ย้อนรอย “ธนาธร” แถลงทำ “บลายด์ทรัสต์” แต่ไม่ได้ทำ “ปิยบุตร” อ้างไม่ได้เป็น ส.ส. เลยไม่โอน
ย้อยรอยความเคลื่อนไหว “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ประกาศทำ “บลายด์ทรัสต์” (Blind Trust) อ้างสร้างมาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง แต่ปรากฏว่าไม่ได้ทำ มีแต่ของภรรยา “ปิยบุตร” อ้างถูกสั่งเบรกทำหน้าที่ ส.ส.เลยไม่มีอำนาจ ถ้าได้เป็น ส.ส.เมื่อไหร่ถึงค่อยทำ
จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ส.ส. เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยพบว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ มีรายได้รวม 188,606,720 บาท มีรายจ่ายรวม 66 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวม 5,628,118,852.01 บาท หนี้สินรวม 683,303.45 บาท ทำให้นายธนาธรมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 5,631,852,962.75 บาท
อ่านประกอบ : คุ้ย 5 พันล้าน “ธนาธร” กินปันผล-ดอกเบี้ยกว่า 170 ล้าน ให้กู้พรรค 2 สัญญา 191.2 ล้าน
เรื่องนี้กลายเป็นที่จับตามองของฝ่ายการเมือง เนื่องจากในรายการ “เงินให้กู้ยืม” พบว่า นายธนาธรให้กู้แก่พรรคอนาคตใหม่ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 2 ม.ค. 2562 จำนวน 161.20 ล้านบาท โดยพรรคอนาคตใหม่ชำระหนี้บางส่วนให้แก่นายธนาธรแล้ว ครั้งที่สองวันที่ 11 เม.ย. 2562 จำนวน 30 ล้านบาท โดยพรรคอนาคตใหม่เพิ่งได้รับเงินกู้มาจากนายธนาธรแล้วจำนวนหนึ่ง ทำให้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับช่วงที่นายธนาธรกล่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ว่าพรรคอนาคตใหม่เป็นหนี้ตนอยู่จำนวน 110 ล้านบาท เนื่องจากระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งพรรคไม่สามารถระดมทุนหาเงินได้ทันเวลาสำหรับการหาเสียง
รวมทั้ง น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ชี้แจงกรณีนี้ว่านายธนาธรปล่อยเงินกู้ให้แก่พรรคอนาคตใหม่ มีเพดานวงเงินสูงสุด 250 ล้านบาท แต่การดำเนินกิจกรรมจนถึงวันเลือกตั้งพรรคกู้ไปแล้วประมาณ 90 ล้านบาท และจนถึงขณะนี้มีการกู้เพิ่มอีกนิดหน่อยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของพรรค ตัวเลขจึงอยู่ที่ 110 ล้านบาท โดยยืนยันว่าการกู้เงินครั้งนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพรรคแล้วและพรรคจะจ่ายเงินคืนนายธนาธรทั้งหมด ทั้งที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 66 กำหนดไว้ว่า ไม่สามารถบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมืองเกิน 10 ล้านบาทต่อปี ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
นอกจากนี้ยังพบว่า นายธนาธรมีทรัพย์สินทั้งมีบัญชีเงินฝากธนาคาร 16 บัญชี มีเงินลงทุนรวม 42 บัญชี แบ่งเป็นกองทุนรวม 16 บัญชี บัญชีหุ้น บัญชีอนุพันธุ์ หุ้นบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัส
ทรี จำกัด 72,000 หุ้น มูลค่า 2,339,806,720 บาท หุ้นบริษัท เอช เอส เอช จำกัด 1 หุ้น มูลค่า 2,191.07 บาท หุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด 263,200 หุ้น มูลค่า 12,972,238.25 บาท รวมทั้งถือหุ้นในบริษัท The One OC Corporation สปป.ลาว 70% มูลค่า 20 ล้านบาท และหุ้นบริษัท TS Rubber Service สปป.ลาว 1% มูลค่า 70,000 บาท ทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 มี.ค. นายธนาธรเคยแถลงจัดการทรัพย์สินในบลายด์ ไพรเวท ฟันด์ (Blind Private Fund) โดยมอบทรัพย์สินให้บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ เรียกว่าการทำบลายด์ ทรัสต์ (Blind Trust) อ้างว่าเพื่อสร้างมาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง แต่ไม่ได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้
