By Nutn0n
ในอดีต มนุษย์มองขึ้นไปบนท้องฟ้า พวกเขาเห็นกลุ่มก้อนของดวงดาวสีขาวพาดผ่านจากทิศหนึ่งสู่อีกทิศหนึ่ง ลักษณะปรากฏของมันแตกต่างจากกลุ่มดาวอื่น ๆ ที่ปรากฏทั่วไปบนท้องฟ้า ในแต่ละที่บนโลก การปรากฏของกลุ่มดาวสีขาวพาดผ่านนี้แตกต่างกัน แม้ในตอนนี้เราจะรู้ว่าแถบสีขาวนี้คือศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ห่างออกจากระบบสุริยะของเราไปกว่าหนึ่งแสนปีแสง เป็นเหตุที่ทำให้เราเห็นศูนย์กลางของดาราจักรได้ ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะของเรา เป็นแค่หนึ่งในระบบดาวที่โคจรรอบศูนย์กลางนี้ราวกับมหานทีดาวอันกว้างใหญ่ไพศาล
ด้วยเรื่องราวและความเชื่อที่แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์ได้รับอิทธิพลในการเรียกวัตถุแตกต่างกันออกไป และยิ่งการที่พวกเขาเห็นสิ่งเดียวกันแล้วตีความกันคนละอย่างก็ยิ่งแสดงถึงวิธีคิดที่มีมานาน เนื่องจากสิ่งนี้ปรากฏให้เห็นมานานแสนนานก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้นซะอีก ไม่เหมือนกับอาหาร, พืชผล หรือสัตว์ ที่บางส่วนเกิดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมอื่น ท้องฟ้าและดวงดาว จึงเป็นตัวแทนที่ใช้ในการอธิบายวิธีคิดของมนุษย์ในอดีตได้เป็นอย่างดีเสมอมา
ทางช้างเผือก และคลองฟ้า
ชื่อที่คนไทยเราทุกคนคุ้นเคยดี คำว่าช้างเผือก คือช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ซึ่งคนไทยสมัยก่อนเชื่อว่ามาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ บรรพบุรุษของเราจึงเรียกรอยสีขาวที่พาดผ่านท้องฟ้าในฤดูหนาวนี้ว่า ทางช้างเผือก ซึ่งก็เปรียบเหมือนกับเส้นทางที่เหล่าช้างเผือกเดินทางมาสู่โลกมนุษย์เพื่อเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์นั่นเอง
แต่บางบันทึกพบว่า เมื่อก่อนคนไทยเราเรียกทางช้างเผือกว่า “คลองฟ้า” หรือ “คลองช้าง” หรือ “คลองช้างเผือก” คำว่าทางช้างเผือกนี้เพิ่งมีใช้ทีหลัง
สมัยอยุธยา พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม บันทึกในวันสวรรคต ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีปรากฏบันทึกว่า “ณ วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู นพศก กลางคืนลมว่าวพัดหนัก พระมหาธาตุซึ่งเป็นหลักอัครโพธิ โทรมลงทลาย ทั้งอากาศสำแดงร้ายอาเพท ประทุมเกศตกต้องมหาธนูลำพู่กัน หนึ่งดวงดาวก็เข้าในดวงจันทร์ ทั้งดาวหาง
คลองช้างเผือก ประชาชนก็เย็นยะเยือกทั้งพระนคร ด้วยเทพยเจ้าสังหรณ์หากให้เห็น ด้วยพระองค์เป็นหลักชัย ในกรุงพระมหานครศรีอยุธยา”
นอกจากนี้ในหนังสือ โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ เขียนโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงลิลิตโองการแช่งน้ำ ว่ามีส่วนที่กล่าวถึง ทางช้างเผือกในชื่อ คลองฟ้า
เพิ่มเติมคือสำหรับดาวหางที่ปรากฏในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการบันทึกไว้ว่าคือ “หมอกธุมเกต” ซึ่งภายหลังมีการนำมาเปรียบเทียบปรากฏการณ์หมอกที่เกิดขึ้นในวันสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งอาจเป็นการตีความที่ไม่ตรงกันเรื่องความหมายของคำว่า ธุมเกต
ทางวัวขาว ถนนฤดูหนาว ของชาวแสกดิเนเวียน
