“แผนของพอล รีดีเกอร์ (Paul Redeker)”
ย้อนกลับไปประมาณสามสัปดาห์ก่อนเกิดความความอลหม่านครั้งใหญ่ที่อเมริกา
ที่แอฟริกาใต้นั้นได้เกิดความอลหม่านครั้งใหญ่จากการระบาดของซอมบี้ขึ้นแล้ว
ระหว่างที่รัฐบาลกำลังประชุมเครียดว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร
รัฐมนตรีกระทรวงตำรวจก็พา พอล รีดีเกอร์ เข้ามานำเสนอแผนรับมือซอมบี้

ช่วงต้นปี80s พอลเองเคยทำงานให้รัฐบาลในการปรับปรุงแผนรับมือภัยจากต่างชาติ รหัส Orange
ผลที่ได้คือแผน Orange ที่ 84 (Orange Eighty-Four)
มันเป็นแผนที่ยอดเยี่ยม เข้าใจง่าย มีเหตุผลและมีประสิทธิ์ภาพ แต่แผนนี้ไร้ซึ่ง “มนุษยธรรม”
ทันทีที่พอลเสนอแผนนี้เค้าถูกไล่ออกจากคณะทำงานทันทีและกลายเป็นคนประชาชนทั้งแอฟริกาใต้เกลียด
จากนั้นเค้าก็ย้ายไปอยู่ในกระท่อมเล็ก ๆ ที่ดราเคนเบิร์ก ทำธุรกิจส่วนตัวเลี้ยงชีพ
จนถึงวันที่เกิดความอลหม่านครั้งใหญ่ รัฐมนตรีกระทรวงตำรวจได้รับคำสั่งให้พา พอล รีดีเกอร์
กลับมาเพื่อปรับปรุงแผน Orange ที่ 84 ให้รับกับภัยซอมบี้
โชคดีว่าพอลรู้ล่วงหน้าถึงภัยจากซอมบี้มานานพอสมควรและได้ใช้เวลาว่างปรับปรุงแผนเพื่อฆ่าเวลามาก่อนแล้ว
ทำให้ใช้เวลาเพียง 2-3 วันแผนก็เสร็จสมบูรณ์
เป็นอีกครั้งที่พอลเสนอแผน Orange และเป็นอีกคราที่เสียงตอบกลับคือการด่าทอและสาปแช่ง
เรามาดูรายละเอียดกันว่าทำไหมแผนของรีดีเกอร์ถึงสร้างความเกลียดชังได้ขนาดนั้น
ข้อที่หนึ่งคือ “เราไม่สามารถช่วยคนได้ทุกคน”
สถานการณ์ตอนนี้ที่ซอมบี้กระจายไปทั่วประเทศแล้วนั้นเกินที่จะควบคุมไปแล้ว
หากจะช่วยทุกคนกำลังคนและทรัพยากรจะกระจายไปทั่วและทำให้ประสิทธิ์ภาพต่ำและสูญเสียทรัพยากรไปโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ใด ๆ
สิ่งที่จะทำคือ ต้องรวบรวมกำลังคนและทรัพยากรที่จะใช้กู้วิกฤตเป็นหนึ่งและทุ่มมันลงไปในจุด ๆ เดียว
แล้วทุ่มไปที่ไหน นั้นเป็นหัวข้อต่อไป

ข้อที่สอง “สร้าง Safe Zone”
สถานการณ์ในตอนนี้ผู้คนกำลังแตกตื่น ขวัญเสีย
สิ่งที่พวกเค้าต้องการในตอนนี้คือพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ที่พวกเค้าจะได้พักหายใจ, รวบรวมสติและคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป
และพื้นที่นี้ก็จะถูกใช้เป็นพื้นที่รวบรวมกำลังพลและทรัพยากร,วางแผน, ผลิตปัจจัยต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับฝูงซอมบี้ต่อไปด้วย
แล้วพื้นที่ไหนดีที่จะใช้ตั้ง Safe Zone
ตามแผนคือให้เลือกพื้นที่ที่มีปราการธรรมชาติที่ใช้ป้องกันการบุกของกองทัพซอมบี้ได้
เช่น แม่น้ำ, ทะเล, ภูเขา, หุบเหว ฯลฯ ถ้าไม่มีก็ให้มองหาพื้นที่ที่มีอะไรพอจะใช้เป็นแนวปราการได้
หรือถ้าไม่มีจริง ๆ ก็เลือกพื้นที่ที่สร้างแนวปราการป้องกันได้รวดเร็วที่สุด
