ไซเรนเตือนภัยเสียงดังที่สุดในโลก (138 เดซิเบล)

⚛︎
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
⚛︎
Chrysler Air Raid Siren at Ederville
⚛︎
1.

⚛︎
Men testing the Chrysler-Bell Victory Siren in RCA, New York
credit: Marie Hansen/The LIFE Picture Collection
⚛︎
⚛︎



Chrysler Air Raid Siren มีขนาดเทียบเท่ากับรถยนต์หนึ่งคัน
มีความยาว 12 ฟุตและสูง 6 ฟุตและน้ำหนักราว 3 ตัน
ไซเรนขนาดยักษ์นี้ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เบนซิน 8 สูบ 180 แรงม้า
ขับเคลื่อนเครื่องอัดอากาศแบบ 2 ขั้นตอนและ Rotary Chopper หรือ
rotary cutter ทางกลศาสตร์  คือ เครื่องตัดเจาะที่ใช้กับเครื่องจักรหมุน
เช่น ที่ใช้ในแท่นกลึงเครื่องสับแบบหมุน เครื่องสับเศษไม้กิ่งไม้ เครื่องบดเนื้อ
คอมเพรสเซอร์ที่อัดอากาศ 2,610 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที เกือบ 7 PSI  ปอนด์/ตารางนิ้ว
ผ่านเครื่องยนต์ลูกสูบหมุนที่หั่นอากาศให้เป็นพัลส์ Pulses เพื่อสร้างเสียง
โดยอัดอากาศออกมาผ่านแตรยักษ์ 6 ตัวด้วยความเร็ว 400 ไมล์ต่อชั่วโมง
ส่งผลให้เกิดเสียงดังอย่างไม่น่าเชื่อถึง 138 dB 
โดยวัดห่างจากไซเรนระยะทาง 100 ฟุต
ความดังของไซเรนรุ่นนี้ยังคงไม่มี
อุปกรณ์เดือนภัยชนิดใด ๆ ที่เคยผลิตขึ้นมาดังได้ขนาดนี้

วัตถุประสงค์หลักของ Chrysler Air Raid Siren
คือ การแจ้งเตือนประชาชนให้รับรู้/สนใจให้ได้มากที่สุด
ถ้าเกิดการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์โดยโซเวียตรัสเซียในช่วงสงครามเย็น
ไซเรนถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทผลิตรถยนต์  Chrysler
ร่วมมือกับ Bell Telephone Laboratories
ด้วยการพัฒนารูปแบบการสร้างเสียงแบบใหม่
ที่ใช้การไหลของอากาศที่อัดแน่นมาแล้ว
ผ่านเครื่องยนต์ลูกสูบหมุนที่หั่นอากาศเป็นพัลส์ Pulses เพื่อสร้างเสียงโดยตรง
และ Chrysler นำการออกแบบของ Bell มาทำการผลิต

⚛︎
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
⚛︎
Pulse sound effect (free)
⚛︎
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
⚛︎
Thunderbolt 1003 Pulse
⚛︎
⚛︎



Chrysler ผลิตไซเรนเตือนภัยการโจมตีทางอากาศถึง 3 รุ่น
ที่ได้รับความนิยมอย่างมากตามการออกแบบของ Bell Telephone Laboratories
โดยไซเรนเตือนภัยการโจมตีทางอากาศรุ่นแรกเรียกว่า Chrysler-Bell Victory Siren
ผลิตจำหน่ายในปี 1942 และขายได้ถึง 120 เครื่องทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา
การออกแบบในช่วงแรกใช้เครื่องยนต์ 140 แรงม้า
ราคาขาย 3,760 เหรียญสหรัฐ ชุดแรกซื้อโดย New York  Detroit และ Chicago

ปลายปี 1942 วิศวกร Chrysler ได้ผลิตรุ่นที่เล็กลงจากรุ่นแรก
โดยรุ่นที่ 2 ได้ตั้งชื่อว่า Chrysler-Bell Gas Siren
มีขนาดเล็กลงและใช้เครื่องจักรขนาด 6 สูบให้กำลังแรงม้า 120 แรงม้า 
ในการปลดปล่อยพลังงานเสียง 300 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที
เพื่อให้เสียงดังแทนตัวเป่าลมหรือคอมเพรสเซอร์ที่อัดอากาศ
Chrysler-Bell Gas Siren  รุ่นนี้วางบนรถยนต์/ลากจูงไปใช้งานได้

ตามมาด้วยรุ่นที่มีการปรับปรุงและพัฒนา Chrysler Air Raid Siren
ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ขนาด 180 แรงม้า  เป็นรุ่นที่แนะนำในปี 1952

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ช่วยเลือกรัฐและชุมชนเป้าหมาย
ในการซื้อไซเรนเหล่านี้และติดตั้งในสถานที่สำคัญ
ในย่านที่มีประชากรจำนวนมาก เช่น Los Angeles County
โดยได้ซื้อไซเรนเตือนภัยทางอากาศถึง 6 ชุด
และอีก 10 ชุดขายให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในรัฐ California
Big Red Whistles คือ ชื่อฉายาไซเรนเตือนภัยทางอากาศ
แต่มีการทดลองและเปิดใช้งานเพียงไม่กี่ครั้ง
ในระหว่างการทดสอบช่วงติดตั้งและฝึกซ้อมการทำงาน 
มีรายงานข่าวเสียงกรีดร้องของ Big Red Whistles
คนที่อยู่ห่างไกลออกไป 25 ไมล์ยังได้ยินเสียงนี้

2.

