ขอบคุณข่าวจากเชียงใหม่นิวส์ เว็บข่าวอันดับหนึ่งของเชียงใหม่สำหรับสกู๊ปตามรอยละคร🙏🏻
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1046935
ผลงานเขียนเมื่อ 20 ปีก่อน ของผู้ช่วยศาสตราจารย์บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ซึ่งเคยตีพิมพ์ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม เดือนกรกฎาคม 2541 ในเครือสำนักพิมพ์มติชนโรงเรียนของบัวเกี๋ยงในละครกลิ่นกาสะลอง
จากพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ต้องการจะ รับเอาศิลปวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามาพัฒนาบ้านเมือง จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาต และสนับสนุนให้คณะมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่ศาสนาได้ พ.ศ. 2402
มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบที่เรียนเริ่มเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศสยามเป็นครั้งแรกที่พระนคร ซึ่งมิชชันนารีที่มีบทบาทก็คือ บิชอป ปาเลกัวซ์ ชาวฝรั่งเศส ผู้ถวายการสอนภาษาละตินและโหราศาสตร์ ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช และหมอสอนศาสนานิกายเพรสไบที่เรียนชาวอเมริกัน เจสส์ แคส เวล ผู้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ ที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงยอมรับเสรีภาพ ในการนับถือศาสนาและทรงประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ และอีกบุคคลหนึ่งที่มีความสําคัญมากคือ ดร.แดนบีช แบร์ดเลย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หมอบลัดเลย์ ผู้นําวิชาการด้านการพิมพ์ การผ่าตัดและการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ มาสู่สยามครั้งแรก
จนกระทั่ง พ.ศ. 2406 ดร.โยนาธาน วิลสัน และ ดร.แดเนียล แมคกิลวารี ได้เดินทางขึ้นมาสํารวจมณฑลพายัพ เพื่อหาลู่ทางในการประกาศพระกิตติคุณขององค์พระผู้เป็นเจ้า แต่สภาพการณ์ทุกอย่างยังไม่พร้อมจึงเดินทางกลับ
ศาสนาจารย์ ดร.แดเนียล แมคกิลวารี และภรรยา (โซ เฟีย บุตรีของ ดร.แดนบีช แบร์ดเลย์ หรือหมอบลัดเลย์) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกในนครเชียงใหม่
ดร.แดเนียล แมค กิลวารี พร้อมด้วยโซเฟีย ภรรยาซึ่งเป็นบุตรีของหมอบลัดเลย์กับลูกเล็ก ๆ อีก 2 คน กลับมาสู่มณฑลพายัพอีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2410 ซึ่งตรง กับสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เป็นผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ซึ่งเดิมที่มีความสัมพันธ์กันมาก่อน เมื่อครั้งที่ ดร.แดเนียล แมคกิลวารีและโซเฟีย แต่งงานกันนั้น ได้นําขนมแต่งงานไปถวายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ซึ่งขณะนั้นเสด็จลงมาถวายเครื่องราชบรรณาการที่พระนครพอดี รุ่งขึ้นเจ้าหลวงเชียงใหม่และพระธิดาทั้งสองพระองค์ก็ได้เสด็จเยี่ยม ดร.แดเนียล แมคกิลวารีและภรรยาถึงเรือนหอเป็นการตอบแทน นับเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างเจ้าหลวงเชียงใหม่กับมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน
จุดมุ่งหมายของ ดร.แดเนียล แมคกิลวารีก็คือ การก่อตั้งคริสตจักรและเผยแพร่คริสต์ศาสนาในนครเชียงใหม่แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีฐานะเป็นประเทศราช ส่งบรรณาการต่อกรุงสยามแต่มีอิสระในการปกครองภายในอย่างเต็มที่ ซึ่งการดําเนินงานของมิชชันนารีในช่วงแรกเต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ
เริ่มจากการเดินทางโดยเรือที่แสนยากลําบากใช้เวลานานร่วม 3 เดือน มาถึงนครเชียงใหม่ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2410 โดยพักอยู่ที่ศาลาย่าแสงคํามา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตลาดวโรรส) ท่ามกลางความประหลาดใจของชาวพื้นเมืองที่มองดูฝรั่งและข้าวของเครื่องใช้อย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน
พวกมิชชันนารีต้องทนอยู่กับสายตาของชาวพื้นเมืองที่พากันมามุงดูพวกกุลาขาว หรือกุลาเผือก อยู่นานกว่าจะมีท่าทีที่เป็นมิตรมากขึ้นในเวลาต่อมา นั่นคงมีสาเหตุจากความมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจ 3 ประการ ของมิชชันนารี คือ สอนศาสนา รักษาโรค และก่อตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก
ดร.แดเนียล แมคกิลวารี และ โซเฟีย ภรรยา พบว่ามีสตรีเพียง 2 คนเท่านั้นในนครเชียงใหม่ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ นอกนั้นก็จะเป็นเด็กชายที่มีโอกาสบวชเรียนจากพระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ เพราะยังไม่มีโรงเรียนเฉกเช่นปัจจุบัน จากบันทึกอัตชีวประวัติ “กึ่งศตวรรษใน หมู่ชนชาติไทยและลาว ” ดร.แดเนียล แมคกิลวารีจึงมีความเห็นว่า สิ่งแรกที่จะต้องจัดทําก็คือ การตั้งโรงเรียนสําหรับสอนสตรีคริสเตียน เพราะครอบครัวที่มาเข้ารีตคริสต์ศาสนา มีจํานวนเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย มีนักเรียนหญิงประมาณ 6-8 คน ที่มาเป็นนักเรียนประจํากินนอนอยู่กับครอบครัวแมคกิลวารี รวมทั้งเด็กหญิงยอดเรือน จากบ้านแม่ดอกแดง อําเภอดอยสะเก็ด ที่ต่อมาได้เป็นครูไทยคนแรกของโรงเรียนพระราชชายาในเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2413 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 พระราชบิดาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ พระราชทานที่ดินเพื่อให้สร้างโรงเรียนสตรี (ปัจจุบันคือ บริเวณคริสตจักรที่หนึ่งเชียงใหม่ เชิงสะพานนวรัฐ) และบ้านพักมิชชันนารี 2 หลัง มีนักเรียนเริ่มแรกประมาณ 20 คน มีการเรียนการสอนเป็นภาษาพื้นเมือง โดยเรียนเลข พระคัมภีร์ วิชาตัดเย็บ ร้องเพลง
ต่อมานักเรียนเรียกร้องให้สอนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมและมีการเปิดสอนวิชาภาษาไทยควบคู่ไปด้วยตามนโยบายของเมืองหลวง หนังสือเรียนที่ใช้กันคือ ใบบอกของสีโหม้ วิชัย (คนเชียงใหม่คนแรกที่ไปสหรัฐอเมริกา) หนังสือคําถาม-คําแก้ หนังสือสวัสดี หนังสือพระคัมภีร์ เป็นต้น
โรงเรียนแห่งนี้ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2421 เมื่อมีครูแหม่มเดินทางมาจากพระนคร 2 คน คือ มิสเอ็ดน่า โคลด์ และมิสแมรี่ แคมป์แบล โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรี มาจน ถึง พ.ศ. 2452 กิจการได้เจริญรุดหน้าไปมากมีจํานวนนักเรียน เพิ่มมากขึ้นเป็นจํานวนกว่า 200 คนแล้ว ทั้งนี้เมื่อคราวที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จเยือนเชียงใหม่เป็นครั้งแรกหลังจากไปรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และมีโอกาสเสด็จเยี่ยมโรงเรียนสตรี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ทรงให้คําแนะนําเกี่ยวกับงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ทอผ้า และการฟ้อนรําแบบพื้นเมืองแก่นักเรียนสตรีทั้งหลาย
