กระทู้นี้เป็นเรื่องเก่าแก่เดิมๆหลายปี เริ่มจากกรมที่ดินมีหนังสือห้ามโอนที่ดินโครงการหนึ่ง ที่มีการแบ่งแยกมาตั้งแต่ปี 2522 โดยสรุปว่า ในโครงการนี้ ที่ดินที่มีไม่ถึงสิบแปลง โอนได้ ส่วนกลุ่มที่ดินที่มีมากกว่าสิบแปลง หากจะโอนก็ต้องไปขออนุญาตจัดสรรก่อน
-- เมื่อปี 2559 ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะไม่มีกฎหมายใดๆระบุกรณีดังกล่าว
--ปี 2562 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา สรุปว่า กรมที่ดินสั่งชอบแล้ว
ความหมายของศาลปกครองกลางนั่นคือ ถ้าจะโอนที่ดินกลุ่มที่มีมากกว่าสิบแปลง ก็ต้องไปขออนุญาตจัดสรรก่อน
--ผู้ฟ้องคดี ทำหนังสือถึงสำนักงานที่ดิน สอบถามว่าจะต้องทำยังงัย
--นับแต่ยื่นสอบถามสำนักงานที่ดิน จนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลาร่วม 3 เดือนเต็ม สำนักงานที่ดินไม่ตอบหนังสือใดๆกลับมา
เพราะในความเป็นจริง ที่ดินแบ่งเป็นแปลงย่อยหมดหมด จึงไม่สามารถมายื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดินย้อนหลังได้ เนื่องจากการจัดสรรที่ดินคือ การยื่นคำร้องเพื่อจะขอแบ่งที่ดิน กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะไปทำนิติกรรมโอนขาย ไม่ใช่จะไปขอแบ่งแยกที่ดิน
-ผู้ฟ้องคดี ทำคำร้อง ทำหนังสือ ถึงองค์คณะ ถึงอธิบดีศาลปกครอง ถึงประธานศาลปกครองสูงสุด ด้วยเหตุว่าคำพิพากษาของคดีนี้ ทำโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ที่สำคัญคือ พิพากษาแล้วก็ไม่สามารถปฏิบัติได้
--และในความเป็นจริง มีกลุ่มที่ดินที่มีมากกว่าสิบแปลงที่โอนได้ แต่สำนักงานที่ดินบอกว่าต้องโอนให้คนๆเดียว โอนให้รายย่อยแต่ละคนไม่ได้ อ้างว่าถือว่าเป็นการโอนกิจการ ( ซึ่งไม่รู้มีกฎหมายไหนให้ทำแบบนี้ได้ ? )
---คำถามที่อยากรู้คือ นอกจากต้องเขียนอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาตามกระบวนการแล้ว ( ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของเราที่ต้องมาเขียนคัดค้านในสิ่งที่ตุลาการพิพากษาโดยไม่มีกฎหมาย) ...เราสามารถทำอะไรต่อได้บ้าง ร้องเรียน ? ขอความช่วยเหลือจากสื่อ ? แจ้งความ ? ร้อง ปปช. ? ส่งเรื่องให้ศาลอาญาคดีทุจริตมิชอบ ?
-----------------รบกวนถามผู้รู้ ช่วยให้แนวทางหน่อยครับ เพราะที่ดินมีแต่โอนขายไม่ได้ หนี้สินพอกพูนจนประสามเสีย จะบ้าตายอยู่แล้วครับ.......................
ถ้าศาลปกครองกลางพิพากษาาโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้โฉนดที่ดินโอนไม่ได้ จะทำอย่างไรได้บ้างครับ
-- เมื่อปี 2559 ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะไม่มีกฎหมายใดๆระบุกรณีดังกล่าว
--ปี 2562 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา สรุปว่า กรมที่ดินสั่งชอบแล้ว
ความหมายของศาลปกครองกลางนั่นคือ ถ้าจะโอนที่ดินกลุ่มที่มีมากกว่าสิบแปลง ก็ต้องไปขออนุญาตจัดสรรก่อน
--ผู้ฟ้องคดี ทำหนังสือถึงสำนักงานที่ดิน สอบถามว่าจะต้องทำยังงัย
--นับแต่ยื่นสอบถามสำนักงานที่ดิน จนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลาร่วม 3 เดือนเต็ม สำนักงานที่ดินไม่ตอบหนังสือใดๆกลับมา
เพราะในความเป็นจริง ที่ดินแบ่งเป็นแปลงย่อยหมดหมด จึงไม่สามารถมายื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดินย้อนหลังได้ เนื่องจากการจัดสรรที่ดินคือ การยื่นคำร้องเพื่อจะขอแบ่งที่ดิน กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะไปทำนิติกรรมโอนขาย ไม่ใช่จะไปขอแบ่งแยกที่ดิน
-ผู้ฟ้องคดี ทำคำร้อง ทำหนังสือ ถึงองค์คณะ ถึงอธิบดีศาลปกครอง ถึงประธานศาลปกครองสูงสุด ด้วยเหตุว่าคำพิพากษาของคดีนี้ ทำโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ที่สำคัญคือ พิพากษาแล้วก็ไม่สามารถปฏิบัติได้
--และในความเป็นจริง มีกลุ่มที่ดินที่มีมากกว่าสิบแปลงที่โอนได้ แต่สำนักงานที่ดินบอกว่าต้องโอนให้คนๆเดียว โอนให้รายย่อยแต่ละคนไม่ได้ อ้างว่าถือว่าเป็นการโอนกิจการ ( ซึ่งไม่รู้มีกฎหมายไหนให้ทำแบบนี้ได้ ? )
---คำถามที่อยากรู้คือ นอกจากต้องเขียนอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาตามกระบวนการแล้ว ( ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของเราที่ต้องมาเขียนคัดค้านในสิ่งที่ตุลาการพิพากษาโดยไม่มีกฎหมาย) ...เราสามารถทำอะไรต่อได้บ้าง ร้องเรียน ? ขอความช่วยเหลือจากสื่อ ? แจ้งความ ? ร้อง ปปช. ? ส่งเรื่องให้ศาลอาญาคดีทุจริตมิชอบ ?
-----------------รบกวนถามผู้รู้ ช่วยให้แนวทางหน่อยครับ เพราะที่ดินมีแต่โอนขายไม่ได้ หนี้สินพอกพูนจนประสามเสีย จะบ้าตายอยู่แล้วครับ.......................