ทั้งนี้ สำนักข่าวอิศรารายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินในส่วนของเงินลงทุนของนายธนาธร ที่แจ้งต่อ ป.ป.ช.นั้น พบว่ามูลค่า 3,014,693,457 บาท ส่วนนางรวิพรรณแจ้งว่า มีมูลค่า 192,855,208 บาท รวมทั้งคู่มีรายการเงินลงทุนทั้งสิ้น 3,207,548,665 บาท หรือเกินครึ่งของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของนายธนาธรและนางรวิพรรณ ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร จำกัด (มหาชน) ที่นายธนาธรเคยโชว์หนังสือบันทึกตกลงการทำ Blind Trust นั้น พบเพียงว่า ได้ทำหนังสือรับรองให้นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อแนบเป็นเอกสารประกอบแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2562 ส่วนบริษัทหลักทรัพย์โนมูระฯ ทำหนังสือรับรองคำขอของนางรวิพรรณ เพื่อยืนยันหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่กับบริษัท ยื่นประกอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแก่ ป.ป.ช. แต่ไม่ปรากฏหนังสือของนายธนาธรชี้แจงต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.
อ่านประกอบ : “บลายด์ทรัสต์”ส่อแหกตา? ไม่เห็น“ธนาธร”แจ้ง ป.ป.ช. “ภัทรฯ”แค่จัดการหุ้นให้เมีย 24 ล้าน
ต่อมา นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวที่จังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ว่า การทำบลายด์ทรัสต์เป็นความประสงค์ของนายธนาธรเอง ไม่มีข้อกฎหมายใดกำหนด แต่นายธนาธรต้องการสร้างมาตราฐานความโปร่งใสที่นักธุรกิจผันตัวเองมาเล่นการเมือง เมื่อมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจะไม่ใช่ประโยชน์ในทางไม่ชอบกับธุรกิจตนเอง และสิ่งที่นายธนาธรตกลงกับบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อจะทำบลายด์ทรัสต์ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว เพียงแต่ว่าตอนนี้นายธนาธรได้เป็น ส.ส.ที่ยังไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ของ ส.ส. เนื่องจากถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว ถ้าวันใดศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง และให้นายธนาธรปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ตอนนั้นก็จะมีอำนาจในการเป็น ส.ส. และทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อนั้นนายธนาธรก็โอนทรัพย์สินให้กับบลายด์ทรัสต์
MGR Online ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ในช่วงที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. นายธนาธรแถลงข่าวการบริหารจัดการทรัพย์สินของหลังการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ว่าได้บันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้เข้ามากำกับดูแลทรัพย์สินส่วนใหญ่ของตนที่เป็นหุ้นในบริษัทมหาชน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า Blind trust หรือการทำให้ตนเองไม่เข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อแสดงออกถึงความโปร่งใสและลบข้อเคลือบแคลงใจของสาธารณะ ที่เข็ดหลาบกับการที่นักธุรกิจเข้ามาทำงานการเมืองแล้วเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง โดยตนมีความตั้งใจสร้างมาตรฐานทางการเมืองใหม่ให้เทียบเท่ากับนานาประเทศ