ทางคณะมิชชันนารีจึงทูลขอให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงตั้งชื่อโรงเรียน และจากเอกสารสําคัญทางประวัติศาสตร์ พบว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงโทรเลขกราบบังคมทูลขอให้ พระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานนามโรงเรียนสตรีแห่งนี้ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ร.ศ. 128 เวลาย่ำค่ำกับ 40 นาที โดยกล่าวถึงการที่มิชชันนารีมาขอให้ตั้งชื่อโรงเรียนสตรีสันป่าข่อย ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสันป่าข่อยในอําเภอเมืองเชียงใหม่ และเห็นว่าโรงเรียนผู้ชาย ซึ่งตั้งอยู่ข้างวัดเชตุพนนั้น เมื่อคราวสมเด็จพระบรมเสด็จมา (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร) ก็ได้พระราชทานชื่อไว้ว่า “ปรินซ์รอยแยล คอลเลจ” (โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยในปัจจุบัน) มีที่มาจากโรงเรียนชายวังสิงห์คํา ซึ่งเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกในนครเชียงใหม่บริเวณวังสิงห์คํา (เหนือที่ทําการเทศบาลนครเชียงใหม่ปัจจุบัน)
จากการริเริ่มของ ดร.เดวิด กอร์มเลย์ คอลลินส์ มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบ ที่เรียน ผู้เรียบเรียง) และจากพระราชโทรเลขของพระพุทธเจ้าหลวงที่มีมาถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘ เวลาย่ำรุ่ง 40 นาทีนั้น พระราชทานนามโรงเรียนสตรีแห่งนี้ว่า โรงเรียนพระราชชายา นับเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่พระราชทานไว้เป็นอนุสรณ์แทนความรักที่ทรงมีต่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและทรงเล็งเห็นความสําคัญของการขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองตามพระบรมราโชบายอย่างแท้จริง
สภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของโรงเรียนพระราชชายานั้น จากคําบอกเล่าในบันทึกต่าง ๆ ของครูรุ่นแรก ๆ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ พบว่าทางโรงเรียนทําการสอนด้วยตัวเมือง (อักษรล้านนา) มีการอนุญาตให้นักเรียนสูบบุหรี่ กินหมากได้ เพราะถ้าห้ามเกรงว่านักเรียนจะไม่ติดโรงเรียน เมื่อมีนักเรียนประจําก็จะมีการผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน มีการนมัสการร่วมกัน และไปร้องเพลงพิเศษและนมัสการพระเจ้าร่วมกับนักเรียนชายที่โบสถ์ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยทุกวันอาทิตย์ด้วย
ครั้นพอถึงฤดูทํานา โรงเรียนต้องปิดให้นักเรียนกลับไปช่วยครอบครัว หรือต้องปิดโรงเรียนในกรณีที่บ่อ น้ำที่โรงเรียนเกิดแห้ง พวกครูมิชชันนารีต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ หรือเกิดกบฏเงี้ยว เป็นต้น
หลักสูตรการเรียนแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 6 หมู่ หมู่หนึ่ง ๆ ใช้เวลาเรียน 1 ปี เริ่มเรียนตั้งแต่หมู่ 6 ลงมาจนถึงหมู่ 1 ถือเป็นการจบหลักสูตร การสอบไล่ยังไม่มี ครูเป็นผู้พิจารณาให้นักเรียนเลื่อนชั้นเอง คณะครูรุ่นแรก ๆ ประกอบไปด้วย มิสกริฟฟิน ซึ่งคนพื้นเมืองมักเรียกว่า นายคีฟื้น หรือนายขี้ฝุ่น การเรียกคํานํา หน้าว่า นาย นั้นหมายถึง ฝรั่งผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน หากแต่งงานแล้วจะเรียกว่า แม่ครู เช่น แม่ครูแมคกิลวารี (โซเฟียภรรยา ดร.แดเนียล แมคกิลวารี) แม่ครูมากาเร็ต (มิสมากาเร็ต แมคกิลวารี บุตรีของ ดร.แดเนียล แมคกิลวารี และเป็นภรรยา ดร.กิลลิส) แม่ครูกิลสัน (ภรรยาของ ดร.อี.ซี คอร์ท ซึ่งรู้จักกันดีในนามแม่เลี้ยงคอร์ท) ฯลฯ
