'พิชัย' จี้รัฐลดค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ช่วยปชช.ระยะยาว
https://voicetv.co.th/read/vLM_a2Gte
'พิชัย' แจงกำลังการผลิตไฟฟ้าปัจจุบันมีส่วนเกินเพิ่ม เหตุเศรษฐกิจชะลอตัวหนัก แนะรัฐเจรจาเอกชนลดค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า ดึงค่าไฟฟ้าต่อหน่วยลดลง ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในระยะยาว พร้อมชะลอออกไปอนุญาตผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมช่วงสถานการณ์โควิด
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่สูง ดังนั้น นอกจากการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ได้ทำแล้ว ก็อยากขอให้รัฐบาลได้พิจารณาการลดค่าไฟฟ้าโดยควรลดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยลงด้วย เพราะกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศในปี 2562 เกินความต้องการไปถึงร้อยละ 32 ส่วนปีนี้ (2563) ตัวเลขอาจสูงไปถึงร้อยละ 40 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอยที่คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะติดลบหนักมาก ซึ่งจะทำให้ความต้องการในการใช้ไฟฟ้าน้อยลง แต่การคำนวณค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายจะนำค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า หมายถึงกำลังผลิตไฟฟ้าส่วนเกินนี้มาคำนวณด้วย ทำให้ค่าไฟฟ้าของประชาชนสูงกว่าความเป็นจริง จึงอยากให้รัฐบาลเจรจากับเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขายให้รัฐบาล ลดค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าตรงนี้ลง เพื่อให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ประชาชนต้องจ่ายถูกลงไป
ดังนั้น ยังอยากให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ลดส่วนต่างกำไรที่ซื้อจากเอกชน แล้วมาขายให้ประชาชนลงไป ตัดกำไรตัวเอง เพราะ ที่ผ่านมากฟผ. มีกำไรสูงมาก และขอให้กระทรวงพลังงานเข้าไปพูดคุยกับ ปตท.ให้ปรับลดราคาก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงหลักผลิตไฟฟ้าให้ถูกลง ตามราคาน้ำมันที่ถูกลงในปัจจุบัน จะได้ปรับลดค่าเอฟที ทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงกว่าที่เป็นอยู่ด้วย เป็นการช่วยเหลือในระยะยาว ไม่ใช่แค่มาลดราคาช่วงวิกฤติ ที่สำคัญกระทรวงพลังงานไม่ควรออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมช่วงนี้ เพราะกำลังการผลิตเกินความต้องการมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าที่จะมีราคารับซื้อไฟฟ้าในราคาสูง เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นไปด้วย
ดังนั้น จึงอยากขอให้รัฐบาลได้มีหลักคิดให้ดีในการบริหารงานด้านพลังงาน เพราะหากบริหารสะเปะสะปะจะเป็นผลเสียกับประเทศในระยะยาว
ไอลอว์ แฉ บิ๊กตู่ ออกระเบียบจ่ายเบี้ยประชุม ปยป. ครั้งละ 6 พัน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4008398
ไอลอว์ แฉ บิ๊กตู่ ออกระเบียบจ่ายเบี้ยประชุม ปยป. ครั้งละ 6 พัน
วันที่ 24 เม.ย. ไอลอว์ รายงานเรื่อง พล.อ.
ประยุทธ์ ออกระเบียบจ่ายเบี้ยประชุม "
คณะกรรมการ ปยป." ครั้งละ 6,000 บาท ความว่า ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมกราคม 2560 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ แต่งตั้งคนชุดหนึ่งขึ้นมาทำงาน มีชื่อย่อว่า "
ป.ย.ป."
ซึ่งทำหน้าที่นำข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ มาพิจารณาอย่างเป็นระบบ กลั่นกรอง จัดลำดับความสำคัญและความเป็นไปได้ แล้วเริ่มดำเนินการก่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะประกาศใช้
โดยโครงสร้างของคณะกรรมการ ป.ย.ป. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นกรรมการ
ต่อมา คสช. ใช้ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 19/2561 เพื่อปรับโครงสร้างของคณะกรรมการ ป.ย.ป. อีกครั้ง โดยให้มีองค์ประกอบดังนี้
๐ ประธานคือ นายกรัฐมนตรี
๐ รองประธานคือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย 1 คน
๐ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายไม่เกิน 3 คน ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาพัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 คน และ ผู้อำนวยการสำนักงาน ปยป.
หลังรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ มาตรา 279 ได้รับรองอำนาจของบรรดาประกาศ คําสั่ง และการกระทําของคสช. หรือของหัวหน้า คสช. ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
มีผลให้คณะกรรมการ ป.ย.ป. โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ยังคงอยู่ ยังมีอำนาจทำงานต่อเนื่องไปแม้ภายหลังการเลือกตั้ง และได้รัฐบาลชุดใหม่แล้ว
ต่อมาในวันที่ 21 เมษายน 2563 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ย.ป. โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 19/2561 โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการ ป.ย.ป. อยู่ และมีโครงสร้างเหมือนเดิม
แต่ในระเบียบข้อที่ 8 ได้ระบุให้ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับประธานกรรมการปฏิรูปและกรรมการปฏิรูปตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ที่ประชุม ครม. วางหลักเกณฑ์ให้จ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการปฏิรูปในรูปของเบี้ยประชุมรายครั้ง อัตราเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งละ 6,000 บาท (ประธานกรรมการจะได้รับเพิ่มขึ้น
โดยก่อนหน้านี้สำนักข่าว The Matter เคยเปิดเผยรายรับของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เมื่อปี 2560 ว่า ได้รับค่าตอบแทนจากการเป็นประธาน ป.ย.ป. เพียงเดือนละ 2,000 บาท ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่าการออกระเบียบดังกล่าวจะทำให้คณะกรรมการ ปยป.ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มจากเดิม
นอกจากนี้ ในวันที่ 28 มกราคม 2563 ครม. มีมติเสนอให้แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง 5 คน แบ่งเป็น รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย จำนวน 3 คน ได้แก่
วิษณุ เครืองาม, อุตตม สาวนายน, พล.อ.
อนุพงษ์ เผ่าจินดา และแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน 2 คน ได้แก่
กฤษฎา บุญราช อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10163640647755551/?type=3&theater
JJNY : พิชัยจี้ลดค่าไฟฟ้าต่อหน่วย/ไอลอว์แฉเบี้ยประชุมปยป.ครั้งละ6พัน/อั๋นฟาดประกันสังคมล้มเหลว ขอเงินคืน/ติดเชื้อใหม่ 15
https://voicetv.co.th/read/vLM_a2Gte
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่สูง ดังนั้น นอกจากการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ได้ทำแล้ว ก็อยากขอให้รัฐบาลได้พิจารณาการลดค่าไฟฟ้าโดยควรลดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยลงด้วย เพราะกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศในปี 2562 เกินความต้องการไปถึงร้อยละ 32 ส่วนปีนี้ (2563) ตัวเลขอาจสูงไปถึงร้อยละ 40 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอยที่คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะติดลบหนักมาก ซึ่งจะทำให้ความต้องการในการใช้ไฟฟ้าน้อยลง แต่การคำนวณค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายจะนำค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า หมายถึงกำลังผลิตไฟฟ้าส่วนเกินนี้มาคำนวณด้วย ทำให้ค่าไฟฟ้าของประชาชนสูงกว่าความเป็นจริง จึงอยากให้รัฐบาลเจรจากับเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขายให้รัฐบาล ลดค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าตรงนี้ลง เพื่อให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ประชาชนต้องจ่ายถูกลงไป
ดังนั้น ยังอยากให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ลดส่วนต่างกำไรที่ซื้อจากเอกชน แล้วมาขายให้ประชาชนลงไป ตัดกำไรตัวเอง เพราะ ที่ผ่านมากฟผ. มีกำไรสูงมาก และขอให้กระทรวงพลังงานเข้าไปพูดคุยกับ ปตท.ให้ปรับลดราคาก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงหลักผลิตไฟฟ้าให้ถูกลง ตามราคาน้ำมันที่ถูกลงในปัจจุบัน จะได้ปรับลดค่าเอฟที ทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงกว่าที่เป็นอยู่ด้วย เป็นการช่วยเหลือในระยะยาว ไม่ใช่แค่มาลดราคาช่วงวิกฤติ ที่สำคัญกระทรวงพลังงานไม่ควรออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมช่วงนี้ เพราะกำลังการผลิตเกินความต้องการมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าที่จะมีราคารับซื้อไฟฟ้าในราคาสูง เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นไปด้วย
