อยากจะถามเรื่องแก็สไฮโดรเจน กับ จักรวาล

ก็คือเป็นคำถามที่สงสัยนานเเล้ว ก็คือว่า ในจักรวาลของเราประกอบไปด้วยเเก็สไฮโดรเจนประมาณ 75 เปอร์ เเละคุณสมบัติของเเก็สไฮโดรเจนคือสามารถติดไฟหรือระเบิดได้ หากเกิดความร้อน หรือ ไฟ 
 ผมเลยสงสัย ว่าเเก็สไฮโดรเจนในจักรวาลกับ เจอกับเปลวไฟจากดาวฤกษ์ ทำไมจักรวาลเราไม่ระเบิด หรือ ไฟลามทั่วจักรวาล???
ขอบคุณมากครับ-0-
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเลยสงสัย ว่าเเก็สไฮโดรเจนในจักรวาลกับ เจอกับเปลวไฟจากดาวฤกษ์ ทำไมจักรวาลเราไม่ระเบิด หรือ ไฟลามทั่วจักรวาล???

คำถามนี้  ขอตอบเป็น 2 ขั้นนะครับ  (จะตอบให้ละเอียดหน่อย  ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปนะครับ)

1. Hydrogen ในเอกภพ  จะอยู่กันหนาแน่นในดาวฤกษ์  ดาวเคราะห์แก้ส (อย่างเช่น ดาวพฤหัส)
    และจะอยู่ในปริมาณมหาศาลแต่ไม่หนาแน่นที่ Nebula บางประเภท หรือ บางส่วนของ Nebula ครับ
    ดังนั้น  เรื่อง "ไฟลาม" ไปทั่วเอกภพจะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด  เพราะแหล่งแก้ส Hydrogen จะอยู่ห่างกันมาก ๆๆๆ
    ในหน่วย "หลายปีแสง" เลยทีเดียว  ช่องว่างระหว่างนั้นคือความว่างเปล่าของอวกาศ  มีเพียง atom
    ของ Hydrogen เพียงไม่กี่สิบ กี่ร้อย atom ใน 1 ลูกบาศก์เมตร  เท่านั้นครับ

2. จากข้อ 1.  ยังมีเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นมาก คือ  Hydrogen ในรูปแบบที่จะ "เผาไหม้" หรือ "ติดไฟ"
    ที่เรียกกันว่า Combustion นั้น  จะต้องอยู่ในรูปของ Molecular hydrogen  ตามคำอธิบายในภาพนี้ครับ

และอีกประการหนึ่ง คือ ในอวกาศไม่มีแก้ส Oxygen ในรูปแบบ molecular เลย  ด้วยเหตุผลเดียวกันนะครับ
คือมันไม่มี chemical bond ระหว่าง atom ของ oxygen เลย  ดังนั้น  ต่อให้ในอวกาศมี atom ของแก้สทั้งสองอยู่
เราจะจุดไฟยังงัย  ไฟก็ไม่ติดครับ  ไมมีการเผาไหม้เด็ดขาด

ส่วน "เปลวไฟ" จากดาวฤกษ์ .... ขออธิบายเพิ่มให้ว่ามันไม่ใช่เปลวไฟ (Flame) ครับ
เปลวไฟจะใช้เรียกในปฏิกิริยาเคมีที่มีการเผาไหม้เท่านั้น  แต่ดาวฤกษ์ไม่มีการเผาไหม้เลย
มีแต่ปฏิกิริยา Nuclear fusion ครับ  ข้างในดาวฤกษ์จะมีการ fusion hydrogen ในรูปแบบ atom เดี่ยว
กลายเป็นธาตุ Helium และให้พลังงานมหาศาลออกมา  ซึ่งที่เราเรียกกันว่าเปลวของดาวฤกษ์ นั้น
จริง ๆ แล้วมันคือบรรดาเนื้อแก้สของดวงอาทิตย์ที่ร้อนจัดจนเปลี่ยนสถานะกลายเป็น Plasma ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่