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 (2) ระบุว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ส. และรัฐมนตรี จะต้องไม่เป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งให้โอนทรัพย์สินไปยังบริษัทจัดการกองทุนเท่านั้น แต่ในกฎหมายยังไม่ระบุชัดเจนให้เจ้าของทรัพย์สินไม่มีสิทธิ์มองเห็นทรัพย์สินของตนเอง ตนต้องการจะให้เป็นมาตรฐานใหม่ที่มากกว่ารัฐธรรมนูญกำหนด จึงมอบหมายให้ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด เข้ามาบริหารจัดการแทน โดยที่ตนไม่มีสิทธิรู้เห็นและไม่สามารถสั่งได้ พร้อมยืนยันว่าตนเองไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวกับบริษัทดังกล่าว ส่วนสาเหตุที่เลือกบริษัทดังกล่าว เพราะความไว้ใจและยอมรับในความโปร่งใสของบริษัท ส่วนบุคคลที่สามที่จะเข้ามากำกับดูแลทางการเงินนั้น ตนเองยังไม่ระบุชัดเจนว่าเป็นธนาคารใด
โดยทรัพย์สินของตนมีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะนำเข้า Blind trust กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร ทั้งหมดคือ หุ้นในบริษัทมหาชนหรือที่ดิน เหลือเก็บไว้ในนามส่วนตัวเล็กน้อย คือ บ้าน รถที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การโอนทั้งหมดจะเสร็จในปลายเดือน พ.ค.ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ที่ทำ Blind trust ด้วยความสมัครใจ ไม่เคยมีนักการเมืองคนไหนทำมาก่อน และจะมองเห็นทรัพย์สินของตนอีกทีเมื่อเลิกทำงานการเมืองและต้องรออีก 3 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ในกองทุนกลับมาบริหารเอง
ส่วนกลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท อยู่ในกลุ่มที่เปิดเสรี และไม่เคยเข้าไปเป็นคู่สัญญารายใหญ่กับรัฐ รายได้เกือบ 100% มาจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ไม่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับการทำงานการเมืองของตน ตั้งแต่ตนลาออกเมื่อปีที่แล้ว ก็ไม่เคยเข้าไปแทรกแซงการทำงานของผู้บริหารชุดใหม่อีกเลย หากในอนาคตไทยซัมมิทจะเป็นคู่สัญญากับภาครัฐ ก็อยากให้สื่อช่วยกันตรวจสอบ แต่ตนไม่ได้อยู่ไทยซัมมิทแล้ว คงพูดแทนไทยซัมมิทไม่ได้
อ่านประกอบ : “ธนาธร” แจงยิบโอนหุ้นเข้ากองทุนไม่รู้เห็นอีก โวทำมากกว่า รธน.บอก ส่วนแม่เตรียมขายหุ้นมติชนเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ นายธนาธรยังโพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ “จะสร้างการเมืองที่ดีได้นั้นต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน” ระบุว่า “อย่าคิดว่านักธุรกิจที่มาทำงานการเมืองจะเข้ามากอบโกยผลประโยชน์หรือเข้ามาดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองเหมือนกันทุกคน ดังนั้นเมื่อผมบอกว่าลาออกแล้วก็คือลาออกจริงๆ ผมก็ยึดมั่นในเกียรติภูมิของตนเองเหมือนกันว่าจะไม่ข้ามเส้นระหว่างงานการเมืองกับธุรกิจ ผมมีความฝันที่มันใหญ่กว่านั้น ต่อให้ผมรวยขึ้นอีกพันล้าน มันก็ไม่คุ้มกับความฝันที่ผมต้องเสียไป
ผมตัดสินใจทำเช่นนี้เพราะต้องการสร้างมาตรฐานการทำการเมืองใหม่ ผมว่าข้อดีอันดับแรกคือไม่ต้องวอกแวกไปกับการจัดการทรัพย์สินของตัวเอง ทำให้เราทุ่มเทพละกำลังและเวลาของเราในการทำงานรับใช้ประชาชนได้อย่างเต็มที่ ประการที่สอง มันแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ผลักดันให้พวกเรามาทำงานการเมืองก็เพื่อทำให้สังคมดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แม้จะมีขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดให้เราทำ แต่สิ่งที่เราจะทำให้มากกว่านั้นคือสร้างมาตรฐานใหม่ ยกระดับความโปร่งใส สร้างมาตรฐานการดูแลผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ไปไกลกว่ากฎหมาย หวังว่าวันนี้จะเป็นการยกระดับมาตรฐานการเมืองไทยไปอีกขั้น”
https://mgronline.com/politics/detail/9620000091631
กลายเป็นคนพูดไม่อยู่กับร่องกับรอยไปแล้ว
แก้ตัวพัลวันจนมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
ถ้าจะยุบก็ยุบไปเถอะค่ะ นกม.อย่างนี้มีเล่ห์เหลี่ยมเกินจะทน
ประชาชนที่รู้ทันมีเยอะนะคะ ท่านกกต.
จะให้ทนนกม.แบบนี้ไปนานแค่ไหนคะ...?
