Red-and-Green Macaw at a clay lick in the Peruvian Amazon Rainforest. Photo credit: jorgeluizpsjr/Shutterstock.com
.
ต่างพัฒนาวิธีการเลียดินเหนียวที่ได้รสชาติเฉพาะ
พวกมันต่างรวมตัวกันเป็นจำนวนมากบนฝั่งแม่น้ำที่เปิดโล่ง
เพื่อเลียดินเหนียวกลายเป็นปรากฏการณ์เรื่องราวที่น่าสนใจ
และสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมนับพัน ๆ คน
ทำไมนกเหล่านี้จึงต้องเลียดิน
หนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด
คือ พวกนกขาดโซเดียมในอาหาร
โซเดียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกายอย่างมากมาย
เช่น การสร้างแรงกระตุ้นเส้นประสาท
เพื่อรักษาสมดุลของอิเล็กโตรไลต์สำหรับกิจกรรมของหัวใจ
และองค์ประกอบในการเผาผลาญบางอย่าง
สัตว์กินพืชหลายชนิดที่กินพืชเป็นอาหาร
จำเป็นต้องใช้เกลือเสริมเพราะพืชมีเกลือไม่เพียงพอ
ดังนั้นพวกสัตว์มักจะได้รับโซเดียมจากเลียเกลือ
ดินเหนียวและดินทั่วไปจึงเป็นแหล่งโซเดียมที่ดี (ดินโป่ง)
รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ เช่นโพแทสเซียมและแมกนีเซียม
อีกทฤษฎีหนึ่งคือ นกเลียดินเหนียวเพื่อกำจัดสารพิษในพืช
ที่พวกมันเลียดินเหนียว เพื่อให้อนุภาคดินเหนียวจะจับกับ
สารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น
ควินิน quinine และ
กรดแทนนิก tannic acid
เพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษเหล่านี้ถูกดูดซึม
ผ่านทางเดินอาหารส่วนกระเพาะลำไส้
ก่อนที่จะขับถ่ายออกมาในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดูเหมือนว่าจะสรุปว่า
ทฤษฎีโซเดียมมีความถูกต้องมากขึ้น
ศูนย์วิจัย Tambopata (TRC) ในเปรู
ได้ศึกษาพฤติกรรมการเลียดินของนกแก้วในเปรู
และพบว่าดินที่พวกนกแก้วเลือกบริโภค
ไม่มีระดับความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง
เช่น ความสามารถในการดูดซับสารพิษ
มากกว่าพื้นที่ที่นกไม่ได้เลียดิน
แต่พวกนกชอบเลียดินที่มีระดับโซเดียมสูงกว่า
ที่พื้นที่ที่พวกนกเลียดินเหนียวบนส่วนโค้งงอของแม่น้ำ Manu
นักวิจัยได้สังเกตพบว่า พวกนกแก้วเลียดินในแถวหนึ่ง
ซึ่งมีความยาวหลายร้อยเมตรไปตามแนวนอนตามแนวโค้งของแม่น้ำนั้น
พวกนกแก้วหลีกเลี่ยงไม่เลียในอีกชั้นแถบตอนเหนือและตอนใต้
และพบว่าชั้นดินที่พวกนกเลียดินเป็นประจำ
มีระดับโซเดียมสูงกว่าระดับด้านบนและด้านล่าง
Red-and-green macaws at a clay lick in Manu National Park. Photo credit: Dustin & Lori Slater/Flickr
.
.
Donald Brightsmith ผู้นำโครงการ
Tambopata Macaw
ชี้ให้เห็นว่าพวกนกแก้วที่อยู่นอกภูมิภาคด้านตะวันตกของ Amazon
ยังกินอาหารที่มีสารพิษเช่น เมล็ดของ
Hura crepitans หรือ Sandbox หรือ
โพศรี หรือ ลิงไม่ปีน
ซึ่งมีแต่เฉพาะในลุ่มน้ำ Amazon ด้านตะวันตก
แหล่งดินได้แสดงให้เห็นว่า พวกนกแก้วสามารถดูดซับสารพิษ
ได้เพียงเล็กน้อยในท้องของพวกมัน โดยไม่ต้องเลียดินเพื่อล้างพิษในลำตัวเอง
Donald Brightsmith ได้ให้เหตุผลว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลียดินเหนียว
และความจริงที่ว่า ลุ่มน้ำอเมซอนฝั่งตะวันตกขาดแคลนเกลือเป็นพิเศษ
งานวิจัยโดย Alan Lee และคณะ ก็สนับสนุนการค้นพบนี้
Alan Lee ได้แสดงให้เห็นว่าการเลียดินเหนียวของพวกนกแก้ว
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับนัยสำคัญ โดยมีระยะทางห่างจากมหาสมุทร
ที่จะบอกได้ว่ามีการขาดสารอาหาร และไม่ใช่อาหารเป็นพิษ
ซึ่งเป็นแรงผลักดันทำสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมพวกนกเลียดิน
Distribution of known parrot claylicks in South America. Image courtesy: Alan Lee
.
.
