🌹มาลาริน/ดิฉันคิดว่าหลังจากอภิปรายนโยบายรัฐบาลเสร็จ ฝ่ายแค้นคงต้องเก็บฉาก !! เพราะน้ำท่วมสภา!!

ฮียกวง'โชว์เหนือ!หากฝ่ายค้านไม่เข้าใจสามารถสอบถามได้รัฐมนตรี


23 ก.ค.62-  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความกังวลที่ฝ่ายค้านเตรียมข้อมูลมาอภิปรายรัฐมนตรีในช่วงแถลงนโยบายรัฐบาลว่า การแถลงนโยบายของรัฐบาลเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วของการบริหารงานในระบอบประชาธิปไตย เพื่อบอกว่าจะทำอะไรในอนาคต ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ประเทศจะเติบโตยั่งยืนหรือไม่ ฉะนั้นตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี

"หากไม่เข้าใจสามารถสอบถามได้ หรือมีอะไรแนะนำก็แนะนำได้ ประเทศชาติจึงจะเดินไปข้างหน้าได้ อย่าไปมองว่าเป็นการที่จะต้องมาอย่างนั้นอย่างนี้ รัฐมนตรีแต่ละท่านเตรียมตัวที่จะตอบในสิ่งที่เกี่ยวข้องและคิดจะทำ"นายสมคิดกล่าว

https://www.thaipost.net/main/detail/41688


https://www.matichon.co.th/politics/news_1593583

ถกพรุ่งนี้ ฝ่ายค้านจัดทีมอภิปรายนโยบายรัฐบาล-คุณสมบัตินายกฯ


ฝ่ายค้านนัดหารืออีกครั้งพรุ่งนี้ (23 ก.ค.) อภิปรายนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งไปที่คุณสมบัติของ นายกรัฐมนตรี แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไปแล้ว

วันนี้ (22 ก.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อตกลงร่วมกับวิปรัฐบาลที่ให้เวลาฝ่ายค้านอภิปรายนโยบายรัฐบาล รวม 13 ชั่วโมง 30 นาที จาก 2 วัน ทำให้พรรคเพื่อไทยต้องหารือเพื่อจัดสรรเวลาใหม่

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม และคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการอภิปรายการแถลงของนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาฯ ในวันที่ 25-26 ก.ค.นี้ ว่า การลดวันการอภิปรายจาก 3 วัน เหลือ 2 วัน ทำให้การทำงานลำบากมากขึ้น เพราะมี ส.ส.ที่แสดงความจำนงอภิปรายจำนวนมาก ดังนั้นจะต้องมีการบริหารให้สามารถอภิปรายได้ครบภายในวัน และเวลาที่จำกัด ขณะนี้พรรคได้เตรียมซักซ้อมในเรื่องความพร้อมแล้ว

นายสุทิน กล่าวยอมรับในกฎและกติกาที่กำหนดไว้ เนื่องจากวันที่ 27 ก.ค.นี้ เป็นช่วงของการเตรียมงานวันสำคัญของประเทศ ซึ่งการประชุมพรรควันนี้ จะคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อทำหน้าที่อภิปราย พร้อมคัดบุคคลที่จะอภิปรายประเด็นซ้ำกันออก
มีรายงานว่าที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เบื้องต้นจะมีผู้อภิปรายทั้งหมด 30 คน จากเดิมวางเอาไว้ 50 คน ใช้เวลา 7 ชั่วโมง ที่เหลือจะเป็นเวลาของพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคจะอภิปรายนโยบายภาพรวมทั้งหมดของรัฐบาลโดยไม่จำกัดเวลา
นอกจากนี้ยังเตรียมข้อมูลเพื่ออภิปรายในเรื่องคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่จะไม่อภิปรายในลักษณะเป็นการชี้นำหรือก้าวล่วงการทำงานของศาล ซึ่งผู้อภิปรายจะเป็น ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย ขณะที่รัฐมนตรีคนอื่น ๆ จะกระจายไปยังพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งหมดจะใช้เวลา 13 ชั่วโมง 30 นาที

ทั้งนี้ มติที่ประชุมของพรรควันนี้จะต้องนำไปหารือร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 6 พรรค ในวันพรุ่งนี้ (23 ก.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย เพื่อขอความเห็นชอบและจัดสรรเวลาทั้งหมดอีกครั้งในเวลา 10.00 น.

https://news.thaipbs.or.th/content/281918

ชลน่าน ศรีแก้ว” เปิดใจกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ถึงความพร้อมก่อนอภิปรายคุณสมบัติรัฐมนตรี ในวันแถลงนโยบายรัฐบาล 7 พรรคผนึกกำลังกว่า 50 คนจัดเต็มที่ ส่วนตัวจองแล้ว ซักฟอก “ประยุทธ์-อุตตม”


