ชนเผ่าต่างๆที่น่าสนใจ

By admin


ชนเผ่า Vadoma (นกกระจอกเทศ)



รายละเอียดของชนเผ่านี้ยังมีไม่มากนักเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีอยู่ค่อนข้างน้อย  แต่เป็นชนเผ่าที่มีลักษณะแปลกประหลาด ซึ่งไม่ได้การทำพิธีใดๆทั้งสิ้น แต่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกได้ว่าเป็นการกลายพันธ์นั่นเอง



ลักษณะรายละเอียดของเผ่านกกระจอกเทศ


 ลักษณะรายละเอียดของเผ่านกกระจอกเทศ จะมีลักษณะความผิดปกติที่เท้า คือ เท้าทั้ง 2 ข้างจะมีนิ้วเพียงแค่ 2 นิ้วเท่านั้น คือ นิ้วโป้ง และ นิ้วก้อย ทั้งยังออกไปในทิศทางที่ตรงข้ามกัน คล้ายกับเท้าของนกกระจอกเทศ เป็นชนเผ่า Vadoma อยู่ในทางตะวันตกของประเทศซิมบับเว จากการตรวจสอบของนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่าเป็นความผิดปกติของโคโมโซมหมายเลข 7

ชนเผ่า Pygmies (ปิ๊กมี่)

ชนเผ่าโบราณอาศัยอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร แถบประเทศคองโก ลักษณะที่โดดเด่นมากที่สุดของชนเผ่านี้ คือ เตี้ย สูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 120 ซม. หนักไม่เกิน 50 กก. หัวโต ขาสั้น ผอมแต่มีพุง อายุไม่ยืนยาวนักอยู่ที่ 30 -40 ปี มีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน นับเลขไม่ได้ มีลูกตั้งแต่อายุ 8 ปี เพราะถือว่าโตเต็มที่แล้ว ชนเผ่า ปิ๊กมี่ เป็นกลุ่มชนเผ่าที่โดนดูถูกเหยียดหยามมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะ บนทวีปแอฟริกาหากต้องที่จะด่าใครว่าโง่ จะเรียกว่า ปิ๊กมี่ เพราะเป็นคนป่าที่ไม่รู้หนังสือเลย และ ไม่เรียนรู้ด้วย เรียกได้ว่า เป็นชนเผ่าที่อายุสั้นและมีลูกเร็วที่สุดในโลก

ชนเผ่า Dinka

ชนเผาดินคานั้นมีประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดาเอาสะเลย เพราะพวกเขานั้นได้หลงใหลในความรักสวยรักงามมาตั้งแต่สมัยโบราณ พวกเขาหลงใหลในเครื่องประดับสีสันต่างๆ ซึ่งชนเผาดินคานั้นพวกเขาจะเน้นการทำประมงหรือเลี้ยงสัตว์นั้นเอง เพราะพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และสามารถหาอาหารได้ด้วยตนเอง และการเลี้ยงลูกของพวกเขานั้นนิยมเลี้ยงลูกแบบให้เรียนรู้การเอาตัวรอดด้วยตนเอง

โดยชนเผ่าดินคานี้จะไม่ชอบใส่เสื้อผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แต่จะนิยมนำเครื่องประดับใส่ตัวแทนการใส่เสื้อผ้า เพราะพวกเขาชอบเครื่องประดับมากกว่าเสื้อผ้า เพราะผู้ชายจะเปลือยกายโดยที่หาเครื่องประดับมาใส่ไว้เท่านั้นและผู้หญิงก็เช่นกัน โดยที่จะไม่นิยมใส่เสื้อผ้านั้นเอง ซึ่งชนเผ่าดินคานี้ชอบเลี้ยงสัตว์อย่างมาก พวกเขาจะอาบน้ำให้สัตว์ และเล่นกับสัตว์ทุกชนิดที่เล่นได้

ชนเผ่าคาดินเป็นชนเผ่าที่นิสัยดี ไม่ทำร้ายผู้ใดนอกจากจะมีสงครามนั้นเอง ซึ่งชนเผ่าในสมัยก่อนจะไม่นิยมใส่เสื้อผ้าแต่ในยุคหลังๆนั้น เขาได้มีการพัฒนาขึ้นแล้วจากเดิม โดยที่ยุคหลังจะนิยมหาเสื้อผ้ามาใส่กันแต่ก็ยังนิยมเครื่องประดับเหมือนเดิม

