปตลอดกาล
นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดว่าชนชั้นนำทางการเมืองที่เคยขัดแย้งอยู่คนละฝั่งกันได้มองเห็นศัตรูตัวเดียวกัน คือการเมืองแบบอนาคตใหม่-ก้าวไกลที่อยู่ดีๆ ก็โผล่ออกมาเป็นแขกที่ไม่ได้รับเชิญ ทำให้เกิดการสร้างพันธมิตรขึ้นมาชั่วคราว โดยมีศัตรูร่วมกันและมีวาระทางการเมืองที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นำไปสู่สภาวะการเมืองสามเส้า โดยสองเส้าก็คือชนชั้นนำทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเคยเข้าสู่อำนาจโดยอาศัยความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง อีกฝ่ายหนึ่งเคยเข้าสู่อำนาจโดยอาศัยวิถีทางนอกประชาธิปไตย และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพลังใหม่ที่ชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ได้อำนาจ
นาย
ชัยธวัชกล่าวด้วยว่า สุดท้ายแล้วโจทย์ใหญ่ก็คือเรายังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ การเมืองข้างบนกำลังปะทะกับการเมืองข้างล่างของประชาชนที่กำลังสับสนอลหม่าน ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่ยังไม่สามารถหาฉันทามติได้ว่าระบบการเมืองและกติกาแบบใดที่พวกเราแม้จะเห็นไม่ตรงกัน มีความขัดแย้งกัน แต่ก็ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ สามารถหาข้อยุติด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ยอมรับร่วมกันได้ ผลัดกันแพ้ชนะและขัดแย้งได้
“
ข้อดีของสถานการณ์ช่วงนี้คือการเมืองมวลชนของประชาชนถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา และไม่สามารถทำให้กลับไปหลับได้อีกแล้ว ตั้งแต่สมัยการเมืองยุคเหลือง-แดงมาจนถึงปัจจุบัน และในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ ผู้ที่เชื่อมั่นศรัทธาว่าเรามีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศผ่านการเลือกตั้งได้ถูกปลุกขึ้นมาแล้ว
แม้จะยังไม่สำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยบวกที่จะทำให้การเมืองของประชาชนที่มีเป้าหมายและเจตจำนงไม่เหมือนกับการเมืองของคนข้างบน สร้างพลังเข้าไปปะทะต่อรองในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้ เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญเพื่อกำหนดว่าหน้าตาของสังคมไทยในอนาคตอีกหลายทศวรรษจะเป็นอย่างไร และถ้าใครอยากจะมีส่วนร่วม เอาความฝันความหวังของตัวเองเข้าไปผลักดัน ก็ต้องเข้าไปทำตอนนี้เท่านั้น ไม่ใช่อีก 10 ปีข้างหน้า” นาย
ชัยธวัชกล่าว
JJNY : 5in1 พระปกเกล้าเปิดโพล│ชัยธวัชชี้โจทย์ใหญ่│พริษฐ์ทวงถามรบ.│หวั่นต่างชาติชะลอลงทุน│เซเลนสกีเรียกร้อง “ไบเดน-สี”
https://www.matichon.co.th/politics/news_4595557
พระปกเกล้า เผยผลสำรวจความนิยม ปชช. 1 ปีหลังเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ยังวางใจเลือก ‘ก้าวไกล’ เป็นอันดับ 1 อยากเห็น ‘พิธา’ เป็นนายกฯมากสุด
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม สถาบันพระปกเกล้า โดย สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 76 จังหวัด เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความนิยมในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี : 1 ปีหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาฯ 2566” จำนวน 1,620 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-18 พฤษภาคม 2567 ใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) ในทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า “ถ้ามีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต” ผู้ตอบร้อยละ 35.7 ระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล รองลงมาระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 18.1 ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.2 ผู้สมัครจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 9.2 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.8 ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 5 ผู้สมัครจากพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 1.6 ผู้สมัครจากพรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.2 ตามลำดับ ขณะที่มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจเลือกใครในตอนนี้ รวมกันอีกร้อยละ 10.2
เมื่อสอบถามต่อว่า “แล้วในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ถ้ามีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านจะลงคะแนนให้แก่บัญชีรายชื่อของพรรคใด” ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 44.9 ระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคก้าวไกล รองลงมาระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 20.2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 10.9 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.5 พรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3 พรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.3 และพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ น่าสนใจว่า ยังมีผู้ตอบที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้พรรคการเมืองอื่นๆ หรือไม่ต้องการลงคะแนนให้พรรคใดเลยในตอนนี้ รวมกันถึงร้อยละ 12.6
