กรณีที่แจ้งผลไม่ผ่านทดลองงานให้กับพนักงานรับทราบแล้ว พนักงานลาป่วยไม่มาทำงานจะรับมือยังไงดี

เหตุการณ์มีอยู่ว่า
พนักงาน A เข้าทำงานในตำแหน่งระดับหัวหน้างาน มาได้ประมาณ 2 เดือน ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานมา นายมีเตือนเรื่องกฎระเบียบบริษัทตลอดเวลา ทั้งเรื่องรักษาเวลาเข้างาน เวลาพัก และในด้านการทำงาน แต่เขารับปากจะปรับปรุงตัวทุกครั้งที่ถูกเตือน แต่ไม่เคยทำได้เลย
บริษัทได้แจ้งผลไม่ผ่านทดลองงานให้กับพนักงานคนนี้ คือ ตามระเบียบการแจ้งไม่ผ่านทดลองงาน แจ้งล่วงหน้า1รอบเงินเดือน 
แต่ก่อนที่จะแจ้งผลแก่พนักงานคนนี้ เขาหยุดงาน (ลาป่วย) ประมาณ 5 วันติดต่อกัน (ทุกวันมีใบรับรองแพทย์ 5 วัน ใบรับรองแพทย์ 5 ใบ ) วันที 6 เค้ามาทำงาน บริษัทจึงแจ้งผลไม่ผ่านทดลองงานให้เขาทราบ โดยบอกว่า ให้ทำงานวันสุดท้ายคือวันที่ 30 เดือนหน้า (แจ้งผลประมาณวันที่ 25 เดือนนี้ วันจ่ายเงินเดือนคือวันที่ 30 ) และวันรุ่งขึ้นเค้าก็ไม่มาทำงานอีกเลย แต่แจ้งทางไลน์มาลาป่วย โดยมีใบรับรองแพทย์มาทุกวัน ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ เค้าลาป่วยต่อเนื่องมาอีก 5 วัน 
ทางฝ่ายบุคคลจึงสอบถามไปยังเจ้าตัวว่าป่วยเป็นอะไรมากไหม ถ้าป่วยร้ายแรงก็ขอให้มาลาออกอย่างถูกต้อง และกลับไปรักษาตัวให้หายดีก่อน
แต่ทางพนักงาน A ตอบกลับมาว่า
"ก็เค้าลาตามสิทธิ์ที่เค้าสามารถลาป่วยได้ และเค้าก็มีใบรับรองแพทย์ แต่ถ้าหากบริษัทจะช่วยก็ขอให้จ่ายเงินเค้า จนถึงวันที่ 30 เดือนหน้า ตามที่ตกลงไว้
ถ้าไม่ได้ เค้าก็มีสิทธิ์ที่จะลาป่วย ถ้าจะให้ลาออกก่อนวันที่ 30 เดือนหน้า ก็ไปเจอกันที่แรงงาน " 

กรณีพบเหตุการณ์แบบนี้ เราจะมีวิธีจัดการแบบไหนได้บ้างคะ (ถ้ามองในมุมบริษัท ก็เหมือนบริษัทเสียเปรียบนะคะ เพราะต้องจ่ายค่าจ้างให้เค้า โดยที่ไม่ได้งานจากลูกจ้างเลย)
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ฎีกาที่ ๓๖๓๐/๓๙
      ลาป่วยทั้งที่ไม่ได้ป่วยจริง เป็นการรายงานเท็จต่อ ผบ...และยังเป็นการไม่ตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
และหลีกเลี่ยงหน้าที่การงานอีกด้วย....มีความผิดฐานรายงานเท็จต่อ ผบ. และไม่ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต
อันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับฯ กรณีร้ายแรง

ฏีกาที่ ๒๙๔/๒๕๔๑
       หลังจากที่นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างลาป่วยและหยุดงานแล้ว ปรากฏว่าลูกจ้างมิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ นายจ้างจึงมีหนังสือให้ลูกจ้างรายงานตัวกลับเข้าทำงาน เมื่อไม่ปฏิบัติตาม เป็นการขัดคำสั่งโดยชอบฯหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ยุติว่า ลูกจ้างไม่ได้เจ็บป่วย 
แต่ไม่มาทำงานโดยอ้างว่าลาป่วย  ถือว่าลูกจ้างลาป่วยเท็จ  เมื่อลูกจ้างมีหน้าที่มาทำงาน แล้วไม่มา ต้องถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันสมควร  
       ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่า ในกรณีมีพฤติการณ์แสดงว่า ลูกจ้างไม่ได้เจ็บป่วย การที่ลูกจ้างหยุดงาน เป็นการหยุดงานโดยไปโดยไม่จำเป็น
  ถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันควรหากลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครบ ๓ วันทำงานติดต่อกัน  นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
(คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒๖/๒๕๓๑)



ฎีกาที่ ๒๒๕๔/๒๕๓๔
      ลูกจ้างให้มารดาโทรศัพท์ไปแจ้งนายจ้างว่าป่วยไม่สามารถทำงานได้ และได้ฝากใบรับรองของแพทย์ซึ่งระบุว่าเป็นหัดเยอรมัน สมควรพักรักษาตัว ๗ วัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าอาการป่วยของโจทก์ ไม่ถึงขนาดที่จะไปทำงานไม่ได้ และโจทก์ได้ไปสถานทูตญี่ปุ่นเพื่อขอออกวีซ่าตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ทั้งได้ซื้อตั๋วเครื่องบินเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน และมาลาป่วยในวันที่ ๘ มิถุนายน พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงโดยชัดว่า โจทก์ตั้งใจจะเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น โดยไม่ขออนุญาตจากจำเลยก่อน จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ เป็นเวลา ๓ วันทำงานติดต่อกันขึ้นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โจทก์ยื่นใบลาป่วยเป็นเท็จ และจำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ ถือว่าโจทก์ขาดงาน หรือละทิ้งหน้าที่
การกระทำของโจทก์ จึงเป็นความผิดฐานละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ 
จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  

ศาลฎีกาที่ ๕๙๘๖/๒๕๓๐
       โจทก์ยื่นใบลาป่วยเป็นเท็จ และจำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ ถือว่าโจทก์ขาดงาน หรือละทิ้งหน้าที่ การกระทำของโจทก์ จึงเป็นความผิดฐานละทิ้งการงานไปเสีย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓  จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  

ฎีกาที่ ๓๒๑๑/๒๕๔๕
      การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และได้รับอนุญาตให้ลาจนครบกำหนด และมาทำงานแล้วก็ตาม หากจำเลยสงสัยว่า โจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หรือใช้สิทธิลาป่วยไม่สุจริต ก็ชอบที่จะสั่งให้โจทก์ไปตรวจกับ แพทย์อื่นซึ่งจำเลยจัดให้ เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หากการตรวจปรากฏ ว่าโจทก์ป่วยจริง และใช้สิทธิ ลาป่วยโดยสุจริตก็จะเป็นผลดีแก่โจทก์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำงาน
ที่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โจทก์ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
ของจำเลยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกรณีไม่ร้ายแรง จำเลยได้มีหนังสือตักเตือนโจทก์ และยืนยันคำสั่งให้โจทก์ปฏิบัติตาม
โจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงลงโทษให้พักงานโจทก์ ๑๑ วันและยืนยันให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอีก เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยจึงมีสิทธิออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย


***ลองส่งให้เขาดู
      แจ้งว่าไม่อนุมัติใบลา ทั้ง 5 ใบ เพราะไม่น่าเชื่อถือ(ซื้อมา 100 %--ไปหาหมอที่ออกใบรับรอง ถามกันตรงๆเลย..?)
      บอกด้วยเลยว่า อย่าไปเลยแรงงาน ไม่ทันใจ ไปศาลดีกว่า...เร็วดี...!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่