ดังนั้น จึงอยากขอให้รัฐบาลได้มีหลักคิดให้ดีในการบริหารงานด้านพลังงาน เพราะหากบริหารสะเปะสะปะจะเป็นผลเสียกับประเทศในระยะยาว
ไอลอว์ แฉ บิ๊กตู่ ออกระเบียบจ่ายเบี้ยประชุม ปยป. ครั้งละ 6 พัน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4008398
ไอลอว์ แฉ บิ๊กตู่ ออกระเบียบจ่ายเบี้ยประชุม ปยป. ครั้งละ 6 พัน
วันที่ 24 เม.ย. ไอลอว์ รายงานเรื่อง พล.อ.ประยุทธ์ ออกระเบียบจ่ายเบี้ยประชุม "คณะกรรมการ ปยป." ครั้งละ 6,000 บาท ความว่า ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมกราคม 2560 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ แต่งตั้งคนชุดหนึ่งขึ้นมาทำงาน มีชื่อย่อว่า "ป.ย.ป."
ซึ่งทำหน้าที่นำข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ มาพิจารณาอย่างเป็นระบบ กลั่นกรอง จัดลำดับความสำคัญและความเป็นไปได้ แล้วเริ่มดำเนินการก่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะประกาศใช้
โดยโครงสร้างของคณะกรรมการ ป.ย.ป. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นกรรมการ
ต่อมา คสช. ใช้ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 19/2561 เพื่อปรับโครงสร้างของคณะกรรมการ ป.ย.ป. อีกครั้ง โดยให้มีองค์ประกอบดังนี้
๐ ประธานคือ นายกรัฐมนตรี
๐ รองประธานคือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย 1 คน
๐ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายไม่เกิน 3 คน ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาพัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 คน และ ผู้อำนวยการสำนักงาน ปยป.
หลังรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ มาตรา 279 ได้รับรองอำนาจของบรรดาประกาศ คําสั่ง และการกระทําของคสช. หรือของหัวหน้า คสช. ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
มีผลให้คณะกรรมการ ป.ย.ป. โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ยังคงอยู่ ยังมีอำนาจทำงานต่อเนื่องไปแม้ภายหลังการเลือกตั้ง และได้รัฐบาลชุดใหม่แล้ว
ต่อมาในวันที่ 21 เมษายน 2563 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ย.ป. โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 19/2561 โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการ ป.ย.ป. อยู่ และมีโครงสร้างเหมือนเดิม
แต่ในระเบียบข้อที่ 8 ได้ระบุให้ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับประธานกรรมการปฏิรูปและกรรมการปฏิรูปตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ที่ประชุม ครม. วางหลักเกณฑ์ให้จ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการปฏิรูปในรูปของเบี้ยประชุมรายครั้ง อัตราเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งละ 6,000 บาท (ประธานกรรมการจะได้รับเพิ่มขึ้น
โดยก่อนหน้านี้สำนักข่าว The Matter เคยเปิดเผยรายรับของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เมื่อปี 2560 ว่า ได้รับค่าตอบแทนจากการเป็นประธาน ป.ย.ป. เพียงเดือนละ 2,000 บาท ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่าการออกระเบียบดังกล่าวจะทำให้คณะกรรมการ ปยป.ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มจากเดิม
นอกจากนี้ ในวันที่ 28 มกราคม 2563 ครม. มีมติเสนอให้แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง 5 คน แบ่งเป็น รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย จำนวน 3 คน ได้แก่ วิษณุ เครืองาม, อุตตม สาวนายน, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน 2 คน ได้แก่ กฤษฎา บุญราช อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10163640647755551/?type=3&theater