ในภาพยนตร์นั้นจะมีฉากหนึ่งที่ ฮ. พาพระเอกพร้อมลูกเมียไปที่กองเรือกลางทะเล นี่คือ Safe Zone อีกแบบหนึ่ง

ข้อสามคือการช่วยเหลือและอพยพประชาชน ข้อนี้คือจุดที่เป็นปัญหา
การช่วยเหลือและอพยพประชาชนนั้นเป้าหมายขอการช่วยเหลือและปลายทางของการอพยพมีสองแบบ
1. คือ Safe Zone ผู้ที่เข้ามาหลบใน Zone นี้ได้จะต้องผ่านการคัดเลือก(ถ้ามีเวลาพอ)
โดยประชาชนกลุ่มนี้จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เพื่อทำการสร้าง, ผลิต และทำงานอื่น ๆ รวมถึงเป็นกำลังทหารให้กับรัฐ
2. คือ Isolation Zone เป็นที่หลบภัยซอมบี้สำหรับประชาชนที่ไม่ได้รับเลือกหรืออยู่ไกลจาก
Safe Zone โดย Zone นี้จะตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ จุดประสงค์ที่แท้จริงของ Zone นี้คือเพื่อกักผู้คนไว้ให้ทำหน้าที่ล่อฝูงซอมบี้ออกจาก Safe
Zone และเป็นการกระจายกำลังของซอมบี้ไม่ให้เกาะกลุ่มรวมกัน
โดยปัจจัยการดำรงชีพต่าง ๆ รวมถึงอาวุธหรือกองกำลังทหารเพื่อยันการบุกของซอมบี้นั้นรัฐจะสนับสนุนให้โดยการขนส่งทางอากาศ
“ถ้าสามารถทำได้”
ยิ่ง Isolation Zone อยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งถ่วงเวลาเพื่อหาทางแก้ปัญหาและเพิ่มโอกาศอยู่รอดของ Safe Zone ได้มากเท่านั้น
“คุณเห็นไหม นี่ล่ะความอัจฉริยะ นี่ล่ะความบ้าคลั่ง”

ท่ามกลางความเดือดดานของรัฐบาลแอฟริกาใต้ต่อแผนของรีดีเกอร์กลับมีคนผู้หนึ่งที่สนับสนุนแผนของเค้า
คนผู้นั้นคือ เนลสัน แมนเดลา
ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลจึงยอมทำตามแผนที่ไร้ซึ่ง “มนุษยธรรม” นี้
แล้วแผนก็ได้ผลรัฐบาลสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยและถ่วงเวลาทัพซอมบี้ได้จริง ๆ
ด้วยเหตุนี้ประเทศอื่น ๆ จึงเอาแผนของรีดีเกอร์ไปปฏิบัติด้วยเช่นกัน
โดยอเมริกาถอยทัพไปทางตะวันตกของประเทศ
ใช้เทือกเขาร็อกกี้เป็นแนวป้องกัน ส่วนรัฐบาลย้ายไปตั้งที่ ฮาวาย, จีนซ่อมกำแพงเมืองจีนใช้เป็นแนวป้องกัน, รัสเซียหนีไปไซบีเรีย
เพราะซอมบี้เมื่อเจออากาศหนาวมาก ๆ จะแข็งจนขยับไม่ได้, ส่วนในทวีปยุโรปรวมถึงอังกฤษก็ใช้ปราสาทต่าง
ๆ ที่มีอยู่ทั่วทวีปเป็นที่ลี้ภัยและใช้ป้อมค่ายคูกำแพงปราสาทเป็นแนวรับซอมบี้
การตั้ง Isolation Zone ของอเมริกานั้นมีการพลิกแพลงเล็กน้อยคือมีการตั้ง Isolation Zone ทางทหารตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น
โรงไฟฟ้า, โรงงานอุตสาหกรรม, สนามบิน เป็นต้นเพื่อรักษาจุดนั้นไว้

ด้วยเหตุนี้ฝ่ายมนุษย์จึงรอดพ้นจากความหายนะโดยสิ้นเชิงและกลับมาตั้งตัวได้
เมื่ออะไร ๆ เริ่มลงตัว นานาชาติจึงจัดการประชุมขึ้นที่โฮโนลูลู
บนเรือบรรทุกเครื่องบินซาราโตก้าเพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาซอมบี้