ซึ่งชนเผาดินคานี้ในสมัยก่อนได้เกิดสงครามระหว่างชนเผ่ามายาวนาน และพอสงครามสิ้นสุดลงก็ได้มีความสูญเสียที่น่าเสียใจอย่างมาก เพราะชนเผ่าในสมัยก่อนนั้นต้องสร้าง อานาเขตของตัวเอง และมีเขตหวงห้ามที่ไม่ให้ใครเข้าไป เพราะถือว่าล้ำเขตกันนั้นเอง และการหาอาหารของชนเผาแต่ละชนเผ่านั้นแตกต่างออกไป บางชนเผ่าจะทานพวกของแปลกอย่างเช่นหนังคนหรือพวกสัตว์ที่ไม่มีใครทานกัน

เพราะในสมัยก่อนนั้นจะมีชนเผาที่กินคนอยู่นั้นเอง พวกเขาจะนิยมทานชนเผ่าอื่น หรือนำคนไปเป็นเครื่องสังเวยหรือบูชายันนั้นเอง ซึ่งจะมีพิธีบูชายันอยู่ตลอดสำหรับชนเผาที่ดุร้าย แต่สำหรับชนเผาทั่วไปแล้วไม่ค่อยนิยมทานกันเอง เพราะเขาถือว่าเป็นคนเหมือนกัน ซึ่งจะหันไปทานสัตว์แทนนั้นเองหรือผลไม้ในป่าแทน เพราะการล่าสัตว์นั้นถือว่าเป็นวิถีชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

โดยที่จะไปล้ำเขตคนอื่นเพราะจะมีการแบ่งเขตกันไว้ซึ่งห้ามข้ามเขตไปยังเขตคนอื่น และต้องรักษากฎระเบียบให้ดีถือว่าเป็นวินัยอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิต ซึ่งการใช้ชีวิตของชนเผานั้นก็จะต่างกันออกไปเพราะชนเผาดินคาจะสนใจเรื่องการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมากนั้นเอง และการทำเครื่องประดับต่างๆเพื่อมาส่วมใสให้สวยงาม

ชนเผ่า Samburu

ชนเผ่าซัมบูรูนั้น เป็นชนเผ่าที่มีประวัติไม่ค่อยมากสักเท่าไหร่ เพราะเป็นชนเผ่าที่หลบซ่อนคนโดยที่เข้าไปอยู่ในป่าของเคนยา ที่มีความลึกและไม่มีใครกล้าเข้าไปนั้นเอง และชนเผ่านี้ก็ได้ล่าสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร และนำพวกหนังของสัตว์มาทำเป็นเครื่องประดับนั้นเอง ซึ่งชนเผ่าซัมบูรูนี้ได้รักความสวยความงามอย่างมาก เพราะผู้หญิงจะนิยมนำหนังสัตว์หรือส่วนหางของสัตว์มาทำเป็นเครื่องประดับ ให้ตัวเองสวมใส่อย่างสวยงาม

โดยชนเผ่าซัมบูรูได้มีวัฒนธรรมของเขาอยู่แล้ว ซึ่งการแต่งหน้าหรือแต่งตัวนั้นตามชนเผ่าต่างๆจะแตกต่างกันออกไป แต่ซัมบูรูก็เหมือนกับพวกชนเผ่ามาไก เพราะมีวิธีชีวิตที่เหมือนๆกัน และในสมัยปัจจุบันนี้ป่าเคนยานั้นได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้ว โดยคนจำชนเผ่าซัมบูรูจะเป็นคนพาเที่ยวนั้นเอง ซึ่งถือว่าชนเผ่าของพวกเขานั้นยังได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปนั้นเอง

โดยที่ชนเผ่าซัมบูรูก็ได้เรียนรู้วัฒนะธรรมของพวกเราเข้าไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากในการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และพวกเราก็สามารถรู้เรื่องราวในอดีตของพวกเขาได้นั้นเอง เพราะเรื่องราวของชนเผ่านั้นไม่ใช่เรื่องที่จะรับรู้กันได้ง่ายๆ ซึ่งเขาก็จะเล่าถึงเรื่องราวในสมัยก่อนว่าชนเผ่าของเขานั้น ในสมัยก่อนใช้ชีวิตกันอย่างไร และหาอาหารแบบไหน ซึ่งความสามารถในการทำเครื่องประดับต่างๆมาจากไหนนั้นเอง

