อาหาร 4 กับการเวียนว่ายตายเกิดของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
ผมขอยกพระสูตรจากพระไตรปิฏกแล้วก็แสดงความเห็นไปตามลำดับดังนี้
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16
-----
๑. อาหารสูตร
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถปิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร
๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบ หรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิด มาแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหา
เป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็น
กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด
มีเวทนาเป็นแดนเกิด ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็น กำเนิด มีผัสสะเป็น
แดนเกิด ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะ เป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็น
แดนเกิด ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน
เกิดสฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นที่ตั้งขึ้น มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูป เป็น
แดนเกิด ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นที่ตั้งขึ้น มีวิญญาณ เป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด
ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มี สังขารเป็นที่ตั้งขึ้น มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ก็สังขาร
เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นที่ตั้งขึ้น มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี อวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๓๐] ก็เพราะอวิชชานั้นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขาร จึงดับ เพราะ
สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
----
อธิบายส่วนที่ 1 >>> จากพุทธพจน์ส่วนนี้
/// ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร
๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบ หรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิด มาแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
///
ย่อมเป็นที่ยื่นยันถึงสมมุติสัจจะ ถึงการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย สมบูรณ์แล้วนั้นเอง แต่ถ้ามีผู้กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจน หรือยังไม่เห็นมีที่กล่าวไว้อย่างชัดเจน
ผมจึงขอยกเรื่องอาหาร 4 ในอีกพระสูตรหนึ่ง ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 16 เพื่อความชัดเจนดังนี้.
----
๒. ผัคคุนสูตร
[๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔
เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว
หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตั้งปัญหา
ยังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณาหาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน [วิญญาณาหาร] ควร
ตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าว
อย่างนั้นผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อ
อะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่าวิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความ
บังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ
[๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่าย่อมถูกต้อง ควรตั้ง
ปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง แต่ เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึง
ถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้
ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ฯ
[๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมเสวย
อารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้
กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัย
หนอ จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯ
[๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมทะเยอ
ทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้
กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัย
หนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ
[๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่าย่อมถือมั่น ควรตั้ง
ปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเรา
ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้
ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๓๗] ดูกรผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
----
อธิบายส่วนที่ 2 >>> จากพุทธพจน์ส่วนนี้
/// พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อ
อะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่าวิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความ
บังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ
///
ย่อมหมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป"
ก็คือพระพุทธองค์ชี้ไว้ตาม สมมุติบัญญัติว่า สัตว์ย่อมบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็เพราะมีวิญญาณาหาร เป็นปัจจัยนั้นเอง
อธิบายเพื่อความชัดเจน พระพุทธเจ้าทรงตรัส
"วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป"
ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าพระองค์ทรงตรัสตามปฏิจสมืทปบาท คือ วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป กว่าจะถึง ภพ ยังต้องสืบต่อปัจจัย ไปอีกหลายปัจจัยที่เดียว แต่นี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสตรงๆ ว่า "วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป" แล้วทรงตรัสเข้าสู่ปฏิจสมุทปบาท ต่อไปว่า เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
โดยเริ่มจาก สฬายตนะ ไม่ทรงกล่าว "จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ...
ก็จะสอดคล้องกับ พุทธพจน์ส่วนแรกอย่างชัดเจนคือ...
///
อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔
เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว
หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
///
ซึ่งหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดของหมู่สัตว์ทั้งหลายในวัฏสังสาร ที่เป็นไปตามเหตุของอาหาร 4 และเหตุปัจจัยของปฏิจสมุทปบาทนั้นเอง.
อาหาร 4 กับการเวียนว่ายตายเกิดของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
ผมขอยกพระสูตรจากพระไตรปิฏกแล้วก็แสดงความเห็นไปตามลำดับดังนี้
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16
-----
๑. อาหารสูตร
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถปิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร
๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบ หรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิด มาแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหา
เป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็น
กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด
มีเวทนาเป็นแดนเกิด ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็น กำเนิด มีผัสสะเป็น
แดนเกิด ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะ เป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็น
แดนเกิด ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน
เกิดสฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นที่ตั้งขึ้น มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูป เป็น
แดนเกิด ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นที่ตั้งขึ้น มีวิญญาณ เป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด
ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มี สังขารเป็นที่ตั้งขึ้น มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ก็สังขาร
เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นที่ตั้งขึ้น มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี อวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๓๐] ก็เพราะอวิชชานั้นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขาร จึงดับ เพราะ
สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
----
อธิบายส่วนที่ 1 >>> จากพุทธพจน์ส่วนนี้
/// ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร
๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบ หรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิด มาแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
///
ย่อมเป็นที่ยื่นยันถึงสมมุติสัจจะ ถึงการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย สมบูรณ์แล้วนั้นเอง แต่ถ้ามีผู้กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจน หรือยังไม่เห็นมีที่กล่าวไว้อย่างชัดเจน
ผมจึงขอยกเรื่องอาหาร 4 ในอีกพระสูตรหนึ่ง ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 16 เพื่อความชัดเจนดังนี้.
----
๒. ผัคคุนสูตร
[๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔
เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว
หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ
[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตั้งปัญหา
ยังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณาหาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน [วิญญาณาหาร] ควร
ตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าว
อย่างนั้นผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อ
อะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่าวิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความ
บังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ
[๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่าย่อมถูกต้อง ควรตั้ง
ปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง แต่ เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึง
ถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้
ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ฯ
[๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมเสวย
อารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้
กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัย
หนอ จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯ
[๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมทะเยอ
ทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้
กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัย
หนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ
[๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น ฯ
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่าย่อมถือมั่น ควรตั้ง
ปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเรา
ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้
ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๓๗] ดูกรผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
----
อธิบายส่วนที่ 2 >>> จากพุทธพจน์ส่วนนี้
/// พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อ
อะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่าวิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความ
บังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ
///
ย่อมหมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป"
ก็คือพระพุทธองค์ชี้ไว้ตาม สมมุติบัญญัติว่า สัตว์ย่อมบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็เพราะมีวิญญาณาหาร เป็นปัจจัยนั้นเอง
อธิบายเพื่อความชัดเจน พระพุทธเจ้าทรงตรัส
"วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป"
ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าพระองค์ทรงตรัสตามปฏิจสมืทปบาท คือ วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป กว่าจะถึง ภพ ยังต้องสืบต่อปัจจัย ไปอีกหลายปัจจัยที่เดียว แต่นี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสตรงๆ ว่า "วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป" แล้วทรงตรัสเข้าสู่ปฏิจสมุทปบาท ต่อไปว่า เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
โดยเริ่มจาก สฬายตนะ ไม่ทรงกล่าว "จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ...
ก็จะสอดคล้องกับ พุทธพจน์ส่วนแรกอย่างชัดเจนคือ...
///
อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔
เป็นไฉน คือ [๑] กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว
หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
///
ซึ่งหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดของหมู่สัตว์ทั้งหลายในวัฏสังสาร ที่เป็นไปตามเหตุของอาหาร 4 และเหตุปัจจัยของปฏิจสมุทปบาทนั้นเอง.