ในประเทศไทยโรคความดันสูง จัดเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ แต่เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่าในปัจจุบันมีแนวโน้มจะเกิดกับคนอายุน้อยที่อยู่ในวัยทำงานสูงขึ้นกว่าเดิม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะความดันสูงนั้นมีมากมาย แต่หลักๆ ก็จะเกิดจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม เชื้อชาติ รูปแบบการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารรสเค็มจัด มันจัด รวมไปถึงความเครียด
ว่าแต่ว่าเจ้าโรค ความดันโลหิตสูงเนี่ย มีอันตรายมากแค่ไหน น่ากลัวอย่างไร หลายคนสงสัยใช่ไหมล่ะคะ เชิญล้อมวงกันเข้ามาเพราะซาร่ามีข้อมูลที่น่าสนใจของภาวะความดันโลหิตสูงมาฝากค่ะ
ความดันโลหิตคืออะไร?
"ความดันโลหิต" หรือ "ความดันเลือด" คือระดับความดันในหลอดเลือดแดงที่จะขึ้นลงตามแรงบีบและคล้ายตัวของหัวใจ การวัดความดันเลือดจะใช้หน่วยเป็นมิลลิลิตรปรอท ประกอบด้วยตัวเลข 2 ค่า คือ
ค่าความดันตัวบน คือระดับความดันเลือดที่เกิดขณะหัวใจบีบตัวเต็มที่
ค่าความดันตัวล่าง คือระดับความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว
ระดับความดันปรกติควรอยู่ที่เท่าไร?
ระดับความดันที่ถือว่าปรกติ ในคนทั่วไปตัวบนจะต้องไม่เกิน 120 ตัวล่างต้องไม่เกิน 80 มิลลิลิตรปรอท หรือ 120/80 มิลลิลิตรปรอท ในผู้สูงอายุหากมีความดันเลือดน้อยกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท จะถือว่ามีภาวะความดันสูงเล็กน้อย จัดอยู่ในเกณฑ์ปรกติ แต่หากมีค่าความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท อาจกล่าวได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วค่ะ ส่วนภาวะความดันต่ำนั้นค่าตัวเลขจะต่ำว่า 90/60 มิลลิลิตรปรอทค่ะ
ความดันสูงน่ากลัวอย่างไร?
ความดันโลหิตสูงหากเกิดขึ้นแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่การรักษาจะส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย ทำให้อันตรายต่ออวัยวะสำคัญทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่ายเช่น
สมอง จะทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ อุดตัน หรือเส้นเลือดในสมองแตกมีเลือดออกในสมอง ทำให้กลายเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ได้ดังนั้นหากว่ามีความผิดปรกติเกิดขึ้นกันร่างกายอย่าง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงต้องรีบพาไปโรงพยาบาลภายใน 1 ชั่วโมง หากช้าเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตหรือเลือดออกในสมองมากขึ้นได้
หัวใจ ทำให้หัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาและแข็งตัว เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุด ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลวเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปรกติและอาจเสียชีวิตได้ หากมีอาการเหล่านี้ ให้นั่งพัก 3-5 นาที หากอาการไม่หายควรรีบไปพบแพทย์ด่วน
หลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับหลอดเลือดทั่วร่างกายทำให้หลอดเลือดแดงตีบ หรือโป่งพอง เกิดการฉีกขาดได้ง่าย มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้
ตา จะทำให้เกิดปัญหากับหลอดเลือดตา ทำให้เลือดออกที่จอประสาทตา หลอดเลือดเล็กที่จอประสาทตาอุตตัน หรือจอประสาทตาหลุดลอกออกมาได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย หรืออาจมีแค่อาการตามัว ไปจนตาบอดได้เลยทีเดียวค่ะ
ไต ความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดไตมีปัญหา ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไตไม่พอทำให้ไตเสื่อมและอาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้
ความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้นมักจะเพิ่มขึ้นทีละน้อย ยกเว้นหากมีเหตุการณ์หรือปัจจัยส่งเสริมให้ระดับความดันสูงขึ้น เช่นความเครียด การเบ่งถ่าย มีเรื่องตื่นเต้นเป็นต้น คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากมีอาการนั่นก็อาจบอกได้ว่า ภาวะความดันสูงนั้นไปกระทบกับหลอดเลือดของอวัยวะสำคัญที่กล่าวมาเบื้อต้นแล้ว
วัดความดันครั้งเดียว สรุปเลยได้หรือไม่ว่าเป็นโรคความดันสูง?