ในปี พ.ศ. 2464 ทางมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน เห็นว่าโรงเรียนพระราชชายาคับแคบไป เพราะมีจํานวนนักเรียนมากขึ้นทุกปี จึงหาซื้อที่ดินบริเวณหนองเส้งประมาณ 57 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคาร 2 หลัง คือ บ้านพักสําหรับอาจารย์ฝรั่งหรือที่เรียกกันว่า บ้านเขียว (ปัจจุบันเป็นบ้านพักของอาจารย์ใหญ่) และอาคารเรียนที่ใช้เป็นหอนอนสําหรับนักเรียนประจําด้วย (ปัจจุบันเป็นหอพักของนักเรียนประจํา) มีคนเล่าว่า ในวันวางศิลารากอาคารนั้นฝนตกหนัก แขกที่ได้รับเชิญมาร่วมพิธีนั้นต้องเดินลุยโคลนมาตั้งแต่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
พอถึงปี พ.ศ. 2466 ตึกเรียนและบ้านพักอาจารย์ฝรั่งสร้างเสร็จ จึงมีการย้ายโรงเรียนมาที่แห่งใหม่เป็นบางชั้นเรียกว่า ดาราเหนือ ส่วนโรงเรียนพระราชชายานั้นเรียกว่า ดาราใต้ โดยเปิดสอนระดับชั้นอนุบาลและประถม 1-4 เท่านั้น (ปัจจุบันเป็นคริสต์จักรที่หนึ่งเชียงใหม่)
สําหรับชื่อโรงเรียนดาราวิทยาลัย คาดว่า เปลี่ยนมาใช้เมื่อย้ายมาที่โรงเรียนใหม่บริเวณหนองเส้ง เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศแด่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งตามบันทึกของมิชชันนารีจาก หนังสือ Siam Outlook เดือนมกราคม พ.ศ. 2467 (January, 1925 Vol.III No.3) ได้กล่าวถึงชื่อโรงเรียนว่า DARA WITTAYA ACADEMY (Formerly Prarachaya Girls’ School) และปัจจุบันก็คือ โรงเรียนดาราวิทยาลัย (DARA ACADEMY)
ตามรอยละครดัง"กลิ่นกาสะลอง"กับโรงเรียนพระราชชายา(โรงเรียนแห่งแรกของเชียงใหม่)
ผลงานเขียนเมื่อ 20 ปีก่อน ของผู้ช่วยศาสตราจารย์บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ซึ่งเคยตีพิมพ์ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม เดือนกรกฎาคม 2541 ในเครือสำนักพิมพ์มติชนโรงเรียนของบัวเกี๋ยงในละครกลิ่นกาสะลอง
จากพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ต้องการจะ รับเอาศิลปวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามาพัฒนาบ้านเมือง จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาต และสนับสนุนให้คณะมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่ศาสนาได้ พ.ศ. 2402
มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบที่เรียนเริ่มเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศสยามเป็นครั้งแรกที่พระนคร ซึ่งมิชชันนารีที่มีบทบาทก็คือ บิชอป ปาเลกัวซ์ ชาวฝรั่งเศส ผู้ถวายการสอนภาษาละตินและโหราศาสตร์ ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช และหมอสอนศาสนานิกายเพรสไบที่เรียนชาวอเมริกัน เจสส์ แคส เวล ผู้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ ที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงยอมรับเสรีภาพ ในการนับถือศาสนาและทรงประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ และอีกบุคคลหนึ่งที่มีความสําคัญมากคือ ดร.แดนบีช แบร์ดเลย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หมอบลัดเลย์ ผู้นําวิชาการด้านการพิมพ์ การผ่าตัดและการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ มาสู่สยามครั้งแรก