เมื่อนำผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ปรากฏว่า พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้นมี 2 พรรคคือ พรรคก้าวไกล และ พรรคประชาชาติ โดยพรรคก้าวไกลได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.67 ซึ่งอาจส่งผลให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งและได้ ส.ส.เพิ่มขึ้นถึง 49 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาชาติได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.35 ซึ่งอาจทำให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งและได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง
ขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตลดลง จำนวน 6 พรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 7 และอาจส่งผลให้พรรคมีโอกาสเสียที่นั่งที่มีอยู่เดิมไปราว 28 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 3.41 มีโอกาสเสียที่นั่ง 11 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 2.64 มีโอกาสเสียที่นั่ง 10 ที่นั่ง และ พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 1.13 มีโอกาสเสียที่นั่ง 3 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.47 และ พรรคชาติไทยพัฒนา ที่ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.02 นั้น คะแนนนิยมที่ลดลงดังกล่าวยังไม่มากพอที่จะส่งผลให้พรรคการเมืองทั้งสองมีที่นั่งลดลง
ส่วนของการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า มีพรรคการเมือง 5 พรรคได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นคือ พรรคก้าวไกล ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 8.33 พรรคพลังประชารัฐ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.62 พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.66 พรรคภูมิใจไทย ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 และ พรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.19 อย่างไรก็ตาม คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีโอกาสได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 8 ที่นั่ง และพรรคพลังประชารัฐมีโอกาสได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง เพียงสองพรรคเท่านั้น ส่วนคะแนนที่เพิ่มขึ้นของอีกสามพรรคยังไม่มากพอที่จะทำให้ได้ที่นั่งเพิ่ม
ขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลดลง จำนวน 3 พรรคคือ พรรคเพื่อไทย ได้รับคะแนนนิยมลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.49 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.18 และ พรรคประชาชาติ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.24 คะแนนนิยมที่ลดลงดังกล่าวมีผลให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสได้ที่นั่งจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อน้อยลง 8 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ มีโอกาสได้น้อยลง 2 ที่นั่ง และ พรรคประชาชาติ มีโอกาสได้ที่นั่งน้อยลง 1 ที่นั่งตามลำดับ
เมื่อนำตัวเลขประมาณการที่นั่งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีโอกาสได้รับจากการเลือกตั้งทั้งสองระบบมารวมกันพบว่า หากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเวลานี้ พรรคก้าวไกล เป็นพรรคที่มีโอกาสได้ที่นั่งมากที่สุด รวม 208 ที่นั่ง รองลงมาเป็น พรรคเพื่อไทย 105 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 61 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 34 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 30 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 22 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 ที่นั่ง และ พรรคประชาชาติ 9 ที่นั่ง ตามลำดับ ส่วนที่นั่งที่เหลือจะกระจายไปยังพรรคการเมืองอื่นๆ รวม 21 ที่นั่ง
เมื่อสอบถามว่า “ถ้าเลือกได้ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้มากที่สุด” ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ระบุว่า อยากให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.9 รองลงมาระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 17.7 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 10.5 นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 8.7 นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 3.3 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 1.7 และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีผู้ตอบที่ระบุชื่อคนอื่นๆ รวมกับที่ยังไม่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมอีก ร้อยละ 10.9
ชัยธวัช ชี้โจทย์ใหญ่ หาฉันทามติอยู่ร่วมกัน การเมืองมวลชนถูกปลุกแล้ว ชวนกำหนดอนาคตประเทศ https://www.matichon.co.th/politics/news_4595623
‘ชัยธวัช’ ร่วมงาน Next Talk ยะลา ระบุโจทย์ใหญ่ของสังคมยังต้องหาฉันทามติอยู่ร่วมกัน ย้ำเวลานี้เป็นโอกาสดีที่ ปชช.จะใช้อำนาจต่อรอง-กำหนดอนาคตประเทศ
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่อุทยานการเรียนรู้ TK Park อ.เมือง จ.ยะลา นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ร่วมกล่าวปาฐกถาในเวที “Next Talk : อนาคต ความหวัง ความฝัน” ซึ่งเป็นเวทีที่รวมบุคคลในแวดวงต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สังคม ธุรกิจ การพัฒนาเมือง และการเมือง มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย
ในตอนหนึ่ง นายชัยธวัชกล่าวถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์การเมืองไทยในแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงอยู่ที่โจทย์ใหญ่ของสังคมไทยคือยังไม่สามารถหาฉันทามติที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยมีโจทย์ที่ติดค้างมาตั้งแต่อดีตและโจทย์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ มาจนถึงยุคพฤษภาคม 2535 และกระแสธงเขียวรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่ในบรรยากาศที่สังคมไทยไม่เคยไว้วางใจอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และมาถึงจุดแตกหักเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สอง ตามมาด้วยการรัฐประหารในปี 2549 และในปี 2557 ในเวลาต่อมา
นายชัยธวัชกล่าวว่า ชนชั้นนำนอกระบบรัฐสภาและการเลือกตั้งพยายามออกแบบระบบการเมืองไทยใหม่ โดยเรียนรู้จากความผิดพลาดเมื่อปี 2540 ว่าจะออกแบบระบบประชาธิปไตยไทยอย่างไรที่ยังดูเป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งอยู่ แต่ก็สามารถควบคุมกำกับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งให้อยู่ในขอบเขตได้ ออกแบบระบบการเมืองซึ่งทำให้อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้เป็นอำนาจสูงสุดจริงๆ แต่ให้อยู่ภายใต้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เช่น การพยายามนำ ส.ว.กลับไปเป็นระบบแต่งตั้ง การใช้องค์กรอิสระมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้ตุลาการภิวัฒน์ควบคู่กับการรัฐประหารด้วยอาวุธ วางกลไกต่างๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าชนชั้นนำเดิมที่อยู่นอกการเลือกตั้งพยามออกแบบระบบการเมืองใหม่ที่ลงตัวกว่านี้
นายชัยธวัชกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันการแบ่งขั้วเหลือง-แดงที่ทางหนึ่งเป็นความขัดแย้งฝังลึก แต่อีกทางหนึ่งก็เป็นการเมืองของภาคประชาชนที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คนจำนวนมากมีความกระตือรือร้นทางการเมือง ผูกพันกับการเมือง และเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวพันกับการต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อที่จะให้แต่ละฝ่ายเข้าไปมีอำนาจรัฐ เพียงแต่ว่าฝ่ายหนึ่งเรียกร้องการเลือกตั้ง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แต่ความพยายามของชนชั้นนำเดิมที่พยายามออกแบบระบบการเมืองใหม่มาแทนที่ฉันทามติปี 2540 ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ไม่มีใครเชื่อว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะอยู่ไปตลอดกาล
นายชัยธวัชกล่าวว่า ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดว่าชนชั้นนำทางการเมืองที่เคยขัดแย้งอยู่คนละฝั่งกันได้มองเห็นศัตรูตัวเดียวกัน คือการเมืองแบบอนาคตใหม่-ก้าวไกลที่อยู่ดีๆ ก็โผล่ออกมาเป็นแขกที่ไม่ได้รับเชิญ ทำให้เกิดการสร้างพันธมิตรขึ้นมาชั่วคราว โดยมีศัตรูร่วมกันและมีวาระทางการเมืองที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นำไปสู่สภาวะการเมืองสามเส้า โดยสองเส้าก็คือชนชั้นนำทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเคยเข้าสู่อำนาจโดยอาศัยความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง อีกฝ่ายหนึ่งเคยเข้าสู่อำนาจโดยอาศัยวิถีทางนอกประชาธิปไตย และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพลังใหม่ที่ชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ได้อำนาจ
นายชัยธวัชกล่าวด้วยว่า สุดท้ายแล้วโจทย์ใหญ่ก็คือเรายังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ การเมืองข้างบนกำลังปะทะกับการเมืองข้างล่างของประชาชนที่กำลังสับสนอลหม่าน ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่ยังไม่สามารถหาฉันทามติได้ว่าระบบการเมืองและกติกาแบบใดที่พวกเราแม้จะเห็นไม่ตรงกัน มีความขัดแย้งกัน แต่ก็ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ สามารถหาข้อยุติด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ยอมรับร่วมกันได้ ผลัดกันแพ้ชนะและขัดแย้งได้
“ข้อดีของสถานการณ์ช่วงนี้คือการเมืองมวลชนของประชาชนถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา และไม่สามารถทำให้กลับไปหลับได้อีกแล้ว ตั้งแต่สมัยการเมืองยุคเหลือง-แดงมาจนถึงปัจจุบัน และในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ ผู้ที่เชื่อมั่นศรัทธาว่าเรามีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศผ่านการเลือกตั้งได้ถูกปลุกขึ้นมาแล้ว
แม้จะยังไม่สำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยบวกที่จะทำให้การเมืองของประชาชนที่มีเป้าหมายและเจตจำนงไม่เหมือนกับการเมืองของคนข้างบน สร้างพลังเข้าไปปะทะต่อรองในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้ เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญเพื่อกำหนดว่าหน้าตาของสังคมไทยในอนาคตอีกหลายทศวรรษจะเป็นอย่างไร และถ้าใครอยากจะมีส่วนร่วม เอาความฝันความหวังของตัวเองเข้าไปผลักดัน ก็ต้องเข้าไปทำตอนนี้เท่านั้น ไม่ใช่อีก 10 ปีข้างหน้า” นายชัยธวัชกล่าว