EP 15 นัยน์ตาที่ปราชญ์เห็น (รู้จักกับจูกัดเหลียง / แล้วทำไมต้องเล่าปี่)

EP 15 นัยน์ตาที่ปราชญ์เห็น (รู้จักกับจูกัดเหลียง / แล้วทำไมต้องเล่าปี่)
(เนื้อหายาวไป มีลิ้งคลิปเสียงด้านล่าง ฝากกดติดตามเป็นกำลังใจ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ) 
https://youtu.be/CiGG5twsqhM
ขอขอบพระคุณเนื้อหาที่ 
Cr : อี้จงเทียนพิเคราะห์สามก๊ก ซับไทย Ong China
ในตอนที่แล้ว เราทิ้งท้ายไว้ที่ ในบรรดา ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอยู่มากมายในตอนนั้น แล้วเหตุใด จูกัดเหลียง ถึงเลือกเล่าปี่ ดังนั้นเบื้องต้นเราต้องมาทำความรู้จักกับจูกัดเหลียง ขงเบ้ง กันมากขึ้นซะก่อน
เนื้อหาจากจดหมายเหตุสามก๊กนั้น จูกัดเหลียง คือ อัจฉริยะบุคคลในวัยหนุ่ม โดย เฉินโซว่ เคยพูดถึง จูกัดเหลียง ก่อนเขียน จดหมายเหตุสามก๊ก เรียกว่า “บทแถลงรวมผลงานจูกัดเหลียง” ในคำแถลงนั้น พรรณาไว้ว่า 
“วัยเยาว์อัจฉริยะเกินผู้คน จิตใจห้าวหาญ กายสูงแปดเซี๊ยะ รูปร่างหน้าตาสง่างาม โดดเด่นเหนือผู้อื่น”ก็คือ จูกัดเหลียง เป็นอัจฉริยะตั้งแต่อายุยังน้อย ห้าวหาญ สูง 184 ซมและรูปร่างหน้าตาดี ยังสง่างามอีกด้วย
โดย จูกัดเหลียงนั้นเป็นเด็กกำพร้า อยู่กับลุงมาตั้งแต่เด็ก ลุงชื่อ “จูกัดเสวียน” ต่อมาเมื่อ จูกัดเสวียน ย้ายมาอยู่ จิงโจว(เกงจิ๋ว) จูกัดเหลียง จึงจำเป็นต้องมาด้วย โดยมาอยู่ที่ หลงจงในเขตของเมืองเกงจิ๋ว พอมาถึงหลงจง การดำเนินชีวิตของ จูกัดเหลียง ก็คือ ใช้ชีวิตแบบที่เรียกว่า เพาะปลูกเรียนตำรา คือ ด้านนึงก็ทำไร่ทำนาเป็นอาชีพ อีกด้านนึงก็ร่ำเรียนศึกษาหาความรู้ โดยในตอนหลัง จูกัดเหลียงได้เขียนไว้ใน “ฎีกาออกศึก” ของตนเอง ไว้ว่า “เดิมข้าคือสามัญชน เอาใจใส่ไร่นา ที่หนานหยาง ซุ่มซ่อนรักษาชีวิตในกลียุค ไม่คิดถามหายศศักดิ์”
อ.อี้จงเทียน เพิ่มเติมเกร็ดความรู้ในตอนนี้ว่า นอกจากเรื่องการที่เป็นคนเอาจริงเอาจังกับการทำงานของจูกัดเหลียงแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่น่าเอามาเป็นแบบอย่างอีกด้วย ก็คือ การศึกษาร่ำเรียนของจูกัดเหลียงอย่างเช่นเรื่องการอ่านตำหรับตำราของจูกัดเหลียงนี้
จดหมายเหตุสามก๊ก ว่าไว้ว่า จูกัดเหลียงนั้น “อ่านตำราดูภาพรวม” ก็คือ ชอบอ่านตำรา แต่อ่านแบบไม่พิถีพิถัน ไม่จุกจิกกับรายละเอียด ไม่ได้จับทุกตัวอักษร อ่านตำราแบบภาพรวม จับประเด็นและแก่นแท้ของเนื้อหา ดังนั้นการอ่านหนังสือแบบจูกัดเหลียงนี้จึงเรียกได้ว่า “อ่านหนังสือเป็น” จึงควรที่จะน่าเอามาเป็นแบบอย่าง