มีบางประเทศที่เสนอว่าควรจะปล่อยให้ซอมบี้เน่าเปื่อยไปเอง
แต่อเมริกาคัดค้าน
เหตุผลคือสิ่งที่มนุษย์เสียไปไม่ใช่แค่ประชากร ไม่ใช่แค่พื้นที่ ไม่ใช่แค่วิถีชีวิต แต่รวมถึงความมั่นใจในฐานะเผ่าพันธุ์ที่อยู่บนจุดสูงสุดของโลกด้วย
หากปล่อยให้ซอมบี้เน่าเปื่อยไปเองมนุษย์ในอนาคตก็จะอยู่ด้วยความหวาดกลัวการกลับมาของซอมบี้ตลอดไป
และเมื่อซอมบี้กลับมาในอนาคตก็จะไม่มีวิธีรับมือที่นำมาใช้ได้ทันทีซึ่งอาจนำไปสู่หายนะของมนุษย์ชาติในที่สุด
เพื่อเรียกคืนความมั่นใจ เพื่อท้วงคืนอนาคต มนุษย์จะต้องโต้กลับและเอาชนะซอมบี้ให้ได้
จากทั้งหมด 71 ชาติ
17 เสียงโหวต No และ 31 ชาติงดออกเสียง
แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรอเมริกาเองก็ตัดสินใจอนาคตของตัวเองแล้ว

7 ปีนับจากการศึกที่ยอนเกอร์
อาวุธแบบใหม่, การฝึกรบแบบใหม่, กลยุทธใหม่ อเมริกาได้เตรียมทุกอย่างพร้อมสรรพแล้ว
เหลือแต่เพียงการทดสอบในสนามรบจริงเท่านั้น
และสนามทดสอบที่กองทัพเลือกคือที่เมือง โฮป นิวเม็กซิโก
to be continued in Part 5 “การศึกที่โฮป”
“กองทัพเปลี่ยนไปมาก ไม่มีอะไรเหมือนในตอนรบที่ยอนเกอร์เลย”

ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด
Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “เล่า World war Z เทียบกับฉบับภาพยนตร์” Part 4
ย้อนกลับไปประมาณสามสัปดาห์ก่อนเกิดความความอลหม่านครั้งใหญ่ที่อเมริกา
ที่แอฟริกาใต้นั้นได้เกิดความอลหม่านครั้งใหญ่จากการระบาดของซอมบี้ขึ้นแล้ว
ระหว่างที่รัฐบาลกำลังประชุมเครียดว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร
รัฐมนตรีกระทรวงตำรวจก็พา พอล รีดีเกอร์ เข้ามานำเสนอแผนรับมือซอมบี้
ช่วงต้นปี80s พอลเองเคยทำงานให้รัฐบาลในการปรับปรุงแผนรับมือภัยจากต่างชาติ รหัส Orange
ผลที่ได้คือแผน Orange ที่ 84 (Orange Eighty-Four)
มันเป็นแผนที่ยอดเยี่ยม เข้าใจง่าย มีเหตุผลและมีประสิทธิ์ภาพ แต่แผนนี้ไร้ซึ่ง “มนุษยธรรม”
ทันทีที่พอลเสนอแผนนี้เค้าถูกไล่ออกจากคณะทำงานทันทีและกลายเป็นคนประชาชนทั้งแอฟริกาใต้เกลียด
จากนั้นเค้าก็ย้ายไปอยู่ในกระท่อมเล็ก ๆ ที่ดราเคนเบิร์ก ทำธุรกิจส่วนตัวเลี้ยงชีพ
จนถึงวันที่เกิดความอลหม่านครั้งใหญ่ รัฐมนตรีกระทรวงตำรวจได้รับคำสั่งให้พา พอล รีดีเกอร์
กลับมาเพื่อปรับปรุงแผน Orange ที่ 84 ให้รับกับภัยซอมบี้
โชคดีว่าพอลรู้ล่วงหน้าถึงภัยจากซอมบี้มานานพอสมควรและได้ใช้เวลาว่างปรับปรุงแผนเพื่อฆ่าเวลามาก่อนแล้ว
ทำให้ใช้เวลาเพียง 2-3 วันแผนก็เสร็จสมบูรณ์
เป็นอีกครั้งที่พอลเสนอแผน Orange และเป็นอีกคราที่เสียงตอบกลับคือการด่าทอและสาปแช่ง
