โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงใหม่
ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2421 โดยคณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียนนิกายโปรเตสแตนท์
มี ดร.ดาเนียล แมคกิลวารีและภรรยาเป็นผู้เริ่มจัดตั้งจนบัดนี้ พ.ศ.2564 ยืนยาวมากว่า 143 ปีแล้วนั้น
ก็เป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันกับพระราชวงศ์เชียงใหม่
ตั้งแต่ครั้งพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระบิดาของแม่เจ้าเทพไกรสรหรือพระอัยกาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
((พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6
ที่ทรงอนุญาตให้มิชชันนารีไปเผยแพร่ศาสนา จัดการศึกษา และให้บริการทางการแพทย์แบบตะวันตกที่เชียงใหม่)
......กล่าวคือ ศาสนาจารย์ ดร.ดาเนียล แมคกิลวารี ผู้ได้เดินทางมาเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2401 ในสมัยรัชกาลที่ 4
ได้แต่งงานกับมิสโซเฟีย บุตรสาวของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ ผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ไทย
(ครอบครัวศาสนาจารย์แดเนียล และนางโซเฟีย แมคกิลวารี ภาพถ่าย ค.ศ.1910)
ในวันแต่งงานท่านทั้งสองได้นำขนมแต่งงานไปถวายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ซึ่งขณะนั้นเสด็จลงมาถวายเครื่องราชบรรณาการที่กรุงเทพฯ พอดี
รุ่งขึ้นเจ้าหลวงเชียงใหม่และพระธิดาสององค์ก็ได้เสด็จมาเยี่ยม ดร.แมคกิลวารีและภรรยาถึงเรือนหอเป็นการตอบแทน
มิตรภาพระหว่างเจ้าหลวงเชียงใหม่และครอบครัวแมคกิลวารีจึงเริ่มแต่บัดนั้น
ซึ่งต่อมาใน พ.ศ.2409 เมื่อหมอบรัดเลย์กราบทูลขออนุญาตตั้งมิชชั่นขึ้นเป็นทางการ เพื่อเผยแพร่ศาสนา ตั้งโรงเรียนและสถานพยาบาล
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงทรงอนุมัติทันทีและยังทรงสัญญาว่าจะให้ที่ดินและไม้ในราคาถูกสำหรับการก่อสร้างบ้านด้วย
......เมื่อ ดร.แมคกิลวารีและภรรยาได้มาเริ่มงานประกาศเผยแพร่คริสตศาสนาในเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) เป็นต้นมา
ท่านได้พบว่าทั้งจังหวัดมีสตรีเพียง 2 คน เท่านั้นที่อ่านหนังสือได้
ท่านจึงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะตั้ง "โรงเรียนสตรี"
พ.ศ.2416 (ค.ศ.1873) นางโซเฟีย แมคกิลวารี ได้นำเด็กหญิงมาสอนหนังสือที่ระเบียงบ้านพักในบริเวณนี้
(บ้านพักมิชชันนารีที่เชียงใหม่ ส่วนใต้ถุนใช้เป็นที่ให้การรักษาคนเจ็บป่วย)
แต่กว่าท่านจะฟันฝ่าอุปสรรคให้ชาวเมืองเปลี่ยนทัศนคติให้ผู้หญิงเรียนหนังสือและเริ่มงานโรงเรียนเป็นทางการได้ก็ต้องรอถึง พ.ศ.2421
ณ อาคารเรียนตั้งอยู่ในที่ดินบนฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก (บริเวณโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ในปัจจุบัน)
(บริเวณที่เคยเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนดาราใต้)
ซึ่งเป็นที่ดินที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิดาของพระราชชายาฯ ประทานให้ โดยเริ่มต้นจากนักเรียน 20 คน
......โรงเรียนนี้มีชื่อว่าโรงเรียนสตรีมาจนถึง พ.ศ.2452
เมื่อพระราชชายาฯ เสด็จเยือนเชียงใหม่เป็นครั้งแรกหลังจากที่เสด็จไปรับราชการในพระพุทธเจ้าหลวงที่กรุงเทพฯ แล้ว
คณะผู้บริหารโรงเรียนจึงได้ทูลขอให้พระราชชายาทรงตั้งชื่อโรงเรียน
พระราชชายาฯ ก็ได้ทรงมีพระโทรเลขทูลขอประทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "โรงเรียนพระราชชายา"
(พระโทรเลขกราบบังคมทูลของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและพระโทรเลขตอบเกี่ยวกับเรื่องชื่อโรงเรียน)