ซึ่งชนเผ่าซัมบูรูได้มีต้นกำเนิดมานานหลายร้อยปี และได้มีลูกหลานต่อๆกันมาเรื่อยๆ โดยการสืบสานวัฒนะธรรมและความรู้ในการทำเครื่องประดับต่างๆนั้นเอง ซึ่งชนเผ่าซัมบูรูนี้ได้มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าเคนยาที่มีความกว้างและลึกของป่า และพวกเขาได้อาศัยอยู่ในบริเวณส่วนที่ลึกของป่านั้นเอง

โดยที่พวกเขานั้นต้องใช้ชีวิตอย่างอันตรายเพื่อเอาตัวรอดจากสัตว์ป่าที่ดุร้าย และต้องรู้จักวิธีการหาอาหารในแต่ละเมื้อด้วยตนเอง เพราะในป่าที่ลึกนั้นก็จะมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์อยู่นั้นเอง โดยเริ่มแรกพวกเขาก็ต้องทำอาวุธในการล่าเหยื่อก่อนนั้นเอง และเขาก็ได้เรียนรู้การเอาตัวรอดและวิธีการล่าเหยื่อด้วยตนเองมาตลอด เลยได้มีการถ่ายทอดให้กับลูกหลานต่อๆกันมา ซึ่งถือว่าในสมัยโบราณนั้นพวกเขาไม่ได้มีความรู้อะไรเลย แต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆของตัวเองทำเครื่องประดับขึ้นมาในแต่ละชิ้นเท่านั้นเอง โดยถือว่าเป็นความคิดที่มีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันเพราะพวกเขาสร้างรายได้ด้วยเครื่องประดับของตนเอง

ชนเผ่า Maasai (มาไซ)

ชนเผ่าหนึ่งในแอฟริกาที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดีเนื่องจากพบเห็นภายในหนังภาพยนตร์ต่างๆ  หรือสารคดีที่เข้ามาถ่ายทำภายใน ทวีปแอฟริกา ชนเผ่ามาไซนั้นจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นิโลต อยู่กระจัดกระจายในแทนซาเนีย ซูดาน ยูกันดา และ เคนยา ส่วนภาษาที่ใช้คือภาษา  มา  จากการตรวจเช็คสถิติประชากรของเผ่ามาไซล่าสุดมีอยู่ประมาณ 900,00 คนโดยอยู่ทางตอนใต้ 450,000 คน แทนซาเนีย 400,000 คน ที่เหลือจะกระจายอยู่บริเวณรอบๆ ชนเผ่ามาไซนั้นมีกลุ่มแยกย่อยด้วย

เลี้ยงสัตว์เร่รอน ชาวมาไซ เป็นชนเผ่าที่กินแต่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นหลัก  จึงมักเลี้ยง วัว แพะ แกะ วัดความรวยจากจำนวนวัวที่ครอบครอง บทสวดของชาวมาไซ กล่าวว่า ขอให้พระผู้สร้างจงได้ประทานวัวและบุตรแก่ปวงข้า ชาวมาไซนับถือพระเจ้าองค์เดียว เรียกว่า เองไก และมีการทำพิธีกรรม โดยแบ่งตามช่วงอายุ 4 ลำดับ

1.เอนกิปาตะ  เด็กผู้ชายอายุ 14 – 16ต้องเดินทางในดินแดนของเผ่าตนเพื่อแนะนำตนเองเป็นเวลา 4 เดือน
2 เอมูราตาเร่ เป็นพิธีในการเป็นนักรบของชนเผ่า ต้องเข้าค่ายอบรม เป็นเวลาประมาณ 8 -12 ปี
3 อิวโนโต ผู้ผ่านพิธีกรรมนี้ถึงจะแต่งงานได้
4 ออร์นเกเชร์ พิธีก้าวขึ้นเป็นผู้อาวุโส