ชาวไอร์แลนด์มีตำนานที่ต่างออกไป พวกเขาเชื่อว่ารอยสีขาวพวกนี้คือทางเดินของวัวสีขาวที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขา และเรียกมันว่า Bealach na Bó Finne หรือ The Fair Cow’s Path
กลุ่มประเทศสแกดินเวียเรียกรอยสีขาวพวกนี้ว่า Vintergatan หรือ The Winter Street ถนนฤดูหนาว เนื่องจากว่าพวกเขามองเห็นมันชัดเจนได้มากที่สุดในฤดูหนาว เป็นผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร เนื่องจากแสงของดวงอาทิตย์ทิตย์น้อย ทำให้ดวงดาวบนท้องฟ้าปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ทางฟางข้าว ทางนกบิน
ประเทศในกลุ่มเอเชียกลางและแอฟริกาจะเรียกรอยพวกนี้ว่า ทางฟางข้าว ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพวกอาหรับได้ยินคำนี้มาจากพวก Armenia ที่เรียกทางช้างเผือกว่า Straw Thief’s Way หรือ ทางขโมยข้าว จากตำนานที่เล่าว่าเทพ Vahagn ได้บินไปขโมยข้าวมาจาก Assyrian ระหว่างทางเทพได้ทำข้าวหกบนท้องฟ้า เกิดเป็นเส้นขีดสีขาวนี้ขึ้น
ภาษาฟินนิช Linnunrata ภาษาเอสโตเนีย Linnutee รวมถึงภาษาในประเทศแถบยุโรปเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่แปลว่า “ทางนกบิน” ซึ่งมีที่มีจากที่พวกเขาเชื่อว่าบรรดานกใช้เส้นทางเหล่านี้เพื่อนำทางกลับบ้าน
แม่น้ำสวรรค์ และแม่น้ำสีเงิน
แม่น้ำสวรรค์ ที่มา – Chester Beatty Library
จีนและญี่ปุ่นจะเรียกรอยนี้คล้ายกัน โดยในภาษาจีน 天河 เทียนเหอ คำว่าเทียนแปลว่าท้องฟ้าหรือสวรรค์ ส่วนเหอแปลว่าแม่น้ำ ในขณะที่ภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า 天の川 ซึ่งมีความหมายไปในทางเดียวกัน
มีเรื่องราวของตำนานที่กล่าวถึงดาว “Altair” และ “Vega” เมื่อเทียบกับชื่อที่เราเรียกกันทุกวันนี้ แต่ในตำนานของจีนและญี่ปุ่น คือเรื่องของหนุ่มเลี้ยงวัวและสาวทอผ้า Vega ได้หนีจากสวรรค์มาเผื่อแต่งงานกับ Altair ทำให้บิดาของนางไม่พอใจ ใช้ปิ่นปักผมลากผ่านท้องฟ้าเพื่อกั้นดาวทั้งคู่ไว้ไม่ให้ได้พบกัน เหมือนเป็นแม่น้ำสวรรค์ที่แบ่งแยกสองโลก จะมีเพียงวันเดียวที่ทั้งสองได้พบกัน เรารู้จักมันในชื่อของวันทานาบาตะ
Altair และ Vega ที่ถูกขั้นกันด้วยแม่น้ำสวรรค์ ที่มา – ESA
ไม่ห่างออกไปจากจีนและญี่ปุ่น ชาวเกาหลี เวียดนาม ไต้หวัน และประเทศในแถบเอเชียจะเรียกรอยที่พาดผ่านท้องฟ้านี้ว่า แม่น้ำสีน้ำเงิน คือคำว่า 銀河 สำหรับภาษาจีนสามารถใช้เรียกได้เช่นกัน ส่วนภาษาเวียดนาม Ngân Hà และภาษาเกาหลี 은하수 eunhasu
ทางน้ำนม ชื่อที่คุ้นเคยที่สุด และไร้ความโรแมนติกที่สุด
สำหรับเรื่องเล่าของชื่อทางน้ำนมนี้ เกิดขึ้นเมื่อ เฮราคลีส (หรือเฮอคิวลิส) ลูกของซุสที่เกิดกับมนุษย์ ไม่มีนมให้กินบนยอดเขาโอลิมปัส ซุสจึงพาไปกินนมของเทพีเฮรา ซึ่งตอนนั้นเฮราหลับอยู่ พอตื่นขึ้นมาเจอใครก็ไม่รู้มาดูดนมอยู่ก็เลยผลักเฮอคิวลิสทำให้นมกระเด็นออกไปเปื้อนท้องฟ้า
อาร์เมเนีย
ตำนานอาร์เมเนียโบราณเรียกว่าทางช้างเผือกทาง "ฟางโจร" ตามตำนานเทพเจ้าVahagnขโมยฟางบางส่วนจากกษัตริย์อัสซีเรีย Barsham และนำมาให้อาร์เมเนียในช่วงฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ ภายหลังเขาหนีไปทั่วสวรรค์เขาได้ทำฟางรั่วไหลไปตามทาง จนทำให้เกิดทำทางช้างเผือกขึ้น
Khoisan
คน Khoisan ของ Kalahari ทะเลทรายในภาคใต้ของแอฟริกา เชื่อว่า มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับเด็กหญิงคนหนึ่ง ไม่มีดวงดาวและเวลากลางคืนของเธอเป็นสีดำสนิท เด็กหญิงรู้สึกเหงาและอยากไปเยี่ยมคนอื่นบ้าง จึงได้โยนถ่านจากเปลวไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าและสร้างทางช้างเผือกขึ้นมา
ทั้งหมดนี้เราจะเห็นว่าภาษาและวัฒนธรรมมีผลแค่ไหนในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในขณะที่การจดบันทึกและการทดลองถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของธรรมชาติ ภาษาและวัฒนธรรมก็ทำหน้าที่ในการบันทึกและถ่ายทอดวิธีคิดและมุมมองของมนุษย์ต่อธรรมชาติ ดังนั้นหากจะถามว่าศาสตร์ใดสำคัญกว่ากันย่อมตอบไม่ได้ เนื่องจากเราถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความนึกคิด ความรู้สึก และการมีองค์ความรู้ร่วม
จักรวาลในมุมมองขององค์ความรู้ร่วมนี้จึงมีความหมายมากกว่าที่มันเป็น หากจักรวาลถูกสร้างและคงอยู่ด้วยธรรมชาติ การแต่งแต้มเรื่องราวและสีสัน ก็คงเป็นหน้าที่ของมนุษย์เรา
(เรื่องราวตำนานเล่าขานทางช้างเผือกของแต่ละสถานที่ได้รวบรวมไว้ทั้งหมดแล้วใน wikipedia ซึ่งได้มีการรวบรวมเรื่องราวและตำนานที่น่าสนใจให้เราได้เข้าไปอ่านกัน)
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co
Cr.
https://spaceth.co/the-name-milky-way/
Cr.ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia
Cr.ขอบคุณภาพจาก pixabay
ทางช้างเผือก ความโรแมนติกที่แฝงอยู่ในแต่ละภาษาทั่วโลก
ในอดีต มนุษย์มองขึ้นไปบนท้องฟ้า พวกเขาเห็นกลุ่มก้อนของดวงดาวสีขาวพาดผ่านจากทิศหนึ่งสู่อีกทิศหนึ่ง ลักษณะปรากฏของมันแตกต่างจากกลุ่มดาวอื่น ๆ ที่ปรากฏทั่วไปบนท้องฟ้า ในแต่ละที่บนโลก การปรากฏของกลุ่มดาวสีขาวพาดผ่านนี้แตกต่างกัน แม้ในตอนนี้เราจะรู้ว่าแถบสีขาวนี้คือศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ห่างออกจากระบบสุริยะของเราไปกว่าหนึ่งแสนปีแสง เป็นเหตุที่ทำให้เราเห็นศูนย์กลางของดาราจักรได้ ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะของเรา เป็นแค่หนึ่งในระบบดาวที่โคจรรอบศูนย์กลางนี้ราวกับมหานทีดาวอันกว้างใหญ่ไพศาล
ด้วยเรื่องราวและความเชื่อที่แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์ได้รับอิทธิพลในการเรียกวัตถุแตกต่างกันออกไป และยิ่งการที่พวกเขาเห็นสิ่งเดียวกันแล้วตีความกันคนละอย่างก็ยิ่งแสดงถึงวิธีคิดที่มีมานาน เนื่องจากสิ่งนี้ปรากฏให้เห็นมานานแสนนานก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้นซะอีก ไม่เหมือนกับอาหาร, พืชผล หรือสัตว์ ที่บางส่วนเกิดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมอื่น ท้องฟ้าและดวงดาว จึงเป็นตัวแทนที่ใช้ในการอธิบายวิธีคิดของมนุษย์ในอดีตได้เป็นอย่างดีเสมอมา
ทางช้างเผือก และคลองฟ้า
ชื่อที่คนไทยเราทุกคนคุ้นเคยดี คำว่าช้างเผือก คือช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ซึ่งคนไทยสมัยก่อนเชื่อว่ามาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ บรรพบุรุษของเราจึงเรียกรอยสีขาวที่พาดผ่านท้องฟ้าในฤดูหนาวนี้ว่า ทางช้างเผือก ซึ่งก็เปรียบเหมือนกับเส้นทางที่เหล่าช้างเผือกเดินทางมาสู่โลกมนุษย์เพื่อเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์นั่นเอง