จนกระทั่ง พ.ศ. 2406 ดร.โยนาธาน วิลสัน และ ดร.แดเนียล แมคกิลวารี ได้เดินทางขึ้นมาสํารวจมณฑลพายัพ เพื่อหาลู่ทางในการประกาศพระกิตติคุณขององค์พระผู้เป็นเจ้า แต่สภาพการณ์ทุกอย่างยังไม่พร้อมจึงเดินทางกลับ
ศาสนาจารย์ ดร.แดเนียล แมคกิลวารี และภรรยา (โซ เฟีย บุตรีของ ดร.แดนบีช แบร์ดเลย์ หรือหมอบลัดเลย์) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกในนครเชียงใหม่
ดร.แดเนียล แมค กิลวารี พร้อมด้วยโซเฟีย ภรรยาซึ่งเป็นบุตรีของหมอบลัดเลย์กับลูกเล็ก ๆ อีก 2 คน กลับมาสู่มณฑลพายัพอีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2410 ซึ่งตรง กับสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เป็นผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ซึ่งเดิมที่มีความสัมพันธ์กันมาก่อน เมื่อครั้งที่ ดร.แดเนียล แมคกิลวารีและโซเฟีย แต่งงานกันนั้น ได้นําขนมแต่งงานไปถวายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ซึ่งขณะนั้นเสด็จลงมาถวายเครื่องราชบรรณาการที่พระนครพอดี รุ่งขึ้นเจ้าหลวงเชียงใหม่และพระธิดาทั้งสองพระองค์ก็ได้เสด็จเยี่ยม ดร.แดเนียล แมคกิลวารีและภรรยาถึงเรือนหอเป็นการตอบแทน นับเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างเจ้าหลวงเชียงใหม่กับมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน
จุดมุ่งหมายของ ดร.แดเนียล แมคกิลวารีก็คือ การก่อตั้งคริสตจักรและเผยแพร่คริสต์ศาสนาในนครเชียงใหม่แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีฐานะเป็นประเทศราช ส่งบรรณาการต่อกรุงสยามแต่มีอิสระในการปกครองภายในอย่างเต็มที่ ซึ่งการดําเนินงานของมิชชันนารีในช่วงแรกเต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ
เริ่มจากการเดินทางโดยเรือที่แสนยากลําบากใช้เวลานานร่วม 3 เดือน มาถึงนครเชียงใหม่ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2410 โดยพักอยู่ที่ศาลาย่าแสงคํามา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตลาดวโรรส) ท่ามกลางความประหลาดใจของชาวพื้นเมืองที่มองดูฝรั่งและข้าวของเครื่องใช้อย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน
พวกมิชชันนารีต้องทนอยู่กับสายตาของชาวพื้นเมืองที่พากันมามุงดูพวกกุลาขาว หรือกุลาเผือก อยู่นานกว่าจะมีท่าทีที่เป็นมิตรมากขึ้นในเวลาต่อมา นั่นคงมีสาเหตุจากความมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจ 3 ประการ ของมิชชันนารี คือ สอนศาสนา รักษาโรค และก่อตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก
ดร.แดเนียล แมคกิลวารี และ โซเฟีย ภรรยา พบว่ามีสตรีเพียง 2 คนเท่านั้นในนครเชียงใหม่ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ นอกนั้นก็จะเป็นเด็กชายที่มีโอกาสบวชเรียนจากพระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ เพราะยังไม่มีโรงเรียนเฉกเช่นปัจจุบัน จากบันทึกอัตชีวประวัติ “กึ่งศตวรรษใน หมู่ชนชาติไทยและลาว ” ดร.