ชนเผ่า Maya ผู้รุ่งเรืองในอดีต

อารยธรรมมายาถือเป็นชนเผ่าโบราณที่มีวัฒนธรรมที่ซับซ้อน มีวิทยาการสุดรุ่งเรืองในอดีตไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการเขียน ศิลปะ สถาปัตยกรรม คณิตศาสตร์ ปฏิทิน และดาราศาสตร์ อารยธรรมมายาแพร่ขยายมาในพื้นที่ครอบคลุมเม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยที่ราบลุ่มทางตอนเหนือที่ครอบคลุมคาบสมุทรยูคาตัง และที่ราบสูงของเซียร์รามาเดรยาวมาจนถึงรัฐเชียปัสของเม็กซิโก นับตั้งแต่สมัยโบราณเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้เริ่มมีการพัฒนาด้านการเกษตรอย่างมาก มีหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดในช่วงยุค 2000 ถึง 250 ปีคริสต์ศักราชที่เริ่มเห็นการสร้างสังคมที่มีความซับซ้อนแห่งแรกในพื้นที่ของชาวมายา พื้นทีทางการเกษตรส่วนใหญ่นิยมเพาะปลูกพืชจำพวก ข้าวโพด ถั่ว น้ำเต้า พริก


ชาวมายาเริ่มรวมตัวกันเป็นชนกลุ่มใหญ่ด้วยทรัพยากรที่มีมากมายนั้น ทำให้พวกเขาตั้งเมืองหลวงขึ้นเป็นแห่งแรกในช่วงปี 750 ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 150 ปี เมืองของพวกเขาก็เต็มไปสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่สวยงาม และเริ่มมีการใช้อักษรอียิปต์โบราณในวัฒนธรรมของชาวมายาในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช เมืองที่รุ่งเรืองในยุคก่อนส่วนใหญ่จะพัฒนาในช่วงยุคปลายที่เรียกว่า “Late Preclassic” หนึ่งในนั้นก็คือเมือง “Kaminalijuyu”


สมัยก่อนว่าอารยธรรมทั้งหลายต่างทำการรบกันอย่างดุเดือดไม่เว้นแต่ชาวมายา พวกเขาออกรบด้วยหลายสาเหตุส่วนใหญ่ก็เพื่อควบคุมเส้นทางการค้าและเครื่องบรรณาการบุกเข้าเมืองเพื่อจับเชลย จนถึงขนาดทำลายล้างเมืองของศัตรู ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับทางทหารของมายาได้อย่างถูกต้อง เรารู้เรื่องราวของเขาผ่านการบันทึกในอักษรอียิปต์โบราณ

                                                                                  เครดิตภาพThe ATLATL

อาวุธประจำตัวของทหารมายาส่วนใหญ่เรียกว่า “Atlatl” เป็นหอกที่ใชสำหรับขว้างใส่ศัตรู มันมีความยาว 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) ด้ามทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีปลายบากเพื่อเสียบลูกดอก เมื่ออยู่ในสนามรบทหารจะใช้แทงศัตรูในระยะประชิด และขว้างใส่ในระยะไกลด้วยแรงจากแขนเพียงข้างเดียว มีหลักฐานยืนยันว่ามันถูกนำไปใช้จริงในยุคสงคราม “Blowgun” นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการออกล่าสัตว์อีกด้วยเช่นกัน เมื่อพูดถึงยุคนี้สิ่งที่คู่กันเลยก็คืออาวุธเป่าลูกดอกที่นิยมใช้ไม่แพ้กับหอก แต่ในสมัยก่อนมันไม่นิยมนำมาใช้ในสงครามจนกระทั่งเวลาผ่านไปรูปแบบของสงครามก็เริ่มพัฒนาขึ้น ทำให้ต้องใช้อาวุธที่หลากหลายมากขึ้นตามสถานการณ์นั่นเอง

ชนเผ่า Wodaabe


ชนเผ่า Wodaabe เป็นชนเผ่ากลุ่มเล็กๆ ชาติพันธุ์ลานิ สามารถพบเจอได้บริเวณภาคเหนือของไนจีเรีย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแคเมอรูน, ตะวันตกเฉียงใต้ของชาด และภาคตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง จำนวนประชากรของชนเผ่านี้นับล่าสุดเมื่อปี 2001 มีอยู่ราว 100,000 คน พวกเขาโด่งดังจากเรื่องของเครื่องแต่งกายอันสลับซับซ้อนบวกกับความวิจิตรงดงาม พร้อมพิธีกรรมที่มีความหลากหลายน่าสนใจ