🎒🎒🎒มาลาริน/มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก..ย้อนรอยความเคลื่อนไหว “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ประกาศทำ “บลายด์ทรัสต์” (Blind Trus)
ย้อยรอยความเคลื่อนไหว “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ประกาศทำ “บลายด์ทรัสต์” (Blind Trust) อ้างสร้างมาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง แต่ปรากฏว่าไม่ได้ทำ มีแต่ของภรรยา “ปิยบุตร” อ้างถูกสั่งเบรกทำหน้าที่ ส.ส.เลยไม่มีอำนาจ ถ้าได้เป็น ส.ส.เมื่อไหร่ถึงค่อยทำ
จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ส.ส. เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยพบว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ มีรายได้รวม 188,606,720 บาท มีรายจ่ายรวม 66 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวม 5,628,118,852.01 บาท หนี้สินรวม 683,303.45 บาท ทำให้นายธนาธรมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 5,631,852,962.75 บาท
อ่านประกอบ : คุ้ย 5 พันล้าน “ธนาธร” กินปันผล-ดอกเบี้ยกว่า 170 ล้าน ให้กู้พรรค 2 สัญญา 191.2 ล้าน
เรื่องนี้กลายเป็นที่จับตามองของฝ่ายการเมือง เนื่องจากในรายการ “เงินให้กู้ยืม” พบว่า นายธนาธรให้กู้แก่พรรคอนาคตใหม่ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 2 ม.ค. 2562 จำนวน 161.20 ล้านบาท โดยพรรคอนาคตใหม่ชำระหนี้บางส่วนให้แก่นายธนาธรแล้ว ครั้งที่สองวันที่ 11 เม.ย. 2562 จำนวน 30 ล้านบาท โดยพรรคอนาคตใหม่เพิ่งได้รับเงินกู้มาจากนายธนาธรแล้วจำนวนหนึ่ง ทำให้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับช่วงที่นายธนาธรกล่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ว่าพรรคอนาคตใหม่เป็นหนี้ตนอยู่จำนวน 110 ล้านบาท เนื่องจากระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งพรรคไม่สามารถระดมทุนหาเงินได้ทันเวลาสำหรับการหาเสียง
รวมทั้ง น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ชี้แจงกรณีนี้ว่านายธนาธรปล่อยเงินกู้ให้แก่พรรคอนาคตใหม่ มีเพดานวงเงินสูงสุด 250 ล้านบาท แต่การดำเนินกิจกรรมจนถึงวันเลือกตั้งพรรคกู้ไปแล้วประมาณ 90 ล้านบาท และจนถึงขณะนี้มีการกู้เพิ่มอีกนิดหน่อยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของพรรค ตัวเลขจึงอยู่ที่ 110 ล้านบาท โดยยืนยันว่าการกู้เงินครั้งนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพรรคแล้วและพรรคจะจ่ายเงินคืนนายธนาธรทั้งหมด ทั้งที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 66 กำหนดไว้ว่า ไม่สามารถบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมืองเกิน 10 ล้านบาทต่อปี ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
นอกจากนี้ยังพบว่า นายธนาธรมีทรัพย์สินทั้งมีบัญชีเงินฝากธนาคาร 16 บัญชี มีเงินลงทุนรวม 42 บัญชี แบ่งเป็นกองทุนรวม 16 บัญชี บัญชีหุ้น บัญชีอนุพันธุ์ หุ้นบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัส
ทรี จำกัด 72,000 หุ้น มูลค่า 2,339,806,720 บาท หุ้นบริษัท เอช เอส เอช จำกัด 1 หุ้น มูลค่า 2,191.07 บาท หุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด 263,200 หุ้น มูลค่า 12,972,238.25 บาท รวมทั้งถือหุ้นในบริษัท The One OC Corporation สปป.ลาว 70% มูลค่า 20 ล้านบาท และหุ้นบริษัท TS Rubber Service สปป.ลาว 1% มูลค่า 70,000 บาท ทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 มี.ค. นายธนาธรเคยแถลงจัดการทรัพย์สินในบลายด์ ไพรเวท ฟันด์ (Blind Private Fund) โดยมอบทรัพย์สินให้บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ เรียกว่าการทำบลายด์ ทรัสต์ (Blind Trust) อ้างว่าเพื่อสร้างมาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง แต่ไม่ได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้
