ออดหลอด...ฮอด...ศรีสะเกษ...เด้อ ( ตอน 2 )

กระทู้สนทนา
ออดหลอด...ฮอด...ศรีสะเกษ...เด้อ ( ตอน 2 )
    นัดกันว่าจะออกจากบ้านไปกันทรลักษณ์  8.00 น.  เอาจริงเสร็จเรียบร้อยกันตั้งแต่ก่อน 7.00 น หลังจากอาหารเช้า กาแฟ โอวัลติน  ริทมารับ พวกเราไปกินอาหารเช้ากันที่ร้านเจียวกี่  ... เป็นร้านอาหารเช้าที่มีประวัติยาวนานมาก
      หลังจากรับประทานอาหารเช้าเรียบร้อยเราตรงไปอำเภอขุนหาญ ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ ตามลำดับ และเป็นหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกเงาะ ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย   ซึ่งสันนิษฐานว่าตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชสำนักเวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายและผู้คนได้อพยพข้ามลำน้ำโขงมาตั้งหลักแหล่งใหม่ ผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในแถบนี้ คือ (ตามตำนานและเรื่องบอกเล่าของผู้คนสมัยก่อน) กลุ่มของนายหาญ นายเอก นายอุด ซึ่งทั้งสามคนนี้ได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน นายหาญได้ไปตั้งหลักแหล่ง ณ บริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านแดง ตำบลขุนหาญ นายเอกไปตั้งที่บ้านตาเอก (ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตตำบลกันทรอม) ส่วนนายอุดแยกไปไกลทางทิศตะวันตก ตั้งหลักแหล่งที่ปัจจุบันเรียกว่าบ้านตาอุด เขตอำเภอขุขันธ์
        ต่อมาบริเวณแถบนี้ ราชสำนักสยามเรียกว่า "เขมรป่าดง" และได้ตั้งเมืองขุขันธ์ขึ้น โดยขึ้นกับเมืองนครราชสีมา และด้วยเหตุนี้นายหาญจึงมีโอกาสเข้าทำราชการและมีบรรดาศักดิ์เป็น "ขุน" หมู่บ้านที่ท่านอยู่จึงถูกเรียกว่า บ้านขุนหาญ
      พวกเราได้ไปเที่ยววัดล้านขวด คืดเป็นวัดที่ใช้ขวดเป็นเครื่องประดับของสถาปัตยกรรมที่สร้าง ไม่ว่าจะเป้นโบสถ์ วิหาร ศาลา  ประตูทางเข้าวัดทุกสิ่งใช้ขวดประดับประหนึ่งคือกระเบื้องที่เราใช้  ข้อดีคือการวัสดุเหลือใช้ (ส่วนใหญ่จะเป็นขวดเครื่องดื่มชูกำลัง และแอลกอฮอล์) แต่มีข้อเสียคือขวดเปล่าจะมีกลวง(มีโพรง)ด้านในหากแตกหรือถูกทำลายการซ่อมแซมลำบากและเป็นอันตราย (มีคม )
ออกจากวัดล้านขวด ไปสวนทุเรียนผ่านสวนลุงเสริม อย่างกับมีงานมหกรรมรถมากมาย เราหยุดรถ ลงไปดูสวนและทุเรียนหน้าสวน มีชาวสวนใน อำเภอนำผลผลิตมาขายมากมาย อาทิ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง และสะตอ เหมือนอยู่ในภาคใต้ หรือสวนแถบจันทรบุรีเลย น่าภูมิใจที่เกิดในเมืองไทย (ไม่ว่าจะเกิดชาติไหน ๆ.. ก็ขอเกิดในเมืองไทย ...)ผลผลิตทางการเกษตรงอกงามทุกแห่งที่นักวิชาการการเกษตรได้วิจัยและส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วทั้งประเทศได้มีผลผลิตที่งอกงาม มีรายได้ทางการเกษตร และการส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย
         จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มมีการปลูกไม้ผลอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 นับว่าศรีสะเกษเป็นจังหวัดแรกๆ ของภาคอีสานที่มีการปลูกทุเรียนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ไม่แพ้ทุเรียนเจ้าตำรับจากภาคใต้ และภาคตะวันออก ซึ่งทุเรียนที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก คือ พันธุ์หมอนทอง
        จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษระบุว่าปัจจุบันมีพื้นที่การปลูกทุเรียน 6,085 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกันทรลักษ์ และขุนหาญ ปริมาณผลผลิตรวม 4,474.64 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้จังหวัดปีละไม่น้อยกว่า 447 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผลไม้และพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิดที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น เงาะ ลำไย มังคุด ลองกอง ซึ่งนับรวมแล้ว ถือว่าสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ร้อยล้านบาท
จากนั้นในปี พ.ศ. 2560 หลังนายธวัช สุระบาล มารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ก็ด้สร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนศรีสะเกษ โดยใช้ชื่อว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” โดยชูคุณสมบัติเด่นของแหล่งผลิตที่ปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินจึงมีลักษณะเหนียวสีแดง ระบายน้ำดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า 50-100 เมตร ในการให้น้ำผลไม้ จึงส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี
       นอกจากนั้นด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศ ของจังหวัด ศรีสะเกษที่ไม่ชื้นจนเกินไป ประกอบกับแสงแดดที่มีความเข้มแสงสูง ทำให้พืชได้รับแสงอย่างเต็มที่ ทุเรียนจึงดูดธาตุอาหารจากดินมาช่วยสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื้อทุเรียนที่ได้ จึงอุดมไปด้วยธาตุอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดเป็นทุเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ กล่าวคือ เนื้อทุเรียนแห้งและนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทุเรียนทั้งภายในและต่างประเทศ
ออกจากสวนลุงเสริม ก็เดินทางไปอีก  2 สวน คือสวนน้องแอน และสวน
อย่านึกว่าอยู่ที่ Cromwell  !!!