แม้จูกัดเหลียงจะอยู่ที่หลงจง แต่ในกลียุคนี้ จูกัดเหลียงก็ ยังมีความกังวลและรู้สึกห่วงใยต่อผู้คนในบ้านเมือง จึงอาจเรียกได้ว่า จูกัดเหลียงนั้น คือ ปราชญแห่งแผ่นดิน ที่เห็นเรื่องบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของตนเอง เมื่อมีแนวคิดแบบนี้ ในตอนนั้นทางเลือกของจูกัดเหลียงสามารถเลือกที่จะเป็นได้อยู่สามทางด้วยกัน ก็คือ
หนึ่ง เป็นอย่างโจโฉ สยบทั้งใต้หล้าด้วยตัวเอง
สอง เป็นอย่างจิวยี่ ช่วยคนอื่นสยบทั้งใต้หล้า
สาม เป็นปราชญ์เก็บตัว ไม่คิดช่วยเหลือใครเลย
ซึ่งเราก็รู้กันดีว่า จูกัดหลียง ขงเบ้งนั้น ไม่ได้เลิกเก็บตัว และก็ไม่ได้คิดจะเป็นอย่างโจโฉด้วย
ดังนั้นเมื่อจูกัดเหลียง เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มีปณิธานที่ยิ่งใหญ่ เป็นผู้มีสติปัญญาและพรสวรรค์อย่างนี้ จูกัดเหลียง จึงไม่ยอมที่จะอยู่หลงจงได้อย่างสงบเป็นแน่ เขาต้องพยายามหาหนทาง ที่จะมีโอกาสได้แสดงความสามารถอย่างแน่นอน แล้วเงื่อนไขในการสนับสนุนที่ทำให้จูกัดเหลียง ออกมาช่วยนั้นมีอะไรบ้าง อ.อี้จงเทียน อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า
อย่างแรก จูกัดเหลียงนั้น มีพื้นเพที่ดี ก็คือ บรรพบุรุษของ จูกัดเหลียงนั้น เป็นขุนนางมาก่อน ทั้งปู่ พ่อและลุงของจูกัดเหลียง ต่างก็เป็นขุนนาง ดังนั้นจึงนับได้ว่า จูกัดเหลียงนั้นเป็นลูกหลานขุนนาง มีความสัมพันธ์กับทางราชสำนักอยู่บ้างเหมือนกัน
อย่างที่สอง จูกัดเหลียงนั้น มีเครือข่ายไม่ธรรมดาเลย ก็คือ ไซ่เฝิ่ง ซึ่งไซ่เฝิ่งคนนี้ เป็นคนในตระกูลใหญ่ที่สุดในแถบ เซียงหยาง โดย ไซ่เฝิ่ง มีลูกสาว 2 คน มีลูกชาย 1 คน ลูกสาวคนนึง ของไซ่เฝิ่ง แต่งงานกับพ่อตาของ จูกัดเหลียง ส่วนอีกคนแต่งงานกับ เล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋ว และลูกชายของ ไซ่เฝิ่งนั้น ชื่อว่า ไซ่เม่า หรือ ที่เรารู้จักในชื่อ “ซัวมอ” นั่นเอง ดังนั้น เล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋ว จึงมีศักดิ์เป็น น้าเขย และ ซัวมอ ก็มีศักดิ์เป็นอาของเมีย จูกัดเหลียง อีกทีนึง (ไม่งงนะ) ดังนั้นเครือข่ายแบบนี้ถือว่าไม่ธรรมดาเลยจริงๆ
และ อ.อี้จงเทียน มีเกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมียของขงเบ้ง ในตอนนี้ว่า หวงเฉิงเยี่ยน(ฮองเสงหงัน) พ่อตาของ ขงเบ้ง ชอบใจชื่นชมในตัวของขงเบ้งเป็นอย่างมาก จึงเอ่ยถาม ขงเบ้งว่า “ข้านี้มีลูกสาวคนนึง หน้าตาอัปลักษณ์ แต่มีสติปัญญามาก เจ้าจะยอมแต่งงานกับนางมั้ย” ขงเบ้งตอบ “แต่งสิ” หวงเฉิงเยี่ยน ฟังอย่างนั้น รีบกลับบ้าน รับตัวลูกสาวส่งมอบให้ขงเบ้งทันที 