เรามาดูรายละเอียดกันว่าทำไหมแผนของรีดีเกอร์ถึงสร้างความเกลียดชังได้ขนาดนั้น
ข้อที่หนึ่งคือ “เราไม่สามารถช่วยคนได้ทุกคน”
สถานการณ์ตอนนี้ที่ซอมบี้กระจายไปทั่วประเทศแล้วนั้นเกินที่จะควบคุมไปแล้ว
หากจะช่วยทุกคนกำลังคนและทรัพยากรจะกระจายไปทั่วและทำให้ประสิทธิ์ภาพต่ำและสูญเสียทรัพยากรไปโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ใด ๆ
สิ่งที่จะทำคือ ต้องรวบรวมกำลังคนและทรัพยากรที่จะใช้กู้วิกฤตเป็นหนึ่งและทุ่มมันลงไปในจุด ๆ เดียว
แล้วทุ่มไปที่ไหน นั้นเป็นหัวข้อต่อไป
ข้อที่สอง “สร้าง Safe Zone”
สถานการณ์ในตอนนี้ผู้คนกำลังแตกตื่น ขวัญเสีย
สิ่งที่พวกเค้าต้องการในตอนนี้คือพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ที่พวกเค้าจะได้พักหายใจ, รวบรวมสติและคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป
และพื้นที่นี้ก็จะถูกใช้เป็นพื้นที่รวบรวมกำลังพลและทรัพยากร,วางแผน, ผลิตปัจจัยต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับฝูงซอมบี้ต่อไปด้วย
แล้วพื้นที่ไหนดีที่จะใช้ตั้ง Safe Zone
ตามแผนคือให้เลือกพื้นที่ที่มีปราการธรรมชาติที่ใช้ป้องกันการบุกของกองทัพซอมบี้ได้
เช่น แม่น้ำ, ทะเล, ภูเขา, หุบเหว ฯลฯ ถ้าไม่มีก็ให้มองหาพื้นที่ที่มีอะไรพอจะใช้เป็นแนวปราการได้
หรือถ้าไม่มีจริง ๆ ก็เลือกพื้นที่ที่สร้างแนวปราการป้องกันได้รวดเร็วที่สุด
ในภาพยนตร์นั้นจะมีฉากหนึ่งที่ ฮ. พาพระเอกพร้อมลูกเมียไปที่กองเรือกลางทะเล นี่คือ Safe Zone อีกแบบหนึ่ง
ข้อสามคือการช่วยเหลือและอพยพประชาชน ข้อนี้คือจุดที่เป็นปัญหา
การช่วยเหลือและอพยพประชาชนนั้นเป้าหมายขอการช่วยเหลือและปลายทางของการอพยพมีสองแบบ
1. คือ Safe Zone ผู้ที่เข้ามาหลบใน Zone นี้ได้จะต้องผ่านการคัดเลือก(ถ้ามีเวลาพอ)
โดยประชาชนกลุ่มนี้จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เพื่อทำการสร้าง, ผลิต และทำงานอื่น ๆ รวมถึงเป็นกำลังทหารให้กับรัฐ
2. คือ Isolation Zone เป็นที่หลบภัยซอมบี้สำหรับประชาชนที่ไม่ได้รับเลือกหรืออยู่ไกลจาก
Safe Zone โดย Zone นี้จะตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ จุดประสงค์ที่แท้จริงของ Zone นี้คือเพื่อกักผู้คนไว้ให้ทำหน้าที่ล่อฝูงซอมบี้ออกจาก Safe
Zone และเป็นการกระจายกำลังของซอมบี้ไม่ให้เกาะกลุ่มรวมกัน
โดยปัจจัยการดำรงชีพต่าง ๆ รวมถึงอาวุธหรือกองกำลังทหารเพื่อยันการบุกของซอมบี้นั้นรัฐจะสนับสนุนให้โดยการขนส่งทางอากาศ
“ถ้าสามารถทำได้”
ยิ่ง Isolation Zone อยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งถ่วงเวลาเพื่อหาทางแก้ปัญหาและเพิ่มโอกาศอยู่รอดของ Safe Zone ได้มากเท่านั้น
“คุณเห็นไหม นี่ล่ะความอัจฉริยะ นี่ล่ะความบ้าคลั่ง”
