จุติดาวดวงใหม่ (Honda Nova RS เผ็ดแรง...แกร่งอย่างชาย)
ความโหดร้ายทางการตลาดของบริษัท Honda ค่อยเริ่มๆ ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถประเภทสปอร์ตกึ่งครอบครัว หลังจากในปี 2530 ที่ทางบริษัทได้เข้ามาทำตลาดรถประเภทนี้ และได้ส่งรถในรหัส Nova S ลงมาแข่งขัน
การมาของ Nova S สามารถเอาชนะคู่แข่งที่ทำตลาดอยู่ก่อนหน้าอย่างกระจุยกระจาย เนื่องจากทางบริษัทได้ทำการบ้านในกลุ่มรถประเภทนี้มาอย่างดี โดยอย่างแรกที่เหนือชั้นกว่าคู่แข่งคือ ระบบดิสก์เบรกหน้า ซึ่งภาพลักษณ์ที่ออกมามันส่งเสริมความสปอร์ตกว่าเบรกแบบดรัม นอกจากนี้ในส่วนของเครื่องยนต์ก็มีแรงม้าเยอะที่สุดอีกด้วย
องค์ประกอบเหล่านี้ได้เองที่ได้ส่งผลให้ทาง Novs S สามารถแย่งชิงพื้นที่การตลาดของรถประเภทสปอร์ตกึ่งครอบครัวจากคู่แข่งค่ายอื่นๆ ได้ ถึงแม้ว่าจะเปิดตัวรถที่หลังคู่แข่งบ้างรุ่นอยู่หลายปี
จนถึงช่วงกลางปี 2532 ทางบริษัท Honda ก็ได้ทำการเปิดตัวรถในรหัสใหม่อีกครั้งหนึ่ง (เฉพาะสื่อมวลชนเท่านั้น) ทำตลาดจริงๆในปี 2533 โดยเป็นการต่อยอดมาจากรถรุ่นเดิม โดยใช้ชื่อรหัสใหม่ว่า Nova Rs ซึ่งถ้าเปิดดูรายชื่อคู่แข่งในช่วงนั้นก็จะมี Yamaha Belle R, Suzuki Sprinter 110 และ Kawasaki Cosmo R
Honda Nova Rs มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ วางเครื่องเอียง 40 องศา ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยลม ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 105 cc มีระยะชักที่ 52×49.5 มม. และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.5: 1 โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดที่ 14 แรงม้า ต่อรอบเครื่อง 8,000 รอบ/นาที และสามารถทำแรงบิดสูงสุดที่ 1.37 กก.-ม. ที่รอบเครื่อง 7,000 รอบ/นาที
ข้อมูลสเปค
ทั้งนี้หากนำข้อมูลเครื่องยนต์จากโบรชัวร์ระหว่าง Novs Rs กับ Novs S มาเปรียบเทียบกันแล้ว จะพบว่าข้อมูลรายละเอียดเครื่องยนต์ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นขนาดลูกสูบ ระยะชัก หรือแม้กระทั้งกำลังอัดก็เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างรถทั้งสองรุ่นนี้คือแรงม้า
Novs Rs / 14 แรงม้า
Nova S / 11.8 แรงม้า
(ข้อมูลอ้างอิงจากนิตยสาร แชมเปี้ยมชิพ)
แรงม้าที่เพิ่มขึ้นมาจากการปรับแต่งเครื่องยนต์ใหม่ โดยทาง Honda ได้ทำการปรับแต่งช่องพอร์ทใหม่ โดยพอร์ทไอเสียจากเดิม 30.5 มม. กลายเป็น 33 ม. อีกทั้งพอร์ทไอดียกขึ้นใหม่จาก 41 มม. เหลือ 40 มม.
ในส่วนของ ลูกสูบ ทางบริษัทได้มีการปรับปรุงให้มีความหนาของลูกสูบมากกว่าเดิมที่ 1 มม. และชายลูกสูบมียาวกว่าเดิม อีกทั้งยังได้เจาะรูน้ำมันหล่อลื่นไว้ถึง 2 รู ในตำแหน่งทางด้านท่อไอเสีย เพื่อระบบหล่อลื่นจะทำให้ได้อย่างทั่วถึง รองรับการใช้งานในรอบเครื่องสูง
แผ่นรีดวาล์วยังคงใช้ลักษณะหน้าตาเหมือนเดิม เพียงแต่ได้ลดความหนาของแผ่นรีดวาล์วลงเหลือความหนาอยู่ที่ 0.17 มม.
ฝาสูบมีการเจาะรูระบายความร้อนให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับแรงม้าและรอบเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีการลดความจุของฝาสูบลงอีก 1 cc
ระบบคลัทซ์ ทางบริษัทได้นำชุดอัตโนมัติออกไป เหลือไว้เพียงแค่คลัทซ์ระบบตรง นอกจากนี้ยังช่วยลดน้ำหนักของเครื่องยนต์ให้เบาลงกว่าเดิม นอกจากนี้เกียร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดยได้เพิ่มเกียร์ให้มากขึ้นกว่าเดิมอีก 1 สปีด ซึ่งเท่ากับว่าจากเดิมที่มีอยู่ 4 เกียร์ ก็ได้กลายเป็น 5 เกียร์แทน
อัตราทดเกียร์
เกียร์ 1 ( 37/13 = 3.08 )
เกียร์ 2 ( 32/17 = 1.88 )
เกียร์ 3 ( 28/20 = 1.40 )
เกียร์ 4 ( 26/24 = 1.13 )
เกียร์ 5 ( 24/25 = 0.96 )
คาร์บูเรเตอร์ยังคงใช้เหมือนเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงนมหนูเดินเบาใหม่ อีกทั้งลูกเร่งกับเข็มเร่งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่เรียวมากกว่าเดิม
ไม่รอให้คู่แข่งตามทัน
สิ่งที่จะกล่าวถึงคือความเขี้ยวของทาง Honda เนื่อจากไม่รอให้คู่แข่งรายอื่นๆ ได้หายใจเลย โดยหลังจากที่ส่ง Nova S มาในปี 2530 ก็ใช้ระยะเวลาเพียง 2 ปีที่จะส่งรถในรหัสใหม่เข้ามาเสริมทัพต่อ
สปอร์ตกึ่งครอบครัว ด้วยคำนิยามนี้ชวนให้คิดถึงรถที่มีความเร็วแบบสปอร์ต ซึ่งในปี 2532 ทุกค่ายล้วนมีเครื่องยนต์ที่ขนาดเท่าๆ กัน และมีจำนวนเกียร์ 4 เกียร์เท่ากัน จนกระทั่งมี Nova Rs เข้ามาทำตลาด
Nova RS คือรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวรุ่นแรกในไทยที่มีจำนวนเกียร์อยู่ที่ 5 เกียร์ ซึ่งมากกว่าใครเพื่อนในช่วงเวลานั้น
นอกจากนี้ลักษณะการวางเครื่องยนต์แบบ 40 องศา ก็ยังถือเป็นเอกลักษณ์ของทาง Honda อีกด้วย เนื่องจากคู่แข่งค่ายอื่นๆ ยังลงเลือกวางเครื่องยนต์ในแนวนอน
สุดท้ายนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในช่วงปีพ.ศ. 2532-2533 โดยประมาณ Nova Rs คือรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวที่เร็วที่สุดในเวลานั้
ที่มาของรูปภาพและข้อมูล
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
Honda Nova RS (2533) เผ็ดแรง...แกร่งอย่างชาย