การจะบอกได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริงหรือไม่ จำเป็นต้องวัดหลายๆ ครั้ง และควรวัดหลังจากได้นั่งพักผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วนำค่าที่วัดได้ทั้งหมดมาประเมินอีกครั้ง หากค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปรกติก็ยังไม่ต้องใช้ยา เพราะหากความดันเลือดไม่ได้สูงจริงๆ แล้วไปกินยาลดความดันจะทำให้เกิดอันตรายได้นะคะ
ที่มา
https://bit.ly/2MNZlTe
ความดันสูง น่ากลัวกว่าที่คิด
ในประเทศไทยโรคความดันสูง จัดเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ แต่เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่าในปัจจุบันมีแนวโน้มจะเกิดกับคนอายุน้อยที่อยู่ในวัยทำงานสูงขึ้นกว่าเดิม ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะความดันสูงนั้นมีมากมาย แต่หลักๆ ก็จะเกิดจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม เชื้อชาติ รูปแบบการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารรสเค็มจัด มันจัด รวมไปถึงความเครียด
ว่าแต่ว่าเจ้าโรค ความดันโลหิตสูงเนี่ย มีอันตรายมากแค่ไหน น่ากลัวอย่างไร หลายคนสงสัยใช่ไหมล่ะคะ เชิญล้อมวงกันเข้ามาเพราะซาร่ามีข้อมูลที่น่าสนใจของภาวะความดันโลหิตสูงมาฝากค่ะ
ความดันโลหิตคืออะไร?
"ความดันโลหิต" หรือ "ความดันเลือด" คือระดับความดันในหลอดเลือดแดงที่จะขึ้นลงตามแรงบีบและคล้ายตัวของหัวใจ การวัดความดันเลือดจะใช้หน่วยเป็นมิลลิลิตรปรอท ประกอบด้วยตัวเลข 2 ค่า คือ
ค่าความดันตัวบน คือระดับความดันเลือดที่เกิดขณะหัวใจบีบตัวเต็มที่
ค่าความดันตัวล่าง คือระดับความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว
ระดับความดันปรกติควรอยู่ที่เท่าไร?
ระดับความดันที่ถือว่าปรกติ ในคนทั่วไปตัวบนจะต้องไม่เกิน 120 ตัวล่างต้องไม่เกิน 80 มิลลิลิตรปรอท หรือ 120/80 มิลลิลิตรปรอท ในผู้สูงอายุหากมีความดันเลือดน้อยกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท จะถือว่ามีภาวะความดันสูงเล็กน้อย จัดอยู่ในเกณฑ์ปรกติ แต่หากมีค่าความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท อาจกล่าวได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วค่ะ ส่วนภาวะความดันต่ำนั้นค่าตัวเลขจะต่ำว่า 90/60 มิลลิลิตรปรอทค่ะ
ความดันสูงน่ากลัวอย่างไร?
ความดันโลหิตสูงหากเกิดขึ้นแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่การรักษาจะส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย ทำให้อันตรายต่ออวัยวะสำคัญทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่ายเช่น
สมอง จะทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ อุดตัน หรือเส้นเลือดในสมองแตกมีเลือดออกในสมอง ทำให้กลายเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ได้ดังนั้นหากว่ามีความผิดปรกติเกิดขึ้นกันร่างกายอย่าง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงต้องรีบพาไปโรงพยาบาลภายใน 1 ชั่วโมง หากช้าเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตหรือเลือดออกในสมองมากขึ้นได้
หัวใจ ทำให้หัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาและแข็งตัว เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุด ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลวเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปรกติและอาจเสียชีวิตได้ หากมีอาการเหล่านี้ ให้นั่งพัก 3-5 นาที หากอาการไม่หายควรรีบไปพบแพทย์ด่วน
หลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับหลอดเลือดทั่วร่างกายทำให้หลอดเลือดแดงตีบ หรือโป่งพอง เกิดการฉีกขาดได้ง่าย มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้
ตา จะทำให้เกิดปัญหากับหลอดเลือดตา ทำให้เลือดออกที่จอประสาทตา หลอดเลือดเล็กที่จอประสาทตาอุตตัน หรือจอประสาทตาหลุดลอกออกมาได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย หรืออาจมีแค่อาการตามัว ไปจนตาบอดได้เลยทีเดียวค่ะ
ไต ความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดไตมีปัญหา ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไตไม่พอทำให้ไตเสื่อมและอาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้
ความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้นมักจะเพิ่มขึ้นทีละน้อย ยกเว้นหากมีเหตุการณ์หรือปัจจัยส่งเสริมให้ระดับความดันสูงขึ้น เช่นความเครียด การเบ่งถ่าย มีเรื่องตื่นเต้นเป็นต้น คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากมีอาการนั่นก็อาจบอกได้ว่า ภาวะความดันสูงนั้นไปกระทบกับหลอดเลือดของอวัยวะสำคัญที่กล่าวมาเบื้อต้นแล้ว
วัดความดันครั้งเดียว สรุปเลยได้หรือไม่ว่าเป็นโรคความดันสูง?
การจะบอกได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริงหรือไม่ จำเป็นต้องวัดหลายๆ ครั้ง และควรวัดหลังจากได้นั่งพักผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วนำค่าที่วัดได้ทั้งหมดมาประเมินอีกครั้ง หากค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปรกติก็ยังไม่ต้องใช้ยา เพราะหากความดันเลือดไม่ได้สูงจริงๆ แล้วไปกินยาลดความดันจะทำให้เกิดอันตรายได้นะคะ
ที่มา https://bit.ly/2MNZlTe