Suzuki Akira 110 (2533) สวยเข้ม...เต็มสูตร



Suzuki Akira 110

       รถจักรยานยนต์สปอร์ตกึ่งครอบครัวเจนเนอเรชั่นที่ 2 จากทางค่าย Suzuki ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนธันวาคม ปี 2533 โดยเป็นการเปิดตัวต่อหน้าสื่อมวลชนเพียงเท่านั้น

       การเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนจากเจนเนอเรชั่นที่ 1 สู่เจนเนอเรชั่น 2 ซึ่งไม่เหลือเค้าโครงใดๆ ไว้ให้ดูต่างหน้าเลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้หลังจากทาง Suzuki ได้ปล่อย Sprinter 110 รุ่นสุดท้ายไปในปี 2531 โดยถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดรถในรหัส Sprinter อย่างเป็นทางการ

       หลังการหายไปในท้องตลาดประมาณ 2 ปีของทาง Suzuki ได้กลับมาพร้อมกับรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวในรหัส Akira ซึ่งเป็นการเปิดตัว Akira ทั้งสามรุ่นได้แก่

• Akira Ru (ราคาเปิดตัว 37,000 บาท)
• Akira M (ราคาเปิดตัว 38,000 บาท)
• Akira RR (ราคาเปิดตัว 41,000 บาท)



       Akira Ru : มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยระบบเจ็ทคูล มีความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 110 cc มีระยะชักที่ 54×48 มม. สามารถทำแรงม้าสูงสุดที่ 14.9 แรงม้าที่รอบเครื่อง 8,000 รอบ/นาที และทำแรงบิดสูงสุดที่ 1.43 กก.ม ที่รอบเครื่อง 7,000 รอบ/นาที



       Akira M : มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยระบบเจ็ทคูล มีความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 110 cc มีระยะชักที่ 54×48 มม. สามารถทำแรงม้าสูงสุดที่ 17.5 แรงม้าที่รอบเครื่อง 8,000 รอบ/นาที และทำแรงบิดสูงสุดที่ 1.521 กก.ม ที่รอบเครื่อง 7,000 รอบ/นาที



       Akira RR : มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยระบบเจ็ทคูล มีความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 110 cc มีระยะชักที่ 54×48 มม. สามารถทำแรงม้าสูงสุดที่ 17.5 แรงม้าที่รอบเครื่อง 8,500 รอบ/นาที และทำแรงบิดสูงสุดที่ 1.521 กก.ม ที่รอบเครื่อง 8,000 รอบ/นาที


      สิ่งที่สามารถเห็นได้ชัดจากเครื่องยนต์ทั้งสามรุ่น ที่มีความแตกต่างกันตรง "แรงม้า/รอบเครื่อง" และ "แรงบิด/รอบเครื่อง"
      ในส่วนของระบบคลัชและเกียร์ก็เป็นอีกระบบที่มีความแตกต่างกันทั้งสามรุ่นเช่นกัน

• Akira Ru คลัชอัตโนมัติ P.E.C.S / 5 เกียร์
• Akira M คลัชแบบเปียกหลายแผ่นซ้อนกัน / 5 เกียร์
• Akira RR คลัชแบบเปียกหลายแผ่นซ้อนกัน / 6 เกียร์

       หากเทียบข้อมูลของ Akira ทั้งสามรุ่น จะพบว่ารุ่น RR เป็นรุ่นที่แรงสุด ตามด้วยรุ่น M และตามมาท้ายสุดคือรุ่น Ru ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าทาง Suzuki ต้องการทำรถออกมาตอบโจทย์ผู้ใช้งานหลายๆ กลุ่ม ซึ่งรุ่น Ru เป็นรุ่นที่ขับง่ายที่สุด เนื่องจากเป็นคลัชอัตโนมัติ แต่ในส่วนรุ่น M และ RR มีความยุ่งยากจากระบบคลัชเข้ามาเกี่ยวข้อง

       ทั้งนี้ทาง Suzuki ได้ยกเลิกการทำเครื่องสูบนอนที่อยู่ในรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวเจนเนอเรชั่น 1 และได้เปลี่ยนมาทำเครื่องแบบสูบเอียงแทน

       เมื่อพูดถึงการวางเครื่องแบบเอียงในรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวนั้น ต้นตำหรับเจ้าแรกในไทยก็คือทาง Honda Nova S โดยองศาการวางเครื่องอยู่ที่ 40 องศา ทั้งนี้ในตอนที่ Suzuki ได้ส่ง Sprinter 110 เข้ามาต่อกรกับทาง Nova ซึ่งในใบโบรชัวร์ของทาง Sprinte ยังได้พูดถึงข้อเสียของการวางเครื่องแบบเอียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระบายความร้อนไม่ทั่วถึง รวมไปถึงการตั้งระยะห่างระหว่างลูกสูบและเสื้อสูบมากกว่าปกติ จะผลเสียที่ตามมาคือเสียงดังและแหวนหลวมง่าย



กลืนน้ําลาย..ดังเอื้อกสำหรับทาง Suzuki

       หลังจากได้กล่าวหาถึงข้อเสียของการวางเครื่องยนต์แบบเอียงไปในปี 2531 แต่พอในปี 2533 ดันส่งเจ้า Akira ที่วางเครื่องเอียงมาทำตลาด ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกับทาง Honda ที่วางเครื่องยนต์เอียง 40 องศานั้น โดยทาง Suzuki จึงวางเครื่องยนต์เอียง 39 องศาแทน

       สำหรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบโช๊คหลัง ที่ได้เปลี่ยนจากโช๊คคู่เป็นโช๊คเดี่ยวที่มีชื่อว่า S. Hypershock ซึ่งถือได้ว่า Akira กลายเป็นรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวรุ่นแรกในไทยที่ทำโช๊คหลังแบบเดี่ยว

       นอกเหนือสิ่งอื่นใด ระบบดิกส์เบรกหน้าได้ถูกใส่มาให้กับทาง Akira ทั้งสามรุ่น เพียงแต่ว่าในส่วนของเบรกหลัง ระบบดิกส์จะมีอยู่แค่ในรุ่น RR เพียงเท่านั้น ส่วนรุ่นอื่นยังคงเป็นดรัมเหมือนเดิม

       นี้คือเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวเจนเนอเรชั่น 1 สู่เจนเนอเรชั่น 2 ซึ่งต้องยอมรับว่าสปอร์ตกึ่งครอบครัวรุ่น Akira ของทาง Suzuki สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับได้บริษัทได้อย่างไม่ผิดหวัง

       สุดท้ายนี้ถือได้ว่าทาง Suzuki ได้ทำการท้าชนทาง Honda อย่างเต็มตัวในตลาดสปอร์ตกึ่งครอบครัว หลังจากที่ปล่อยให้ทาง Honda ตีกินรถประเภทนี้ในตลาดนี้มาสักใหญ่ๆ

โฆษณา Akira


#ซูซูกิอากีร่า


ที่มาของรูปภาพ
.
.
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่