ทั้งนี้ สำนักข่าวอิศรารายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินในส่วนของเงินลงทุนของนายธนาธร ที่แจ้งต่อ ป.ป.ช.นั้น พบว่ามูลค่า 3,014,693,457 บาท ส่วนนางรวิพรรณแจ้งว่า มีมูลค่า 192,855,208 บาท รวมทั้งคู่มีรายการเงินลงทุนทั้งสิ้น 3,207,548,665 บาท หรือเกินครึ่งของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของนายธนาธรและนางรวิพรรณ ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร จำกัด (มหาชน) ที่นายธนาธรเคยโชว์หนังสือบันทึกตกลงการทำ Blind Trust นั้น พบเพียงว่า ได้ทำหนังสือรับรองให้นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อแนบเป็นเอกสารประกอบแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2562 ส่วนบริษัทหลักทรัพย์โนมูระฯ ทำหนังสือรับรองคำขอของนางรวิพรรณ เพื่อยืนยันหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่กับบริษัท ยื่นประกอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแก่ ป.ป.ช. แต่ไม่ปรากฏหนังสือของนายธนาธรชี้แจงต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.
อ่านประกอบ : “บลายด์ทรัสต์”ส่อแหกตา? ไม่เห็น“ธนาธร”แจ้ง ป.ป.ช. “ภัทรฯ”แค่จัดการหุ้นให้เมีย 24 ล้าน
ต่อมา นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวที่จังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ว่า การทำบลายด์ทรัสต์เป็นความประสงค์ของนายธนาธรเอง ไม่มีข้อกฎหมายใดกำหนด แต่นายธนาธรต้องการสร้างมาตราฐานความโปร่งใสที่นักธุรกิจผันตัวเองมาเล่นการเมือง เมื่อมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจะไม่ใช่ประโยชน์ในทางไม่ชอบกับธุรกิจตนเอง และสิ่งที่นายธนาธรตกลงกับบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อจะทำบลายด์ทรัสต์ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว เพียงแต่ว่าตอนนี้นายธนาธรได้เป็น ส.ส.ที่ยังไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ของ ส.ส. เนื่องจากถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว ถ้าวันใดศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง และให้นายธนาธรปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ตอนนั้นก็จะมีอำนาจในการเป็น ส.ส. และทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อนั้นนายธนาธรก็โอนทรัพย์สินให้กับบลายด์ทรัสต์
MGR Online ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ในช่วงที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. นายธนาธรแถลงข่าวการบริหารจัดการทรัพย์สินของหลังการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ว่าได้บันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้เข้ามากำกับดูแลทรัพย์สินส่วนใหญ่ของตนที่เป็นหุ้นในบริษัทมหาชน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า Blind trust หรือการทำให้ตนเองไม่เข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อแสดงออกถึงความโปร่งใสและลบข้อเคลือบแคลงใจของสาธารณะ ที่เข็ดหลาบกับการที่นักธุรกิจเข้ามาทำงานการเมืองแล้วเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง โดยตนมีความตั้งใจสร้างมาตรฐานทางการเมืองใหม่ให้เทียบเท่ากับนานาประเทศ