ขอยกตัวอย่างให้ได้รู้จักกันมีชื่อว่า เทศกาลขโมยผู้หญิง หรือในภาษาชนเผ่าพวกเขาเรียกว่า เทศกาล Gerewol จะมีการเต้นรำของคนในชนเผ่าช่วงเวลากลางคืนหากมองเผินๆ มันไม่ได้เป็นเรื่องประหลาดใจ อะไรมากนักแต่ความน่าประหลาดใจคือผู้ชายของชนเผ่านี้สามารถขโมยผู้หญิงไปได้ ไม่ต้องสนใจว่าหญิงคนนั้นจะแต่งงานมีครอบครัวแล้วหรือยัง ทางเผ่าให้การยอมรับพร้อมยินยอมถือเป็นการแต่งงานอันถูกต้องตามกฎหมาย ยกเว้นบางพื้นที่ที่สามีปฏิเสธหรือกรณีสามีคนนั้นจับชายคนดังกล่าวที่พยายามขโมยภรรยาของเขาไป


สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และโมซัมบิก


สำหรับชนเผ่า Chewa และ Bantu ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร พวกเขามีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดกับผู้คนโดยรอบ ในอดีตพวกเขายังเคยมีส่วนร่วมในประเทศสาธารณรัฐคองโกด้วย ผู้คนทั่วไปที่ได้ยินและคุ้นเคยกับชื่อชนเผ่านี้จะรู้ดีว่าภายในมีสิ่งต่างๆ ที่เป็นความลับมากมาย รวมถึงยังมีสิ่งน่าสนใจเกี่ยวกับพวกเขาในเรื่องของการทำเกษตรอีกด้วย สำหรับชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจัดกระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และ โมซัมบิก การเกิดของหญิงสาวจะต่างกับชนเผ่าอื่นๆ เนื่องจากวัฒนธรรมการสืบสกุลและการมอบมรดกของพวกเขาจะเป็นจากแม่สู่ลูกสาว ส่งผลให้หญิงสาวในชนเผ่านี้จะมีบทบาทและอำนาจทางสังคมมากกว่าผู้ชาย มีตำแหน่งพิเศษประจำชนเผ่าที่หญิงสาวคนหนึ่งทำหน้าที่ในฐานะการเป็นศูนย์รวมของจิตวิญญาณ พร้อมท่าเต้นรำที่มีชื่อว่า Gule Wamkulu ประเพณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลางานศพกับงานแต่งงานของเผ่าเท่านั้น

พิธีกรรมสุดประหลาดของชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และโซซัมบิก อีกเรื่องหนึ่งคือเมื่อมีคนตายร่างกายของคนๆ นั้นจะถูกนำไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีการตัดลำคอของคนตายออกมา ตักน้ำเทลงไปในศพบีบผ่านกระเพาะอาหารจนกลายเป็นน้ำสะอาด แต่สิ่งที่ชวนตกใจบวกขนลุกสุดๆ คือ ผู้คนในชนเผ่าจะเอาน้ำที่ได้ไปประกอบอาหารทานกันเพื่อให้คนทั้งหมดในเผ่าได้ทาน

ดังที่บอกว่าหัวหน้าชนเผ่าของชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจัดกระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และโมซัมบิกจะต้องเป็นผู้หญิง ดังนั้นเมื่อผู้ชายทำอะไรก็ตามจะถูกผู้หญิงเป็นคนตัดสินทั้งหมด ไม่ใช่แค่เรื่องการใช้ชีวิตเท่านั้น สมมุติว่าผู้ชายที่อยู่ในครอบครัวขายพืชผักได้ก็ต้องนำเงินมาไว้กับฝ่ายหญิงทั้งหมด นี่คือความเชื่อของพวกเขาที่ยังคงสืบต่อกันมาเรื่อยๆ สำหรับการใช้ชีวิตในชนเผ่าที่ผู้ชายมีอำนาจต่างๆ น้อยกว่าผู้หญิงทุกคนและต้องทำตามห้ามขัดขืนหรือมีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น