⚛︎
⚛︎


Chrysler Air Raid Siren นั้นทรงพลังมาก
จนสามารถใช้ในการกระจายหมอกออกไปจากพื้นที่เป้าหมาย

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หมอกเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการบินในเวลานั้น
เพราะอุปกรณ์เครื่องบินยังไม่ทันสมัยเหมือนทุกวันนี้
นักบินต้องพึ่งพาทัศนวิสัยมากกว่าอุปกรณ์เครื่องมือแบบปัจจุบัน
กองทัพเรือสหรัฐฯและวิศวกรกองทัพอากาศ จึงได้ร่วมมือกัน
ทำการทดลองด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในการกระจายหมอก
กองทัพอังกฤษก็ใช้กองไฟในการระเหยหมอกออกไป

แต่อีกสหรัฐใช้อีกวิธีหนึ่ง โดยใช้ Chrysler Air Raid Sirens จำนวนหนึ่ง
ติดตั้งห่างกันประมาณ 100 ฟุตตามแนวขึ้นลงของเครื่องบิน
คลื่นเสียงที่เกิดจากไซเรนขนาดยักษ์เหล่านี้
ทำให้อนุภาคหมอกที่ลอยตัวกันอยู่รวมตัวกันและทำให้ฝนตกลงมาได้

ข้อด้อยที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการกระจายเสียงไล่หมอก
คือ เสียงของไซเรนดังมากจนทำให้ผู้คนงงงวยและคลื่นไส้
แม้ว่าบุคลากรที่ทำงานในสนามบินจะปกป้องหูด้วยผ้าฝ้ายหุ้มด้วยฟองน้ำยาง
แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ
ทั้งเสียงก็ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์และนกบนท้องฟ้า
บทความที่ตีพิมพ์โดย Mechanix Illustrated ในช่วงทศวรรษที่ 1940
ได้เสนอว่าสามารถใช้ คลื่นอุลตร้าโซนิค ทำลายหมอกได้
โดยจะไม้สร้างความรู้สึกที่ไม่สบายต่อผู้คน สัตว์ และนก

Chrysler Air Raid Siren ตัวสุดท้ายผลิตขึ้นในปี 1957
โดยไซเรนนี้ยังคงมีการใช้งานจนถึงปี 1970
หลังจากนั้นก็การขาดการใช้งานและการบำรุงรักษา
ทำให้ไซโรนตกอยู่ในสภาพทรุดโทรม
ไซเรนจำนวนมากจึงถูกปลดลงมา
จากเดิมที่ติดตั้งด้านบนของหอสังเกตการณ์และอาคารต่าง ๆ
และเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ ทดแทน
(มีบางรุ่นติดตั้งบนรถยนต์เคลื่อนที่ได้)

Chrysler Air Raid Siren หลายตัวจึงถูกขายเป็นเศษเหล็ก
เหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวที่ยังติดตั้งอยู่ในสถานที่เดิม
แต่ก็มีสภาพเป็นสนิมและยากเกินกว่าจะกอบกู้/ฟื้นฟู
เช่น ในตัวเมือง Greenville  ที่ South Carolina
ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของโรงแรม Westin Poinsett
และอีกหนึ่งตัวที่อยู่บนยอดอาคารบำรุงรักษา
แผนกดับเพลิง Rochester ในเมือง Rochester รัฐ New York

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2He2hnG
https://bit.ly/2Ms915B
https://bit.ly/2zaW6MN

⚛︎

3.

⚛︎
Superintendent of the Office of Civil Defense, Los Angeles, California
examining the Chrysler Air Raid Siren in January 22, 1954. Photo credit: gsjansen/Flickr
⚛︎
4.

⚛︎
5.

⚛︎
Men testing the Chrysler-Bell Victory Siren in RCA, New York
credit: Marie Hansen/The LIFE Picture Collection
⚛︎
6.

⚛︎
7.

⚛︎
8.

⚛︎
9.

⚛︎
10.

⚛︎
บทความที่ตีพิมพ์โดย Mechanix Illustrated
⚛︎
11.

⚛︎
12.

⚛︎
13.

⚛︎
⚛︎
การจุดไฟไล่หมอกของอังกฤษ ภาพ a.  - e.  ที่มา https://bit.ly/2M8dhrs
⚛︎

⚛︎
b.

⚛︎
c.

⚛︎
d.

⚛︎
e.

⚛︎
FIDO pumps at RAF Graveley May 1945
⚛︎
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่