ในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแบบเข้มข้นที่ผ่านมา
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) บางคน
วิพากษ์ว่าเป็นการถอยหลังกลับสู่ยุคของการปกครอง
โดยข้าราชการที่เรียกว่า “อมาตยาธิปไตย” ตัวอย่างที่ชัดเจน
คือการตัดอำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในการ
แต่งตั้งโยกย้ายปลัดกระทรวงให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
ซึ่งเป็นข้าราชการล้วน
คณะกรรมการที่เรียกว่า “คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม”
มีกรรมการ 7 คน มาจากกรรมการ ก.พ. มาจากผู้เคยเป็นปลัดกระทรวง
และประธานกรรมการจริยธรรมของกระทรวงน่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลชุดต่อๆไป
จะสามารถผลักดันให้การบริหารประเทศเป็นไปตามนโยบายที่สัญญา
ต่อประชาชนได้หรือไม่ ถ้าไม่มีอำนาจให้คุณให้โทษปลัดกระทรวง
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งแสดงว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจ
และความสำคัญต่อข้าราชการเป็นพิเศษคือที่มาของ ส.ว. 200 คน
ส่วนหนึ่งมาจากอดีตปลัดกระทรวง ส่วนหนึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิใน
ด้านการเมือง ความมั่นคงการบริหาร ราชการ แม้แต่ส่วนที่มาจาก
เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ก็ยังต้องคัดกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จึงคาดว่า
ส.ว.เสียงข้างมากจะมาจากข้าราชการ
แม้แต่ระบบการเลือกตั้งใหม่ ก็ถอยหลังกลับไปสู่ระบบจัดการเลือกตั้ง
โดยข้าราชการ ที่ใช้มาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 83 ปีก่อน
ถึงแม้จะยังให้มีองค์กรอิสระคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็น
ผู้ “ควบคุม” การเลือกตั้ง ส.ส.และระดับท้องถิ่น แต่ กกต.ถูกตัดเขี้ยวเล็บ
ไปมาก ไม่มีอำนาจจัดการเลือกตั้งเอง เหลือแค่ใบเหลืองคือสั่งให้เลือกตั้งใหม่
ส่วนอำนาจในการให้ใบแดงเป็นของศาลอุทธรณ์ และอำนาจหน้าที่
“จัดการเลือกตั้ง” เป็นของ “คณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง”
ประกอบด้วยข้าราชการจากแต่ละหน่วยงานที่ได้รับแต่งตั้งจากบรรดา
ปลัดกระทรวงสำคัญๆ จากประสบการณ์ในอดีต การเลือกตั้งภายใต้
การจัดการของระบบราชการไม่เคยจับทุจริตการเลือกตั้งไม่กล้าให้
ใบแดงผู้มีอำนาจ
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งแสดงว่าประเทศ ไทยกำลังถอยหลังกลับสู่อมาตยาธิปไตยเต็มตัว
คือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 120 คน มาจาก สปช. 60 คน สนช. 30 คน
“ผู้ทรงคุณวุฒิ” อีก 30 คน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ 15 คน
ก็จะมาจาก “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ทั้งสององค์กรจะสืบทอดอำนาจเป็นคู่ขนานกับรัฐสภา
และรัฐบาลใหม่อีกหลายปี
จากบทบัญญัติเหล่านี้แสดงว่าคณะกรรมาธิการมีความเชื่อถือและเชื่อมั่น
ในระบบราชการมากกว่าการเมืองไม่เชื่อมั่น ว่าระบบการตรวจสอบและ
ถ่วงดุลที่เข้มแข็ง จะทำให้การเมืองดีขึ้นได้ แต่ที่ผ่านๆมา ระบบข้าราชการ
ก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยเช่นเดียวกับนักการเมือง
เพราะมักจะมาพร้อมกับระบบอุปถัมภ์ ก้าว ไม่พ้นเส้นสายและทุจริตคอร์รัปชัน.
http://www.thairath.co.th/content/495638
สู่อมาตยาธิปไตยเต็มใบ....บทบรรณาธิการ ... ไทยรัฐออนไลน์.../sao..เหลือ..noi
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) บางคน
วิพากษ์ว่าเป็นการถอยหลังกลับสู่ยุคของการปกครอง
โดยข้าราชการที่เรียกว่า “อมาตยาธิปไตย” ตัวอย่างที่ชัดเจน
คือการตัดอำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในการ
แต่งตั้งโยกย้ายปลัดกระทรวงให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
ซึ่งเป็นข้าราชการล้วน
คณะกรรมการที่เรียกว่า “คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม”
มีกรรมการ 7 คน มาจากกรรมการ ก.พ. มาจากผู้เคยเป็นปลัดกระทรวง
และประธานกรรมการจริยธรรมของกระทรวงน่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลชุดต่อๆไป
จะสามารถผลักดันให้การบริหารประเทศเป็นไปตามนโยบายที่สัญญา
ต่อประชาชนได้หรือไม่ ถ้าไม่มีอำนาจให้คุณให้โทษปลัดกระทรวง
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งแสดงว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้อำนาจ
และความสำคัญต่อข้าราชการเป็นพิเศษคือที่มาของ ส.ว. 200 คน
ส่วนหนึ่งมาจากอดีตปลัดกระทรวง ส่วนหนึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิใน
ด้านการเมือง ความมั่นคงการบริหาร ราชการ แม้แต่ส่วนที่มาจาก
เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ก็ยังต้องคัดกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จึงคาดว่า
ส.ว.เสียงข้างมากจะมาจากข้าราชการ
แม้แต่ระบบการเลือกตั้งใหม่ ก็ถอยหลังกลับไปสู่ระบบจัดการเลือกตั้ง
โดยข้าราชการ ที่ใช้มาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 83 ปีก่อน
ถึงแม้จะยังให้มีองค์กรอิสระคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็น
ผู้ “ควบคุม” การเลือกตั้ง ส.ส.และระดับท้องถิ่น แต่ กกต.ถูกตัดเขี้ยวเล็บ
ไปมาก ไม่มีอำนาจจัดการเลือกตั้งเอง เหลือแค่ใบเหลืองคือสั่งให้เลือกตั้งใหม่
ส่วนอำนาจในการให้ใบแดงเป็นของศาลอุทธรณ์ และอำนาจหน้าที่
“จัดการเลือกตั้ง” เป็นของ “คณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง”
ประกอบด้วยข้าราชการจากแต่ละหน่วยงานที่ได้รับแต่งตั้งจากบรรดา
ปลัดกระทรวงสำคัญๆ จากประสบการณ์ในอดีต การเลือกตั้งภายใต้
การจัดการของระบบราชการไม่เคยจับทุจริตการเลือกตั้งไม่กล้าให้
ใบแดงผู้มีอำนาจ
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งแสดงว่าประเทศ ไทยกำลังถอยหลังกลับสู่อมาตยาธิปไตยเต็มตัว
คือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 120 คน มาจาก สปช. 60 คน สนช. 30 คน
“ผู้ทรงคุณวุฒิ” อีก 30 คน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ 15 คน
ก็จะมาจาก “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ทั้งสององค์กรจะสืบทอดอำนาจเป็นคู่ขนานกับรัฐสภา
และรัฐบาลใหม่อีกหลายปี
จากบทบัญญัติเหล่านี้แสดงว่าคณะกรรมาธิการมีความเชื่อถือและเชื่อมั่น
ในระบบราชการมากกว่าการเมืองไม่เชื่อมั่น ว่าระบบการตรวจสอบและ
ถ่วงดุลที่เข้มแข็ง จะทำให้การเมืองดีขึ้นได้ แต่ที่ผ่านๆมา ระบบข้าราชการ
ก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยเช่นเดียวกับนักการเมือง
เพราะมักจะมาพร้อมกับระบบอุปถัมภ์ ก้าว ไม่พ้นเส้นสายและทุจริตคอร์รัปชัน.
http://www.thairath.co.th/content/495638