10:59 20/05/2015
BIS-Economic : บล.เคจีไอ
20 พ.ค.--บล.เคจีไอ [pick13]
Distributor - Bisnews AFE
Economic (Thailand)
Economic
2558 GDP: ปรับลดอัตราการขยายตัว GDP ปี 58 ลงเหลือ 3.7% จาก 4.1%
เราปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัว GDP ปี 2558 ลงเหลือ 3.7% (ตารางที่ 1) จาก 4.1% จากการประมาณการครั้งก่อนในเดือนธันวาคม 2557 โดยลดอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนลงจาก 4.6% เป็น 3.3% ลดอัตราการขยายตัวมูลค่าส่งออกลงจาก 3.3% เป็น -1.8% และปริมาณส่งออกจาก 3.0% เป็น -0.7% แต่ปรับอัตราการขยายตัวการบริโภคภาครัฐเพิ่มจาก 4.1% ขึ้นเป็น 4.7% และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของการลงทุนจาก 5.0% ขึ้นเป็น 10.0%
โดยสมมติฐานหลักมีดังต่อไปนี้:
i) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนซบเซามากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ เป็นผลเนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจากภาระหนี้ของโครงรถคันแรกที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายด้านอื่นโดยรวม ซึ่งก่อนหน้านี้เราคาดว่าภาระหนี้คิดเป็นประมาณ 10% ของ GDP ราคาปัจจุบัน จะส่งกระทบต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนอีก 7-8 ปี ข้างหน้า ขณะสถาบันการเงินคุมเข้มนโยบายสินเชื่อทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น บวกกับข่าวการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรัฐบาลล่าช้า และรอความชัดเจนจากความคืบหน้าของโครงภาครัฐส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
นอกจากนี้รายได้ภาคเกษตรและผลผลิตภาคเกษตรหดตัวมากกว่าคาดส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสินค้าคงทนและสินค้าเพื่อการบริโภคทั่วไป ขณะที่รัฐบาลจะปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4% จะเป็นปัจจัยช่วยหนุนการจับจ่ายใช้สอยในช่วงครึ่งหลังของปี
ii) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกลง เป็นผลจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกน้ำมันดิบของไทยลดลง และส่งผลต่อเนื่องให้มูลค่าสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีที่อ้างอิงกับราคาน้ำมัน ราคายางพารา และสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันลดลงตาม ขณะที่การฟื้นตัวการค้าโลกยังซบเซา อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักเช่น EU จีน ญี่ปุ่น ยังไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลกระทบต่อปริมาณส่งออกในปี 2558
ขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ ในช่วง 4 เดือนแรกต่ำกว่าระดับ 33 บาท ขณะที่ค่าเงินประเทศคู่แข่งในภูมิภาคกลับอ่อนค่าลงเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันถดถอยลง แต่ค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าลงในช่วงเดือนพฤษภาคมสูงกว่าระดับ 33 บาท จะช่วยประคองมูลค่าและปริมาณส่งออกในช่วงครึ่งหลังขอปี
iii) แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณภาครัฐล่าช้าแต่ก็มากกว่าที่เราประมาณการไว้ คาดว่าการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจะเร่งตัวมากขึ้นในไตรมาสที่ 2/58 จากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นอีก 4% และการใช้จ่ายในโครงการอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายภาครัฐสูงกว่าที่เคยประมาณการไว้
iv) การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนไตรมาสที่ 1/58 ไม่ได้ซบเซามากว่าที่เราเคยคาดไว้ และยังขยายตัวในระดับสูงโดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการก่อสร้างจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่จะต่อเนื่องไปยังสิ้นปี นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-ลำลูกกา) จะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน
คาด กนง. ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
เราคาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 1.25% ในการประชุมวันที่ 10 มิถุนายน เนื่องจากอัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่ 1/58 ช้าและในระดับต่ำกว่าศักยภาพ ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่ายังมีพื้นที่เหลือพอที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมได้อีก เราคาดว่าอัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่เหลือของปีจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าไตรมาสที่ 1/58 จากการขยายตัวของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและการลงทุนภาครัฐ
คาด กนง. ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% : by KGI SECURITIES
BIS-Economic : บล.เคจีไอ
20 พ.ค.--บล.เคจีไอ [pick13]
Distributor - Bisnews AFE
Economic (Thailand)
Economic
2558 GDP: ปรับลดอัตราการขยายตัว GDP ปี 58 ลงเหลือ 3.7% จาก 4.1%
เราปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัว GDP ปี 2558 ลงเหลือ 3.7% (ตารางที่ 1) จาก 4.1% จากการประมาณการครั้งก่อนในเดือนธันวาคม 2557 โดยลดอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนลงจาก 4.6% เป็น 3.3% ลดอัตราการขยายตัวมูลค่าส่งออกลงจาก 3.3% เป็น -1.8% และปริมาณส่งออกจาก 3.0% เป็น -0.7% แต่ปรับอัตราการขยายตัวการบริโภคภาครัฐเพิ่มจาก 4.1% ขึ้นเป็น 4.7% และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของการลงทุนจาก 5.0% ขึ้นเป็น 10.0%
โดยสมมติฐานหลักมีดังต่อไปนี้:
i) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนซบเซามากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ เป็นผลเนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจากภาระหนี้ของโครงรถคันแรกที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายด้านอื่นโดยรวม ซึ่งก่อนหน้านี้เราคาดว่าภาระหนี้คิดเป็นประมาณ 10% ของ GDP ราคาปัจจุบัน จะส่งกระทบต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนอีก 7-8 ปี ข้างหน้า ขณะสถาบันการเงินคุมเข้มนโยบายสินเชื่อทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น บวกกับข่าวการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรัฐบาลล่าช้า และรอความชัดเจนจากความคืบหน้าของโครงภาครัฐส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน
นอกจากนี้รายได้ภาคเกษตรและผลผลิตภาคเกษตรหดตัวมากกว่าคาดส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสินค้าคงทนและสินค้าเพื่อการบริโภคทั่วไป ขณะที่รัฐบาลจะปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4% จะเป็นปัจจัยช่วยหนุนการจับจ่ายใช้สอยในช่วงครึ่งหลังของปี
ii) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกลง เป็นผลจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกน้ำมันดิบของไทยลดลง และส่งผลต่อเนื่องให้มูลค่าสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีที่อ้างอิงกับราคาน้ำมัน ราคายางพารา และสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันลดลงตาม ขณะที่การฟื้นตัวการค้าโลกยังซบเซา อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักเช่น EU จีน ญี่ปุ่น ยังไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลกระทบต่อปริมาณส่งออกในปี 2558
ขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ ในช่วง 4 เดือนแรกต่ำกว่าระดับ 33 บาท ขณะที่ค่าเงินประเทศคู่แข่งในภูมิภาคกลับอ่อนค่าลงเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันถดถอยลง แต่ค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าลงในช่วงเดือนพฤษภาคมสูงกว่าระดับ 33 บาท จะช่วยประคองมูลค่าและปริมาณส่งออกในช่วงครึ่งหลังขอปี
iii) แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณภาครัฐล่าช้าแต่ก็มากกว่าที่เราประมาณการไว้ คาดว่าการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจะเร่งตัวมากขึ้นในไตรมาสที่ 2/58 จากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นอีก 4% และการใช้จ่ายในโครงการอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายภาครัฐสูงกว่าที่เคยประมาณการไว้
iv) การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนไตรมาสที่ 1/58 ไม่ได้ซบเซามากว่าที่เราเคยคาดไว้ และยังขยายตัวในระดับสูงโดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการก่อสร้างจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่จะต่อเนื่องไปยังสิ้นปี นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-ลำลูกกา) จะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน
คาด กนง. ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
เราคาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 1.25% ในการประชุมวันที่ 10 มิถุนายน เนื่องจากอัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่ 1/58 ช้าและในระดับต่ำกว่าศักยภาพ ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่ายังมีพื้นที่เหลือพอที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมได้อีก เราคาดว่าอัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่เหลือของปีจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าไตรมาสที่ 1/58 จากการขยายตัวของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและการลงทุนภาครัฐ