โละทิ้ง! รถตู้อายุ 10ปี ถึงกาลอวสาน ใช้ 'ไมโครบัส' วัดใจปชช.
ถึงเวลาโละทิ้ง “รถตู้” หมดอายุใช้งาน 10 ปี ห้ามจดทะเบียนใหม่ รถเก่าเปลี่ยนเป็นไมโครบัสแทน ถือเป็นการคุมกำเนิดรถตู้ แต่ผู้โดยสารจะเห็นด้วยไหมขอคอมเม้นท์ด้วย!
ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมี นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา ผ่อนผันให้ “รถตู้โดยสารสาธารณะ” หมวด 3 วิ่งบริการระหว่างจังหวัดกับจังหวัด มีจุดจอดต้นทางปลายทาง รถหมวด 4 วิ่งภายในจังหวัดเดียวกัน และรถหมวด 1 วิ่งในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เปลี่ยนเป็น “รถไมโครบัส” ไปอีก 2 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62
ส่วนรถตู้หมวด 2 ที่วิ่งให้บริการระหว่างกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด และรถตู้หมวด 3 ที่วิ่งบริการระหว่างจังหวัดกับจังหวัดเส้นทางระยะไกลที่มีจุดจอดรับส่งระหว่างทางและมีอายุการใช้งานเกิน 10 ปี รวมกันแล้วกว่า 100 คัน จากรถทั้ง 2 หมวดนี้ประมาณ 6,000 คัน ต้องเปลี่ยนเป็นรถไมโครบัสตามกำหนดเดิม คือวันที่ 1 ต.ค.นี้
ตามที่ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ออกประกาศไว้ เรื่องการเปลี่ยนรถตู้โดยสารสาธารณะขนาด 13-14 ที่นั่ง เป็น “รถโดยสารขนาดเล็ก” (ไมโครบัส) 20-30 ที่นั่ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการโดยสาร ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ กับรถตู้ที่มีอายุการใช้งานครบ 10 ปี ห้ามจดทะเบียนใหม่เป็นรถตู้โดยสารต้องจดทะเบียนเปลี่ยนเป็น “รถไมโครบัส” เท่านั้น
นั่นหมายความว่า...ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ กระทรวงคมนาคมดีเดย์ใช้มาตรการคุมกำเนิดรถตู้สาธารณะแล้ว โดยห้ามจดทะเบียนใหม่ แต่ให้เปลี่ยนเป็นรถไมโครบัสเท่านั้น เนื่องจากรถตู้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ขนส่งผู้โดยสาร ทั้งโครงสร้างของรถและอุปกรณ์ภายในรถไม่ได้มาตรฐานในการขนส่งผู้โดยสาร แต่นำมาใช้งานผิดประเภททำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้มีความรุนแรงทั้งต่อการบาดเจ็บและส่งผลต่อการเสียชีวิต!!
ความเสี่ยงนี้ ภาครัฐต่างตระหนักดี แต่เมื่อผู้โดยสารไม่มีทางเลือกในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ หนำซ้ำรถตู้กลับได้รับความนิยมจากประชาชน เพราะความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเดินทาง ทำให้มีรถตู้โดยสารทั่วประเทศกว่า 40,000 คัน เฉพาะรถตู้โดยสารประจำทางหรือรถตู้สาธารณะมีกว่า 20,000 คัน จากที่เคยให้บริการแค่ในกรุงเทพฯ ก็ขยายเป็นกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จนกระทั่งวิ่งทางไกลกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด
กระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมสยองรับปีระกา เมื่อช่วงปีใหม่ที่ รถตู้โดยสารกรุงเทพฯ-จันทบุรี พุ่งสวนเลนชนอัดรถกระบะจนไฟลุกท่วม บนถนนสายบ้านบึง-แกลง จ.ชลบุรี ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 25 ศพ!!
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงมีนโยบายให้ยกเลิกรถตู้เปลี่ยนเป็น “รถไมโครบัส” แทนภายใน 6 เดือน แม้ต่อมาจะเปลี่ยนท่าทีใหม่บอกว่า...ไม่ได้บังคับแต่ให้ใช้วิธีสมัครใจก็ตาม
ขณะเดียวกัน นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช. คมนาคม ก็ออกมาประกาศว่าจะเริ่มดีเดย์เปลี่ยนรถตู้เป็นรถไมโครบัสตั้งแต่กลางปีนี้ หรือตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่จนแล้วจนรอดก็เกิดปัญหาอุปสรรคนานาประการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่คัดค้านเรื่อยมาด้วยเหตุไม่พร้อมจากปัญหาด้านการเงิน เพราะรถไมโครบัสแพงกว่ารถตู้มาก และเห็นว่ารัฐบาลแก้ปัญหาปลายเหตุ จับจ้องแต่รถตู้ ที่สำคัญกลัวผู้โดยสารไม่นิยม สรุปคือ “ไม่อยากเปลี่ยน” ล่าสุดไปขอผ่อนผันอีก 2 ปี ซึ่ง กระทรวงคมนาคม ยอมพบกันครึ่งทางโดยผ่อนผันให้บางส่วน
นายสมศักดิ์ ระบุว่า ต้องผ่อนผันการบังคับใช้ออกไป เนื่องจากอาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติโดยเฉพาะผู้ประกอบการรถตู้ที่เดินรถในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาผู้โดยสารใช้บริการน้อยมาก ทำให้การลงทุนรถใหม่มีความเสี่ยงสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
ส่วนคำขอของผู้ประกอบการรถตู้หมวด 1 ที่วิ่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ต้องการให้ขยายระยะเวลาการใช้งานของอายุรถตู้โดยสารสาธารณะ จากเดิมไม่เกิน 10 ปีเป็น 12-15 ปี ยืนยันตามมติเดิมต้องมีอายุใช้งานไม่เกิน 10 ปี เพราะประชาชนผู้ใช้บริการอาจไม่มีความมั่นใจที่ต้องใช้บริการรถเก่า ดังนั้นรถ 100 คันที่หมดอายุต้องเปลี่ยนเป็นไมโครบัส
“ทั่วประเทศมีรถตู้โดยสารเกือบ 20,000 คัน รถตู้ทุกคันที่หมดอายุใช้งาน 10 ปี ต้องเปลี่ยนเป็นรถไมโครบัสทั้งหมดภายในปี 67โดยปี 65 จะมีรถตู้ที่ครบอายุ 10 ปี ประมาณ 11,194 คัน หรือประมาณ 70% ของรถตู้ทั้งหมด” รองปลัดกระทรวงคมนาคม ย้ำถึงเป้าหมายในการปิดตำนานรถตู้
นอกจากนี้ บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) กำลังดำเนินโครงการจัดเช่ารถโดยสารขนาดเล็ก (ไมโครบัส) ไม่เกิน 21 ที่นั่ง 55 คัน นำมาวิ่งนำร่องใน 13 เส้นทาง ประมาณเดือน ก.ค. ปี 61 โดยจะวิ่งคู่ขนานกับรถตู้ในเส้นทางเดิมเพื่อประเมินความปลอดภัย ในการให้บริการและความปลอดภัยของรถ
รวมทั้งเรื่องอุบัติเหตุ และความนิยมของผู้โดยสารว่าใช้บริการมากหรือน้อย รวมทั้งความสะดวกสบายในการใช้บริการเพื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีข้อเสียของรถไมโครบัสและรถตู้ให้ผู้ประกอบการได้ทราบแนวทางปฏิบัติในการเปลี่ยนรถตู้มาใช้รถไมโครบัสต่อไป
สำหรับ 13 เส้นทางประกอบด้วย กทม.-อยุธยา, กทม.-สระบุรี, กทม.-ท่าหลวง-ลำนารายณ์, กทม.-สุพรรณบุรี, กทม.-แกลง-จันทบุรี, กทม.-ระยอง-บ้านเพ, กทม.-พัทยา, กทม.-ตราด, กทม.-วัฒนานคร-ตลาดโรงเกลือ, กทม.-นครสวรรค์, กทม.-ปากช่อง, กทม.-หัวหิน และ กทม.-ปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์
ถึงจะล่าช้าแต่ก็ถือว่ารัฐบาลได้เริ่มบทอวสานรถตู้สาธารณะแล้ว...ทั้งใช้มาตรการคุมกำเนิดรถตู้ห้ามจดทะเบียนใหม่ แถมโล๊ะรถเก่าเป็นไมโครบัส!!
อย่างไรก็ตามหากคนขับยังมีพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งใช้ความเร็วสูง วิ่งทำเที่ยว ไม่พักผ่อนให้เต็มที่ จะใช้โดยสารรถสาธารณะแบบไหน ชีวิตประชาชนหลังพวงมาลัยก็ต้องแขวนบนเส้นด้ายอยู่ดี และหากโจทย์ของผู้โดยสารส่วนใหญ่ตั้งไว้แค่ “ความสะดวกสบาย คิดแค่ว่ารถตู้ขึ้นง่าย วิ่งถึงจุดหมายไว ส่วนเรื่องความปลอดภัยเอาไว้ทีหลัง...”
อุบัติเหตุอันน่าสลดสังเวยหมู่ 25 ศพก็คงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย!!
