กนง. แถลงว่า "ครึ่งปีแรกหดตัวในอัตรา 0.5%" แสดงว่า Q1 GDP = -0.6% Q2 GDP = -0.4% สินะ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือน มิ.ย.57 ว่า กนง.ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้ลดลงเหลือ 1.5% เนื่องจากครึ่งปีแรกหดตัวในอัตรา 0.5% แต่คาดว่าครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวแบบ V Shape ทำให้กลับมาเติบโตได้ถึง 3.4%
ส่วนในปี 58 คาดว่า GDP จะเติบโตสูงถึง 5.5% ปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมานโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เร่งผลักดันการใช้จ่ายภาครัฐให้เร็วกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
"กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจปี 57 จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม แต่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและกลับเป็นปกติในปี 58 โดยเห็นว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมดุล โดยโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าคาดจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองต่อภาคการท่องเที่ยว และข้อจำกัดด้านการผลิตของไทยต่อการส่งออกสินค้าที่อาจมากกว่าคาด ใกล้เคียงกับโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงกว่าคาดจากการเร่งรัดเบิกจ่ายของภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจปรับดีขึ้นมากกว่าประมาณการ" นายเมธี กล่าว
ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับขึ้นเล็กน้อยทั้งในปี 57 และ 58 โดยความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อโน้มไปด้านสูง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศอิรักอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดูไบเพิ่มขึ้นในระยะสั้น และการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาจทำได้มากกว่าคาดในช่วงที่เศรษฐกิจเร่งฟื้นตัว
ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาจากสถานการณ์ทางการเมืองเป็นสำคัญ ขณะที่ภาวะทางการเงินยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ต่อปี โดยกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อความต่อเนื่องของการผ่อนคลายนโยบายการเงินในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.57 เศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าที่เคยประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินการได้ และนโยบายการคลังมีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้น
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1929419
กนง.ปรับจีดีพี ปีนี้โตแค่ 1.5% (ครึ่งปีแรกGDP หด = -0.5%)
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือน มิ.ย.57 ว่า กนง.ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้ลดลงเหลือ 1.5% เนื่องจากครึ่งปีแรกหดตัวในอัตรา 0.5% แต่คาดว่าครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวแบบ V Shape ทำให้กลับมาเติบโตได้ถึง 3.4%
ส่วนในปี 58 คาดว่า GDP จะเติบโตสูงถึง 5.5% ปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมานโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เร่งผลักดันการใช้จ่ายภาครัฐให้เร็วกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
"กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจปี 57 จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม แต่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและกลับเป็นปกติในปี 58 โดยเห็นว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมดุล โดยโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าคาดจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองต่อภาคการท่องเที่ยว และข้อจำกัดด้านการผลิตของไทยต่อการส่งออกสินค้าที่อาจมากกว่าคาด ใกล้เคียงกับโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงกว่าคาดจากการเร่งรัดเบิกจ่ายของภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจปรับดีขึ้นมากกว่าประมาณการ" นายเมธี กล่าว
ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับขึ้นเล็กน้อยทั้งในปี 57 และ 58 โดยความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อโน้มไปด้านสูง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศอิรักอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดูไบเพิ่มขึ้นในระยะสั้น และการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาจทำได้มากกว่าคาดในช่วงที่เศรษฐกิจเร่งฟื้นตัว
ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาจากสถานการณ์ทางการเมืองเป็นสำคัญ ขณะที่ภาวะทางการเงินยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ต่อปี โดยกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อความต่อเนื่องของการผ่อนคลายนโยบายการเงินในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.57 เศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าที่เคยประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินการได้ และนโยบายการคลังมีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้น
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1929419