ด้วยอานุภาพของภาษาคำว่า “โง่” เพียงคำเดียว กลายเป็นพาดหัวข่าวโด่งดังไปทั้งประเทศ อันเนื่องมาจากหนังสือที่ลงนามโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เชิญผู้แทนหน่วยราชการร่วมประชุม เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินภารกิจ “ทำอย่างไรให้ประชาชนหายโง่” เป็นการประชุมกำหนดภารกิจเพื่อต้อนรับการเดินทางลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี
แม้จะมีการเปลี่ยนข้อความเป็น “ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง” ในหลายวันต่อมา แต่ก็สายเกินไป อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชี้แจงว่า จังหวัดมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาวัฏจักรชีวิตคน คือ โง่ จน เจ็บ แต่เจ้าหน้าที่คงจะร่างหนังสือด้วยความไม่รอบคอบ ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 2 สงสัยว่ารองผู้ว่าราชการจังหวัดโดนลูกน้องวางยา
ความผิดพลาดเกิดจากการร่างหนังสือไม่รอบคอบ อาจจะใช่ แต่คงไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนวางยาผู้บังคับบัญชา เพราะเห็นได้ชัดว่าเป็นการร่างหนังสือตามวัตถุประสงค์สำคัญของการประชุม คือร่วมหารือเพื่อแก้ปัญหา “โง่ จน เจ็บ” เพียงแต่ตัด “จน เจ็บ” ออกไป แต่ต้องยอมรับว่าจังหวัดมีนโยบายสำคัญที่จะแก้ปัญหา “โง่” ร่วมอยู่ด้วย เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี
โง่ จน เจ็บ เป็นนโยบายสำคัญ ในการพัฒนาชนบทของทางราชการไทยมานมนาน มาก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก 2504 ด้วยซ้ำ เชื่อว่าเป็นแนวคิดของสหประชาชาติมองว่าเป็นวัฏจักรชีวิต หรือวงจรอุบาทว์ โดยอธิบายว่าเพราะโง่จึงยากจน และโรคภัยเบียดเบียนวนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่คำว่า “โง่” น่าจะถอดมาจากคำอังกฤษ ignorance ไม่น่าจะมาจาก stupid
ถ้ามาจาก ignorance จะมีความหมายว่า “ความไม่รู้” ไม่ใช่ตราหน้าว่าโง่ดักดาน แม้แต่คณะผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็มองว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่จบประถมศึกษา จึงเขียนรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส. 2 ประเภท คือ เลือกตั้งและแต่งตั้งจำนวนเท่ากัน อำนาจเท่ากัน มองว่าคนไทยยังด้อยการศึกษา เลือกผู้แทนไม่เป็น คณะรัฐบาลจึงอาสาเลือกแทน
จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านไปแล้วเกือบ 86 ปี คนไทยในปัจจุบันมีการศึกษาขั้นต่ำโดยเฉลี่ยจบ ม.3 จากที่มหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศ กลายเป็นมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นนับร้อยๆแห่งทั่วประเทศ มีคนจบปริญญาตรี โท เอก นับแสนนับล้าน แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ยังให้ ส.ว. 250 คน หรือครึ่งหนึ่งของ ส.ส. มาจากการแต่งตั้ง อาจเป็นห่วงว่าคนไทยเลือกผู้แทนไม่เป็น
“โง่ จน เจ็บ” จึงยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่เฉพาะประชาชน แต่เป็นปัญหาแม้แต่ในหมู่นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และผู้มีอำนาจหลายคนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมคนกรุงเทพฯจึงยืนอยู่ตรงข้ามประชา-ธิปไตย หากเป็นจริงจะต้องรณรงค์ให้การศึกษาการเมืองครั้งใหญ่.
https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1233209
โง่-จน-เจ็บ อย่าง "ยั่งยืน"
แม้จะมีการเปลี่ยนข้อความเป็น “ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง” ในหลายวันต่อมา แต่ก็สายเกินไป อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชี้แจงว่า จังหวัดมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาวัฏจักรชีวิตคน คือ โง่ จน เจ็บ แต่เจ้าหน้าที่คงจะร่างหนังสือด้วยความไม่รอบคอบ ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 2 สงสัยว่ารองผู้ว่าราชการจังหวัดโดนลูกน้องวางยา
ความผิดพลาดเกิดจากการร่างหนังสือไม่รอบคอบ อาจจะใช่ แต่คงไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนวางยาผู้บังคับบัญชา เพราะเห็นได้ชัดว่าเป็นการร่างหนังสือตามวัตถุประสงค์สำคัญของการประชุม คือร่วมหารือเพื่อแก้ปัญหา “โง่ จน เจ็บ” เพียงแต่ตัด “จน เจ็บ” ออกไป แต่ต้องยอมรับว่าจังหวัดมีนโยบายสำคัญที่จะแก้ปัญหา “โง่” ร่วมอยู่ด้วย เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี
โง่ จน เจ็บ เป็นนโยบายสำคัญ ในการพัฒนาชนบทของทางราชการไทยมานมนาน มาก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก 2504 ด้วยซ้ำ เชื่อว่าเป็นแนวคิดของสหประชาชาติมองว่าเป็นวัฏจักรชีวิต หรือวงจรอุบาทว์ โดยอธิบายว่าเพราะโง่จึงยากจน และโรคภัยเบียดเบียนวนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่คำว่า “โง่” น่าจะถอดมาจากคำอังกฤษ ignorance ไม่น่าจะมาจาก stupid
ถ้ามาจาก ignorance จะมีความหมายว่า “ความไม่รู้” ไม่ใช่ตราหน้าว่าโง่ดักดาน แม้แต่คณะผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็มองว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่จบประถมศึกษา จึงเขียนรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส. 2 ประเภท คือ เลือกตั้งและแต่งตั้งจำนวนเท่ากัน อำนาจเท่ากัน มองว่าคนไทยยังด้อยการศึกษา เลือกผู้แทนไม่เป็น คณะรัฐบาลจึงอาสาเลือกแทน
จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านไปแล้วเกือบ 86 ปี คนไทยในปัจจุบันมีการศึกษาขั้นต่ำโดยเฉลี่ยจบ ม.3 จากที่มหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศ กลายเป็นมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นนับร้อยๆแห่งทั่วประเทศ มีคนจบปริญญาตรี โท เอก นับแสนนับล้าน แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ยังให้ ส.ว. 250 คน หรือครึ่งหนึ่งของ ส.ส. มาจากการแต่งตั้ง อาจเป็นห่วงว่าคนไทยเลือกผู้แทนไม่เป็น
“โง่ จน เจ็บ” จึงยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่เฉพาะประชาชน แต่เป็นปัญหาแม้แต่ในหมู่นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และผู้มีอำนาจหลายคนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมคนกรุงเทพฯจึงยืนอยู่ตรงข้ามประชา-ธิปไตย หากเป็นจริงจะต้องรณรงค์ให้การศึกษาการเมืองครั้งใหญ่.
https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1233209