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 (2) ระบุว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ส. และรัฐมนตรี จะต้องไม่เป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งให้โอนทรัพย์สินไปยังบริษัทจัดการกองทุนเท่านั้น แต่ในกฎหมายยังไม่ระบุชัดเจนให้เจ้าของทรัพย์สินไม่มีสิทธิ์มองเห็นทรัพย์สินของตนเอง ตนต้องการจะให้เป็นมาตรฐานใหม่ที่มากกว่ารัฐธรรมนูญกำหนด จึงมอบหมายให้ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด เข้ามาบริหารจัดการแทน โดยที่ตนไม่มีสิทธิรู้เห็นและไม่สามารถสั่งได้ พร้อมยืนยันว่าตนเองไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวกับบริษัทดังกล่าว ส่วนสาเหตุที่เลือกบริษัทดังกล่าว เพราะความไว้ใจและยอมรับในความโปร่งใสของบริษัท ส่วนบุคคลที่สามที่จะเข้ามากำกับดูแลทางการเงินนั้น ตนเองยังไม่ระบุชัดเจนว่าเป็นธนาคารใด
โดยทรัพย์สินของตนมีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะนำเข้า Blind trust กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร ทั้งหมดคือ หุ้นในบริษัทมหาชนหรือที่ดิน เหลือเก็บไว้ในนามส่วนตัวเล็กน้อย คือ บ้าน รถที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การโอนทั้งหมดจะเสร็จในปลายเดือน พ.ค.ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ที่ทำ Blind trust ด้วยความสมัครใจ ไม่เคยมีนักการเมืองคนไหนทำมาก่อน และจะมองเห็นทรัพย์สินของตนอีกทีเมื่อเลิกทำงานการเมืองและต้องรออีก 3 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ในกองทุนกลับมาบริหารเอง
ส่วนกลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท อยู่ในกลุ่มที่เปิดเสรี และไม่เคยเข้าไปเป็นคู่สัญญารายใหญ่กับรัฐ รายได้เกือบ 100% มาจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ไม่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับการทำงานการเมืองของตน ตั้งแต่ตนลาออกเมื่อปีที่แล้ว ก็ไม่เคยเข้าไปแทรกแซงการทำงานของผู้บริหารชุดใหม่อีกเลย หากในอนาคตไทยซัมมิทจะเป็นคู่สัญญากับภาครัฐ ก็อยากให้สื่อช่วยกันตรวจสอบ แต่ตนไม่ได้อยู่ไทยซัมมิทแล้ว คงพูดแทนไทยซัมมิทไม่ได้
อ่านประกอบ : “ธนาธร” แจงยิบโอนหุ้นเข้ากองทุนไม่รู้เห็นอีก โวทำมากกว่า รธน.บอก ส่วนแม่เตรียมขายหุ้นมติชนเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ นายธนาธรยังโพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ “จะสร้างการเมืองที่ดีได้นั้นต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน” ระบุว่า “อย่าคิดว่านักธุรกิจที่มาทำงานการเมืองจะเข้ามากอบโกยผลประโยชน์หรือเข้ามาดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองเหมือนกันทุกคน ดังนั้นเมื่อผมบอกว่าลาออกแล้วก็คือลาออกจริงๆ ผมก็ยึดมั่นในเกียรติภูมิของตนเองเหมือนกันว่าจะไม่ข้ามเส้นระหว่างงานการเมืองกับธุรกิจ ผมมีความฝันที่มันใหญ่กว่านั้น ต่อให้ผมรวยขึ้นอีกพันล้าน มันก็ไม่คุ้มกับความฝันที่ผมต้องเสียไป
ผมตัดสินใจทำเช่นนี้เพราะต้องการสร้างมาตรฐานการทำการเมืองใหม่ ผมว่าข้อดีอันดับแรกคือไม่ต้องวอกแวกไปกับการจัดการทรัพย์สินของตัวเอง ทำให้เราทุ่มเทพละกำลังและเวลาของเราในการทำงานรับใช้ประชาชนได้อย่างเต็มที่ ประการที่สอง มันแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ผลักดันให้พวกเรามาทำงานการเมืองก็เพื่อทำให้สังคมดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แม้จะมีขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดให้เราทำ แต่สิ่งที่เราจะทำให้มากกว่านั้นคือสร้างมาตรฐานใหม่ ยกระดับความโปร่งใส สร้างมาตรฐานการดูแลผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ไปไกลกว่ากฎหมาย หวังว่าวันนี้จะเป็นการยกระดับมาตรฐานการเมืองไทยไปอีกขั้น”
https://mgronline.com/politics/detail/9620000091631
กลายเป็นคนพูดไม่อยู่กับร่องกับรอยไปแล้ว
แก้ตัวพัลวันจนมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
ถ้าจะยุบก็ยุบไปเถอะค่ะ นกม.อย่างนี้มีเล่ห์เหลี่ยมเกินจะทน
ประชาชนที่รู้ทันมีเยอะนะคะ ท่านกกต.
จะให้ทนนกม.แบบนี้ไปนานแค่ไหนคะ...?