https://mgronline.com/business/detail/9620000063307
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ.เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2568 (AEDP2018) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP-2018) ภายในเดือนนี้เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป ซึ่งภายใต้แผนดังกล่าวจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนทั้งสิ้น 33% ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ ณ สิ้นปี 2580 หรือคิดเป็น 29,358 เมกะวัตต์
"สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนภาพรวมในแผนใหม่เทียบกับ AEDP 2015 แผนเดิมเพิ่มขึ้นทุกตัวยกเว้นพลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานน้ำขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ที่แผนใหม่ไม่รับซื้อเพิ่มเพราะพลังน้ำขนาดเล็กยังติดปัญหาการยอมรับจากชุมชน พืชพลังงานยังไม่ชัดเจนทางด้านเทคนิค อย่างไรก็ตาม แนวทางการรับซื้อคงต้องรอนโยบายจากรัฐมนตรีคนใหม่มาพิจารณา และยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อค่าไฟ" นายยงยุทธกล่าว
สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์สิ้นปี 80 จะรับซื้อเพิ่ม 12,725 เมกะวัตต์ โดยส่วนนี้จะแบ่งเป็นโซลาร์ภาคประชาชน (โซลาร์รูฟท็อป) 10 ปีแรก (ปี 62-71) 1,000 เมกะวัตต์ ทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์ โซลาร์ลอยน้ำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,725 เมกะวัตต์ ที่เหลือจะเป็นการเปิดกว้างสำหรับโซลาร์ที่ให้มีความหลากหลายซึ่งรวมถึงโซลาร์ฟาร์มด้วย ส่วนชีวมวล 3,496 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,485 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) 546 เมกะวัตต์ ขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การรับซื้อไฟและราคาคงจะต้องรอนโยบายจาก รมว.พลังงานคนใหม่ แต่เบื้องต้นราคารับซื้อเฉลี่ยจะยึดฐานราคาประมูลซื้อไฟไม่เกิน 2.44 บาทต่อหน่วยจากโครงการเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม ยกเว้นโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่ยึดตามต้นทุนแท้จริง (FiT) ที่ราคาจะอยู่ราว 5.78 บาทต่อหน่วย (8 ปีแรก) หากเป็นโรงขนาดเล็ก (SPP) อยู่ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย
฿฿ ก.พลังงานกางแผน AEDP ใหม่ เปิดช่องรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มเพิ่มขึ้น ฿฿
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ.เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2568 (AEDP2018) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP-2018) ภายในเดือนนี้เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป ซึ่งภายใต้แผนดังกล่าวจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนทั้งสิ้น 33% ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ ณ สิ้นปี 2580 หรือคิดเป็น 29,358 เมกะวัตต์
"สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนภาพรวมในแผนใหม่เทียบกับ AEDP 2015 แผนเดิมเพิ่มขึ้นทุกตัวยกเว้นพลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานน้ำขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ที่แผนใหม่ไม่รับซื้อเพิ่มเพราะพลังน้ำขนาดเล็กยังติดปัญหาการยอมรับจากชุมชน พืชพลังงานยังไม่ชัดเจนทางด้านเทคนิค อย่างไรก็ตาม แนวทางการรับซื้อคงต้องรอนโยบายจากรัฐมนตรีคนใหม่มาพิจารณา และยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อค่าไฟ" นายยงยุทธกล่าว
สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์สิ้นปี 80 จะรับซื้อเพิ่ม 12,725 เมกะวัตต์ โดยส่วนนี้จะแบ่งเป็นโซลาร์ภาคประชาชน (โซลาร์รูฟท็อป) 10 ปีแรก (ปี 62-71) 1,000 เมกะวัตต์ ทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์ โซลาร์ลอยน้ำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,725 เมกะวัตต์ ที่เหลือจะเป็นการเปิดกว้างสำหรับโซลาร์ที่ให้มีความหลากหลายซึ่งรวมถึงโซลาร์ฟาร์มด้วย ส่วนชีวมวล 3,496 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,485 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) 546 เมกะวัตต์ ขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การรับซื้อไฟและราคาคงจะต้องรอนโยบายจาก รมว.พลังงานคนใหม่ แต่เบื้องต้นราคารับซื้อเฉลี่ยจะยึดฐานราคาประมูลซื้อไฟไม่เกิน 2.44 บาทต่อหน่วยจากโครงการเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม ยกเว้นโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่ยึดตามต้นทุนแท้จริง (FiT) ที่ราคาจะอยู่ราว 5.78 บาทต่อหน่วย (8 ปีแรก) หากเป็นโรงขนาดเล็ก (SPP) อยู่ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย