.... วันที่ 1 ส.ค.นี้ ตัวแทนสมาคมรถตู้โดยสารสาธารณะกรุงเทพฯและปริมณฑล จะไปยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เนื่องจากได้รับผลกระทบที่ต้องเปลี่ยนเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก
(ไมโครบัสหรือมินิบัส) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้
กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนดอายุใช้งานรถตู้โดยสารประจำทางไว้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก
หากผู้ประกอบการฝ่าฝืนนำรถตู้อายุเกินมาให้บริการ ถือเป็นการประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับ
50,000 - 200,000 บาท เนื่องจากรถตู้อายุเกิน 10 ปี บริษัทประกันภัยจะไม่รับจัดทำประกันภัยให้จะสร้างปัญหาให้
เจ้าของรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และ
ผู้โดยสารไม่ได้รับความคุ้มครอง
.
.
.
นายปัญญา เลิศหงิม นายกสมาคมฯ บอกว่า รถตู้หมวด 1 ที่มีอยู่กว่า 3 พันคัน ได้รับผลกระทบมาก
จึงขอความเห็นใจจากรมต.คมนาคมคนใหม่ 3 ข้อ คือ
1.ขอขยายอายุรถตู้ครบ 10 ปี เปลี่ยนเป็นไมโครบัส
ออกไป 180 วัน เพราะ
ไมโครบัสมีต้นทุนคันละ 2.5 ล้านบาทผ่อนเดือนละ 40,000 บาท สูงกว่าต้นทุนรถตู้
คันละ 1.3 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 24,000บาท
2.ให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนรถตู้เป็นไมโครบัสด้วยความสมัครใจเพราะบางเส้นทางมีรถ 50-100 คัน ต้องเช่าพื้นที่
จอดรถในห้างสรรพสินค้า ห้างฯ บางแห่งไม่รองรับการจอดของไมโครบัส เกิดปัญหาพื้นที่จอดรถและค่าเช่าเพิ่มขึ้น
รวมทั้งทำให้เพิ่มปัญหาการจราจรด้วย โดยเฉพาะวินอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เพราะรถขนาดใหญ่ขึ้น
ทำให้รถติดมากขึ้นทำเที่ยววิ่งไม่ได้ตามกำหนด และใช้งานไม่คล่องตัวไม่เหมาะกับสภาพการจราจรในกรุงเทพฯ
3.ขอให้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าและแนวเส้นทางที่วิ่งทับซ้อนกับรถไฟฟ้า
ให้กระทรวงคมนาคม
พิจารณาปรับเส้นทางรถตู้ให้เป็นระบบฟีดเดอร์ รับส่งผู้โดยสารจากชุมชนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น รวมทั้ง
ศึกษาผลดีผลเสียของการเปลี่ยนรถตู้เป็นไมโครบัสด้วยว่าเส้นทางไหนมีความเหมาะสมเพราะระยะสั้นเกินไปอาจไม่เหมาะสม
และไม่คุ้มทุน รถคันใหญ่ไม่คล่องตัวโดยเฉพาะในพื้นที่การจราจรหนาแน่น...
.
.
.
แล้วทางออกจะอยู่ตรงไหน....??....บริบทของสังคมไทย มีปัญหาซับซ้อนหลายมิติ นโยบายให้ปิดตำนานรถตู้
เพราะมองที่ตัวรถ แต่เกิดความย้อนแย้งในสังคม ว่าปมปัญหาที่แท้จริงมาจากพฤติกรรมการขับขี่ ภาครัฐไม่ได้บูรณาการแก้ปัญหา
ให้เบ็ดเสร็จ แต่ใช้วิธีการลูบหน้าปะจมูก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการมีมานานแล้ว พอเสียงดังขึ้นมาภาครัฐก็เรียกไป
ประชุมที่ พล.ม.2 เสียงร้องของผู้ประกอบการก็เงียบลงในค่ายทหาร พอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ เสียงก็ดังขึ้นมาและรวมพลัง
ฮือบุกร้องกระทรวงคมนาคม
เมื่อปมปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่พฤติกรรมการขับขี่ เริ่มกันที่ตรงนี้ เอาจริงเอาจังทุกภาคส่วน ควบคู่กับการแก้ปัญหาในมิติอื่นๆ
จะดีกว่าไหม??....เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
...............................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด" ... อ่านต่อที่ :
https://www.dailynews.co.th/article/722868
รถตู้หมดอายุVSผู้โดยสาร ทางออกปัญหาจะอยู่ตรงไหน?
