ชี้แจงเรื่อง "ปัสสาวะรักษาโรค" ในทางพระพุทธศาสนา

     เนื่องจากปัจจุบันมีการพยายามจะนำพระพุทธศาสนามาอ้างถึงสรรพคุณทางยาของปัสสาวะและอุจจาระ จนเป็นเรื่องให้ทั้งกับผู้นับถือพุทธ และผู้ที่ไม่ได้นับถือถกเถียงกันและแตกเป็นประเด็นต่างๆมากมาย ทำให้เกิดกระแสโจมตีกันไปมาจนหาที่สุดไม่ได้กับบุคคลในหลายๆกลุ่ม หลายๆสถาบัน แม้จะมีท่านผู้รู้ที่ได้ออกมาวินิจฉัยเรื่องนี้กันมากด้วยข้อมูลแล้ว ก็เห็นจะยังยุติไม่ได้เสียที
 

     จึงเห็นควรว่าจะได้นำข้อมูลที่ตัวผมได้ไปศึกษามาแจกแจงให้ท่านที่ใคร่จะทราบ ได้ทราบข้อเท็จจริงตามที่มีหลักฐานอ้างอิง และได้พิจารณาโดยแยบคายว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง บวกกับความเห็นของตัวผมเองที่พิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ในประวัติศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าความเห็นของผมที่กำลังจะวิเคราะห์ให้ทุกท่านอ่านต่อไปนี้ ก็อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ก็ข้อให้ได้พิจารณากันตามข้อมูลอย่างเป็นกลาง และถกเถียงกันอย่างปัญญาชน เพื่อเป็นอีกหนึ่งบทวิเคราะห์ให้หลายๆท่านได้พิจารณาและเกิดความเข้าใจต่อไป

     คงจะต้องเริ่มจากเรื่องว่าพระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ที่ไหนบ้าง ว่าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันคูถ(อุจจาระ) และมูตร(ปัสสาวะ) โดยตรงนี้จะได้ขอหยิบยกเรื่องที่มีบุคคลหลายท่าน(เท่าที่ตัวผมได้ไปเห็นมา)กล่าวอ้างกันก่อน เท่าที่ได้เห็นการกล่าวอ้างมา จะเห็นแหล่งที่มาหลักๆ 3 แหล่ง คือ

1. นิสสัย ๔
(http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=4&A=3870)

2. มหาสีหนาทสูตร
(http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=2634&w=%A1%C3%D0%E2%CB%C2%E8%A7&pagebreak=1)

3. ยามหาวิกัฏ ๔ 
(http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=987&Z=1043)
(http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=05&siri=10)

------

     ก่อนจะได้เริ่มอธิบายไปในแต่ละเรื่อง จะขอให้ทุกท่านเข้าใจตรงกันในเรื่องนี้ก่อนประเด็นนึงว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้จะไม่ตรัสอะไรให้ขัดกับสมมติทางโลกของมหาชนในยุคนั้นเป็นสำคัญถ้าไม่จำเป็น คือเมื่อจะตรัสอะไรๆที่เป็นสมมติทางโลก(หรือโลกโวหาร) ก็จะคล้อยตามมหาชน เพื่อประโยชน์ที่มหาชนในยุคนั้นจะเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย เลื่อมใส และไม่ตั้งแง่ ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสอะไรแปลกๆที่ไม่สมด้วยยุคและกาลสมัยของชนในยุคนั้น เหตุนี้เมื่อจะทรงเทศนาธรรม จะทรงบัญญัติอะไร ก็อาศัยสมมติทางโลกของคนให้ยุคนั้นเป็นสำคัญ

     ดังจะเห็นได้เช่นชาดกทั้งหลาย จะเห็นได้ว่าเมื่อจะตรัส ก็จะตรัสด้วยชื่อภาษามาคธีทั้งนั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดในชาติก่อนๆๆๆๆนานมากๆ แต่ถ้าลองมองไปที่ชื่อของตัวละครและบุคคลในชาดก จะเห็นว่าส่วนใหญ่ชื่อเหล่านั้น มีความหมาย เช่น เมื่อกล่าวถึง "พระเวสสันดร" ก็หมายถึง "ผู้ที่เกิดในระหว่างถนนทางสันดรของพ่อค้า" รวมความได้คือชนเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ชื่อนั้น แต่ชื่อมีความหมายอย่างนั้น เรื่องราวในชาดกก็พรรณาด้วยบ้านเมืองและเครื่องอุปโภคบริโภคที่อิงยุคสมัยนั้นไว้ เพื่อความที่ผู้ฟังจะเข้าใจในเนื้อความ คล้อยตามอรรถได้ง่ายเมื่อฟัง

     ฉะนั้นเมื่อท่านจะตรัสอะไรๆ ที่เป็นสมมติทางโลก ก็จะตรัสให้คล้อยตามคนในยุคนั้น เช่นเดียวกับเภสัชและหยูกยาต่างๆที่ทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายใช้ ไม่ควรคิดว่าท่านทรงคิดค้นยาเหล่านั้นขึ้นเอง แต่พึงควรเข้าใจว่า ยาเหล่านั้น ขนานนั้น มีใช้อยู่ก่อนแล้วในยุคนั้น และแพร่หลาย รับรู้โดยทั่วกันว่าใช้รักษาโรคนี้ๆ อย่างนี้ๆ มีวิธีปรุงอย่างนี้ๆ และมีสรรพคุณดี-เลวต่างๆกันตามปัจจัยและส่วนประกอบของยาเหล่านั้นเช่นกัน และแน่นอนว่าไม่ทรงประทานยาขนานอื่นๆอันไม่มีในยุคนั้นให้มหาชน แต่ที่ทรงอนุญาต คือล้วนเป็นยาที่มีใช้กันอย่างนั้นๆอยู่แล้ว ไม่ว่าผลลัพท์ของยานั้นจะดีมากดีน้อยอย่างไร

     พระพุทธเจ้าเอง เมื่อทรงประชวร ก็มีแพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสาร หรือหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ของพระองค์ การถวายการรักษาอาการอาพาทของพระพุทธเจ้าก็มีการใช้วิธีรักษาต่างๆกันตามแต่พระอาการประชวร ไม่ได้ทรงใช้ยาขนานเดียว กับทุกโรค และไม่ได้มียาอะไรวิเศษวิโสที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยของร่างกายมนุษย์ได้ทุกโรคในสมัยพุทธกาลเลย ล้วนแต่มียาขนานต่างๆที่ใช้รักษาอาการต่างๆกัน ดังเช่นในยุคปัจจุบันเหมือนกัน

     ที่ต้องอธิบายเรื่องนี้ก่อน เพราะว่าน้ำปัสสาวะอันที่หลายๆท่านกล่าวอ้างนั้น อ้างสรรพคุณครอบจักรวาลรักษาได้ทุกอย่าง และบ้างก็อ้างว่าพระพุทธเจ้าทรงประทานหรือคิดค้นเอง เป็นเสมือนยาวิเศษ หรืออ้างว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ยาแบบนั้นๆเป็นประจำ ขอให้เข้าใจว่าไม่เป็นความจริงและไม่ใช่เช่นนั้น และเพื่อชี้แจงให้เป็นพื้นฐานความเข้าใจตรงกันว่าพระพุทธเจ้าเมื่อทรงมีพุทธานุญาตในเรื่องเภสัช ทรงอาศัยเภสัชที่มีอยู่แล้วในยุคนั้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าเหตุไรเภสัชบางขนานอาจจะมีส่วนประกอบของยาที่คนในยุคนี้เห็นแล้วอาจแปลกใจได้

     และอีกเรื่องที่ควรทำความเข้าใจก่อนคือ ในเรื่องเภสัช ยา อาหาร ทั้งหลายในพระไตรปิฎก ล้วนมีกล่าวไว้เพียงแต่ชื่อบ้าง ส่วนประกอบสั้นๆบ้าง เราไม่อาจทราบได้เลยว่าท่านมีวิธีการ สกัด ปรุง หรือมีกรรมวิธีการประกอบยาขนานต่างๆเหล่านั้น โดยละเอียดอย่างไร ซึ่งในทางการแพทย์ก็ล้วนเป็นที่รับรู้กันว่าตัวยา หรือสารเคมี หรือส่วนประกอบบางอย่าง เมื่อสกัดหรือปรุงด้วยกรรมวิธีนึงก็ให้คุณ รักษาอาการของโรคได้ แต่หากสกัดหรือปรุงผิดไปจากนั้น ก็ให้โทษมหันต์ได้ นี่เป็นความเข้าใจนึงที่ควรทำไว้ในใจทีเดียว เมื่อจะอ้างอิงถึงยาขนานต่างๆในสมัยนั้น ที่ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรในการสกัดและปรุงมาให้เลย

     และอีกประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรให้ตกไป คือการแปลศัพท์เกี่ยวกับอาหารการกินและยารักษาโรคจากบาลีมาเป็นไทยนั้น มีโอกาสผิดพลาดและคลุมเครือได้ เหมือนในเรื่องของสุกรมัทวะ เพราะเหตุว่าอาหาร และยาบางอย่างในยุคสมัยนั้นและในประเทศนั้น ไม่มีในไทย คนไทยในยุคที่แปลพระไตรปิฎกมาเป็นภาษาไทยไม่รู้จัก ไม่มีคำแปลที่สมควรจะแปลได้ในภาษาไทย จึงใช้ทับศัพท์หรือการตีความเอาก็มี บางคำอาจจะดูแปลง่ายๆ แต่เราไม่มีทางรู้ได้ว่าตัวอาหารและยาจริงๆนั้นหน้าตาอย่างไร มีส่วนประกอบดังที่ว่าจริงไหม อาจจะเป็นเพียงชื่อเฉพาะก็ย่อมได้ ก็พึงควรพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย

     ทีนี้จะได้อธิบายต่อในเรื่องที่ถูกหยิบยกมาดังต่อไปนี้ ...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่