ชนเผ่า Himba ทางตอนเหนือของนามิเบีย


ชนเผ่า Himba เป็นชนเผ่าเล็กๆ ที่อาศัยทางตอนเหนือของประเทศนามิเบีย มีประชากรราว 30,000 – 50,000 คน จากประชากรทั้งหมด 2.6 ล้านคนในประเทศแห่งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ที่พวกเขาอาศัยอยู่จะเป็นทะเลทรายนั่นทำให้ชนเผ่า Himba ได้ชื่อว่าเป็นชนเผ่ากึ่งเร่ร่อน การอพยพของพวกเขาจะขึ้นอยู่กับฤดูกาลและเรื่องของน้ำเป็นหลัก ที่อยู่อาศัยของชนเผ่านี้จะปลูกเป็นกระท่อมขนาดเล็กเรียงกันในรูปครึ่งวงกลม มีบ้านหัวหน้าครอบครัวกับภรรยาคนแรกอยู่ตรงกลาง ภายในบ้านไม่ได้ใหญ่โตมากนักหากเทียบแล้วน่าจะแค่ประมาณเตียงควีนไซส์เท่านั้น พื้นบ้านถูกปูด้วยหนังวัว มีหมอนไม้ขนาดเล็กสูงกว่าคืบนิดหน่อยเป็นที่รองศีรษะตอนนอน มีเครื่องประดับบนศีรษะของหญิงสาว 4-5 อันถูกแขวนบนผนัง นอกนั้นภายในบ้านไม่มีอะไรเป็นเครื่องประดับ อาจด้วยความต้องย้ายพื้นที่กันบ่อยทำให้ไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้มากนัก

หน้าบ้านจะมีกองไฟกองเล็กๆ ควันลอยออกมาเล็กน้อยพอให้รู้ว่านี่คือกองไฟ ชนเผ่า Himba เชื่อว่าห้ามให้ไฟดับเด็ดขาดเพราะไฟนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของครอบครัว บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวห้ามเดินผ่านระหว่างกองไฟกับหน้ากระท่อมให้เดินอ้อมหลังกระท่อม ความน่าสนใจอีกอย่างของชนเผ่า Himba คือ ผู้หญิงจะไม่อาบน้ำเลยตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต การทำความสะอาดร่างกายของพวกเขาจะใช้สิ่งที่เรียกว่า อบควันหอมจากการเผาด้วยสมุนไพรแล้วค่อยๆ ยกถ้วยควันไล่อบไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใต้วงแขนสองข้าง หว่างขา แถมใช้เวลานานพอๆ กับสาวสวยอาบน้ำกันเลยทีเดียว

หญิงสาวทุกคนจะทาตัวด้วยดินแดงผสมไขมันสัตว์กับสมุนไพรหอมที่พวกเขาเรียกว่า อ็อตจีซ ตั้งแต่เส้นผมจรดเท้า คน Himba เป็นลูกหลานของเฮเรโรส่วนหนึ่งที่รอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก ของทหารเยอรมันเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ถือเป็นอีกชนเผ่าที่มีความน่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของตนเองตามแบบฉบับชนเผ่าแอฟริกา



ชนเผ่า Hamar ในเอธิโอเปีย


ชนเผ่า Hamar เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย ชีวิตของพวกเขาอาศัยอยู่บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำโอโม ถือว่าเป็นกลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนประชากรไม่น้อยเหมือนกันเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของชนเผ่าอื่น เมื่อปี 2007 มีการสำรวจสำมะโนประชากรของชาว Hamar ปรากฏว่ามีราว 46,532 คน ในจำนวนนี้ 957 คน เป็นชาวพื้นเมืองแท้ๆ ดั้งเดิม ส่วนที่เหลืออีก 99.13% อาศัยอยู่ใน SNNPR หรือ โซนพื้นที่ของ Southern Nations, Nationalities, and People Region ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่บริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ อ้างอิงจากการสำรวจประชากรชาวเอธิโอเปียเมื่อปี 1994 ปรากฏว่ามีคนพูดภาษา Hamar ได้มากถึง 42,838 คน โดยประชากร 42,448 คน เป็นชาว Hamar ส่วนอีก 1% เป็นชาวเอธิโอเปีย

ปัญหาที่ชาว Hamar กำลังเผชิญในเวลานี้คือเรื่องของการสร้างเขื่อนบริเวณแม่น้ำโอโม สถานที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปไกลจากแหล่งกำเนิดดั้งเดิม เขื่อนดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต้องการสนับสนุนพื้นที่การเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ การสร้างเขื่อนดังกล่าวได้ทำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศที่ชาว Hamar เคยอาศัยอยู่ เพราะชนเผ่านี้เป็นชนเผ่าที่ผูกพันกับสายน้ำอย่างมาก