แต่บางบันทึกพบว่า เมื่อก่อนคนไทยเราเรียกทางช้างเผือกว่า “คลองฟ้า” หรือ “คลองช้าง” หรือ “คลองช้างเผือก” คำว่าทางช้างเผือกนี้เพิ่งมีใช้ทีหลัง
สมัยอยุธยา พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม บันทึกในวันสวรรคต ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีปรากฏบันทึกว่า “ณ วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู นพศก กลางคืนลมว่าวพัดหนัก พระมหาธาตุซึ่งเป็นหลักอัครโพธิ โทรมลงทลาย ทั้งอากาศสำแดงร้ายอาเพท ประทุมเกศตกต้องมหาธนูลำพู่กัน หนึ่งดวงดาวก็เข้าในดวงจันทร์ ทั้งดาวหาง คลองช้างเผือก ประชาชนก็เย็นยะเยือกทั้งพระนคร ด้วยเทพยเจ้าสังหรณ์หากให้เห็น ด้วยพระองค์เป็นหลักชัย ในกรุงพระมหานครศรีอยุธยา”
นอกจากนี้ในหนังสือ โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ เขียนโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงลิลิตโองการแช่งน้ำ ว่ามีส่วนที่กล่าวถึง ทางช้างเผือกในชื่อ คลองฟ้า
เพิ่มเติมคือสำหรับดาวหางที่ปรากฏในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการบันทึกไว้ว่าคือ “หมอกธุมเกต” ซึ่งภายหลังมีการนำมาเปรียบเทียบปรากฏการณ์หมอกที่เกิดขึ้นในวันสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งอาจเป็นการตีความที่ไม่ตรงกันเรื่องความหมายของคำว่า ธุมเกต
ทางวัวขาว ถนนฤดูหนาว ของชาวแสกดิเนเวียน
ชาวไอร์แลนด์มีตำนานที่ต่างออกไป พวกเขาเชื่อว่ารอยสีขาวพวกนี้คือทางเดินของวัวสีขาวที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขา และเรียกมันว่า Bealach na Bó Finne หรือ The Fair Cow’s Path
กลุ่มประเทศสแกดินเวียเรียกรอยสีขาวพวกนี้ว่า Vintergatan หรือ The Winter Street ถนนฤดูหนาว เนื่องจากว่าพวกเขามองเห็นมันชัดเจนได้มากที่สุดในฤดูหนาว เป็นผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร เนื่องจากแสงของดวงอาทิตย์ทิตย์น้อย ทำให้ดวงดาวบนท้องฟ้าปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ทางฟางข้าว ทางนกบิน
ประเทศในกลุ่มเอเชียกลางและแอฟริกาจะเรียกรอยพวกนี้ว่า ทางฟางข้าว ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพวกอาหรับได้ยินคำนี้มาจากพวก Armenia ที่เรียกทางช้างเผือกว่า Straw Thief’s Way หรือ ทางขโมยข้าว จากตำนานที่เล่าว่าเทพ Vahagn ได้บินไปขโมยข้าวมาจาก Assyrian ระหว่างทางเทพได้ทำข้าวหกบนท้องฟ้า เกิดเป็นเส้นขีดสีขาวนี้ขึ้น
ภาษาฟินนิช Linnunrata ภาษาเอสโตเนีย Linnutee รวมถึงภาษาในประเทศแถบยุโรปเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่แปลว่า “ทางนกบิน” ซึ่งมีที่มีจากที่พวกเขาเชื่อว่าบรรดานกใช้เส้นทางเหล่านี้เพื่อนำทางกลับบ้าน
แม่น้ำสวรรค์ และแม่น้ำสีเงิน
แม่น้ำสวรรค์ ที่มา – Chester Beatty Library
จีนและญี่ปุ่นจะเรียกรอยนี้คล้ายกัน โดยในภาษาจีน 天河 เทียนเหอ คำว่าเทียนแปลว่าท้องฟ้าหรือสวรรค์ ส่วนเหอแปลว่าแม่น้ำ ในขณะที่ภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า 天の川 ซึ่งมีความหมายไปในทางเดียวกัน