มีพื้นที่หลายสิบแห่งมากที่จะดูพวกนกแก้วเลียดินในแถวป่าดงดิบอเมซอน
เช่นใน ปารากวัย เปรู โบลิเวีย บราซิลและเอกวาดอร์
แต่พื้นที่ยอดนิยมและสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ตั้งอยู่ในเขตสงวนแห่งชาติ Tambopata ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู
อีกจุดที่ได้รับความนิยมในการมาเยี่ยมชม
การชุมนุมของนกแก้วที่มีสีสันคือ
Blickillo Clay Lick ในอุทยานแห่งชาติ Manu ในเปรูเช่นกัน
อุทยานแห่งชาติ Yasuni ในเอกวาดอร์ ก็เป็นอีกแห่ง
ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับคนชอบดูพวกนกแก้วเลียดิน
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/2ZrjPHg
https://go.nature.com/2ZobrUW
Photo credit: Brian Ralphs/Flickr
Macaws and parrots at clay lick in Tambopata National Reserve, Peru. Photo credit: Salparadis/Shutterstock.com
Photo credit: Aftab Uzzaman/Flickr
Macaw parrots on a clay lick. Photo credit: Sophie Karolczak/Shutterstock.com
Macaws in clay lick in the Peruvian Amazon jungle at Madre de Dios Peru.
Photo credit: OSTILL is Franck Camhi/Shutterstock.com
Blue-headed Parrots (Pionus menstruus) at a clay lick on the banks of the Napo River in Ecuador.
Photo credit: Andy Wilcock/Shutterstock.com
Macaws at claylick near Manu National Park Peru. Photo credit: Marieke Funke/Shutterstock.com
ทำไมนกแก้วถึงพูดได้
สิ่งที่อยู่ในลำคอของนกแก้ว
ถึงภาพลักษณ์ภายนอกจะดูเหมือนนกทั่วไป
แต่กล้ามเนื้อที่ควบคุมเสียงในลำคอของนกแก้ว มีพัฒนาการที่สูงกว่านกทั่วไป
โดยกล่องเสียงของนกแก้วนั้นเรียกว่า ทราคีโอบรอนเคียล เป็นสิ่งที่นกชนิดอื่นไม่มี
เสียงที่นกใช้เพื่อการสื่อสารนั้นเป็นเสียง
ที่สร้างจากอวัยวะควบคุมเสียงที่เรียกว่า Syrinx
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล่องเสียงของมนุษย์
กล่องเสียง Syrinx ของนกจะเป็นท่อคู่ที่ตั้งอยู่ระหว่าง
ส่วนต่อของหลอดลมและถ่อลมที่ต่อไปยังปอดของนก
การเปล่งเสียงจะเป็นการกระพือของเยื่อบางที่เรียกว่า
Tympanic membrane ซึ่งเยื่อดังกล่าว
จะถูกควบคุมโดยกล้ามเนื้อที่หุ้มอยู่รอบๆกล่องเสียง Syrinx
ลิ้นของนกแก้ว
หากสังเกตให้ดี นกแก้วมีลิ้นขนาดใหญ่กว่านกทั่วไป
และมีขนาดที่ใหญ่พอพอกับมนุษย์ นั่นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นกแก้ว
สามารถเลียนแบบเสียงมนุษย์ได้เหมือนจริงเป็นอย่างมาก
Tongues are weird! And cool 👅 lol!
สมองของนกแก้ว
นกแก้วเป็นสัตว์ที่ความจำดีมาก ด้วยเหตุนี้
มันจึงสามารถจดจำคำพูดที่มนุษย์สอน
จนสามารถเปล่งเสียงออกมาได้
ได้ยินคำพูดนั้นเป็นประจำ
เชื่อว่าหลายคนที่เคยเลี้ยงนกแก้ว
ไม่เคยสอนให้นกแก้วพูดอย่างจริงจังมาก่อน
แต่มันสามารถพูดภาษามนุษย์ได้
สาเหตุเป็นเพราะ มันจดจำเสียงที่มันได้ยินเป็นประจำ
จนสามารถเลียนแบบได้ เช่น คำว่า สวัสดี เสียงเห่าของสุนัข
หรือแม้แต่เสียงร้องของนกอื่น
บรรยากาศบริเวณกรงเลี้ยง
อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่การที่บรรยากาศบริเวณนกแก้วอยู่นั้น
ไม่วุ่นวายเกินไป แต่ก็ไม่ตึงเครียดเกินไป
ทำให้สมองของมันทำงานได้เป็นอย่างดี
เพราะถือว่า เป็นสถานที่ที่ทำให้นกแก้วมีสมาธิ
ธรรมชาติ สัญชาตญาณของนกแก้ว
อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้นกแก้วสามารถเลียนแบบเสียงได้
เป็นเพราะสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอด การหลอกศัตรูของมัน
รวมถึงการที่ตามธรรมชาติแล้ว นกแก้วเป็นสัตว์สังคม
มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ตามกลุ่มที่อยู่อาศัย
จึงทำให้มันมีความสามารถทำเสียงได้หลากหลาย
การที่มาอยู่กับมนุษย์ และเลียนเสียงมนุษย์ได้