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เนื่องจากได้รับผลกระทบที่ต้องเปลี่ยนเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก
(ไมโครบัสหรือมินิบัส) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้
กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนดอายุใช้งานรถตู้โดยสารประจำทางไว้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก
หากผู้ประกอบการฝ่าฝืนนำรถตู้อายุเกินมาให้บริการ ถือเป็นการประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับ
50,000 - 200,000 บาท เนื่องจากรถตู้อายุเกิน 10 ปี บริษัทประกันภัยจะไม่รับจัดทำประกันภัยให้จะสร้างปัญหาให้
เจ้าของรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และผู้โดยสารไม่ได้รับความคุ้มครอง
.
.
.
นายปัญญา เลิศหงิม นายกสมาคมฯ บอกว่า รถตู้หมวด 1 ที่มีอยู่กว่า 3 พันคัน ได้รับผลกระทบมาก
จึงขอความเห็นใจจากรมต.คมนาคมคนใหม่ 3 ข้อ คือ
1.ขอขยายอายุรถตู้ครบ 10 ปี เปลี่ยนเป็นไมโครบัสออกไป 180 วัน เพราะ
ไมโครบัสมีต้นทุนคันละ 2.5 ล้านบาทผ่อนเดือนละ 40,000 บาท สูงกว่าต้นทุนรถตู้
คันละ 1.3 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 24,000บาท
2.ให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนรถตู้เป็นไมโครบัสด้วยความสมัครใจเพราะบางเส้นทางมีรถ 50-100 คัน ต้องเช่าพื้นที่
จอดรถในห้างสรรพสินค้า ห้างฯ บางแห่งไม่รองรับการจอดของไมโครบัส เกิดปัญหาพื้นที่จอดรถและค่าเช่าเพิ่มขึ้น
รวมทั้งทำให้เพิ่มปัญหาการจราจรด้วย โดยเฉพาะวินอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพราะรถขนาดใหญ่ขึ้น
ทำให้รถติดมากขึ้นทำเที่ยววิ่งไม่ได้ตามกำหนด และใช้งานไม่คล่องตัวไม่เหมาะกับสภาพการจราจรในกรุงเทพฯ
3.ขอให้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าและแนวเส้นทางที่วิ่งทับซ้อนกับรถไฟฟ้า
ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับเส้นทางรถตู้ให้เป็นระบบฟีดเดอร์ รับส่งผู้โดยสารจากชุมชนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น รวมทั้ง
ศึกษาผลดีผลเสียของการเปลี่ยนรถตู้เป็นไมโครบัสด้วยว่าเส้นทางไหนมีความเหมาะสมเพราะระยะสั้นเกินไปอาจไม่เหมาะสม
และไม่คุ้มทุน รถคันใหญ่ไม่คล่องตัวโดยเฉพาะในพื้นที่การจราจรหนาแน่น...
.
.
.
แล้วทางออกจะอยู่ตรงไหน....??....บริบทของสังคมไทย มีปัญหาซับซ้อนหลายมิติ นโยบายให้ปิดตำนานรถตู้
เพราะมองที่ตัวรถ แต่เกิดความย้อนแย้งในสังคม ว่าปมปัญหาที่แท้จริงมาจากพฤติกรรมการขับขี่ ภาครัฐไม่ได้บูรณาการแก้ปัญหา
ให้เบ็ดเสร็จ แต่ใช้วิธีการลูบหน้าปะจมูก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการมีมานานแล้ว พอเสียงดังขึ้นมาภาครัฐก็เรียกไป
ประชุมที่ พล.ม.2 เสียงร้องของผู้ประกอบการก็เงียบลงในค่ายทหาร พอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ เสียงก็ดังขึ้นมาและรวมพลัง
ฮือบุกร้องกระทรวงคมนาคม
เมื่อปมปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่พฤติกรรมการขับขี่ เริ่มกันที่ตรงนี้ เอาจริงเอาจังทุกภาคส่วน ควบคู่กับการแก้ปัญหาในมิติอื่นๆ
จะดีกว่าไหม??....เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
...............................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด" ... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/722868