ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกินซึ่งวิญญาณาหาร พระเจ้าข้า ?”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า :-
“นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า ‘บุคคลย่อมกลืนกิน’ ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า ‘
บุคคลย่อมกลืนกิน’ ดังนี้ นั่นแหละจึงจะ เป็นปัญหา
ในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า ‘ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า ?’ ดังนี้.
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ ?’ ดังนี้แล้ว, นั่นแหละ
จึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
‘วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป. เมื่อภูตะ (ความเป็นภพ) นั้น มีอยู่,
สฬายตนะ ย่อมมี; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส)’, ดังนี้”.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ?”
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า “บุคคล ย่อมสัมผัส” ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า “บุคคล ย่อมสัมผัส” ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า
“ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัสพระเจ้าข้า ?” ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น
เช่นนี้ว่า “ผัสสะมีเพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา.
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า “เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่ออารมณ์)”, ดังนี้
....ฯลฯ
ดูก่อนผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) ทั้ง ๖ นั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา
มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดังนี้ แล.
-สูตรที่ ๒ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕/๓๒,
ว่าด้วยเรื่องความไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า :-
“นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า ‘บุคคลย่อมกลืนกิน’ ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า ‘
บุคคลย่อมกลืนกิน’ ดังนี้ นั่นแหละจึงจะ เป็นปัญหา
ในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า ‘ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า ?’ ดังนี้.
ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ ?’ ดังนี้แล้ว, นั่นแหละ
จึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า
‘วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป. เมื่อภูตะ (ความเป็นภพ) นั้น มีอยู่,
สฬายตนะ ย่อมมี; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส)’, ดังนี้”.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ?”
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า “บุคคล ย่อมสัมผัส” ดังนี้
ถ้าเราได้กล่าวว่า “บุคคล ย่อมสัมผัส” ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า
“ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัสพระเจ้าข้า ?” ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น
เช่นนี้ว่า “ผัสสะมีเพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา.
คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า “เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่ออารมณ์)”, ดังนี้
....ฯลฯ
ดูก่อนผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) ทั้ง ๖ นั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา
มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดังนี้ แล.
-สูตรที่ ๒ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕/๓๒,