โดยจากเรื่องนี้ ก็มีคำถามกันอยู่ว่า เมียของขงเบ้งนั้น น่าจะอัปลักษณ์จริงๆเหรอ หรือเป็นเพียงการพูดจาถ่อมตัว ออกตัว ลองใจ ขงเบ้งเท่านั้น เพราะว่า อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า ตระกูลและเครือข่ายของ หวงเฉิงเยี่ยนนี้ ถือได้ว่ามีอิทธิพลและมีชื่อเสียงมากในดินแดนเกงจิ๋ว แถบเซียงหยางนี้ จึงอาจเป็นการลองใจขงเบ้งก็ได้ 
แต่ อ.อี้จงเทียนคิดว่า เมียของขงเบ้งนั้น น่าจะอัปลักษณ์จริงๆ โดย หวงเฉิงเยี่ยน ว่าไว้ว่า “มีบุตรีอัปลักษณ์ ผมเหลืองตัวดำ แต่เพียบพร้อมด้วยปัญญา” นี่คือหลักฐานที่หนึ่ง หลักฐานที่สอง คือ คนในเกงจิ๋ว แถบเซียงหยางนี้ ต่างพูดจาล้อเล่นกันว่า “อย่าเลียนแบบข่งหมิงเรื่องแต่งเมีย ได้สาวอัปลักษณ์ของอาเฉิงมา” ข่งหมิง ก็คือขงเบ้ง อาเฉิงก็คือ หวงเฉิงเยี่ยน พ่อตาขงเบ้ง ดังนั้นเมียขงเบ้งน่าจะอัปลักษณ์จริงๆ นะ
ส่วนเรื่องที่ขงเบ้งนั้น แต่งงานเพื่อสร้าง เครือข่าย สร้างคอนเนคชั่นนั้น อ.อี้จงเทียน ไม่ออกความคิดเห็น ในเรื่องนี้ ละไว้เป็นดุจพินิจ แล้วแต่ความคิดเห็นส่วนตัวของคุณผู้ฟังแต่ละท่านเอง
อย่างที่สาม จูกัดเหลียง มีแวดวง แวดวงก็คือ กลุ่มของคณะปราชญ์ในจิงเซียง ก็คือแถบจิงโจว 
(เกงจิ๋ว) และเซียงหยางนี้ ซึ่งมีปราชญ์ที่มีชื่อ รวมตัวกันอยู่มากมาย ที่เป็นเพื่อนกับขงเบ้ง เช่น ซุยเป๋ง 
โจ๊ะกงหงวน เบงคงอุยและก็ชีซี ต่างก็เป็น ปารชญ์แห่งยุค กลุ่มคนเหล่านี้ต่างชื่นชมในตัว ขงเบ้ง มากให้สมญานามว่า จูกัดเหลียง “มังกรหลับ” 
ดังนั้น เงื่อนไขของ จูกัดเหลียง ในการเข้าสู่การเมืองพร้อมขนาดนี้ แล้วทำไม จูกัดเหลียงจึงยังคงซ่อนตัวและไม่ยอมลงจากเขากันล่ะ ว่ากันว่า วันนึง เหล่าบรรดาเพื่อนๆ ของจูกัดเหลียง ซุยเป๋ง โจ๊ะกงหงวน เบงคงอุยและชีซี เคยคุยเล่นกันว่า ด้วยความสามารถของทุกคนที่มีอยู่นั้น สามารถเป็นขุนนางระดับข้าหลวงได้เลย แต่พอทุกคนถามแล้วตัว ขงเบ้ง ว่า “ท่านจูกัดเหลียง หละ ท่านคิดอย่างไร” ขงเบ้ง กลับไม่ตอบ เพียงหัวเราะเท่านั้น 
อ.อี้จงเทียน อธิบายว่า ที่จริงแล้วมีคำตอบตั้งแต่แรกแล้ว ในจดหมายเหตุสามก๊ก บันทึกไว้ว่า 
“จูกัดเหลียงนั้น เปรียบตัวเองเท่า กว่านจ้ง(ขวัญต๋ง) และ เล่ออี้(งักเย)” ขวัญต๋งคือสมุหนายกชื่อดัง 
ส่วนงักเยนั้นคือแม่ทัพที่เลืองชื่อ ดังนั้นเมื่อจุดประสงค์ของ จูกัดเหลียง ชัดเจนมากขนาดนี้ ก็คือ นำทัพ สร้างชาติสร้างผลงาน ขยายดินแดน เมื่อปณิธานยิ่งใหญ่ขนาดนี้ จึงจำเป็นต้องเลือกนายให้ดี และในช่วงกลียุคนี้ นายนั้นมีอยู่มาก ใกล้ตัวสุด ก็คือ เล่าเปียว แห่งเก่งจิ๋ว หรืออาจเป็น ซุนกวน แห่งกังตั๋ง ไม่ก็เป็นโจโฉ ซึ่งต่างก็กำลังรวบรวมคนเก่ง แต่จูกัดเหลียงกลับไม่เลือก คนเหล่านี้ ด้วยเหตุว่า
จูกัดเหลียงมองว่า เล่าเปียว นั้นด้อยเกินไป ก็คือ เกงจิ๋วนั้นมีคนเก่งอยู่มากมาย แต่เล่าเปียวกับใช้คนเหล่านี้ไม่เป็น จึงไม่มีประโยขน์ที่จะไปร่วมการใหญ่กับเล่าเปียว