วันนี้ (22 ก.ค. 62) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ส.ส.จังหวัดน่าน เขต 2 ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ถึงความพร้อมอภิปรายคุณสมบัติรัฐมนตรี ในวันที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 25-26 ก.ค.นี้ ว่า พยายามพร้อมเต็มที่ถึงแม้ว่า คำแถลงนโยบายเพิ่งได้รับทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เมื่อวานนี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกเลยเหมือนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เขียนกว้างๆ เช่น ปราบยาเสพติดแต่ไม่มีรายละเอียดเหมือนนโยบายสมัยเลือกตั้งที่ผ่านมาที่ต้องนำนโยบายที่ไปสัญญากับประชาชนไว้มาทำเป็นนโยบายรัฐบาลคืนกลับสู่ประชาชน แต่คำแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดไม่มี เช่นเดียวกับกัญชาเสรีและการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังนั้นฝ่ายค้านต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่มีเป็นตัวตั้งในการอภิปราย

ซึ่งหลักการสำคัญ เราอภิปรายแสดงความคิดความเห็นนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา ไม่มีการลงมติใดๆ รัฐสภาจะให้ความเห็น ครม.จะรับไปทำอย่างไรก็ไม่ได้มีข้อผูกมัด แต่เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่ารัฐบาลจะทำอะไรให้บ้าง ย้ำไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นการอภิปรายคุณสมบัติความรู้ความสามารถของรัฐมนตรีจะมีขอบเขต เพราะการจะทำให้นโยบายสำเร็จขึ้นอยู่กับผู้กำหนดและผู้กำกับดูแลนั่นคือตัวรัฐมนตรี


วางตัวคิวอภิปราย


นพ.ชลน่าน บอกว่า สมาชิกพรรคฝ่ายค้านจะอภิปรายคุณสมบัติรัฐมนตรีเป็นกลุ่มๆ แบ่งเป็น 6 กลุ่มแต่ละกลุ่มก็จะไปจัดคนกัน พรรคเพื่อไทยก็ไม่ก้าวล่วงพรรคอื่นๆว่าใครจะต้องอภิปรายใคร ซึ่ง 6 กลุ่ม ได้แก่


1.การเมือง กฎหมาย หลักธรรมาภิบาล การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2.เศรษฐกิจ
3.ความมั่นคง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
4.สังคม การสาธารณสุข ยาเสพติด
5.การศึกษา
6. กระจายอำนาจ


“สมมุติกลุ่มเศรษฐกิจพูดขึ้นมาเขาจะยก อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นการอภิปรายให้เหตุผลว่า อุตตมไม่มีความรู้ความสามารถไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะมาเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบาย หรือผู้กำกับนโยบายให้ประสบผลสำเร็จได้ เขาไม่มีความเชื่อมั่น เช่นคุณสมบัติต่างๆ ที่ปรากฎตามชื่อสื่อ… แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปบอกว่า อุตตมผิดอย่างโน้นอย่างนี้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เองก็เหมือนกัน ตอนนี้ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยเรื่องลักษณะต้องห้ามความเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หยิบขึ้นมาอภิปรายได้ในกรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยของศาล เช่น ลักษณะต้องห้ามของพลเอกประยุทธ์ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นไปตามคำร้อง พลเอกประยุทธ์ก็สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีจากมาตรา 170 ทันที เมื่อพลเอกประยุทธ์สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีความเป็นนายกรัฐมนตรีก็สิ้นสุดด้วย สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือนโยบายที่แถลงเอาไปปฏิบัติไม่ได้เลย สมาชิกเขาก็ต้องวางข้อห่วงใยไว้ เขาอาจจะตอบว่าไม่เป็นไรเลือกนายกฯ ใหม่ก็ไม่ว่ากัน แต่เราจะชี้ว่าทำไมไม่รอบคอบทำให้บ้านเมืองเสียเวลาเสียงประโยชน์ทำไม” นายแพทย์ชลน่าน กล่าว


นพ.ชลน่าน ยอมรับว่า พลเอกประยุทธ์ พลเอกประวิตร วงษ์สวุรรณ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นหลุมดำของรัฐบาลที่ฝ่ายค้านมองว่าคุณสมบัติไม่ได้เลยประชาชนจะหวังอะไร ต่างชาติจะเชื่อมั่นได้อย่างไร และจะชี้ให้เห็นถึงการเขียนนโยบายที่เขียนเป็นร้อยแก้วนั้นเงินจะนำมาจากไหน หากบอกว่าจากงบประมาณ แต่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น นโยบายมารดาประชารัฐจะใช้เงินต่อคนต่อปีเท่าไหร่ จะปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เอาเงินมาจากไหน ที่มาของรายได้ที่เอาใช้ถ้าไม่แจง ถือว่าเจตนาทำขัดรัฐธรรมนูญ


14 รัฐมนตรีที่เป็นเป้าหมายในการอภิปรายครั้งนี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี


https://workpointnews.com/2019/07/22/chonlanan-debate/



ดูแล้วฝ่ายรัฐบาลเตรียมรับมือได้ดี

เห็นการแถลงของฝ่ายแค้นแล้ว    น้ำคงท่วมสภาทางฝ่ายแค้นแน่นอนค่ะ  

น้ำบ่อน้อยนะคะ.........นานาอุ๊ต๊ะเพี้ยนหัวเราะ

อภิปรายเสร็จเก็บฉากทันที  หนีน้ำไงคะ.........อมยิ้ม16อมยิ้ม15
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่