“ม.หอการค้าไทย” คาดส่งออกไทยหดตัว
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง การวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกไทยปี 2562 และการส่งออกไทยครึ่งหลังของปี 2562 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 ของไทย จะมีมูลค่าเท่ากับ 251,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -0.64% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ส่วนในครึ่งหลังของปี 2562 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ 1.6% หรือมีมูลค่าประมาณ 128,367 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการให้การส่งออกไทยปี 2562 ไม่หดตัว หรือ โต 0% การส่งออกครึ่งปีหลังจะต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่า 2.9% ต่อเดือน หรือมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 21,664 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกไทยครึ่งปีหลัง ได้แก่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ ค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ย ตลอดจนความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งตลาดจีนลดการนำเข้าสินค้าจากโลกและไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ FTA เวียดนาม-ยุโรป ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ Brexit ข้อพิพาท “ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้” ความขัดแย้งอิหร่าน-สหรัฐฯ-อังกฤษ รวมทั้งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ในส่วนของค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในรูปค่าเงินบาท ปี 2562 หายไป 0.6-1.5% โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา มันสำปะหลัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ 29-31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
ยิ่งไปกว่านั้น
การที่รัฐบาลใหม่มีแผนจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน อาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ราคาสินค้า ของผู้ส่งออกไทย และมูลค่าการส่งออก โดยค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงไปทุก 1% จะส่งผลให้การส่งออกลดลง 0.06% ซึ่งหากขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท จะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นถึง 30% ซึ่งจะส่งผลกระทบให้การส่งออกลดลง ประมาณ 1.8% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,524 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
--------------------------------
ติดตามข้อมูลสาระสำคัญต่างๆ ได้ทาง
website : www.thaichamber.org
Line@ :
https://bit.ly/2ZiAoCc
Instragram :
https://bit.ly/2v5TYE7
Facebook :
https://bit.ly/2V388o8
YouTube Channel :
https://bit.ly/2Un4uAU
“ม.หอการค้าไทย” คาดส่งออกไทยหดตัว
“ม.หอการค้าไทย” คาดส่งออกไทยหดตัว
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง การวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกไทยปี 2562 และการส่งออกไทยครึ่งหลังของปี 2562 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 ของไทย จะมีมูลค่าเท่ากับ 251,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -0.64% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ส่วนในครึ่งหลังของปี 2562 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ 1.6% หรือมีมูลค่าประมาณ 128,367 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการให้การส่งออกไทยปี 2562 ไม่หดตัว หรือ โต 0% การส่งออกครึ่งปีหลังจะต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่า 2.9% ต่อเดือน หรือมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 21,664 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน
สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกไทยครึ่งปีหลัง ได้แก่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ ค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ย ตลอดจนความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งตลาดจีนลดการนำเข้าสินค้าจากโลกและไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ FTA เวียดนาม-ยุโรป ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ Brexit ข้อพิพาท “ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้” ความขัดแย้งอิหร่าน-สหรัฐฯ-อังกฤษ รวมทั้งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ในส่วนของค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในรูปค่าเงินบาท ปี 2562 หายไป 0.6-1.5% โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา มันสำปะหลัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ 29-31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
ยิ่งไปกว่านั้น การที่รัฐบาลใหม่มีแผนจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน อาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ราคาสินค้า ของผู้ส่งออกไทย และมูลค่าการส่งออก โดยค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงไปทุก 1% จะส่งผลให้การส่งออกลดลง 0.06% ซึ่งหากขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท จะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นถึง 30% ซึ่งจะส่งผลกระทบให้การส่งออกลดลง ประมาณ 1.8% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,524 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
--------------------------------
ติดตามข้อมูลสาระสำคัญต่างๆ ได้ทาง
website : www.thaichamber.org
Line@ : https://bit.ly/2ZiAoCc
Instragram : https://bit.ly/2v5TYE7
Facebook : https://bit.ly/2V388o8
YouTube Channel : https://bit.ly/2Un4uAU