ทิป ศรีสะเกษ ตอน 1
ทัวร์ศรีสะเกษ 28 - 30 มิถุนายน 2562
การเดินทางไปศรีสะเกษครั้งนี้เป็นไปอย่างกระทันหันมาก ไม่ได้เตรียมตัวว่าจะไปเลย วันหนึ่ง ( 17 มิถุนายน 2562 ) ไปกินข้าวกับพี่ ๆ มี พี่แดง ( พี่แดงเป็นชาวศรีสะเกษ แต่มาอยู่อยุธยาเกือบค่อนชีวิต จนเป็นชาวอยุธยาไปแล้ว ค่ะ) พี่เขียว พี่หมู พี่นิด ขณะกำลังกินข้าวอยู่ ๆ พี่แดงก็เอ่ยว่า เพื่อนไลน์มาบอกว่าตอนนี้ที่ สีเกด (คนศรีสะเกษ จะเรียกชื่อเมืองเขาว่า สี-เกด) มีงานทุเรียนภูเขาไฟ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน นี้ พี่นิดตอบสนองทันที่ว่าเราต้องไปกันจะได้ไปชิมทุเรียนภูเขาไฟ ยังไม่กำหนดวันว่าจะไปเมื่อไร เราก็อ้ำอึ้งเพราะไม่ได้เตรียมใจ ติดงานสอนอยู่ แต่พวกพี่อยากไป ถ้าเราไม่ไปเขาก็ไม่ไปเหมือนกัน ( ตัวติดกัน..มั้ง ) เราคิดอยู่พักหนึ่งก็บอกว่า งั้นไปวันที่ 28 มิถุนายน กลับ 30 มิถุนายน แล้วกัน พี่หมูเฮ..บอกว่าชั้นรอให้เธอพูด เพราะว่าคนตัดสินใจคือเรา ส่วนพี่เขียวเขามีโปแกรมไปศรีสะเกษ กับกลุ่มเพื่อพยาบาลอยู่แล้ว ระหว่าง 28 -1 มิ.ย-ก.ค เหมือนกัน เป็นที่ตกลง พี่แดงบอกมี 4 คน คือเรา พี่นิด พี่หมู รวมคนขับคือพี่แดง งั้นขับรถไปเอง รถจะมารับเราที่บ้าน ตี 5 ตามนั้นเลย พอถึง วันที่ 21 มิถุนายน โปแกรมพลิกอีกแล้ว มีคนไปเพิ่มคือ พี่แต๋ว พี่หนุ่ย พี่เรณู และพี่จวง จาก การไปรถพี่แดงขับต้องเป็นรถตู้ พี่หนุ่ยส่งไลน์มาสั่งให้หารถตู้และทำโปรแกรมการท่องเที่ยว ( ต้องยอมรับว่าการทำโปรแกรมท่องเที่ยวครั้งนี้ ไม่สามารถทำได้เลย เพราะเพิ่งจะไปครั้งแรกในชีวิต ) หาอ่านตาม Internet ก็ได้ข้อมูลน้อยมาก แต่จองรถตู้ไว้เรียบร้อยแล้ว (รถของ ริท) ให้มารับที่บ้าน 6.00 น. เพราะเส้นทางอยุธยาถึงศรีสะเกษ 499.5 km ประมาณ 7 h (แต่การเดินทางใช้เวลามากกว่านั้น ) เรามาดูเส้นทางและแผนที่ศรีสะเกษกันก่อน
การเดินทางครั้งนี้ไปทางอีสานใต้ จากอยุธยา -สระบุรี - นครราชสีมา - บุรีรัมย์ - ศรีสะเกษ เส้นทางยาวพอควร แต่ก็สนุกดี มาดูสมาชิกในกลุ่มที่เดินทาง
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดชายแดนในภาคอีสานตอนล่าง ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมของหลากหลายชนชาติ โดยเฉพาะขอมโบราณ ที่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยอีสานได้อย่างลงตัวและกลมกลืน มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจศรีสะเกษยังมีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แหล่งน้ำ พืชพรรณ และสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม จังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่ประมาณ 8,840 ตารางกิโลเมตร หรือ 5.52 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลอนลาด ทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ทางตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักทอดตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มียอดเขาสูงสุด คือ พนมโนนอาว อยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีความสูง 671 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอไพรบึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุนหาญ อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอโนนคูณ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอพยุห์ กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และกิ่งอำเภอศิลาลาด