ก็เพราะพวกมันคิดว่า มนุษย์เป็นพวกเดียวกับพวกมันนั่นเอง
Credit :
นกมาคอว์และนกแก้วเลียดินเหนียวแถวป่าดงดิบอเมซอน
และสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมนับพัน ๆ คน
ทำไมนกเหล่านี้จึงต้องเลียดิน
หนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด
คือ พวกนกขาดโซเดียมในอาหาร
โซเดียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกายอย่างมากมาย
เช่น การสร้างแรงกระตุ้นเส้นประสาท
เพื่อรักษาสมดุลของอิเล็กโตรไลต์สำหรับกิจกรรมของหัวใจ
และองค์ประกอบในการเผาผลาญบางอย่าง
สัตว์กินพืชหลายชนิดที่กินพืชเป็นอาหาร
จำเป็นต้องใช้เกลือเสริมเพราะพืชมีเกลือไม่เพียงพอ
ดังนั้นพวกสัตว์มักจะได้รับโซเดียมจากเลียเกลือ
ดินเหนียวและดินทั่วไปจึงเป็นแหล่งโซเดียมที่ดี (ดินโป่ง)
รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ เช่นโพแทสเซียมและแมกนีเซียม
อีกทฤษฎีหนึ่งคือ นกเลียดินเหนียวเพื่อกำจัดสารพิษในพืช
ที่พวกมันเลียดินเหนียว เพื่อให้อนุภาคดินเหนียวจะจับกับ
สารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ควินิน quinine และ กรดแทนนิก tannic acid
เพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษเหล่านี้ถูกดูดซึม
ผ่านทางเดินอาหารส่วนกระเพาะลำไส้
ก่อนที่จะขับถ่ายออกมาในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดูเหมือนว่าจะสรุปว่า
ทฤษฎีโซเดียมมีความถูกต้องมากขึ้น
ศูนย์วิจัย Tambopata (TRC) ในเปรู
ได้ศึกษาพฤติกรรมการเลียดินของนกแก้วในเปรู
และพบว่าดินที่พวกนกแก้วเลือกบริโภค
ไม่มีระดับความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง
เช่น ความสามารถในการดูดซับสารพิษ
มากกว่าพื้นที่ที่นกไม่ได้เลียดิน
แต่พวกนกชอบเลียดินที่มีระดับโซเดียมสูงกว่า
ที่พื้นที่ที่พวกนกเลียดินเหนียวบนส่วนโค้งงอของแม่น้ำ Manu
นักวิจัยได้สังเกตพบว่า พวกนกแก้วเลียดินในแถวหนึ่ง
ซึ่งมีความยาวหลายร้อยเมตรไปตามแนวนอนตามแนวโค้งของแม่น้ำนั้น
พวกนกแก้วหลีกเลี่ยงไม่เลียในอีกชั้นแถบตอนเหนือและตอนใต้
และพบว่าชั้นดินที่พวกนกเลียดินเป็นประจำ
มีระดับโซเดียมสูงกว่าระดับด้านบนและด้านล่าง
.
.
Donald Brightsmith ผู้นำโครงการ Tambopata Macaw
ชี้ให้เห็นว่าพวกนกแก้วที่อยู่นอกภูมิภาคด้านตะวันตกของ Amazon
ยังกินอาหารที่มีสารพิษเช่น เมล็ดของ Hura crepitans หรือ Sandbox หรือ โพศรี หรือ ลิงไม่ปีน
ซึ่งมีแต่เฉพาะในลุ่มน้ำ Amazon ด้านตะวันตก
แหล่งดินได้แสดงให้เห็นว่า พวกนกแก้วสามารถดูดซับสารพิษ
ได้เพียงเล็กน้อยในท้องของพวกมัน โดยไม่ต้องเลียดินเพื่อล้างพิษในลำตัวเอง
Donald Brightsmith ได้ให้เหตุผลว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลียดินเหนียว
และความจริงที่ว่า ลุ่มน้ำอเมซอนฝั่งตะวันตกขาดแคลนเกลือเป็นพิเศษ
งานวิจัยโดย Alan Lee และคณะ ก็สนับสนุนการค้นพบนี้
Alan Lee ได้แสดงให้เห็นว่าการเลียดินเหนียวของพวกนกแก้ว
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับนัยสำคัญ โดยมีระยะทางห่างจากมหาสมุทร
ที่จะบอกได้ว่ามีการขาดสารอาหาร และไม่ใช่อาหารเป็นพิษ
ซึ่งเป็นแรงผลักดันทำสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมพวกนกเลียดิน
ตั้งอยู่ในเขตสงวนแห่งชาติ Tambopata ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู
อีกจุดที่ได้รับความนิยมในการมาเยี่ยมชม
การชุมนุมของนกแก้วที่มีสีสันคือ
Blickillo Clay Lick ในอุทยานแห่งชาติ Manu ในเปรูเช่นกัน
อุทยานแห่งชาติ Yasuni ในเอกวาดอร์ ก็เป็นอีกแห่ง
ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับคนชอบดูพวกนกแก้วเลียดิน
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/2ZrjPHg
https://go.nature.com/2ZobrUW