…....................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
ขอบคุณภาพจาก : เติมโซล่าเท่านั้น
https://www.dailynews.co.th/article/597558
โละทิ้ง! รถตู้อายุ 10ปี ถึงกาลอวสาน ใช้ 'ไมโครบัส' แทน
ถึงเวลาโละทิ้ง “รถตู้” หมดอายุใช้งาน 10 ปี ห้ามจดทะเบียนใหม่ รถเก่าเปลี่ยนเป็นไมโครบัสแทน ถือเป็นการคุมกำเนิดรถตู้ แต่ผู้โดยสารจะเห็นด้วยไหมขอคอมเม้นท์ด้วย!
ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมี นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา ผ่อนผันให้ “รถตู้โดยสารสาธารณะ” หมวด 3 วิ่งบริการระหว่างจังหวัดกับจังหวัด มีจุดจอดต้นทางปลายทาง รถหมวด 4 วิ่งภายในจังหวัดเดียวกัน และรถหมวด 1 วิ่งในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เปลี่ยนเป็น “รถไมโครบัส” ไปอีก 2 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62
ส่วนรถตู้หมวด 2 ที่วิ่งให้บริการระหว่างกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด และรถตู้หมวด 3 ที่วิ่งบริการระหว่างจังหวัดกับจังหวัดเส้นทางระยะไกลที่มีจุดจอดรับส่งระหว่างทางและมีอายุการใช้งานเกิน 10 ปี รวมกันแล้วกว่า 100 คัน จากรถทั้ง 2 หมวดนี้ประมาณ 6,000 คัน ต้องเปลี่ยนเป็นรถไมโครบัสตามกำหนดเดิม คือวันที่ 1 ต.ค.นี้
ตามที่ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ออกประกาศไว้ เรื่องการเปลี่ยนรถตู้โดยสารสาธารณะขนาด 13-14 ที่นั่ง เป็น “รถโดยสารขนาดเล็ก” (ไมโครบัส) 20-30 ที่นั่ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการโดยสาร ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ กับรถตู้ที่มีอายุการใช้งานครบ 10 ปี ห้ามจดทะเบียนใหม่เป็นรถตู้โดยสารต้องจดทะเบียนเปลี่ยนเป็น “รถไมโครบัส” เท่านั้น
นั่นหมายความว่า...ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ กระทรวงคมนาคมดีเดย์ใช้มาตรการคุมกำเนิดรถตู้สาธารณะแล้ว โดยห้ามจดทะเบียนใหม่ แต่ให้เปลี่ยนเป็นรถไมโครบัสเท่านั้น เนื่องจากรถตู้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ขนส่งผู้โดยสาร ทั้งโครงสร้างของรถและอุปกรณ์ภายในรถไม่ได้มาตรฐานในการขนส่งผู้โดยสาร แต่นำมาใช้งานผิดประเภททำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้มีความรุนแรงทั้งต่อการบาดเจ็บและส่งผลต่อการเสียชีวิต!!
ความเสี่ยงนี้ ภาครัฐต่างตระหนักดี แต่เมื่อผู้โดยสารไม่มีทางเลือกในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ หนำซ้ำรถตู้กลับได้รับความนิยมจากประชาชน เพราะความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเดินทาง ทำให้มีรถตู้โดยสารทั่วประเทศกว่า 40,000 คัน เฉพาะรถตู้โดยสารประจำทางหรือรถตู้สาธารณะมีกว่า 20,000 คัน จากที่เคยให้บริการแค่ในกรุงเทพฯ ก็ขยายเป็นกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จนกระทั่งวิ่งทางไกลกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด
กระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมสยองรับปีระกา เมื่อช่วงปีใหม่ที่ รถตู้โดยสารกรุงเทพฯ-จันทบุรี พุ่งสวนเลนชนอัดรถกระบะจนไฟลุกท่วม บนถนนสายบ้านบึง-แกลง จ.ชลบุรี ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 25 ศพ!!
