ความเจริญของเมือง วัดจากอะไร...เรามาดูตัวแปรที่ใช้วัดความเจริญของเมืองกัน

จะมีงานวิจัยหลายๆเรื่อง รวมท้งความเข้าใจของผู้คนที่มักจะมุ่งเน้นว่า...

คนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่า ความเจริญของเมือง จะต้องขึ้นอยู่กับ ตึกสูง สิ่งปลูกสร้าง  จำนวนประชากรที่หนาแน่น GDPมวลรวม GDP/หัว 
ส่วนงานวิจัยต่างๆ ก็จะมุ่งเน้นไปที่ ดัชนีคุณภาพชีวิต ดัชนีความสุข  ฯลฯ 

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ใช้วัดถึงความเจริญของเมืองได้จริง แต่...ไม่ทั้งหมด เพราะเมืองบางเมือง อาจมีค่าบางค่าที่สูง แต่ไม่เจริญก็เป็นได้  ยกตัวอย่าง

1. จำนวนตึกสูงหรือสิ่งปลูกสร้าง 


ฮานอยเทียบกับโคเปนเฮเก้น  ถ้านับจำนวนตึกสูง เมืองฮานอยจะต้องเจริญกว่าโคเปนเฮเกนแน่นอน

2. จำนวนประชากรที่หนาแน่น ไม่ได้ใช้วัดความเจริญของเมือง
จำนวนประชากรในเมือง เยอะ  ไม่ได้หมายความว่าตอบโจทย์ในด้านการครองชีพ  ยิ่งคนเยอะ การบริหารจัดการไม่ดี ยิ่งแออัด  ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น บังคลาเทศกับสวิสเซอแลนด์

3. GDP มวลรวมทั้งประเทศ  ก็ไม่ได้ใช้วัดว่า ประเทศนั้นเมืองนั้นเจริญกว่าอีกเมืองหนึ่งหรือประเทศหนึ่ง  ยกตัวอย่างเพื่อนบ้านของเรา


จากภาพ ถ้าใจ GDP มวลรวมของประเทศ อินโดนีเซียรวมถึงไทย จะต้องเจริญกว่าสิงคโปร์ (เพราะประชากรเยอะกว่า เงินหมุนเวียนในประเทศก็ย่อมมากกว่า) เช่นเดียวกัน การใช้ GDP/หัว ดูจะวัดค่าได้ตรงมากกว่า แต่...GDP/หัว ของบรูไน กลับสูงกว่าประเทศที่เจริญแล้วบางประเทศในยุโรปอีก  เพราะฉะนั้น GDPรวม และ GDP/หัว ก็ยังไม่สามารถใช้วัดความเจริญของเมืองได้ถูกต้องซะทีเดียว บางเมืองค่าครองชีพสูง บางเมืองค่าครองชีพต่ำ  ยิ่งวัดยากกันเข้าไปอีก

มาพูดถึงงานวิจัยกันบ้าง ที่มักจะกล่าวถึง ดัชนีคุณภาพชีวิต ดัชนีความสุข  ซึ่งมันเป็นอะไรที่ดูเป็นนามธรรมมาก เมืองแต่ละเมือง ประเทศแต่ละประเทศ เราไม่สามารถวัดค่าได้ว่า เมืองที่เจริญแล้วประชากรจะมีคุณภาพดีกว่าหรือมีดัชนีความสุขมากกว่า เมืองที่ด้อยพัฒนา  ยกตัวอย่างญี่ปุ่น มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมาก แสดงให้เห็นว่า แม้เมืองจะเจริญเพียงใด แต่คุณภาพชีวิตหรือดัชนีความสุขของญี่ปุ่น ก็ยังเป็นปัญหา 

ดังนั้น จากค่าต่างๆที่กล่าวมา ไม่สามารถมีค่าไหนเลยที่จะวัดว่าเมืองไหนเจริญกว่าอีกเมืองได้ถูกต้อง 100% เพราะฉะนั้นแล้ว เราเลยมีอีกตัวบ่งชี้หนึ่ง ที่คิดว่าจะตอบโจทย์การวัดความเจริญของเมืองได้ดีกว่าค่าอื่นๆ คือ ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 

ที่ผมใช้ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานวัดความเจริญของเมือง ก็เพราะว่า เมืองที่เจริญแล้ว แทบจะทุกเมือง จะมีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สนองต่อความต้องการของประชากรในเมืองได้เป็นอย่างดี ระบบไฟฟ้า ประปา ถนน หนทาง ระบบราง การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ตอบโจทย์ความเจริญของเมืองได้ดีกว่าทุกค่า แต่ การใช้ระบบสาธารณูปโภควัด ก็ไม่ถูกต้อง100% เช่นเดียวกับค่าอื่นๆเช่นกัน  แต่น่าจะเป็นตัววัดที่ดีที่สุดแล้วในขณะนี้

** สุดท้ายนี้ เมื่อเรานำระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมาเป็นตัววัดความเจริญของเมืองหรือของประเทศ ประเทศในอาเซียนจะเรียงลำดับดังนี้ 
    1. สิงคโปร์ 
     ..............
     .............
     .............
    2. มาเลเซีย
    3. ไทย
    ...............
    4. อินโดนีเซีย
    5. เวียดนาม
    6. พิลิปปินส์
     ................
    7. บรูไน (ขอจัดให้อยู่ในอันดับนี้เป็นกรณีพิเศษ)
    8. กัมพูชา
    9. พม่า
   10. สปป.ลาว
ส่วนติมอร์เลสเต้ ผมไม่มีข้อมูล  ขอข้ามครับ   ( ... คือ ห่างจากประเทศที่ตามหลังมามาก)  **

ป.ล. สุดท้ายนี้ ไม่ได้ต้องการให้เปรียบเทียบความเจริญกับเพื่อนบ้าน แล้วมากดประเทศตัวเองหรือดูถูกประเทศอื่น  แต่แชร์และวิเคราะห์ให้รู้ว่า ประเทศไทยตอนนี้ อยู่ตรงจุดไหนในระดับอาเซียน
 ข้อมูลด้านใดผิดพลาด ก็ช่วยแชร์และแก้ให้ผมด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่