พิธีกรรมน่าสนใจประเพณีหนึ่งของชาว Hamar มีชื่อว่า การเปลือยตัววิ่งข้ามวัว ถือเป็นวิธีการที่ชายหนุ่มทุกคนจะพิสูจน์ความเป็นชายให้สาวๆ ได้เห็น ก่อนการทำพิธีกรรมจะมีการแต่งหน้าแต่งตาให้ดูดี วิธีการชายหนุ่มจะวิ่งไปกระโดดเพื่อไต่ข้ามหลังวัวที่ยืนกันอยู่หลายตัว การขึ้นไปกระโดดนั้นจะไม่มีการใส่เครื่องนุ่งห่มใดๆ ทั้งสิ้น มีส่วนหนึ่งของพิธีที่สาวๆ จะเอาสีเหลืองแดงผสมกับไขมัน ชโลมไปจนทั่วเส้นผมกับเรือนร่างของเธอ มีการเต้นรำแล้วนำแส้มายื่นให้กับชายหนุ่ม เพื่อให้ฟาดร่างกายของเธอจนกลายเป็นแผล เชื่อว่าแผลเหล่านี้คือความสวยงาม พร้อมทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความภักดีต่อเพื่อนพี่น้องของพวกเขาอีกด้วย ถือว่าชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนเผ่า Hamar มีสิ่งน่าสนใจอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน เป็นอีกชนเผ่าที่น่าสนใจในทวีปแอฟริกา



ชนเผ่า San ทางตอนใต้ของแอฟริกา แองโกลา และนามีเบีย (ชนเผ่าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก)



นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ กำเนิดของมนุษย์นั่นทำให้เรารู้กันดีว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของมนุษย์ทุกคนมาจากทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตามมีการศึกษารายละเอียดให้ลึกซึ้งลงไปกว่านั้นปรากฏว่าชาว San ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของแอฟริกา แองโกลา และนามีเบีย คือกลุ่มมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก การศึกษาดังกล่าวใช้เวลาร่วม 10 ปี พร้อมการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากชาวแอฟริกันยุคปัจจุบัน 3,000 คน ประชากร 121 กลุ่ม พบว่า ชาวแอฟริกันมีการสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าโบราณถึง 14 กลุ่ม แถมยังมีความเป็นไปได้ว่าชาวแอฟริกัน 150 คน เดินทางออกนอกพื้นที่ทวีปแอฟริกาผ่านทะเลแดง

สำหรับชาว San ถือเป็นกลุ่มชนเผ่ากลุ่มแรกๆ ที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ มีพื้นที่อาศัยกว้างขางไล่ไปตั้งแต่ทางตอนใต้ของแอฟริกา แองโกลา และนามีเบีย ถือเป็นชนเผ่าแรกที่อยู่อาศัยครอบคลุมพื้นที่เหล่านี้ แต่ละจุดจะมีความแตกต่างด้านภาษา บรรพบุรุษดั้งเดิมชาวชาว San เป็นนักล่า มีเครื่องมือหินพร้อมงานวาดศิลปะที่อายุน้อยหลังราว 7 หมื่นปี ได้รับการยกให้เป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุด ชาว San ถือเป็นชนเผ่ากึ่งเร่ร่อน ย้ายถิ่นฐานไปตามฤดูกาลตรงพื้นที่ที่พวกเขากำหนดเอาไว้ แต่ขึ้นอยู่กับความพอเพียงของธรรมชาติบริเวณนั้นด้วย เช่น สัตว์ป่า, น้ำ, พืชกินได้ เป็นต้น ในปี 2010 ได้มีการนับจำนวนประชากรของชาว San ปรากฏว่ามีราว 50,000 – 60,000 คน

นับตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1950 มาจนถึง 1990 เกิดความเปลี่ยนแปลงจากชาว San มาก ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาล มีการนำเอาความทันสมัยเข้ามาสู่ชนเผ่าทำให้เปลี่ยนแปลงชีวิตพวกเขาไปพอสมควร ชาว San มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ถือเป็นกลุ่มชนเผ่าเก่าแก่และน่าศึกษามากที่สุดในโลกกลุ่มหนึ่งเวลานี้ พร้อมทั้งยังมีเรื่องราวดีๆ มากมายให้ได้ค้นหากันอีก



เครดิตข้อมูล https://www.histoire-afrique.org
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่