และโจโฉนั้นก็เข้มแข็งเกินไป โจโฉนั้นมีคนเก่งมากมาย แม้จูกัดเหลียงจะเป็นคนเก่ง หาคนอื่นเทียบได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะมีโอกาสในการแสดงความสามารถ
ส่วนซุนกวนนั้น ก็ไม่ได้ ซุนกวนมีขุนนางใหญ่ทั้งบุ๋นและบู้ คือ เตียวเจียว กับ จิวยี่ ซึ่งมีสายสัมพันธ์ที่ไม่ธรรมดากับตระกูลซุน เรียกได้ว่า ไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติสนิท ปฏิบัติตัวเป็นดั่งคนในครอบครัว ดังนั้นหากจูกัดเหลียงเลือกไปเจียงตง ตำแหน่งต้องอยู่ใต้ เตียวเจียวและจิวยี่เป็นแน่ หรืออาจจะต่ำกว่าโลซกด้วยซ้ำไป
เมื่อจุดประสงค์หลักของจูกัดเหลียงนั้น ชัดเจนอยู่แล้ว คือ นำทัพสร้างชาติขยายแผ่นดิน ดังนั้น นายของจูกัดเหลียงต้องเป็นจอมคน แต่เป็นจอมคนที่มีเงื่อนไขที่ยังไม่สมบูรณ์ “จึงจำต้องการ จูกัดเหลียง เข้าไปช่วยเหลือ และจูกัดเหลียงคนนี้ สามารถจะช่วยเหลือทำภารกิจให้สำเร็จได้” คนที่เข้าเงื่อนไขนี้มีเพียงคนเดียวเท่านั้น ก็คือ เล่าปี่ 
ด้วยเล่าปี่นั้นมีคุณสมบัติทั้งเป็นเชื้อพระวงค์ แม้ว่าหากนับญาติทางสายเลือดนั้นอาจจะไกลสักหน่อย แต่ก็ขึ้นชื่อได้ว่า เป็น “พระเจ้าอาของฮ่องเต้” อีกทั้งเล่าปี่มีปณิธานคิดการใหญ่ และมีชื่อเสียงเรื่องคุณธรรม 
จึงกล่าวได้ว่าเล่าปี่นั้นมีปณิธาน มีนิสัย มีจิตวิญญาณ มีคุณธรรมแห่งจอมคน และเล่าปี่เองก็ยัง มีคุณสมบัติที่สามารถเป็นฮ่องเต้ได้ ขาดแต่เพียงดินแดน รากฐานที่มั่น และวิถีแนวทางแห่งความสำเร็จ เท่านั้น ซึ่งต่อมา ก็เป็นจูกัดเหลียง คนนี้ ที่ทำให้เล่าปี่ได้มีโอกาสได้แสดงฝีมือ แสดงความสามารถ และ ช่วยชี้แนวทาง สู่วิถีทางแห่งความสำเร็จได้
เมื่อ จูกัดเหลียง มาเข้าร่วมด้วยกับเล่าปี่นั้น นับเป็นความโชคร้ายของโจโฉยิ่งนัก แต่กับเป็นความโชคดี สำหรับเล่าปี่อย่างมาก หากเปรียบกับยุคสมัยปัจจุบัน เล่าปี่นั้น พูดได้ว่าเหมือนบริษัทเอกชน ที่กำลังอยู่ระหว่างการขยับขยายกิจการ มีทรัพย์สินเล็กน้อย มีประสบการณ์นิดหน่อย ขาดแต่ ซีอีโอ มาช่วยบริหาร 
ส่วนจูกัดเหลียง ขงเบ้งนั้น ก็เปรียบเหมือน คนที่ผู้มีความสามารถ เข้ามาเพื่อช่วยจัดการเรื่องต่างๆ ให้กับเจ้าของบริษัทโดยเฉพาะ ตัวจูกัดเหลียงเอง ไม่มีและไม่ได้เปิดบริษัทอะไร จึงจำเป็นต้องหาบริษัทดีๆ ให้กับตัวเอง ดังนั้นเมื่อสองคนนี้พบกัน ร่วมมือประสานกัน จึงเรียกได้ว่า “เสมือนกับดุจดั่งปลาได้น้ำ” และเมื่อปลากับน้ำมาเจอกัน เรื่องการสนทนาของทั้งคู่นั้น กลายมาเป็นตำนานเล่าขานกันต่อมานับพันๆ ปี พบกันตอนหน้ากับ EP16 สามเยือนกระท่อมหญ้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่