เนื่องด้วยผมเป็นผู้ใช้รถยนต์ธรรมดาๆ ไม่มีความรู้ด้านช่าง แต่มีความเข้าใจว่าการใช้งานชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลไกโลหะที่มีการเคลื่อนที่ย่อมจะต้องมีของเหลวเพื่อหล่อลื่น และการทำงานของกลไกจะเกิดการสึกหรอปนสะสมในสารหล่อลื่นจนดำและมีการเสื่อมสภาพจากอายุและความร้อนจากการทำงาน
ขออนุญาตสอบถาม ดังนี้
1. คำว่าตลอดอายุการใช้งานของผู้ผลิตหมายถึงอะไร ? (โดยปกติคนไทยหากดูแลรถยนต์ดีๆ สามารถใช้ได้มากกว่า 20 ปี) ใช่ 20 ปีหรือประมาณ 500,000 กม. หรือไม่?
2. เหตุผลเชิงวิชาการที่ผู้ผลิตบางรายไม่แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ตลอดอายุใช้งานกรณีขับขี่ปกติวิสัย (อาทิ รถยนต์รุ่นที่ใช้ทำ Taxi มากที่สุดในไทย)
3. ในกรณีที่ผู้ใช้รถยนต์ ปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิต(ไม่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์เลย) และใช้งานโดยปกติวิสัย แต่หากเกิดเกียร์พังและตรวจสอบพบว่าสารหล่อลื่นดำเหนียวเป็นโคลนหรือเสื่อมสภาพ มีเศษโลหะจากการชำรุดของระบบเกียร์ปะปน ผู้ผลิตจะรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร ?
3.1 กรณีรับผิดชอบ รับผิดชอบอย่างไร?
3.2 กรณีไม่รับผิดชอบ ขอทราบเหตุผล?
ขอเป็นเหตุผลเชิงวิชาการนะครับ (ของดเว้นการแนะนำเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 20,000-40,000 กม.ไว้ เพราะปกติผมทำอยู่แล้วครับ)
ขอบคุณทุกๆ ความคิดเห็นครับ
ขขอถามเหตุผลเชิงวิชาการของวิศวกรออกแบบ กรณีผู้ผลิตบางรายไม่แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ตลอดอายุใช้งาน
ขออนุญาตสอบถาม ดังนี้
1. คำว่าตลอดอายุการใช้งานของผู้ผลิตหมายถึงอะไร ? (โดยปกติคนไทยหากดูแลรถยนต์ดีๆ สามารถใช้ได้มากกว่า 20 ปี) ใช่ 20 ปีหรือประมาณ 500,000 กม. หรือไม่?
2. เหตุผลเชิงวิชาการที่ผู้ผลิตบางรายไม่แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ตลอดอายุใช้งานกรณีขับขี่ปกติวิสัย (อาทิ รถยนต์รุ่นที่ใช้ทำ Taxi มากที่สุดในไทย)
3. ในกรณีที่ผู้ใช้รถยนต์ ปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิต(ไม่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์เลย) และใช้งานโดยปกติวิสัย แต่หากเกิดเกียร์พังและตรวจสอบพบว่าสารหล่อลื่นดำเหนียวเป็นโคลนหรือเสื่อมสภาพ มีเศษโลหะจากการชำรุดของระบบเกียร์ปะปน ผู้ผลิตจะรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร ?
3.1 กรณีรับผิดชอบ รับผิดชอบอย่างไร?
3.2 กรณีไม่รับผิดชอบ ขอทราบเหตุผล?
ขอเป็นเหตุผลเชิงวิชาการนะครับ (ของดเว้นการแนะนำเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 20,000-40,000 กม.ไว้ เพราะปกติผมทำอยู่แล้วครับ)
ขอบคุณทุกๆ ความคิดเห็นครับ