อาณาเขต
» ทิศเหนือ : ติดต่อกับ จังหวัดยโสธรและร้อยเอ็ด
» ทิศใต้ : ติดต่อกับ เทือกเขาดงรัก
» ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ จังหวัดสุรินทร์
» ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ จังหวัดอุบลราชธานี
สมาชิกที่เดินทางไปศรีสะเกษ จากซ้ายไปขวา พี่แต๋ว พี่จวง พี่เรณู พี่หนุ่ย พี่หมู และ เรา (นั่งขวา) เหนือประตูทางเข้าปราสาทนี้เป็นทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธ์ุที่ถูกส่งคืนมาจากเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (ไม่มีใครรู้ได้ว่า... ทำไมพระนารายณ์จึงเดินทางไปอยู่อเมริกาได้ หรือท่านมีอิทธิฤทธิ์ สามารถเดินทางข้ามแผ่นดิน แผ่นน้ำ ทะเล มหาสมุทร ไปได้...น่าจะจริงเพราะท่านไปบรรทมยาวนานเกือบ 30 ปี...เฮ้อ..คิดแล้วกลุ้ม ..ไหน ๆ ก็ได้คืนแล้ว ปวดหัว)
เริ่มต้นการเดินทาง วันแรก
การเดินทางครั้งนี้ พี่แดงเจ้าของบ้านเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ไปเตรียมบ้านรับแขก VIP ที่จะไปวันนี้ เราออกจากบ้านอยุธยา 6.00 น ไปรับพี่เขียว พี่บุญศรี ( ขอไปลงที่ศูนย์อาหารร้านบ้านสวน นัดกับเพื่อนให้มารับ ) พี่หนุ่ย แล้วไปรับพี่แต๋ว พี่หมู พี่เรณู และพี่จวงที่หมู่บ้าน ( ขณะนี้ พี่นิด ตัวตั้งตัวตีไม่ได้ไปด้วย เพราะน้องชายเสียชีวิตกระทันหัน ... เสียใจด้วยนะพี่นิด ..อนิจจัง..ไม่เที่ยงแท้ จริงหนอ เห็นกันอยู่ตอนเช้าตอนเย็นต้องจากกัน... ) เราเดินทางไปตามเส้นทางอยุธยา - สระบุรี แวะกินข้าว ส่งพี่เขียวที่ศูนย์อาหารบ้านสวน แล้วเดินทางต่อไป ผ่านมวกเหล็ก กลางดง ซื้อข้าวโพดต้มริมทาง เดินทางต่อ บนรถมีเรื่องคุยกันสารพัด ผ่านเส้นทางเลี่ยงเมืองโคราชออกไปบุรีรัมย์ ก่อนถึงอำเภอนางรอง ก็ตกลงกันว่ากลางวันกินส้มตำ
หลังจากกินส้มตำเสร็จ ก็ตรงไปปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เข้าไปเขตอุทยานประวัติศาสตร์ สำนักโบราณคดี นักท่องเที่ยวไม่มากนัก
ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโบราณสถานเนื่องในอิทธิพลอารยธรรมเขมรโบราณที่มีความงดงาม และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ หนึ่งในสามเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (ตรีมูรติ) ลัทธิไศวะนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลอีกด้วย กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 – 18
ชื่อ “พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ โดยคำนี่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง และยังปรากฏชื่อผู้สร้างปราสาทคือ “นเรนทราทิตย” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งเมืองพระนคร ผู้สร้างปราสาทนครวัด มีขอบเขตโบราณสถาน เนื้อที่ 451 ไร่ ตัวปราสาทสร้างและแกะสลักด้วยหินทรายสีชมพูและศิลาแลงที่ประดับไว้รอบนอก ความมหัศจรรย์ของภูมิปัญญา วิศวกรด้านดาราศาสตร์ในการออกแบบก่อสร้าง คือทุกปี ในช่วงวันที่ 3-5 เมษายน และ 9 -11 กันยายน พระอาทิตย์ตกลอดช่องประตู 2 ครั้ง ในช่วงวันที่ 5-7 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคมทุกขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จะมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นตรงกันทุกช่องประตู ( เราต้องรอไปชมให้ได้ สักครั้งหนึ่ง ...ในชีวิต )
ปราสาทประธานเป็นสถาปัตยกรรมหลักที่สำคัญที่สุดสร้างด้วยหินทรายสีชมพู เชื่อกันว่าสร้างโดยพระนเรนทราทิตย์ เป็นผู้นำการปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ภายในตรงกึ่งกลาง เรียกว่า "ห้องครรภคฤหะ" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุดคือ "ศิวลึงค์" ซึ่งแทนองค์พระศิวะ ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน ส่วนทางด้านหน้าคือ ทิศตะวันออกทำเป็นอาคารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกว่า “วิหาร” ซึ่งในตำแหน่งเดียวกันกับสถาปัตยกรรมต้นแบบของอินเดียซึ่งเป็นอาคารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียกว่า “มณฑป” โดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมกับปราสาทประธาน วิหารยังมีมุขอยู่ทางด้านหน้าอีกทีหนึ่ง ส่วนต่างๆทั้งหมดของปราสาทประธานตั้งอยู่บนฐาน ๒ ชั้น ย่อเก็จรับกันกับอาคาร สำหรับประตูทางเข้าปราสาท ทั้งหมด
ตามแผนผังเช่นนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ๑๖ – ๑๗ เหมือนกันกับแผนผังของปราสาทพิมาย เฉพาะองค์ปราสาท ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ ส่วนฐาน เรือนธาตุ และส่วนยอด เมื่อเราเห็นปราสาทพนมรุ้งแล้ว รู้สึกเหมือนเดินดูปราสาทหินพิมายมาก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโครงสร้าง หรือสถาปัตยกรรม ( อ้อ..สร้างในพุทธศตวรรษ เดียวกัน )
ประตูด้านข้าง แกะสลักอย่างปราณีตงดงาม
กำลังพิจารณารูปสลัก กันอย่างใจจดจ่อ
ด้านหนังของปราสาทหินพนมรุ้ง
หลังจากเยี่ยมชมปราสาทเขาพนมรุ้งแล้ว เราก็ตรงไปศรีสะเกษ ซึ่งระยะทางจากปราสาทพนมรุ้งไปศรีสะเกษ 197 km อาจต้องใช้เวลาถึง 3 h ขณะนี้ 14.20 น ขับรถต่อไปจนถึงแยกไปขุขันธ์ แล้วตรงไปถึงบ้านพี่แดงในอำเภอเมืองศรีสะเกษ ด้านหลังสถานีตำรวจภูธร สุดท้ายก็ถึงบ้านพี่แดง เวลาประมาณ 17.40 น. เก็บกระเป๋าเข้าบ้านเรียบร้อย แล้วเดินทางไปดูโรงแรมกุลวดีที่ริทจะต้องพักที่นี่ 2 คืน หลังจากนั้นไปกินข้าวกันที่ร้านสีเขียว ( อยู่ด้านข้างวิทยาลัยพลศึกษาศรีสะเกษ เป็นร้านอาหารที่สะอาด อาหารอร่อย ที่ที่รองรับแขกเมืองศรีสะเกษ) อาหารที่ชอบมากคือ ผัดไข่ปลาส้มกับไข่ (เพิ่งเคยกิน อร่อยดี) ต่อจากนั้นไปงาน Otop ทุเรียนที่บริเวณศาลากลาง มีสินค้าพื้นเมืองพวกผ้าทอมากมาย เสื้อผ้าสำเร็จรูป... สวย ๆ ถูกใจพี่หมู และทุกคน กลับบ้านนอน พรุ่งนี้ต้องไปกินทุเรียนที่กันทรลักษณ์แต่เช้า
เมื่อถึงบ้านพี่แดงต้องมีการลองเสื้อผ้าที่ซื้อมากัน...
