10 ไดอารี่ช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Hava Nagila



Anne Frank ไม่ใช่วัยรุ่นเพียงคนเดียว
ที่เสียชีวิตในช่วงสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
ยังมีเด็กและวัยรุ่นอีกหลายพันคนทั่วยุโรป
ที่พบว่าเสรีภาพของพวกตนค่อย ๆ ลดน้อยหายไป
ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาต้องสูญสิ้นหายหายไป
และชีวิตวัยเยาว์ของเด็กและวัยรุ่นเหล่านั้น
ต้องแตกดับและพลัดพรากจากครอบครัว

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจากนาซีเยอรมัน
อาจจะมีคนหลายร้อยคนที่ได้เขียนบันทึกประจำวัน
ที่ได้จดบันทึกชีวิตประจำวัน ความทุกข์ ความหวัง
แต่มีการค้นพบสมุดบันทึกลับเพียงไม่กี่ 10 เล่ม
หลังจากสงครามครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
และมีการตีพิมพ์เผยแพร่เพียงไม่กี่เล่ม
น้อยกว่า Dairy of Anne Frank ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
ที่มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ และได้รับการอ่านกันมากที่สุด
เรื่องราวเกี่ยวกับความหายนะและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
แต่มันคงจะไม่ยุติธรรมนักที่จะลืมบางคน
ที่ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันในยุคนั้น


1.
Rutka Laskier

Rutka Laskier อายุ 14 ปี ตอนที่เธอเริ่มเขียนไดอารี่ของเธอ
ในฐานะชาวยิวที่อาศัยอยู่ในโปแลนด์
Rutka Laskier และครอบครัวของเธอ
ต้องเผชิญกับความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติที่เพิ่มมากขึ้น
ในเงื้อมมือของชาวเยอรมันที่ยึดครองประเทศของพวกเธอ
ครอบครัวของเธอถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ที่สลัมชาวยิว
ในเมือง Będzin ในช่วงแรก ๆ ของสงครามโดยนาซีเยอรมัน

นาซีเยอรมันมักจะหลอกในเบื้องต้นว่า
สลัมแห่งใหม่ดีกว่า มีเสรีภาพ อิสรภาพดีกว่า
แล้วจัดการยึดทรัพย์สมบัติที่เหลืออยู่เป็นของพวกตน
บางครั้งก็ใช้วิธีการขับไล่ให้ชาวยิวไปให้พ้นจากที่อยู่
เพื่อเข้าครอบครองทรัพย์สินต่าง ๆ 

แต่เธอยังไม่ได้เริ่มเขียนไดอารี่จนกระทั่งมกราคม 1943
เธอสามารถเขียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น
ก่อนที่เธอจะถูกส่งไปที่ Auschwitz
ไดอารี่ของเธอตกอยู่ในมือของเพื่อน Rutka ที่รอดชีวิตมาได้
แต่กินเวลาเนิ่นนานมากกว่า 60 ปี
เพื่อนเธอจึงจะยอมมอบให้สำนักพิมพ์
และได้เผยแพร่สู่สาธารณะในปี 2005

เรื่องราวของ Rutka Laskier มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง
กับเรื่องราวของ Anne Frank ทั้งคู่มีอายุ 14 ปีตอนตาย
พ่อของทั้งสองคนต่างรอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
ไดอารี่ของทั้งสองคนต่างบันทึกชีวิตประจำวัน
มิตรภาพ ความรักครั้งแรก ความตื่นตัวทางเพศ
และความน่าสะพรึงกลัวของการยึดครองของนาซีเยอรมัน


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Rutka Laskier: The diary of a Polish-Jewish girl

2.
Renia Spiegel

ไดอารี่ขนาดหนาของ Renia Spiegel ที่มีเกือบ 700 หน้า
ซึ่งเรื่องราวประกอบไปด้วย 4 ปีสุดท้ายในชีวิตของเธอ
ตั้งแต่ตอนอายุ 15 ไปจนถึงตอนเสียชีวิตของเธอ
ไม่นานนักหลังจากเธออายุครบ 18 ปี
ไดอารี่ของเธอบันทึกชีวิตของเธอ
ในฐานะชาวยิวใน Przemyśl ในโปแลนด์
ช่วงวัยรุ่นของเธอ เธอได้พูดถึงหัวข้อทั่วไป
เช่น โรงเรียน มิตรภาพและเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ
รวมทั้งเกี่ยวกับความหวาดกลัวของเธอ
เกี่ยวกับสงครามที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
และเกี่ยวกับเรื่องการถูกบังคับให้ย้ายเข้าสู่สลัม Przemyśl

สลัม Przemyśl ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม 1942
Renia Spiegel และน้องสาวของเธอถูกบังคับ
ให้ย้ายไปอยู่ที่นั่นพร้อมกับปู่ย่าตายายของเธอ
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ Zygmunt Schwarzer
แฟนของ Renia Spiegel ที่ทำงานลับเกี่ยวกับ
การลักลอบพาชาวยิวไปหลบซ่อนในบ้านชาวโปแลนด์
(แลกกับการจ่ายเงินและค่าตอบแทนในการให้ที่หลบซ่อน)
ได้พาเธอกับน้องสาวหลบหนีออกจากสลัม
แล้วพาไปซ่อนตัวอยู่ร่วมกับพ่อแม่ของ Zygmunt Schwarzer
ที่ห้องใต้หลังคาของลุง Zygmunt Schwarzer
(โดยมีชาวโปแลนด์คอยช่วยเหลือในเรื่องเสบิยงอาหาร
หยูกยารักษาโรคโดยได้เงินค่าตอบแทนในการนี้
คล้ายกับการให้ที่พักหลบซ่อนผู้ต้องหาที่ผิดกฎหมาย)

แต่ในที่สุดสถานที่หลบซ่อนของพวกเธอ
ก็ถูกเปิดเผยโดยผู้แจ้งข่าว เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินรางวัล/คูปองอาหาร
หรือต้องการให้พวกตนพ้นผิดจากโทษบางอย่าง
Renia Spiegel พร้อมกับพ่อแม่ของ Zygmunt Schwarzer
ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าบนท้องถนนในคืนนั้นทันที

หลังจากตายของเธอ
Zygmunt Schwarzer ได้เก็บรักษาไดอารี่ของเธอไว้
และได้เขียนรายละเอียดครั้งสุดท้าย
เกี่ยวกับการพา Renia Spiegel ไปซ่อนนอกสลัม
และการตายของเธอในวันนั้น
“ สามนัด ! สามชีวิตที่หายไป ! เมื่อคืนนี้เวลา 10.30 น.
โชคชะตาได้พาคนรักของผมจากไปแล้ว
ชีวิตของผมคงจบสิ้นลงแล้ว
ทั้งหมดที่ผมได้ยินก็ คือ ปัง ปัง ปัง
....Renia ที่รักของผม
บทสุดท้ายของไดอารี่เธอจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว " 

Zygmunt Schwarzer รอตตายจากสงครามแล้วย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ที่ซึ่ง Zygmunt ได้มอบไดอารี่ของ Renia ให้กับแม่ของ Renia
ไดอารี่ของ Renia ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาโปแลนด์เท่านั้น
ในปี 2016  จึงมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Renia Speigel: The unknown diary of a Polish Jewish girl

3.
Eva Heyman

Eva Heyman เป็นชาวยิวที่เกิดใน Nagyvarad ปัจจุบันอยู่ในโรมาเนีย
พ่อแม่ของเธอหย่าร้างกัน  แล้วแม่ของเธอย้ายไปอยู่ที่ปารีส์
Eva Heyman จึงอาศัยอยู่กับปู่ย่าของเธอใน Budapest
ปู่ของเธอเป็นเจ้าของร้านขายยา

วันที่ 19 มีนาคม 1944
เมื่อกองทัพนาซีเยอรมันได้บุกมาถึง Budapest
อีกหนึ่งเดือนถัดมมา Eva Heyman และปู่ย่าของเธอ
ได้รับคำสั่งให้เก็บข้าวของและย้ายไปอยู่ที่สลัม
ในเดือนมิถุนายน 1944
Eva ถูกเนรเทศไปที่ Auschwitz
ที่ซึ่งเธอเสียชีวิตใน 4 เดือนต่อมาตอนเธออายุ 13 ปี

Agnes Zsolt แม่ของ Eva เกือบจะเสียชีวิต
เมื่อเธอได้เดินทางมาที่ Budapest
เพื่อตามหาลูกสาวของเธอ
เธอถูกจำคุกที่ค่ายกักกัน Bergen-Belsen
แต่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพพันธมิตรในปี 1945
แล้วเธอก็กลับมาอีกครั้งเพื่อค้นหาลูกสาวของเธอ
แต่ก็พบสมุดบันทึกของเธอแทน
เมื่อได้อ่านไดอารี่ของ Eva
แม่ของเธอรู้สึกเศร้าโศกมากจนต้องฆ่าตัวตาย

ไดอารี่ของ Eva Heyman มีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษา Hungarian
ต่อมาแปลเป็นภาษา Hebrew ในปี 1964 และภาษาอังกฤษในปี 1974


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Eva stories- trailer

4.


