เห็นมีคนบางกลุ่มจะทำการฟ้องร้องผู้วาดพระพุทธรูปลายอุลตร้าแมน ถามว่ามีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องฟ้องร้อง การกระทำเช่นนี้อยู่บนพื้นฐานคำสอนพระพุทธเจ้าไหม ที่ทำไปเพราะลึกๆแล้วมีจิตผูกอาฆาตจองเวรไหม ทำไปเพราะไม่มีอภัยทานใช่ไหม สิ่งที่ทำใช่สันติวิธีหรือเปล่า
แล้วอย่าตีความสับสนกับคำว่าปล่อยวาง แล้วไม่ตอบโต้ ไม่ทำอะไร คำว่าปล่อยวางในศาสนาพุทธ คือ ปล่อยวางจากกิเลส อกุศลกรรมทั้งมวล
การตอบโต้ในทางพุทธสามารถทำไปพร้อมๆกับการปล่อยวางได้ ตอบโต้ด้วยสันติวิธีด้วยการให้ปัญญาแก่ผู้ไม่รู้ ในขณะที่ตอบโต้นั้นก็มีการปล่อยวาง คือ ตอบโต้อย่างไม่มีความอาฆาตจองเวร ระงับซึ่งโทสะในการสั่งสอนเขา
สอนให้เขารู้ ให้เขามีปัญญาด้วยจิตที่เป็นกุศล ถึงจะถูกวิธี
วิธีการตอบโต้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อพระองค์และหมู่สงฆ์ถูกใส่ร้ายป้ายสี
สมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์กับคณะสงฆ์ก็ถูกใส่ร้ายป้ายสีมาแล้วจ้ะ
เป็นเคสของ ‘นางสุนทรีปริพาชิกา’ หลังจากเธอรับแผนการงานทำลายพระศาสนาจากอัญเดียรถีย์ปริพาชก(นักบวชต่างศาสนา) มาทำแล้ว เธอถูกซ้อนแผนโดยถูกฆ่าปิดปาก แล้วป้ายสีสร้างข่าวใส่ความมาที่พระศาสดากับคณะสงฆ์ โดยโพทะนาว่า
“ท่านทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตรเถิด
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ไม่มียางอาย ทุศีล มีธรรมเลวทราม กล่าวเท็จ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์... ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้เสื่อมสิ้นไปแล้ว...
ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน... พระเหล่าเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะ
ทำไมเป็นชายจึงข่มขืนผู้หญิงแล้วฆ่าเสียเล่า”
สมัยนั้น คนทั้งหลายในกรุงสาวัตถีเห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ
เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระผู้มีพระภาคแล้ว พระองค์ทรงตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เสียง(โจษ)นั้นจักมีไม่นาน จักมีเพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันจักหายไป
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกล่าวตอบกับบุคคลทั้งหลายที่เห็นภิกษุแล้วด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า
อภูตวาที นิรย อุเปติ
โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห
อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถาติ ฯ
“คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก
คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า”
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วกล่าวตอบคนทั้งหลายที่เห็นภิกษุแล้ว ด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า
“คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก
คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า”
คนทั้งหลาย(เมื่อได้ฟังการตอบโต้อย่างผู้มีปัญญาแล้ว)ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ คงไม่ได้ทำความผิด
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ คงไม่ได้ทำบาป
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงกล่าวสบถเช่นนั้น”
เสียง(โจษ)นั้นได้มีอยู่ไม่นาน เสียง(โจษ)ได้มีอยู่เพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันก็หายไป
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ตุทนฺติ วาจาย ชนา อสฺตาง
ปเรหิ สงฺคามคตว กฺุชร
สุตฺวาน วากฺย ผรุส อุทีริต
อธิวาสเย ภิกฺขุ อทุฏฺจิตฺโตติ ฯ
คนทั้งหลายผู้ไม่สำรวม ชอบกล่าวทิ่มแทงผู้อื่นด้วยวาจาเหมือนทหารข้าศึกทิ่มแทงช้างที่ออกศึก ด้วยลูกศรฉะนั้น
ภิกษุผู้มีจิตไม่คิดประทุษร้าย ฟังคำหยาบคายที่คนพาลกล่าวแล้ว พึงอดกลั้นไว้ได้
จากกรณีศึกษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
เราจะเห็นได้ว่าวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของพุทธองค์นั้น ไม่ใช่นิ่งเฉยยอมเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว
แต่ทรงมีวิธีการตอบโต้อย่างผู้มีปัญญา ไม่ใช้วิธีหยาบช้าอย่างคนพาล
สิ่งที่ชาวพุทธตอบโต้ฟ้องร้องกับเด็กวาดพระพุทธลายการ์ตูน ตรงกับหลักที่พระพุทธเจ้าสอนไหม
แล้วอย่าตีความสับสนกับคำว่าปล่อยวาง แล้วไม่ตอบโต้ ไม่ทำอะไร คำว่าปล่อยวางในศาสนาพุทธ คือ ปล่อยวางจากกิเลส อกุศลกรรมทั้งมวล
การตอบโต้ในทางพุทธสามารถทำไปพร้อมๆกับการปล่อยวางได้ ตอบโต้ด้วยสันติวิธีด้วยการให้ปัญญาแก่ผู้ไม่รู้ ในขณะที่ตอบโต้นั้นก็มีการปล่อยวาง คือ ตอบโต้อย่างไม่มีความอาฆาตจองเวร ระงับซึ่งโทสะในการสั่งสอนเขา
สอนให้เขารู้ ให้เขามีปัญญาด้วยจิตที่เป็นกุศล ถึงจะถูกวิธี
วิธีการตอบโต้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อพระองค์และหมู่สงฆ์ถูกใส่ร้ายป้ายสี
สมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์กับคณะสงฆ์ก็ถูกใส่ร้ายป้ายสีมาแล้วจ้ะ
เป็นเคสของ ‘นางสุนทรีปริพาชิกา’ หลังจากเธอรับแผนการงานทำลายพระศาสนาจากอัญเดียรถีย์ปริพาชก(นักบวชต่างศาสนา) มาทำแล้ว เธอถูกซ้อนแผนโดยถูกฆ่าปิดปาก แล้วป้ายสีสร้างข่าวใส่ความมาที่พระศาสดากับคณะสงฆ์ โดยโพทะนาว่า
“ท่านทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตรเถิด
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ไม่มียางอาย ทุศีล มีธรรมเลวทราม กล่าวเท็จ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์... ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้เสื่อมสิ้นไปแล้ว...
ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน... พระเหล่าเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะ
ทำไมเป็นชายจึงข่มขืนผู้หญิงแล้วฆ่าเสียเล่า”
สมัยนั้น คนทั้งหลายในกรุงสาวัตถีเห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ
เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระผู้มีพระภาคแล้ว พระองค์ทรงตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เสียง(โจษ)นั้นจักมีไม่นาน จักมีเพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันจักหายไป
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกล่าวตอบกับบุคคลทั้งหลายที่เห็นภิกษุแล้วด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า
อภูตวาที นิรย อุเปติ
โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห
อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถาติ ฯ
“คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก
คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า”
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วกล่าวตอบคนทั้งหลายที่เห็นภิกษุแล้ว ด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า
“คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก
คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า”
คนทั้งหลาย(เมื่อได้ฟังการตอบโต้อย่างผู้มีปัญญาแล้ว)ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ คงไม่ได้ทำความผิด
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ คงไม่ได้ทำบาป
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงกล่าวสบถเช่นนั้น”
เสียง(โจษ)นั้นได้มีอยู่ไม่นาน เสียง(โจษ)ได้มีอยู่เพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันก็หายไป
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ตุทนฺติ วาจาย ชนา อสฺตาง
ปเรหิ สงฺคามคตว กฺุชร
สุตฺวาน วากฺย ผรุส อุทีริต
อธิวาสเย ภิกฺขุ อทุฏฺจิตฺโตติ ฯ
คนทั้งหลายผู้ไม่สำรวม ชอบกล่าวทิ่มแทงผู้อื่นด้วยวาจาเหมือนทหารข้าศึกทิ่มแทงช้างที่ออกศึก ด้วยลูกศรฉะนั้น
ภิกษุผู้มีจิตไม่คิดประทุษร้าย ฟังคำหยาบคายที่คนพาลกล่าวแล้ว พึงอดกลั้นไว้ได้
จากกรณีศึกษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
เราจะเห็นได้ว่าวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของพุทธองค์นั้น ไม่ใช่นิ่งเฉยยอมเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว
แต่ทรงมีวิธีการตอบโต้อย่างผู้มีปัญญา ไม่ใช้วิธีหยาบช้าอย่างคนพาล