(ต่อ ตอน 2 ) ค่ะ
ออดหลอด...ฮอด...ศรีสะเกษ...เด้อ
ทัวร์ศรีสะเกษ 28 - 30 มิถุนายน 2562
การเดินทางไปศรีสะเกษครั้งนี้เป็นไปอย่างกระทันหันมาก ไม่ได้เตรียมตัวว่าจะไปเลย วันหนึ่ง ( 17 มิถุนายน 2562 ) ไปกินข้าวกับพี่ ๆ มี พี่แดง ( พี่แดงเป็นชาวศรีสะเกษ แต่มาอยู่อยุธยาเกือบค่อนชีวิต จนเป็นชาวอยุธยาไปแล้ว ค่ะ) พี่เขียว พี่หมู พี่นิด ขณะกำลังกินข้าวอยู่ ๆ พี่แดงก็เอ่ยว่า เพื่อนไลน์มาบอกว่าตอนนี้ที่ สีเกด (คนศรีสะเกษ จะเรียกชื่อเมืองเขาว่า สี-เกด) มีงานทุเรียนภูเขาไฟ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน นี้ พี่นิดตอบสนองทันที่ว่าเราต้องไปกันจะได้ไปชิมทุเรียนภูเขาไฟ ยังไม่กำหนดวันว่าจะไปเมื่อไร เราก็อ้ำอึ้งเพราะไม่ได้เตรียมใจ ติดงานสอนอยู่ แต่พวกพี่อยากไป ถ้าเราไม่ไปเขาก็ไม่ไปเหมือนกัน ( ตัวติดกัน..มั้ง ) เราคิดอยู่พักหนึ่งก็บอกว่า งั้นไปวันที่ 28 มิถุนายน กลับ 30 มิถุนายน แล้วกัน พี่หมูเฮ..บอกว่าชั้นรอให้เธอพูด เพราะว่าคนตัดสินใจคือเรา ส่วนพี่เขียวเขามีโปแกรมไปศรีสะเกษ กับกลุ่มเพื่อพยาบาลอยู่แล้ว ระหว่าง 28 -1 มิ.ย-ก.ค เหมือนกัน เป็นที่ตกลง พี่แดงบอกมี 4 คน คือเรา พี่นิด พี่หมู รวมคนขับคือพี่แดง งั้นขับรถไปเอง รถจะมารับเราที่บ้าน ตี 5 ตามนั้นเลย พอถึง วันที่ 21 มิถุนายน โปแกรมพลิกอีกแล้ว มีคนไปเพิ่มคือ พี่แต๋ว พี่หนุ่ย พี่เรณู และพี่จวง จาก การไปรถพี่แดงขับต้องเป็นรถตู้ พี่หนุ่ยส่งไลน์มาสั่งให้หารถตู้และทำโปรแกรมการท่องเที่ยว ( ต้องยอมรับว่าการทำโปรแกรมท่องเที่ยวครั้งนี้ ไม่สามารถทำได้เลย เพราะเพิ่งจะไปครั้งแรกในชีวิต ) หาอ่านตาม Internet ก็ได้ข้อมูลน้อยมาก แต่จองรถตู้ไว้เรียบร้อยแล้ว (รถของ ริท) ให้มารับที่บ้าน 6.00 น. เพราะเส้นทางอยุธยาถึงศรีสะเกษ 499.5 km ประมาณ 7 h (แต่การเดินทางใช้เวลามากกว่านั้น ) เรามาดูเส้นทางและแผนที่ศรีสะเกษกันก่อน
เริ่มต้นการเดินทาง วันแรก
การเดินทางครั้งนี้ พี่แดงเจ้าของบ้านเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ไปเตรียมบ้านรับแขก VIP ที่จะไปวันนี้ เราออกจากบ้านอยุธยา 6.00 น ไปรับพี่เขียว พี่บุญศรี ( ขอไปลงที่ศูนย์อาหารร้านบ้านสวน นัดกับเพื่อนให้มารับ ) พี่หนุ่ย แล้วไปรับพี่แต๋ว พี่หมู พี่เรณู และพี่จวงที่หมู่บ้าน ( ขณะนี้ พี่นิด ตัวตั้งตัวตีไม่ได้ไปด้วย เพราะน้องชายเสียชีวิตกระทันหัน ... เสียใจด้วยนะพี่นิด ..อนิจจัง..ไม่เที่ยงแท้ จริงหนอ เห็นกันอยู่ตอนเช้าตอนเย็นต้องจากกัน... ) เราเดินทางไปตามเส้นทางอยุธยา - สระบุรี แวะกินข้าว ส่งพี่เขียวที่ศูนย์อาหารบ้านสวน แล้วเดินทางต่อไป ผ่านมวกเหล็ก กลางดง ซื้อข้าวโพดต้มริมทาง เดินทางต่อ บนรถมีเรื่องคุยกันสารพัด ผ่านเส้นทางเลี่ยงเมืองโคราชออกไปบุรีรัมย์ ก่อนถึงอำเภอนางรอง ก็ตกลงกันว่ากลางวันกินส้มตำ
หลังจากกินส้มตำเสร็จ ก็ตรงไปปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เข้าไปเขตอุทยานประวัติศาสตร์ สำนักโบราณคดี นักท่องเที่ยวไม่มากนัก