......ดังนั้น โรงเรียนนี้จึงได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นพระนามพระราชชายาฯ โดยตรงว่า "โรงเรียนดาราวิทยาลัย" ต่อมา
และปีที่ได้รับพระราชทานนั้นคือ พ.ศ.2452 (ค.ศ.1909-10) มิใช่ พ.ศ.2431 หรือ ค.ศ.1888 หรือ พ.ศ.2434 หรือ ค.ศ.1891
ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติของโรงเรียนหลายวาระ
(ดังปรากฏในหนังสือ เช่น ดาราวิทยาลัย, 107 ปีแห่งพันธกิจรับใช้ทางการศึกษาในล้านนาไทย
หรือ หนังสือในพิธีส่งนักเรียนที่จบหลักสูตรชั้นมัธยมปีที่ 6 และชั้นมัธยมปีที่ 5 ประจำปีการศึกษา 1987)
......โรงเรียนพระราชชายาหรือโรงเรียนดาราวิทยาลัยได้เจริญเติบโตและในช่วงที่พระราชชายาฯ เสด็จกลับมาประทับ ณ เชียงใหม่
แล้วก็ยังได้รับความอุปถัมภ์จากพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิดมาจนตลอดพระชนม์ชีพ
จนใน พ.ศ.2528 มีนักเรียนหญิงตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปีที่ 6 ถึง 4,725 คน
มีบริเวณโรงเรียนกว่า 70 ไร่ มีสมาคมนักเรียนเก่า สมาคมผู้ปกครองและครู และมีมูลนิธิดารารัศมี
ซึ่งใช้ดอกผลให้ทุนนักเรียนปีละ 12 ทุนรวม 3 หมื่นบาททุกปี
(จากการสัมภาษณ์นายสมปรารถนา บุณยเกียรติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนดาราวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2532)
และทางโรงเรียนยังได้จัดให้มีวันดารารัศมี ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี
นับว่าโรงเรียนดาราวิทยาลัยยังคงเชิดชูพระเกียรติของพระราชชายาฯ อยู่โดยไม่เสื่อมคลาย
(หมวกไชยลังการณ์, "วันดารารัศมี", ใน อนุสรณ์ 100 ปี ดาราวิทยาลัยเชียงใหม่ 2521, เชียงใหม่ : โรงเพิมพ์ส่งเสริมธุรกิจ, ไม่มีหน้า)
เชียงใหม่-143 ปีจากจุดเริ่มต้นโรงเรียนดาราใต้, โรงเรียนพระราชชายา, สู่โรงเรียนดาราวิทยาลัย
ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2421 โดยคณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียนนิกายโปรเตสแตนท์
มี ดร.ดาเนียล แมคกิลวารีและภรรยาเป็นผู้เริ่มจัดตั้งจนบัดนี้ พ.ศ.2564 ยืนยาวมากว่า 143 ปีแล้วนั้น
ก็เป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันกับพระราชวงศ์เชียงใหม่
ตั้งแต่ครั้งพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระบิดาของแม่เจ้าเทพไกรสรหรือพระอัยกาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
((พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6
ที่ทรงอนุญาตให้มิชชันนารีไปเผยแพร่ศาสนา จัดการศึกษา และให้บริการทางการแพทย์แบบตะวันตกที่เชียงใหม่)
......กล่าวคือ ศาสนาจารย์ ดร.ดาเนียล แมคกิลวารี ผู้ได้เดินทางมาเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2401 ในสมัยรัชกาลที่ 4
ได้แต่งงานกับมิสโซเฟีย บุตรสาวของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ ผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ไทย
(ครอบครัวศาสนาจารย์แดเนียล และนางโซเฟีย แมคกิลวารี ภาพถ่าย ค.ศ.1910)
ในวันแต่งงานท่านทั้งสองได้นำขนมแต่งงานไปถวายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ซึ่งขณะนั้นเสด็จลงมาถวายเครื่องราชบรรณาการที่กรุงเทพฯ พอดี
รุ่งขึ้นเจ้าหลวงเชียงใหม่และพระธิดาสององค์ก็ได้เสด็จมาเยี่ยม ดร.แมคกิลวารีและภรรยาถึงเรือนหอเป็นการตอบแทน
มิตรภาพระหว่างเจ้าหลวงเชียงใหม่และครอบครัวแมคกิลวารีจึงเริ่มแต่บัดนั้น
ซึ่งต่อมาใน พ.ศ.2409 เมื่อหมอบรัดเลย์กราบทูลขออนุญาตตั้งมิชชั่นขึ้นเป็นทางการ เพื่อเผยแพร่ศาสนา ตั้งโรงเรียนและสถานพยาบาล