มีเรื่องราวของตำนานที่กล่าวถึงดาว “Altair” และ “Vega” เมื่อเทียบกับชื่อที่เราเรียกกันทุกวันนี้ แต่ในตำนานของจีนและญี่ปุ่น คือเรื่องของหนุ่มเลี้ยงวัวและสาวทอผ้า Vega ได้หนีจากสวรรค์มาเผื่อแต่งงานกับ Altair ทำให้บิดาของนางไม่พอใจ ใช้ปิ่นปักผมลากผ่านท้องฟ้าเพื่อกั้นดาวทั้งคู่ไว้ไม่ให้ได้พบกัน เหมือนเป็นแม่น้ำสวรรค์ที่แบ่งแยกสองโลก จะมีเพียงวันเดียวที่ทั้งสองได้พบกัน เรารู้จักมันในชื่อของวันทานาบาตะ
Altair และ Vega ที่ถูกขั้นกันด้วยแม่น้ำสวรรค์ ที่มา – ESA
ไม่ห่างออกไปจากจีนและญี่ปุ่น ชาวเกาหลี เวียดนาม ไต้หวัน และประเทศในแถบเอเชียจะเรียกรอยที่พาดผ่านท้องฟ้านี้ว่า แม่น้ำสีน้ำเงิน คือคำว่า 銀河 สำหรับภาษาจีนสามารถใช้เรียกได้เช่นกัน ส่วนภาษาเวียดนาม Ngân Hà และภาษาเกาหลี 은하수 eunhasu
ทางน้ำนม ชื่อที่คุ้นเคยที่สุด และไร้ความโรแมนติกที่สุด
สำหรับเรื่องเล่าของชื่อทางน้ำนมนี้ เกิดขึ้นเมื่อ เฮราคลีส (หรือเฮอคิวลิส) ลูกของซุสที่เกิดกับมนุษย์ ไม่มีนมให้กินบนยอดเขาโอลิมปัส ซุสจึงพาไปกินนมของเทพีเฮรา ซึ่งตอนนั้นเฮราหลับอยู่ พอตื่นขึ้นมาเจอใครก็ไม่รู้มาดูดนมอยู่ก็เลยผลักเฮอคิวลิสทำให้นมกระเด็นออกไปเปื้อนท้องฟ้า
อาร์เมเนีย
ตำนานอาร์เมเนียโบราณเรียกว่าทางช้างเผือกทาง "ฟางโจร" ตามตำนานเทพเจ้าVahagnขโมยฟางบางส่วนจากกษัตริย์อัสซีเรีย Barsham และนำมาให้อาร์เมเนียในช่วงฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ ภายหลังเขาหนีไปทั่วสวรรค์เขาได้ทำฟางรั่วไหลไปตามทาง จนทำให้เกิดทำทางช้างเผือกขึ้น
Khoisan
คน Khoisan ของ Kalahari ทะเลทรายในภาคใต้ของแอฟริกา เชื่อว่า มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับเด็กหญิงคนหนึ่ง ไม่มีดวงดาวและเวลากลางคืนของเธอเป็นสีดำสนิท เด็กหญิงรู้สึกเหงาและอยากไปเยี่ยมคนอื่นบ้าง จึงได้โยนถ่านจากเปลวไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าและสร้างทางช้างเผือกขึ้นมา
ทั้งหมดนี้เราจะเห็นว่าภาษาและวัฒนธรรมมีผลแค่ไหนในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในขณะที่การจดบันทึกและการทดลองถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของธรรมชาติ ภาษาและวัฒนธรรมก็ทำหน้าที่ในการบันทึกและถ่ายทอดวิธีคิดและมุมมองของมนุษย์ต่อธรรมชาติ ดังนั้นหากจะถามว่าศาสตร์ใดสำคัญกว่ากันย่อมตอบไม่ได้ เนื่องจากเราถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความนึกคิด ความรู้สึก และการมีองค์ความรู้ร่วม
จักรวาลในมุมมองขององค์ความรู้ร่วมนี้จึงมีความหมายมากกว่าที่มันเป็น หากจักรวาลถูกสร้างและคงอยู่ด้วยธรรมชาติ การแต่งแต้มเรื่องราวและสีสัน ก็คงเป็นหน้าที่ของมนุษย์เรา
(เรื่องราวตำนานเล่าขานทางช้างเผือกของแต่ละสถานที่ได้รวบรวมไว้ทั้งหมดแล้วใน wikipedia ซึ่งได้มีการรวบรวมเรื่องราวและตำนานที่น่าสนใจให้เราได้เข้าไปอ่านกัน)
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co
Cr.https://spaceth.co/the-name-milky-way/
Cr.ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia
Cr.ขอบคุณภาพจาก pixabay