Petr Ginz เกิดในปี 1928 ใน Prague
พ่อเป็นชาวยิว และแม่เป็นชาวคาทอลิก
ซึ่งทำให้ Petr กลายเป็น Mischlinge
ลูกของการแต่งงานผสม
ตามกฎหมายต่อต้านยิวของนาซีเยอรมัน
เด็กพวกนี้จะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันเมื่ออายุ 14 ปี

เมื่อถึงเดือนธันวาคม 1941
ก็เริ่มมีการเนรเทศชาวยิวออกจาก  Prague
ให้ไปอยู่ที่สลัม Theresienstadt
แล้วตระกูล Ginz ก็ค่อย ๆ สูญสลายหายไป
Petr ถูกย้ายไปยังค่ายกักกันในเดือนตุลาคมปี 1942 อายุได้ 14 ปี
2 ปีต่อมาก็ถูกส่งตัวไปที่ค่าย Auschwitz
แล้วถูกสังหารในห้องรมแก๊ส

Petr เป็นเด็กฉลาดมากก่อนที่อายุได้ 14 ปี
Petr  ได้เขียนเรื่องสั้น 5 เรื่องพร้อมกับภาพประกอบที่เขียนขึ้นเอง
ทั้งยังสนใจวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาพเขียน ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสาขาวิชาเทคนิค
ที่ค่ายกักกันTerezín นั้น
Petr และเด็กชายคนอื่น ๆ ต่างได้ร่วมกันก่อตั้งนิตยสารชื่อ Vedem
ซึ่งผลิตด้วยมือด้วยการลักลอบนำกระดาษและอุปกรณ์ศิลปะเข้ามาในค่ายกักกัน
โดย Petr เป็นหัวหน้าบรรณาธิการ เป็นนิตยสารวรรณกรรมภาษา Czech
ที่เผยแพร่ในระยะเวลา 2 ปีตั้งแต่ปี 1942 - 1944
โดยตีพิมพ์ถึง 800 หน้า มีทั้งบทกวี บทความตลก บทสนทนา
บทวิจารณ์วรรณกรรม เรื่องสั้น  และภาพวาดต่าง ๆ

ก่อนที่ Petr จะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน
Petr ได้เขียนไดอารี่เกี่ยวกับชีวิตของตนเองไว้
ไดอารี่เล่มนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกโดย Eva น้องสาวของ Petr
ชื่อเรื่อง ไดอารี่พี่ชายของฉัน Diary of My Brother
มีฉบัยแปลภาษาอังกฤษที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี  2007
ในชื่อเรื่อง  The Diary of Petr Ginz 1941–1942


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

The Last Flight of Petr Ginz Official Trailer (2013)

5.
Miriam Wattenberg (Mary Berg)

สมุดบันทึกของ Mary Berg  คือ วารสารเด็กเล่มแรก
ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เปิดเผยต่อสาธารณชน
ถึงความน่ากลัวของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

Miriam  เกิดที่โปแลนด์ในปี 1924
แต่แม่ของเธอเป็นชาวอเมริกัน
ซึ่งทำให้ครอบครัวของเธอได้รับสิทธิพิเศษ
เพราะชาวยิวที่มีสัญชาติอเมริกัน
จะสามารถแลกเปลี่ยนตัวกับเชลยศึกชาวเยอรมันได้
ในขณะที่ชาวยิวหลายแสนคนถูกเนรเทศไปสู่ความตาย
Miriam  และครอบครัวของเธอถูกกักตัวที่ค่ายกักกันในฝรั่งเศส
รอการแลกเปลี่ยนเชลยศึกชาวเยอรมัน
ก่อนที่จะถูกพากลับไปยังสหรัฐอเมริกาในที่สุด

เกือบทุกวันในช่วง 2 ปีที่เธออยู่ในสลัม Warsaw
Miriam ได้สังเกตเห็นผู้คนจำนวนมากที่เดินไปตามท้องถนน
เพื่อไปขี้นรถไฟที่จะพาชาวยิวไปยัง Treblinka
เธอได้เขียนว่า : “ พวกเราที่ได้รับการช่วยเหลือออกจากสลัม
เราต่างรู้สึกละอายที่จะมองหน้าซึ่งกันและกัน
เรามีสิทธิ์ที่รอดตาย(พวกเดียว) หรือไม่ 
ที่นี่ ทุกหนทุกแห่งทุกสิ่งมีกลิ่นของแสงอาทิตย์และดอกไม้ และที่นั่น
มีเพียงแต่เลือด เลือดของคนของเรา "

ไม่นานหลังจากที่พวกเธอมาถึงสหรัฐอเมริกาในปี 1944
ไดอารี่ของเธอได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อเมริกัน
แบบเป็นเรื่องราวต่อเนื่อง ที่ยืนยันถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรก
ไดอารี่ของเธอถูกมีการรวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือในปีถัดมา

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Diary of Mary Berg Movie
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่