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงทรงอนุมัติทันทีและยังทรงสัญญาว่าจะให้ที่ดินและไม้ในราคาถูกสำหรับการก่อสร้างบ้านด้วย
......เมื่อ ดร.แมคกิลวารีและภรรยาได้มาเริ่มงานประกาศเผยแพร่คริสตศาสนาในเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) เป็นต้นมา
ท่านได้พบว่าทั้งจังหวัดมีสตรีเพียง 2 คน เท่านั้นที่อ่านหนังสือได้
ท่านจึงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะตั้ง "โรงเรียนสตรี"
พ.ศ.2416 (ค.ศ.1873) นางโซเฟีย แมคกิลวารี ได้นำเด็กหญิงมาสอนหนังสือที่ระเบียงบ้านพักในบริเวณนี้
(บ้านพักมิชชันนารีที่เชียงใหม่ ส่วนใต้ถุนใช้เป็นที่ให้การรักษาคนเจ็บป่วย)
แต่กว่าท่านจะฟันฝ่าอุปสรรคให้ชาวเมืองเปลี่ยนทัศนคติให้ผู้หญิงเรียนหนังสือและเริ่มงานโรงเรียนเป็นทางการได้ก็ต้องรอถึง พ.ศ.2421
ณ อาคารเรียนตั้งอยู่ในที่ดินบนฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก (บริเวณโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ในปัจจุบัน)
(บริเวณที่เคยเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนดาราใต้)
ซึ่งเป็นที่ดินที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิดาของพระราชชายาฯ ประทานให้ โดยเริ่มต้นจากนักเรียน 20 คน
......โรงเรียนนี้มีชื่อว่าโรงเรียนสตรีมาจนถึง พ.ศ.2452
เมื่อพระราชชายาฯ เสด็จเยือนเชียงใหม่เป็นครั้งแรกหลังจากที่เสด็จไปรับราชการในพระพุทธเจ้าหลวงที่กรุงเทพฯ แล้ว
คณะผู้บริหารโรงเรียนจึงได้ทูลขอให้พระราชชายาทรงตั้งชื่อโรงเรียน
พระราชชายาฯ ก็ได้ทรงมีพระโทรเลขทูลขอประทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "โรงเรียนพระราชชายา"
(พระโทรเลขกราบบังคมทูลของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและพระโทรเลขตอบเกี่ยวกับเรื่องชื่อโรงเรียน)
......ดังนั้น โรงเรียนนี้จึงได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นพระนามพระราชชายาฯ โดยตรงว่า "โรงเรียนดาราวิทยาลัย" ต่อมา
และปีที่ได้รับพระราชทานนั้นคือ พ.ศ.2452 (ค.ศ.1909-10) มิใช่ พ.ศ.2431 หรือ ค.ศ.1888 หรือ พ.ศ.2434 หรือ ค.ศ.1891
ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติของโรงเรียนหลายวาระ
(ดังปรากฏในหนังสือ เช่น ดาราวิทยาลัย, 107 ปีแห่งพันธกิจรับใช้ทางการศึกษาในล้านนาไทย
หรือ หนังสือในพิธีส่งนักเรียนที่จบหลักสูตรชั้นมัธยมปีที่ 6 และชั้นมัธยมปีที่ 5 ประจำปีการศึกษา 1987)
......โรงเรียนพระราชชายาหรือโรงเรียนดาราวิทยาลัยได้เจริญเติบโตและในช่วงที่พระราชชายาฯ เสด็จกลับมาประทับ ณ เชียงใหม่
แล้วก็ยังได้รับความอุปถัมภ์จากพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิดมาจนตลอดพระชนม์ชีพ
จนใน พ.ศ.2528 มีนักเรียนหญิงตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปีที่ 6 ถึง 4,725 คน
มีบริเวณโรงเรียนกว่า 70 ไร่ มีสมาคมนักเรียนเก่า สมาคมผู้ปกครองและครู และมีมูลนิธิดารารัศมี
ซึ่งใช้ดอกผลให้ทุนนักเรียนปีละ 12 ทุนรวม 3 หมื่นบาททุกปี
(จากการสัมภาษณ์นายสมปรารถนา บุณยเกียรติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนดาราวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2532)
และทางโรงเรียนยังได้จัดให้มีวันดารารัศมี ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี
นับว่าโรงเรียนดาราวิทยาลัยยังคงเชิดชูพระเกียรติของพระราชชายาฯ อยู่โดยไม่เสื่อมคลาย
(หมวกไชยลังการณ์, "วันดารารัศมี", ใน อนุสรณ์ 100 ปี ดาราวิทยาลัยเชียงใหม่ 2521, เชียงใหม่ : โรงเพิมพ์ส่งเสริมธุรกิจ, ไม่มีหน้า)