ประสบการณ์ วิธีนั่งสมาธิ เข้าฌาน

วิธีนั่งสมาธิ เข้าฌาน

ฌาน คือ การเพ่ง สนใจอยู่จุดใดจุดหนึ่ง การที่จะมีฌาน หรือได้ฌานนั้นจะต้องอาศัยอะไร? คือต้องอาศัยสมาธิ และสมาธินี่แหละจะมีการกำหนดจิตล่ะว่า จะให้จิตเราอยู่ตรงนี้ ไม่ให้เคลื่อนที่ เรียกว่า "การเพ่ง" เพ่งเจาะจงอยู่ตรงนี้ ไม่เคลื่อนจิตไปไหน

ปฐมฌาน ฌานที่ ๑

ในปฐมฌานนี้ ฌานขั้นที่ ๑ มีองค์ประกอบหลักๆในการปฏิบัติอยู่ ๕ ประการ ได้แก่

๑. วิตก คือ คิดอารมณ์ คิดเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคิดสิ่งใดก็ได้ หรือเรียกว่า "กังวล"

๒. วิจาร คือ เคล้าคลึงอารมณ์ นำสิ่งที่เรากังวล หรือนำอารมณ์ที่วิตกนั้นมาวิเคราะห์ วิจัย พิจารณา หรือนำข้อมูลที่วินิจฉัยมาเปรียบเทียบ เทียบเคียง วิเคราะห์ความแตกต่างกันว่า ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิดประการใด โดยโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม

๓. ปิติ คือ ดีใจ สรุปว่าสิ่งที่มาวิเคราะห์นั้นสรุปได้หรือยังไม่สรุป ถ้าเกิดปิติก็จะสรุปได้ (ดีใจแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นสุข) ปีติ ก็คือ ความเอิบอิ่มใจ คือ จะต้องยอมรับความเป็นจริงแห่งธรรม มายาธรรม ธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามวิถีแห่งธรรม แล้วสรุปตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆ จึงจะเกิดความเอิบอิ่มใจ ถ้าไม่มีการสรุป จิตของเราก็จะสืบเสาะ แสวงหา โหยหาจึงไม่เกิดปีติ และมีถ้าเรามีปีติก็จะส่งผลให้เรามีกำลังใจทำต่อ

๔. สุข คือ การคิดสรุปว่า "ดี" หรือ "พึงพอใจแล้ว"

๕. เอกกัคคตา คือ สรุปแน่นอน และดำรงอารมณ์อยู่ ณ จุดนั้น (สรุปแน่นอนแล้วว่าเป็นอะไร) สมมติว่าอะไรก็แล้วแต่จะมีสักกี่ข้อว่าจะเป็นความสุข เราจะอยู่กับสุขนั้นล่ะ แต่ถ้าเรายังจะอยู่ในวิตกก็กังวลไป คิดอะไรไปเรื่อย แม้แต่คิดเป็นหลักการอะไรสักอย่างก็จะยังไม่เข้าสู่เอกคัคคตานี่แน่นอน อะไรอย่างนี้

สมมติว่าเรานั่งแล้วพึงพอใจก็จะนั่งได้นาน เพราะถ้าเรามีเอกัคคตา จิตเราก็จะยึดตัวนี้ไปเรื่อยๆ คือยึดตัวพึงพอใจที่ทำสิ่งนี้

ถ้าเรานั่งแล้วเจ็บปวดขา แล้วจิตเราก็จะไม่มายึดตรงนี้แล้ว แล้วถามว่า เราจะเอกัคคตากับตัวไหนล่ะ ถ้าจิตเราไปอยู่กับตรงนั้นมีความสุข เราก็จะลืมทุกข์ความเจ็บปวดตรงนี้

^_^ ..._/\_... ^_^

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่