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงมีนโยบายให้ยกเลิกรถตู้เปลี่ยนเป็น “รถไมโครบัส” แทนภายใน 6 เดือน แม้ต่อมาจะเปลี่ยนท่าทีใหม่บอกว่า...ไม่ได้บังคับแต่ให้ใช้วิธีสมัครใจก็ตาม
ขณะเดียวกัน นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช. คมนาคม ก็ออกมาประกาศว่าจะเริ่มดีเดย์เปลี่ยนรถตู้เป็นรถไมโครบัสตั้งแต่กลางปีนี้ หรือตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่จนแล้วจนรอดก็เกิดปัญหาอุปสรรคนานาประการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่คัดค้านเรื่อยมาด้วยเหตุไม่พร้อมจากปัญหาด้านการเงิน เพราะรถไมโครบัสแพงกว่ารถตู้มาก และเห็นว่ารัฐบาลแก้ปัญหาปลายเหตุ จับจ้องแต่รถตู้ ที่สำคัญกลัวผู้โดยสารไม่นิยม สรุปคือ “ไม่อยากเปลี่ยน” ล่าสุดไปขอผ่อนผันอีก 2 ปี ซึ่ง กระทรวงคมนาคม ยอมพบกันครึ่งทางโดยผ่อนผันให้บางส่วน
นายสมศักดิ์ ระบุว่า ต้องผ่อนผันการบังคับใช้ออกไป เนื่องจากอาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติโดยเฉพาะผู้ประกอบการรถตู้ที่เดินรถในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาผู้โดยสารใช้บริการน้อยมาก ทำให้การลงทุนรถใหม่มีความเสี่ยงสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
ส่วนคำขอของผู้ประกอบการรถตู้หมวด 1 ที่วิ่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ต้องการให้ขยายระยะเวลาการใช้งานของอายุรถตู้โดยสารสาธารณะ จากเดิมไม่เกิน 10 ปีเป็น 12-15 ปี ยืนยันตามมติเดิมต้องมีอายุใช้งานไม่เกิน 10 ปี เพราะประชาชนผู้ใช้บริการอาจไม่มีความมั่นใจที่ต้องใช้บริการรถเก่า ดังนั้นรถ 100 คันที่หมดอายุต้องเปลี่ยนเป็นไมโครบัส
“ทั่วประเทศมีรถตู้โดยสารเกือบ 20,000 คัน รถตู้ทุกคันที่หมดอายุใช้งาน 10 ปี ต้องเปลี่ยนเป็นรถไมโครบัสทั้งหมดภายในปี 67โดยปี 65 จะมีรถตู้ที่ครบอายุ 10 ปี ประมาณ 11,194 คัน หรือประมาณ 70% ของรถตู้ทั้งหมด” รองปลัดกระทรวงคมนาคม ย้ำถึงเป้าหมายในการปิดตำนานรถตู้
นอกจากนี้ บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) กำลังดำเนินโครงการจัดเช่ารถโดยสารขนาดเล็ก (ไมโครบัส) ไม่เกิน 21 ที่นั่ง 55 คัน นำมาวิ่งนำร่องใน 13 เส้นทาง ประมาณเดือน ก.ค. ปี 61 โดยจะวิ่งคู่ขนานกับรถตู้ในเส้นทางเดิมเพื่อประเมินความปลอดภัย ในการให้บริการและความปลอดภัยของรถ
รวมทั้งเรื่องอุบัติเหตุ และความนิยมของผู้โดยสารว่าใช้บริการมากหรือน้อย รวมทั้งความสะดวกสบายในการใช้บริการเพื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีข้อเสียของรถไมโครบัสและรถตู้ให้ผู้ประกอบการได้ทราบแนวทางปฏิบัติในการเปลี่ยนรถตู้มาใช้รถไมโครบัสต่อไป
สำหรับ 13 เส้นทางประกอบด้วย กทม.-อยุธยา, กทม.-สระบุรี, กทม.-ท่าหลวง-ลำนารายณ์, กทม.-สุพรรณบุรี, กทม.-แกลง-จันทบุรี, กทม.-ระยอง-บ้านเพ, กทม.-พัทยา, กทม.-ตราด, กทม.-วัฒนานคร-ตลาดโรงเกลือ, กทม.-นครสวรรค์, กทม.-ปากช่อง, กทม.-หัวหิน และ กทม.-ปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์
ถึงจะล่าช้าแต่ก็ถือว่ารัฐบาลได้เริ่มบทอวสานรถตู้สาธารณะแล้ว...ทั้งใช้มาตรการคุมกำเนิดรถตู้ห้ามจดทะเบียนใหม่ แถมโล๊ะรถเก่าเป็นไมโครบัส!!
อย่างไรก็ตามหากคนขับยังมีพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งใช้ความเร็วสูง วิ่งทำเที่ยว ไม่พักผ่อนให้เต็มที่ จะใช้โดยสารรถสาธารณะแบบไหน ชีวิตประชาชนหลังพวงมาลัยก็ต้องแขวนบนเส้นด้ายอยู่ดี และหากโจทย์ของผู้โดยสารส่วนใหญ่ตั้งไว้แค่ “ความสะดวกสบาย คิดแค่ว่ารถตู้ขึ้นง่าย วิ่งถึงจุดหมายไว ส่วนเรื่องความปลอดภัยเอาไว้ทีหลัง...”
อุบัติเหตุอันน่าสลดสังเวยหมู่ 25 ศพก็คงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย!!
…....................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
ขอบคุณภาพจาก : เติมโซล่าเท่านั้น https://www.dailynews.co.th/article/597558