ท่ามกลางความเดือดดานของรัฐบาลแอฟริกาใต้ต่อแผนของรีดีเกอร์กลับมีคนผู้หนึ่งที่สนับสนุนแผนของเค้า
คนผู้นั้นคือ เนลสัน แมนเดลา
ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลจึงยอมทำตามแผนที่ไร้ซึ่ง “มนุษยธรรม” นี้
แล้วแผนก็ได้ผลรัฐบาลสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยและถ่วงเวลาทัพซอมบี้ได้จริง ๆ
ด้วยเหตุนี้ประเทศอื่น ๆ จึงเอาแผนของรีดีเกอร์ไปปฏิบัติด้วยเช่นกัน
โดยอเมริกาถอยทัพไปทางตะวันตกของประเทศ
ใช้เทือกเขาร็อกกี้เป็นแนวป้องกัน ส่วนรัฐบาลย้ายไปตั้งที่ ฮาวาย, จีนซ่อมกำแพงเมืองจีนใช้เป็นแนวป้องกัน, รัสเซียหนีไปไซบีเรีย
เพราะซอมบี้เมื่อเจออากาศหนาวมาก ๆ จะแข็งจนขยับไม่ได้, ส่วนในทวีปยุโรปรวมถึงอังกฤษก็ใช้ปราสาทต่าง
ๆ ที่มีอยู่ทั่วทวีปเป็นที่ลี้ภัยและใช้ป้อมค่ายคูกำแพงปราสาทเป็นแนวรับซอมบี้
การตั้ง Isolation Zone ของอเมริกานั้นมีการพลิกแพลงเล็กน้อยคือมีการตั้ง Isolation Zone ทางทหารตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น
โรงไฟฟ้า, โรงงานอุตสาหกรรม, สนามบิน เป็นต้นเพื่อรักษาจุดนั้นไว้
ด้วยเหตุนี้ฝ่ายมนุษย์จึงรอดพ้นจากความหายนะโดยสิ้นเชิงและกลับมาตั้งตัวได้
เมื่ออะไร ๆ เริ่มลงตัว นานาชาติจึงจัดการประชุมขึ้นที่โฮโนลูลู
บนเรือบรรทุกเครื่องบินซาราโตก้าเพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาซอมบี้
มีบางประเทศที่เสนอว่าควรจะปล่อยให้ซอมบี้เน่าเปื่อยไปเอง
แต่อเมริกาคัดค้าน
เหตุผลคือสิ่งที่มนุษย์เสียไปไม่ใช่แค่ประชากร ไม่ใช่แค่พื้นที่ ไม่ใช่แค่วิถีชีวิต แต่รวมถึงความมั่นใจในฐานะเผ่าพันธุ์ที่อยู่บนจุดสูงสุดของโลกด้วย
หากปล่อยให้ซอมบี้เน่าเปื่อยไปเองมนุษย์ในอนาคตก็จะอยู่ด้วยความหวาดกลัวการกลับมาของซอมบี้ตลอดไป
และเมื่อซอมบี้กลับมาในอนาคตก็จะไม่มีวิธีรับมือที่นำมาใช้ได้ทันทีซึ่งอาจนำไปสู่หายนะของมนุษย์ชาติในที่สุด
เพื่อเรียกคืนความมั่นใจ เพื่อท้วงคืนอนาคต มนุษย์จะต้องโต้กลับและเอาชนะซอมบี้ให้ได้
จากทั้งหมด 71 ชาติ
17 เสียงโหวต No และ 31 ชาติงดออกเสียง
แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรอเมริกาเองก็ตัดสินใจอนาคตของตัวเองแล้ว
7 ปีนับจากการศึกที่ยอนเกอร์
อาวุธแบบใหม่, การฝึกรบแบบใหม่, กลยุทธใหม่ อเมริกาได้เตรียมทุกอย่างพร้อมสรรพแล้ว
เหลือแต่เพียงการทดสอบในสนามรบจริงเท่านั้น
และสนามทดสอบที่กองทัพเลือกคือที่เมือง โฮป นิวเม็กซิโก
to be continued in Part 5 “การศึกที่โฮป”
“กองทัพเปลี่ยนไปมาก ไม่มีอะไรเหมือนในตอนรบที่ยอนเกอร์เลย”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด
Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ https://www.facebook.com/uptomejournal/