         ออกจากสวนผลไม้ พร้อมด้วยการชิม ( รับประทาน) กันอย่างอิ่มแปล้ ใกล้เที่ยงแล้ว ผู้นำพี่แดง และเพื่อนพี่แดงบอกไปผามออีแดง กลับมาค่อยรับประทางอาหาร คาดว่าจะใช้เวลาไปกลับประมาณ  2 ชั่วโมง  ( จริงแล้วไม่ไกล แต่จริงใช้เวลา ถ่ายรูปกันซะมากกว่า ) ก่อนถึงผามออีแดง แวะกินก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำร้านนายแก้ว
        ผามออีแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะประมาณ 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเทศกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปอย่างเป็นมุมกว้าง มีฝูงค้างคาวในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณใกล้เคียงมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมโบราณสถานสถูปคู่รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนกลมข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งของสร้างด้วยหินทรายแดง ขนาดกว้าง 1.93 เมตร ยาว 4.2 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
          บริเวณผามออีแดง มีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพคน 3 คน ในเครื่องแต่งกายแบบชาวกัมพูชา สร้างขึ้นก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ราวกลางศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,500 ปี มีโบราณวัตถุ (พระพุทธรูปนาคปรก) บริเวณจุดสูงสุดของผามออีแดงสามารถมองเห็นทัศนียภาพของปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างชัดเจน
              ขึ้นชมนิทรรศการ เขามออีแดง ที่หน่วยอนุรักษ์  ในบริเวณเดียวกันเจ้าหน้าที่ให้การอธิบายดีมาก  เดินทางกลับ แวะรับประทานอาหารเย็นที่กันทรลักษณ์ พี่แนะนำว่าเรามาถึงศรีสะเกษแล้วพรุ่งนี้ไปไหว้หลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา  กันด้วยเราเลยตกลงว่าพรุ่งนี้ออกจากบ้านพี่แดงเช้าหน่อย 6.30 น.แวะไหว้หลวงปู่สรวงแล้วเดินทางไปเมืองบุรีรัมย์ เพื่อดูสนาม Motorsport Curcuit & Chang Arena Buriram
       หลังจากกินข้าวเสร็จเรียบร้อยออกจากกันทรลักษณ์แวะงาน Otop เหมือนเดิม  เลือกซื้อของพื้นเมือง กลับไปบ้านพี่แดงอาบน้ำนอน
วันสุดท้าย อำลาศรีสะเกษ
    วันนี้ทุกคนตื่นเช้ากินกาแฟ เตรียมตัวกลับ นัดรถไว้ 6.30 น  ต้องเดินทางไปวัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์   88 km 1.30  h  เมื่อเรียบร้อยแล้วลาพี่แดง พี่ต้อยเจ้าของบ้าน  ก่อนไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันก่อน
เดินทางออกจากบ้านพี่แดง แวะสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  เพราะพี่เรณูบอกว่าเห็นร้านอาหารอยู่ แต่พอเลี้ยวกับไม่เจอร้าน บอกริทแวะชมสวนสมเด็จก่อน เพราะมีต้นลำดวน ต้นไม้ประจำจังหวัดปลูกไว้ริมถนนในสวนทั้ง  2  ฝั่ง  ได้ยินชาวศรีสะเกษ บอกว่าฤดูที่ลำดวนออกดอกจะหอมตลบอบอวลไปทั้งสวน ( หรือทั้งเมือง น๊าาา...)
     ต้นลำดวน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเป็นมงคลประจำจังหวัดศรีษะเกษ และดอกลำดวนยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เพราะมีเรื่องเล่าว่า สมเด็จย่าได้เสด็จไปเยี่ยมชาวจังหวัดศรีษะเกษ ทรงทอดพระเนตรเห็นดงต้นลําดวนที่ออกดอกงดงามและมีกลิ่นหอม และทรงพอพระทัย หลังจากนั้นดอกลำดวนจึงกลายเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ ทำนองเดียวกับดอกมะลิที่เป็นสัญลักษณ์ของแม่นั่นเอง นอกจากนี้ดอกลําดวนยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษอีกด้วย
     ลำดวนเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผลเป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว


ออกจากสวนสมเด็จ  มองหาร้านอาหารเท่าไร ก็ไม่พบ จนถึงเมืองขุขันธ์จึงเจอร้าน แบบรถเข็นบนฟุตบาทด้านข้างสถานีตำรวจ   เมื่อเรียบร้อยแล้วก็เดินทางไปภูสิงห์  (ต่อตอน 3 )
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่