แดเนียล แมคกิลวารีจึงมีความเห็นว่า สิ่งแรกที่จะต้องจัดทําก็คือ การตั้งโรงเรียนสําหรับสอนสตรีคริสเตียน เพราะครอบครัวที่มาเข้ารีตคริสต์ศาสนา มีจํานวนเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย มีนักเรียนหญิงประมาณ 6-8 คน ที่มาเป็นนักเรียนประจํากินนอนอยู่กับครอบครัวแมคกิลวารี รวมทั้งเด็กหญิงยอดเรือน จากบ้านแม่ดอกแดง อําเภอดอยสะเก็ด ที่ต่อมาได้เป็นครูไทยคนแรกของโรงเรียนพระราชชายาในเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2413 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 พระราชบิดาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ พระราชทานที่ดินเพื่อให้สร้างโรงเรียนสตรี (ปัจจุบันคือ บริเวณคริสตจักรที่หนึ่งเชียงใหม่ เชิงสะพานนวรัฐ) และบ้านพักมิชชันนารี 2 หลัง มีนักเรียนเริ่มแรกประมาณ 20 คน มีการเรียนการสอนเป็นภาษาพื้นเมือง โดยเรียนเลข พระคัมภีร์ วิชาตัดเย็บ ร้องเพลง
ต่อมานักเรียนเรียกร้องให้สอนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมและมีการเปิดสอนวิชาภาษาไทยควบคู่ไปด้วยตามนโยบายของเมืองหลวง หนังสือเรียนที่ใช้กันคือ ใบบอกของสีโหม้ วิชัย (คนเชียงใหม่คนแรกที่ไปสหรัฐอเมริกา) หนังสือคําถาม-คําแก้ หนังสือสวัสดี หนังสือพระคัมภีร์ เป็นต้น
โรงเรียนแห่งนี้ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2421 เมื่อมีครูแหม่มเดินทางมาจากพระนคร 2 คน คือ มิสเอ็ดน่า โคลด์ และมิสแมรี่ แคมป์แบล โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรี มาจน ถึง พ.ศ. 2452 กิจการได้เจริญรุดหน้าไปมากมีจํานวนนักเรียน เพิ่มมากขึ้นเป็นจํานวนกว่า 200 คนแล้ว ทั้งนี้เมื่อคราวที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จเยือนเชียงใหม่เป็นครั้งแรกหลังจากไปรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และมีโอกาสเสด็จเยี่ยมโรงเรียนสตรี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ทรงให้คําแนะนําเกี่ยวกับงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ทอผ้า และการฟ้อนรําแบบพื้นเมืองแก่นักเรียนสตรีทั้งหลาย
ทางคณะมิชชันนารีจึงทูลขอให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงตั้งชื่อโรงเรียน และจากเอกสารสําคัญทางประวัติศาสตร์ พบว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงโทรเลขกราบบังคมทูลขอให้ พระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานนามโรงเรียนสตรีแห่งนี้ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ร.ศ. 128 เวลาย่ำค่ำกับ 40 นาที โดยกล่าวถึงการที่มิชชันนารีมาขอให้ตั้งชื่อโรงเรียนสตรีสันป่าข่อย ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสันป่าข่อยในอําเภอเมืองเชียงใหม่ และเห็นว่าโรงเรียนผู้ชาย ซึ่งตั้งอยู่ข้างวัดเชตุพนนั้น เมื่อคราวสมเด็จพระบรมเสด็จมา (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร) ก็ได้พระราชทานชื่อไว้ว่า “ปรินซ์รอยแยล คอลเลจ” (โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยในปัจจุบัน) มีที่มาจากโรงเรียนชายวังสิงห์คํา ซึ่งเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกในนครเชียงใหม่บริเวณวังสิงห์คํา (เหนือที่ทําการเทศบาลนครเชียงใหม่ปัจจุบัน)
จากการริเริ่มของ ดร.เดวิด กอร์มเลย์ คอลลินส์ มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบ ที่เรียน ผู้เรียบเรียง) และจากพระราชโทรเลขของพระพุทธเจ้าหลวงที่มีมาถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘ เวลาย่ำรุ่ง 40 นาทีนั้น พระราชทานนามโรงเรียนสตรีแห่งนี้ว่า โรงเรียนพระราชชายา นับเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่พระราชทานไว้เป็นอนุสรณ์แทนความรักที่ทรงมีต่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและทรงเล็งเห็นความสําคัญของการขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองตามพระบรมราโชบายอย่างแท้จริง
สภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของโรงเรียนพระราชชายานั้น จากคําบอกเล่าในบันทึกต่าง ๆ ของครูรุ่นแรก ๆ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ พบว่าทางโรงเรียนทําการสอนด้วยตัวเมือง (อักษรล้านนา) มีการอนุญาตให้นักเรียนสูบบุหรี่ กินหมากได้ เพราะถ้าห้ามเกรงว่านักเรียนจะไม่ติดโรงเรียน เมื่อมีนักเรียนประจําก็จะมีการผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน มีการนมัสการร่วมกัน และไปร้องเพลงพิเศษและนมัสการพระเจ้าร่วมกับนักเรียนชายที่โบสถ์ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยทุกวันอาทิตย์ด้วย
ครั้นพอถึงฤดูทํานา โรงเรียนต้องปิดให้นักเรียนกลับไปช่วยครอบครัว หรือต้องปิดโรงเรียนในกรณีที่บ่อ น้ำที่โรงเรียนเกิดแห้ง พวกครูมิชชันนารีต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ หรือเกิดกบฏเงี้ยว เป็นต้น
หลักสูตรการเรียนแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 6 หมู่ หมู่หนึ่ง ๆ ใช้เวลาเรียน 1 ปี เริ่มเรียนตั้งแต่หมู่ 6 ลงมาจนถึงหมู่ 1 ถือเป็นการจบหลักสูตร การสอบไล่ยังไม่มี ครูเป็นผู้พิจารณาให้นักเรียนเลื่อนชั้นเอง คณะครูรุ่นแรก ๆ ประกอบไปด้วย มิสกริฟฟิน ซึ่งคนพื้นเมืองมักเรียกว่า นายคีฟื้น หรือนายขี้ฝุ่น การเรียกคํานํา หน้าว่า นาย นั้นหมายถึง ฝรั่งผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน หากแต่งงานแล้วจะเรียกว่า แม่ครู เช่น แม่ครูแมคกิลวารี (โซเฟียภรรยา ดร.แดเนียล แมคกิลวารี) แม่ครูมากาเร็ต (มิสมากาเร็ต แมคกิลวารี บุตรีของ ดร.แดเนียล แมคกิลวารี และเป็นภรรยา ดร.กิลลิส) แม่ครูกิลสัน (ภรรยาของ ดร.อี.ซี คอร์ท ซึ่งรู้จักกันดีในนามแม่เลี้ยงคอร์ท) ฯลฯ
ในปี พ.ศ. 2464 ทางมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน เห็นว่าโรงเรียนพระราชชายาคับแคบไป เพราะมีจํานวนนักเรียนมากขึ้นทุกปี จึงหาซื้อที่ดินบริเวณหนองเส้งประมาณ 57 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคาร 2 หลัง คือ บ้านพักสําหรับอาจารย์ฝรั่งหรือที่เรียกกันว่า บ้านเขียว (ปัจจุบันเป็นบ้านพักของอาจารย์ใหญ่) และอาคารเรียนที่ใช้เป็นหอนอนสําหรับนักเรียนประจําด้วย (ปัจจุบันเป็นหอพักของนักเรียนประจํา) มีคนเล่าว่า ในวันวางศิลารากอาคารนั้นฝนตกหนัก แขกที่ได้รับเชิญมาร่วมพิธีนั้นต้องเดินลุยโคลนมาตั้งแต่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
พอถึงปี พ.ศ. 2466 ตึกเรียนและบ้านพักอาจารย์ฝรั่งสร้างเสร็จ จึงมีการย้ายโรงเรียนมาที่แห่งใหม่เป็นบางชั้นเรียกว่า ดาราเหนือ ส่วนโรงเรียนพระราชชายานั้นเรียกว่า ดาราใต้ โดยเปิดสอนระดับชั้นอนุบาลและประถม 1-4 เท่านั้น (ปัจจุบันเป็นคริสต์จักรที่หนึ่งเชียงใหม่)
สําหรับชื่อโรงเรียนดาราวิทยาลัย คาดว่า เปลี่ยนมาใช้เมื่อย้ายมาที่โรงเรียนใหม่บริเวณหนองเส้ง เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศแด่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งตามบันทึกของมิชชันนารีจาก หนังสือ Siam Outlook เดือนมกราคม พ.ศ. 2467 (January, 1925 Vol.III No.3) ได้กล่าวถึงชื่อโรงเรียนว่า DARA WITTAYA ACADEMY (Formerly Prarachaya Girls’ School) และปัจจุบันก็คือ โรงเรียนดาราวิทยาลัย (DARA ACADEMY)